พระยาชัยสุนทร (ทอง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาชัยสุนทร
(ทอง)
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2389 – พ.ศ. 2394
ก่อนหน้าพระยาชัยสุนทร(หล้า)
ถัดไปพระยาชัยสุนทร(จารย์ละ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบปีเกิด
เมืองกาฬสินธุ์
เสียชีวิตพ.ศ. 2394
เมืองกาฬสินธุ์
ศาสนาศาสนาพุทธ

พระยาชัยสุนทร (ทอง) หรืออีกนามเรียกว่า “ท้าวทอง” เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 5 (พ.ศ. 2389–2394)[1] เป็นต้นเชื้อสายตระกูลเช่น วงศ์กาฬสินธุ์ ทองเยี่ยม เป็นต้นซึ่งผู้ใช้นามสกุลส่วนใหญ่ตั้งรกรากและอาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนครกาฬสินธุ์และร้อยเอ็ดในปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]

ชาติกำเนิด[แก้]

เกิดเมื่อราวปี พ.ศ.ใดไม่ปรากฏ บิดาคือพระยาไชยสุนทร(เจียม) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3 กับญานางทองคำ มีพี่น้องร่วมสายโลหิต 7 คน ได้แก่ 1)นางพัน 2)ท้าวทอง 3)ท้าวด่าง 4)ท้าวสุริยะ 5)ท้าวบุญมา 6)นางดา 7)นางหลอด เป็นต้น

การรับราชการ[แก้]

• เมื่อเติบโตขึ้นได้เข้ารับราชการในกรมการเมืองกาฬสินธุ์และได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ “พันทอง” ตำแหน่งนายหมวด ในสมัยพระยาไชยสุนทร (เจียม) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 3 ได้เป็นที่ราชวงศ์และอุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ ในสมัยพระยาไชยสุนทร(หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 ภายหลังพระยาไชยสุนทร(หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 ได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา ใน ปี พ.ศ. 2380 กรมการเมืองกาฬสินธุ์ได้มีใบบอกกราบบังคมทูลให้โปรดเกล้าฯ พระทานสัญญาบัตรตั้งท้าวทอง เป็นที่พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ และท้าวปัดสา(ละ)บุตรท้าวหมาป้องเป็นที่อุปฮาด ท้าวกิ่งบุตรอุปฮาดหมาสุยเป็นที่ราชวงศ์ และท้าวขัตตินะ(เกษ)บุตรราชวงศ์เซียงโคตรเป็นที่ราชบุตร

•โปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องยศแก่กรมการเมืองประกอบบรรดาศักดิ์ดังนี้

เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ “พานเงินเครื่องในถมสำรับหนึ่ง คนโทเงินถมยาดำหนึ่ง ลูกประคำทองหนึ่ง กระบี่บั้งเงินหนึ่ง สัปทนปัศตูหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง แพรทับทิมติดขลิบผืนหนึ่ง ชวานปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง” - พร้อมตราประทับประจำตำแหน่งเจ้าเมืองกาฬสินธุ์คือ “เทวดานั่งแท่นถือพระขรรค์และดอกบัว”

อุปฮาด “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

ราชวงศ์ “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบลายก้านแย่งตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

ราชบุตร “เสื้ออัตลัตดอกถี่ตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

•ปี พ.ศ. 2391 พระยาไชยสุนทร(ทอง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ มีใบบอกว่า พระศรีสุวรรณ(พระคำแดง) เจ้าเมืองแซงบาดาลป่วยถึงแก่กรรม จึงขอโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งอุปฮาด(จำปา) เป็นที่”พระศรีสุวรรณ” ว่าราชการเมืองแซงบาดาลต่อไป

•ปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคต พระยาไชยสุนทร(ทอง)และกรมการเมืองก็ลงไปกรุงเทพ ร่วมถวายเพลิงศพด้วยในครั้งนั้น พระยาไชยสุนทร(ทอง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ได้ป่วยไข้ป่า ก็ถึงแก่อนิจกรรมที่กรุงเทพมหานคร

ถึงแก่กรรม[แก้]

พระยาไชยสุนทร(ทอง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 5 แก่อนิจกรรมด้วยโรคไข้ป่า ราชการเป็นเจ้าเมืองสนองพระเดชพระคุณ 5 ปี ที่กรุงเทพมหานคร ลูกหลานได้ทำการประชุมเพลิงศพที่กรุงเทพฯแล้วจึงกราบทูลรัชกาลที่ 4 ว่าได้ถึงแก่อนิจกรรมแล้วและสิ้นประวัติพระยาไชยสุนทร (ทอง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 5 เพียงเท่านี้


ทายาท[แก้]

พระยาไชยสุนทร(ทอง) สมรสกับอัญญานางคำและมีบุตร 3 คน ได้แก่

1) พระอินทิสาร(ขี่) ราชบุตรเมืองสกลนคร(พ.ศ. 2389-2394)และราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์(พ.ศ. 2394-2412)สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 5 คน ได้แก่ 1)นางเกษี 2)นางแก้ว 3)นางอู๊ด 4)ท้าวทา 5)ท้าวเปลี่ยน เป็นต้น

2) พระไชยสุนทร(เหม็น) อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2415-2419 สมรสกับใครสืบไมได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ

3) พระไชยสุนทร(หนูหมี) อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ สมรสกับนางขำ มีบุตร 4 คน ได้แก่ 1)นางเสริม 2)นางบู่ทอง 3)ท้าวทับ 4)ท้าวตัน 5)นางเสริม 6)นางทิพย์คลี่(ประคีย์) เป็นต้น

สายสกุลทายาทและเครือญาติ[แก้]

  • วงศ์กาฬสินธุ์และอาษาไชยและทองทวี ต้นสกุลคือพระอินทิสาร(ขี่) ราชบุตรเมืองสกลนครและราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์และสมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตรด้วยกัน 5 คน ได้แก่

1)นางเกษี สมรสกับใครสืบไมได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ

2)นางแก้ว สมรสกับใครสืบไมได้และมีบุตรกี่คนไม่ปรากฏ

3)นางอู๊ด สมรสกับพระไชยราษฎร์(ลาด) บุตรคนที่ 3 ของพระยาไชยสุนทร(หล้า) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 มีบุตร 2 คนได้แก่ 1)ท้าวคำจันทร์ วงศ์กาฬสินธุ์ 2)ท้าวคำตัน วงศ์กาฬสินธุ์ เป็นต้น

4)ท้าวทา ต้นสกุลอาษาไชย สมรสกับนางแหวน มีบุตร 5 คน ได้แก่ 1)นายคำผล 2)นายเจริญ 3)นางบัวพัน 4)นายถาวร 5)นางเกษร เป็นต้น

5)นางเปลี่ยน ต้นสกุลทองทวี สมรสกับนายกุ้ย(คหบดีคนไทยเชื้อสายจีน) มีบุตร 4 คน ได้แก่ 1)ขุนเสนาสัสดี(ถั่ง) 2)พ.ท.เก่ง 3)นายกว้าง(ส.ส.จังหวัดกาฬสินธุ์) 3)นางคำเบ้า เป็นต้น

ท่านเหล่านี้คือผู้ใช้นามสกุลรุ่นแรกโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในตัวอำเภอเมืองของจังหวัดสกลนครและกาฬสินธุ์

  • ทองเยี่ยม ต้นสกุลคือพระไชยสุนทร(หนูหมี) อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2426-2433 สมรสมกับนางขำ บุตรีคนที่ 4 ของพระยาไชยสุนทร(กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 4 มีบุตร 6 คน ได้แก่

1)นางเสริม

2)นางบู่ทอง

3)ท้าวทับ ผู้ตั้งนามสกุลทองเยี่ยม

4)ท้าวตัน

5)นางเสริม

6)นางทิพย์คลี่(ประคีย์) สมรสกับขุนสรรบรรพกิจ(สายทอง ศรีกาฬสินธุ์) บุตรคนที่ 6 ของหลวงสุนทรวุฒิรักษ์(มี ศรีกาฬสินธุ์)มีบุตร 5 คน ได้แก่ 1)นางแสงเงิน 2)นายบันเทิง 3)นายบัณฑูร 4)นางแสงบุหงา 5)นางเกษรา เป็นต้น

โดยท่านเหล่านี้คือผู้ใช้นามสกุล”ทองเยี่ยม”รุ่นแรกโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในตัวอำเภอเมืองของจังหวัดกาฬสินธุ์

สายตระกูล[แก้]

ก่อนหน้า พระยาชัยสุนทร (ทอง) ถัดไป
พระยาชัยสุนทร (หล้า)
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์,
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

(พ.ศ. 2389 - 2494)
พระยาชัยสุนทร (จารย์ละ)
  1. http://www.kalasinpit.ac.th/elearning/kroosert/data/kalasin.htm[ลิงก์เสีย]