พรรณนิภา เครือนวล
ไก่ พรรณนิภา | |
---|---|
ชื่อเกิด | พรรณนิภา จิระศักดิ์ |
เกิด | 13 มกราคม พ.ศ. 2508 |
ที่เกิด | จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
แนวเพลง | ป็อป, ลูกกรุง, สากล, ลูกทุ่ง |
อาชีพ | นักร้อง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2537 - 2554 |
ค่ายเพลง | Lepso เลปโส้ |
พรรณนิภา จิระศักดิ์ หรือมีชื่อจริงว่า เกตุณัฏฐนิรัชต์ เครือนวล ชื่อเล่น ไก่ เป็นที่รู้จักในชื่อ ไก่ พรรณนิภา เป็นนักร้องหญิงชาวไทย เป็นชาวจังหวัด เชียงใหม่ ตั้งแต่กำเนิด มีพี่น้องจำนวน 4 คน ซึ่งเธอเป็นบุตรคนสุดท้อง พรรณนิภาเธอโด่งดังอย่างสุดขีดในปี พ.ศ. 2537 จากเพลง "กุหลาบแดง" ซึ่งแปลมาจากเพลงจีนกลาง 九佰九拾九朵玫瑰 (กุหลาบเก้าร้อยเก้าสิบเก้าดอก) ของไถ เจิ้งเซียว
ประวัติ
[แก้]ไก่ พรรณนิภา เริ่มต้นก่อนเข้าสู่วงการเพลงจากการเป็นนักร้องประจำตามผับและโรงแรมต่างๆ ในเชียงใหม่ จนได้มาร้องประจำอยู่ที่ โรงแรมเชียงอินทร์ และ โรงแรมแม่ปิง จากนั้นได้มาเจอกับพี่ชายของ พรพจน์ อันทนัย ซึ่งพี่ชายอาจารย์ได้มาเที่ยวฟังเพลงที่นี่ และชื่นชอบในน้ำเสียงของไก่ พรรณนิภา จึงได้มีการพูดคุยกันว่า มีน้องชายเป็นนักแต่งเพลง ซึ่งแต่งให้นักร้องดังมาแล้วหลายอัลบั้ม และขายได้เป็นหลักล้านทุกอัลบั้ม หลังจากคุยกันแล้ว ได้ติดต่อกับ อ.พรพจน์ และนัดไปเทสท์เสียงร้องที่กรุงเทพฯ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงได้ทำสัญญาว่าจ้างกันตอนต้นปี 2537 เป็นต้นมา
จึงได้เกิดอัลบั้มแรกขึ้นคืออัลบั้ม "รักเกินร้อย" ที่มีเพลงกุหลาบแดงอยู่ในอัลบั้มนี้ด้วย และได้วางแผงตอนปลายปี 2537 จนโด่งดังมาถึงทุกวันนี้ งานชุด รักเกินร้อย ของไก่ พรรณนิภานอกจากเพลงกุหลาบแดงแล้วยังมีเพลงอื่นๆ อีกที่มีความเพราะไม่แพ้กันไม่ว่าจะเป็น รักเกินร้อย, ปล่อยฉันไป และเพลง ตื่นเสียที ฯลฯ สร้างยอดขายสูงถึง 5 ล้านตลับ[1]
ต่อด้วยอัลบั้มชุดที่ 2 “เสียงคลื่นยังเหมือนเดิม” ในปีพ.ศ. 2540 ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน แต่น้อยกว่าอัลบั้มแรก โดยมีเพลงฮิต ได้แก่ เพลง เสียงคลื่นยังเหมือนเดิม , ลมพัดทราย , หมื่นคำขอโทษ เป็นต้น ซึ่งอัลบั้มชุดนี้มียอดขาดประมาณ 7 แสนชุด
และยังคงออกอัลบั้มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพลงแนวลูกกรุง พื้นเมือง โฟล์คซอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพลงคัฟเวอร์ ซึ่งก็ได้รับความนิยมเช่นกัน แต่เป็นความนิยมเฉพาะกลุ่ม
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ปัจจุบัน ไก่ พรรณนิภา ยังคงรับงานร้องเพลงตามอีเวนท์ คอนเสิร์ต งานเลี้ยง ร้านอาหาร ทั่วประเทศอย่างต[1]่อเนื่อง และยังคงรับงานเบื้องหน้าอยู่เรื่อย ๆ ตามความเหมาะสม ปัจจุบันเป็นนักร้องนำของ “ร้านบ้านไร่ยามเย็น (Baanria Yarmyen)” จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นร้านอาหารภาคเหนือ โดยจะร้องทุกวัน พฤหัสฯ-ศุกร์-เสาร์ เวลา 20.00-21.00 น.
ผลงาน
[แก้]อัลบั้มเดี่ยว
[แก้]- รักเกินร้อย (2537) (เลปโส้)
- เสียงคลื่นยังเหมือน (2540) (เลปโส้)
- สาวเชียงใหม่ (2540) (เลปโส้)
- สาวเจียงฮาย (2540) (เลปโส้)
- เทวดาเดินดิน (2541) (เลปโส้)
- ทัศนาจร (2541) (เลปโส้)
- รำวงสาวบ้านแต้ (2542) (เลปโส้)
- สาละวันรำวง (2542) (เลปโส้)
- ว.ค. รอรัก (2542) (เลปโส้)
- คู่รัก (2542) (เลปโส้)
- ชีวิตกับความหวัง (2542) (เลปโส้)
- เฉลิมกรุง (2542) (เลปโส้)
- เฉลิมไทย (2542) (เลปโส้)
- สวรรค์บนดอย (2543) (เลปโส้)
- สนามอารมณ์ (2544) (เลปโส้)
- ตะวันชิงพลบ (2544) (เลปโส้)
- BYE BYE กรุงเทพ (2545) (เลปโส้)
- MTV Design (2547) (เลปโส้)
- รักข้ามขอบฟ้า (2547) (เลปโส้)
- ดอกไม้มาฝาก (2547) (เลปโส้)
- สาวล้านนา (เลปโส้)
- เสาอากาศทองคำ (เลปโส้)
- แผ่นเสียงทองคำ (เลปโส้)
- เพชรอมตะ (เลปโส้)
- รักเธอไม่มีวันหยุด (2553) (เลปโส้)
อัลบั้มพิเศษ
[แก้]- ซิดี้เลดี้ กระชากวัย (เลปโส้)
- ซิดี้เลดี้ สะดุดขาไมค์ (เลปโส้)
- Remember Five (2552)
- อีกนิดนึง (Once & Once More) (2554) (เลปโส้)
เพลงประกอบละคร/ภาพยนตร์
[แก้]- กุหลาบแดง (เพลงประกอบภาพยนตร์ กระสือวาเลนไทน์) (2548)
- ลาบขมส้มป่อย (เพลงประกอบภาพยนตร์ ส้มป่อย) (2564)