ผู้ใช้:DenPrasert/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
worldskills thailand logo

ประวัติความเป็นมาของการแข่งขันฝีมือแรงงาน[แก้]

         การแข่งขันฝีมือแรงงานได้เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ได้สร้างความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจและสังคมของยุโรป Mr. Francisco Albert Vidal จึงได้เปลี่ยนการแข่งขันฝีมือแรงงานของเยาวชนระหว่างประเทศสเปนและโปรตุเกส และได้จัดการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1950 ณ เมืองมาริด ประเทศสเปน ต่อมาได้พัฒนาเป็นการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประเทศไทยได้รับอิทธิพลดังกล่าว ประกอบกับจากปัญหาการขาดแคลนช่างฝีมือในการพัฒนาประเทศ จึงได้นำวิธีการแข่งขันฝีมือแรงงานเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมฝีมือแรงงานของช่างในประเทศตั้งแต่ปี 2513

การแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ[แก้]

ความเป็นมา[แก้]

                  การแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติในประเทศไทย ได้รับอิทธิพลและแนวคิดมาจากการแข่งขันฝีมือแรงงานระหว่างประเทศ ประกอบกับในขณะนั้น แนวทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2510-2514) ได้สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมของประเทศ และภาคอุตสาหกรรมเริ่มขยายตัว ทำให้ประเทศมีความต้องการแรงงานประเภทช่างฝีมือจำนวนมาก เป็นเหตุให้ประเทศไทยเกิดการขาดแคลนแรงงานฝีมือมากยิ่งขึ้น อันเป็นอุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ รัฐบาลในขณะนั้นได้พยายามหาทางแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งรีบ ด้วยการหาทางจัดบริการเกี่ยวกับการฝึกอาชีพและพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยจัดตั้งสถาบันฝึกอาชีพของหน่วยงานต่าง ๆ และให้การส่งเสริมการจัดอาชีวศึกษาเป็นพิเศษ นอกจากนั้นภาคเอกชนเองก็ยังได้ร่วมมือกับรัฐบาลในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนสนใจการศึกษาทางด้านอาชีพ ตลอดจนการเป็นช่างฝีมือมากขึ้น

                จากปัญหาการขาดแคลนช่างฝีมือในการพัฒนาประเทศดังกล่าว และแนวความคิดการสนับสนุนช่างฝีมือด้วยการจัดการแข่งขันฝีมือแรงงาน (Skill Contest) และการจัดงานแนะแนวอาชีพ (Career Exhibition) ซึ่งต่างประเทศนิยมจัดกันมาก สโมสรโรตารี่กรุงเทพฯ ได้พิจารณาเห็นว่าการจัดแข่งขันฝีมือช่างนี้ จะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนกิจการต่าง ๆ ของสถาบันฝึกอาชีพทุกแห่งเพราะการแข่งขันมุ่งหมายที่จะให้ครูและนักเรียน เน้นการฝึกฝีมือให้ดีขึ้นเป็นสำคัญ และให้ประชาชนยอมรับความสำคัญของการศึกษาด้านวิชาชีพ อันจะช่วยให้สังคมมีทัศนคติที่ดีต่อช่างฝีมือยิ่งขึ้น สโมสรโรตารี่กรุงเทพฯ จึงได้ร่วมมือกับกรมแรงงานสมัยนั้น ส่วนราชการและธุรกิจเอกชนหลายแห่งร่วมกันจัดให้มีการแข่งขันช่างฝีมือขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2-5 มีนาคม 2513 ณ เวทีลีลาศสวนลุมพินี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงาน และนายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นประธานปิดงานและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขัน

                ในช่วงระยะเวลากว่า 49 ปี ได้มีการจัดการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติมาแล้ว 27 ครั้ง

มีการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาเกี่ยวกับการแข่งขันโดยลำดับซึ่งสรุปได้ดังนี้

                1. การเพิ่มจำนวนสาขาที่แข่งขัน : สาขาที่จัดแข่งขันในครั้งแรก ๆ เป็นสาขาที่จัดการฝึกโดย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เช่น ช่างยนต์ ช่างไม้ ช่างไฟฟ้า แต่ต่อมาได้เพิ่มสาขาที่อยู่ในความนิยมของตลาด มากขึ้น แม้จะมิใช่เป็นสาขาที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานมีความเชี่ยวชาญในการฝึก เช่น สาขาช่างเครื่องประดับ สาชาช่างแต่งผม สาขาช่างเมคคาทรอนิกส์ เป็นต้น

                2. ในระยะแรกมีการจัดการแข่งขันทุกปี แต่ต่อมาได้ปรับให้เหมาะสมตามปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยด้านงบประมาณ จึงกำหนดให้มีการแข่งขันทุก ๆ 2 ปี โดยเริ่มตั้งแต่การแข่งขัน ครั้งที่ 12 เมื่อ พ.ศ.2530 เป็นต้นมา

                3. ในระยะแรกจัดแข่งขันที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน มิได้แยกชัดเจนเป็นระดับภาค และระดับชาติ แต่ต่อมามีการดำเนินการแข่งขัน โดยแบ่งการแข่งขันเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับภาค โดยให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานในแต่ละภาคร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในภูมิภาครับผิดชอบ และระดับชาติโดยคัดผู้แข่งขันจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคมาแข่งขันที่ส่วนกลาง

                4. การแข่งขันได้ขยายสู่ระดับสากล โดยในปี พ.ศ.2536 กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ส่งเยาวชนเข้าแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติเป็นครั้งแรกที่ประเทศไต้หวัน และ พ.ศ.2538 ได้ส่งเยาวชนเข้าแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย

                5. ข้อสอบที่ใช้ในการแข่งขันนำมาจากข้อสอบของการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ หรือ WorldSkills มาเป็นฐานในการทำข้อสอบทั้งระดับชาติและระดับภาค โดยข้อสอบของ WorldSkills เป็นข้อสอบที่จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสมาชิกของ WorldSkills โดยสะท้อนถึงเทคโนโลยีล่าสุด รวมทั้งความต้องการทักษะแรงงานของตลาดโลก

                สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้

                1. เพื่อกระตุ้นจูงใจให้กำลังแรงงานของไทยเกิดความตื่นตัว สนใจที่จะพัฒนาฝีมือของตนเองให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล

                2. เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงฝีมือในการเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานในระดับสากล

                3. เพื่อเน้นให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปเห็นความสำคัญของการเป็นแรงงานฝีมือ

                4. เพื่อยกฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจของแรงงานฝีมือ

                5. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาทักษะฝีมือของเยาวชนไทยให้ทันต่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ

การแข่งขันที่ผ่านมา[แก้]

ครั้งที่ วัน เดือน ปี สถานที่จัดงาน จำนวนสาขา

ที่จัดแข่งขัน

1 2-5 มีนาคม 2513 เวทีลีลาส สวนลุมพินี 13
2 1-5 ธันวาคม 2514 21
3 1-7 ธันวาคม 2515 กรีฑาสถานแห่งชาติ 27
4 16-18 พฤษภาคม 2522 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมแรงงาน 15
5 11-13 มิถุนายน 2523 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมแรงงาน 10
6 13-15 พฤษภาคม 2524 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมแรงงาน 10
7 28-29 เมษายน 2525 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมแรงงาน 10
8 14-19 ,22-26 พฤษภาคม 2526 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมแรงงาน 10
9 16-18 พฤษภาคม 2527 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมแรงงาน 13
10 10-14 ,21-28 กรกฎาคม 2528 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมแรงงาน 13
11 7-10 ,21-22 มิถุนายน 2529 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมแรงงาน 17
12 14-15 ,28-29 มีนาคม 2530 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมแรงงาน 18
13 17-18 มิถุนายน 2532 อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) 21
14 8-9 มิถุนายน 2534 อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) 21
15 4-19 มิถุนายน 2537 เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานกลาง

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดอุบลราชธานี

49
16 2-6 สิงหาคม 2539 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว 36
17 19-23 ธันวาคม 2540 เซ็นทรัลลาดพร้าว 23
18 18-23 มิถุนายน 2543 ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ 24
19 1-5 กุมภาพันธ์ 2545 ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ 28
20 30-2 กุมภาพันธ์ 2547 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมไบเทค บางนา 27
21 10-12 กุมภาพันธ์ 2549

3-6 กุมภาพันธ์ 2549

4-5 กุมภาพันธ์ 2549

ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมไบเทค บางนา

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1 สมุทรปราการ

วิทยาลัยการแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

25
22 30-2 พฤษภาคม 2551 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1 สมุทรปราการ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

27
23 29-1 กุมภาพันธ์ 2553 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 4 ราชบุรี

ตลาดเพชรเมืองราช จังหวัดราชบุรี

25
24 22-30 เมษายน 2555 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมไบเทค บางนา

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1 สมุทรปราการ

23
25 28-9 มีนาคม 2557 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี 24
26 1-5 กุมภาพันธ์ 2559 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมไบเทค บางนา 26
27 20-21 มีนาคม 2561 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมไบเทค บางนา 28
28 11-19 มีนาคม 2563 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1 สมุทรปราการ

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 16 นครปฐม

วิทยาลัยการแรงงาน สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

วิทยาลัยดุสิตธานี

บริษัท เฟสโต้ จำกัด

18

สาขาที่จัดการแข่งขันในปัจจุบัน[แก้]

กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต

(Manufacturing and Engineering Technology)

1 สาขาเมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics) (ประเภททีม)
2 สาขาเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ (Mechanical Engineering CAD)
3 สาขาเครื่องจักรกล CNC (เครื่องกลึง) (CNC Turning)
4 สาขาเครื่องจักรกล CNC (เครื่องกัด) (CNC Milling)
5 สาขาเทคโนโลยีงานเชื่อม (Welding)
6 สาขาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)
7 สาขาหุ่นยนต์เคลื่อนที่ (Mobile Robotics) (ประเภททีม)
8 สาขามาตรวิทยาด้านมิติ (Metrology) (ประเภททีม)
9 สาขาระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม (Industrial Automation) (ประเภททีม)
กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีการสื่อสาร

(Information and Communication Technology)

10 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Software Solutions for Business)
11 สาขาเว็บดีไซน์ (Web Design and Development)
กลุ่มสาขาอาชีพแฟชั่นและครีเอทีฟ

(Creative Arts and Fashion)

12 สาขาจัดดอกไม้ (Floristry)
13 สาขาแฟชั่นเทคโนโลยี (Fashion Technology)
14 สาขากราฟิกดีไซน์ (Graphic Design Technology)
กลุ่มสาขาอาชีพขนส่งและโลจิสติกส์

(Transportation and Logistics)

15 สาขาเทคโนโลยียานยนต์ (Automobile Technology)
16 สาขาสีรถยนต์ (Car Painting)
กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีก่อสร้างและอาคาร

(Construction and Building Technology)

17 สาขาปูกระเบื้อง (Wall and Floor Tiling)
18 สาขาเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร (Electrical Installations)
19 สาขาก่ออิฐ (Bricklaying)
20 สาขาไม้เครื่องเรือน (Cabinetmaking)
21 สาขาต่อประกอบมุมไม้ (Joinery)
22 สาขาเทคโนโลยีระบบทำความเย็น (Refrigeration and Air Conditioning)
กลุ่มสาขาบริการส่วนบุคคลและสังคม

(Social and Personal Services)

23 สาขาแต่งผม (Hairdressing)
24 สาขาประกอบอาหาร (Cooking)
25 สาขาบริการอาหารและเครื่องดื่ม (Restaurant Service)

เงินรางวัล[แก้]

ระดับภาค

รางวัล ประเภททีม ประเภทบุคคล
เหรียญทอง 20,000 10,000
เหรียญเงิน 12,000 6,000
เหรียญทองแดง 6,000 3,000

ระดับประเทศ

รางวัล ประเภททีม ประเภทบุคคล
เหรียญทอง 60,000 30,000
เหรียญเงิน 30,000 15,000
เหรียญทองแดง 20,000 10,000
ชมเชย 10,000 5,000

การแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน[แก้]

ความเป็นมา[แก้]

                สำนักงานโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งภาคพื้นที่เอเชียและแปซิฟิก (ILO/APSDEP) ได้จัดประชุมประเทศสมาชิกระหว่างวันที่ 7 – 17 กันยายน 2536 ณ เมืองชิบะ ประเทศญี่ปุ่น และตกลงที่จะจัดให้มีการแข่งขันฝีมือแรงงานระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนขึ้น ดังนั้น การแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์ของการแข่งขันประกอบด้วย

                1. เพื่อพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพและค่านิยมที่ดีของการทำงานในกลุ่มเยาวชนและแรงงานฝีมือ

                2. เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกร่วมมือกันทั้งในการศึกษาและฝึกอบรมด้านอาชีพ

                3. เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม องค์กรนายจ้างและลูกจ้าง อีกทั้งสถานศึกษาด้านวิชาชีพต่าง ๆ

                4. เพื่อเป็นเวทีที่สร้างการยอมรับในความเป็นเลิศด้านฝีมือ อีกทั้งช่วยพัฒนาแรงงาน รุ่นใหม่ให้มีฝีมืออยู่ในระดับสูง

                การแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนเป็นกิจกรรมหนึ่งของประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเพื่อร่วมมือกันพัฒนาฝีมือแรงงานในระดับภูมิภาคให้ทัดเทียมกับระดับนานาชาติโดยประเทศสมาชิกได้กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นของการแข่งขัน ดังนี้

                1. จัดการแข่งขันทุก 2 ปี โดยประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพผู้จัดการแข่งขัน โดยการลงมติเลือกประเทศที่จะรับเป็นเจ้าภาพ

                    2. แบบแข่งขัน (Test Projects) ที่ใช้ในการแข่งขัน ประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงร่วมกันใช้แบบแข่งขัน

ครั้งล่าสุดขององค์การแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ หรือ WorldSkills (ซึ่งมีสมาชิก ทั่วโลกประมาณ 80 ประเทศ

และจัดการแข่งขันทุก 2 ปี) แบบทดสอบ WorldSkills ทุกสาขา จัดทำขึ้นโดย ผู้เชี่ยวชาญซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาคอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศสมาชิก โดยเนื้อหาของแบบทดสอบจะสะท้อนถึงเทคโนโลยีล่าสุดและ

ความต้องการทักษะแรงงานของตลาดโลก โดยมีความเชื่อว่าผู้ที่สามารถทำแบบทดสอบในสนามแข่งขันได้ ก็ย่อมจะสามารถทำงานในสถานประกอบการได้เช่นกัน เนื่องจากแบบทดสอบของ WorldSkills มีการปรับปรุงแก้ไขทุกครั้งที่มีการแข่งขันครั้งใหม่ การจัดการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ซึ่งยึดแบบทดสอบของ WorldSkills ครั้งล่าสุด จึงเป็นวิธีการที่ดีอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เยาวชนในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ฝึกฝนฝีมือให้ก้าวทันกระแสโลกอยู่เสมอ

                3. ผู้แข่งขันต้องมีอายุไม่เกิน 22 ปี แต่ละประเทศส่งเข้าแข่งขันไม่เกินสาขาละ 2 คน โดยกำหนดระยะเวลาแข่งขัน 3 วัน (ภายในระยะเวลา 15 – 18 ชั่วโมง)

การแข่งขันที่ผ่านมา[แก้]

ครั้งที่ วัน เดือน ปี ประเทศเจ้าภาพ เมือง จำนวนสาขาที่จัดแข่งขัน
1 12 – 23 สิงหาคม 2538 ประเทศมาเลเซีย กรุงกัวลาลัมเปอร์ 6
2 10 – 17 ธันวาคม 2539 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ กรุงมนิลา 10
3 11 - 20 มีนาคม 2544 ประเทศไทย กรุงเทพมหานคร,ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ 12 สาขา กำหนดให้จัดขึ้นในปี พ.ศ.2541 แต่เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ประเทศสมาชิกจึงมีมติให้เลื่อนการแข่งขันเป็นวันที่ 11-20 มี.ค. 44
4 1 – 10 ตุลาคม 2545 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย กรุงจาการ์ตา 12
5 21 - 30 กันยายน 2547 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม กรุงฮานอย 14
6 3 - 12 กันยายน 2549 เนการาบรูไนดารุสซาลาม กรุงบันดาร์เสรี

เบกาวัน

12
7 10 - 19 พฤศจิกายน 2551 ประเทศมาเลเซีย กรุงกัวลาลัมเปอร์ 19
8 14- 23 พฤศจิกายน 2553 ประเทศไทย กรุงเทพมหานคร,อิมแพค อาคารชาเลนเจอร์ 1-2 21
9 11 - 20 พฤศจิกายน 2555 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย กรุงจาการ์ตา 23
10 19 – 29 ตุลาคม 2557 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม กรุงฮานอย 25
11 19 - 29 กันยายน 2559 ประเทศมาเลเซีย กรุงกัวลาลัมเปอร์ 25
12 26 สิงหาคม - 4 กันยายน 2561 ประเทศไทย กรุงเทพมหานคร,อิมแพค อาคารชาเลนเจอร์ 1-2 26

สาขาที่จัดการแข่งขัน[แก้]

กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต

(Manufacturing and Engineering Technology)

1 เมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics) ทีม
2 เขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ (Mechanical Engineering - CAD)
3 เทคโนโลยีงานเชื่อม (Welding Technology)
4 ระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม (Industrial Automation)  ทีม
5 หุ่นยนต์เคลื่อนที่ (Mobile Robotics)  ทีม
6 อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)
7 บำรุงรักษาเครื่องจักรกล CNC (CNC Maintenance) ทีม
กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีการสื่อสาร

(Information and Communication Technology)

8 เว็บดีไซน์ (Web Design and Development)
9 เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Software Solutions for Business)
10 เทคโนโลยีสายเครือข่าย (Information Network Cabling)
11 การดูแลระบบเครือข่ายสารสนเทศ (IT Network System Administration)
กลุ่มสาขาอาชีพแฟชั่นและครีเอทีฟ

(Creative Arts and Fashion)

12 กราฟิกดีไซน์ (Graphic Design Technology)
13 แฟชั่นเทคโนโลยี (Fashion Technology)
กลุ่มสาขาอาชีพขนส่งและโลจิสติกส์

(Transportation and Logistics)

14 เทคโนโลยียานยนต์ (Automobile Technology)
D1 สีรถยนต์ (Car Painting)
กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีก่อสร้างและอาคาร

(Construction and Building Technology)

15 เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร (Electrical Installations)
16 เทคโนโลยีระบบทำความเย็น (Refrigeration and Air Conditioning)
17 ปูกระเบื้อง (Wall & Floor Tiling)
18 ก่ออิฐ (Bricklaying)
19 ไม้เครื่องเรือน (Cabinetmaking)
20 ต่อประกอบมุมไม้ (Joinery)
D2 อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) ทีม
กลุ่มสาขาบริการส่วนบุคคลและสังคม

(Social and Personal Services)

21 เสริมความงาม (Beauty Therapy)
22 แต่งผม (Hairdressing)
23 บริการอาหารและเครื่องดื่ม (Restaurant Service)
24 ประกอบอาหาร (Cooking)

ผลงานประเทศไทยที่ผ่านมา[แก้]

ครั้งที่ จำนวนที่ส่งเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวนที่จัดการแข่งขัน เหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง ประกาศนียบัตร ลำดับที่ได้ คะแนนเฉลี่ยที่ได้
1 6 1 2 - 1
2 10 - - 7 1
3 12 12 8 5 3 5 1
4 12 12 8 5 2 8 1
5 14 14 4 4 2 9 2
6 12 5 1 3 12
7 16 6 4 5 8
8 22 22 15 8 3 10 1
9 17 5 2 3 12
10 21 5 2 4 12
11 17 5 1 7 11
12 26 26 16 4 3 13 1
ครั้งที่ สาขาที่ได้รับรางวัล
เหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง ประกาศนียบัตร
1 1.ช่างเชื่อม 1.ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร

2.ช่างไม้ก่อสร้าง

- 1.ช่างเชื่อม
2 - - 1.ช่างซ่อมรถยนต์

2.ช่างเครื่องปรับอากาศฯ

3.ช่างไม้ก่อสร้าง

4.ช่างไม้ก่อสร้าง

5.ช่างไม้เครื่องเรือน

6.ช่างเชื่อม

7.ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

1.ช่างไม้เครื่องเรือน
3 1.ช่างเชื่อม

2.ช่างอิเล็กทรอนิกส์

3.ช่างอิเล็กทรอนิกส์

4.ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร

5.ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร

6.ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

7.ช่างซ่อมรถยนต์

8.พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม

1.ช่างเชื่อม

2.ช่างต่อประกอบมุมไม้

3.ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

4.ช่างซ่อมรถยนต์

.พนักงานประกอบอาหาร

1.ช่างกลึงโลหะ

2พนักงานประกอบอาหาร

3.พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม

1.พนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศ

2.ช่างท่อและสุขภัณฑ์

3.ช่างท่อและสุขภัณฑ์

4.ช่างไม้เครื่องเรือน

5.ช่างต่อประกอบมุมไม้

4 1.ช่างเชื่อม

2.ช่างท่อและสุขภัณฑ์

3.ช่างอิเล็กทรอนิกส์

4.ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร

5.ช่างต่อประกอบมุมไม้

6.ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

7.พนักงานประกอบอาหาร

8.พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม

1.ช่างเขียนแบบและออกแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์

2.ช่างเชื่อม

3.ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร

4.ช่างต่อประกอบมุมไม้

5.ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

1.ช่างอิเล็กทรอนิกส์

2.ช่างซ่อมรถยนต์

1.ช่างเขียนแบบและออกแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์

2.พนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศ

3.พนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศ

4.ช่างท่อและสุขภัณฑ์

5.ช่างไม้เครื่องเรือน

6.ช่างไม้เครื่องเรือน

7.พนักงานประกอบอาหาร

8.พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม

5 1.ช่างออกแบบและเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์

2.ช่างเชื่อม

3.ช่างปูกระเบื้อง

4.พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม

1.ช่างเชื่อม

2.ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

3.ช่างซ่อมรถยนต์

4.พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม

1.ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

2.พนักงานประกอบอาหาร

1.ช่างออกแบบและเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์

2.พนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศ

3.พนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศ

4.ช่างอิเล็กทรอนิกส์

5.ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร

6.ช่างก่ออิฐ

7.ช่างต่อประกอบมุมไม้

8.ช่างซ่อมรถยนต์

9.พนักงานประกอบอาหาร

6 1.ช่างเชื่อม

2.ช่างเชื่อม

3.ช่างท่อและสุขภัณฑ์

4.ช่างท่อและสุขภัณฑ์

5.ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร

1.ช่างก่ออิฐ 1.ช่างออกแบบและเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์

2.ช่างอิเล็กทรอนิกส์

3.ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

1.ช่างออกแบบและเขียน

แบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์

2.พนักงานเทคโนโลยี สารสนเทศ

3.พนักงานเทคโนโลยี สารสนเทศ

4.ช่างอิเล็กทรอนิกส์

5.ช่างก่ออิฐ

6.ช่างไม้เครื่องเรือน

7.ช่างไม้เครื่องเรือน

8.ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

9.ช่างซ่อมรถยนต์

10.พนักงานประกอบอาหาร

11.พนักงานประกอบอาหาร

12.พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม

7 1.ช่างเชื่อม

2.ช่างต่อประกอบมุมไม้

3.ช่างต่อประกอบมุมไม้

4.ช่างเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น

5.พนักงานออกแบบกราฟิก

6.ช่างปูกระเบื้อง

1.ช่างเชื่อม

2.ช่างท่อและสุขภัณฑ์

3.ช่างเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำ

4.ความเย็น

5.ช่างปูกระเบื้อง

1.ช่างออกแบบและเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์

2.ช่างอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรม

3.ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร

4.ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

5.พนักงานออกแบบเว็บเพจ

1.ช่างออกแบบและเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์

2.พนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศ

3.ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร

4.ช่างก่ออิฐ

5.พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม

6.พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม

7.พนักงานออกแบบกราฟิก

8.พนักงานออกแบบเว็บเพจ

8 1.เทคโนโลยีระบบสายเครือข่าย

2.เมคคาทรอนิกส์

3.ออกแบบและเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์

4.เทคโนโลยีสารสนเทศ

5.เทคโนโลยีงานเชื่อม

6.เทคโนโลยีงานเชื่อม

7.ปูกระเบื้อง

8.ปูกระเบื้อง

9.ท่อและสุขภัณฑ์

10.เทคโนโลยีการติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร

11.เทคโนโลยีการติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร

12.เทคโนโลยียานยนต์

13.ประกอบอาหาร

14.พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม

15.เทคโนโลยีระบบทำความเย็น

1.ท่อและสุขภัณฑ์

2.อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

3.ต่อประกอบมุมไม้

4.แต่งผม

5.เทคโนโลยียานยนต์

6.ประกอบอาหาร

7.พนักงานบริการอาหาร และเครื่องดื่ม

8.เทคโนโลยีระบบทำความเย็น

1.เทคโนโลยีระบบสายเครือข่าย

2.ต่อประกอบมุมไม้

3.เสริมความงาม

1.เทคโนโลยีสารสนเทศ

2.อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรม

3.เว็บดีไซน์

4.เว็บดีไซน์

5.ก่ออิฐ

6.อุตสาหกรรมไม้เครื่องเรือน

7.อุตสาหกรรมไม้เครื่องเรือน

8.แฟชั่นเทคโนโลยี

9.กราฟิกดีไซน์

10.กราฟิกดีไซน์

10 1.เทคโนโลยีงานเชื่อม

2.บริการอาหารและเครื่องดื่ม

3.แต่งผม

4.ปูกระเบื้อง

5.เมคคาทรอนิกส์ (ทีม)

1.เทคโนโลยีสายเครือข่าย 1.หุ่นยนต์เคลื่อนที่ (ทีม)

2.เทคโนโลยีงานเชื่อม

3.บริการอาหารและเครื่องดื่ม

4.กราฟิกดีไซน์

1.แต่งผม

2.เทคโนโลยียานยนต์

3.แฟชั่นเทคโนโลยี

4.ท่อและสุขภัณฑ์

5.ก่ออิฐ

6.ก่ออิฐ

7.เว็บดีไซน์

8.กราฟิกดีไซน์

9.เทคโนโลยีระบบทำความเย็น

10.ประกอบอาหาร

11.ประกอบอาหาร

12.ออกแบบและเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์

11 1.เทคโนโลยีงานเชื่อม

2.บริการอาหารและเครื่องดื่ม

3.แต่งผม

4.เมคคาทรอนิกส์ (ทีม)

5.ออกแบบและเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์

1.บำรุงรักษาเครื่องจักรกลCNC (ทีม) 1.เว็บดีไซน์

2.กราฟิกดีไซน์

3.กราฟิกดีไซน์

4.หุ่นยนต์เคลื่อนที่ (ทีม)

5.แต่งผม

6.บริการอาหารและเครื่องดื่ม

7.ระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม (ทีม)

1.เทคโนโลยีงานเชื่อม

2.ประกอบอาหาร

3.ประกอบอาหาร

4.แฟชั่นเทคโนโลยี

5.เทคโนโลยีสารสนเทศ

6.เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร

7.เทคโนโลยีระบบทำความเย็น

8.เว็บดีไซน์

9.ท่อและสุขภัณฑ์

10.ท่อและสุขภัณฑ์

11.ก่ออิฐ

12.ก่ออิฐ

เงินรางวัล[แก้]

รางวัล เงินรางวัล
เหรียญทอง 150,000
เหรียญเงิน 75,000
เหรียญทองแดง 40,000
ชมเชย 20,000
รางวัลปลอบใจ 10,000

การแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ[แก้]

ความเป็นมา[แก้]

                การแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมทักษะฝีมือแรงงานของเยาวชนจากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โดยจัดให้มีการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี 2493 ณ กรุงแมดริด ประเทศสเปน และจัดให้มีการแข่งขัน เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งกำหนดให้จัดการแข่งขันขึ้นทุก 2 ปี สำหรับประเทศที่จะจัดส่งเยาวชน เข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาตินั้น จะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ (WorldSkills International) หรือชื่อเดิม International Vocational Training Organization (IVTO) ซึ่งในปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 81 ประเทศ

                รัฐบาลไทยได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2536 อนุมัติในหลักการให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานดำเนินการจัดส่งบุคคลเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ โดยประเทศไทยได้สมัครเป็นสมาชิกองค์การการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ เมื่อปี 2536 และได้จัดส่งเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติมาตามลำดับจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่ละประเทศจะส่งเยาวชนเข้าแข่งขันได้ไม่เกินสาขาละ 1 คน หรือ 1 ทีม โดยกำหนดระยะเวลาแข่งขัน 4 วัน และใช้แบบแข่งขัน (Test Projects) ที่จัดทำขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งมาจากภาคอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศสมาชิก โดยเนื้อหาของแบบทดสอบจะสะท้อนถึงเทคโนโลยีล่าสุดและความต้องการทักษะแรงงานของตลาดโลก

                วัตถุประสงค์ของไทยในการจัดส่งเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ

                1. เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ความสามารถของช่างฝีมือไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่นานา ประเทศตลอดจนถึงการนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทย

                2. เป็นการจูงใจและสนับสนุนให้เยาวชนเห็นความสำคัญของอาชีพต่างๆ และยึดถือเป็น อาชีพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือได้อีกทางหนึ่ง

                3. เป็นการจูงใจและกระตุ้นให้ช่างฝีมือที่มีอยู่ในประเทศได้ยกระดับฝีมือของตนเองให้ ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล

                4. เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งเป็น

การส่งเสริมงานด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานทัดเทียมนานาประเทศ

การแข่งขันที่ผ่านมา[แก้]

ครั้งที่ วัน เดือน ปี ประเทศเจ้าภาพ เมือง จำนวนสาขาที่จัดแข่งขัน
1 1950 Spain Madrid
2 1951 Spain Madrid
3 1953 Spain Madrid
4 18 -30 April 1955 Spain Madrid
5 April 1956 Spain Madrid
6 1957 Spain Madrid
7 August 1958 Belgium Brussels
8 8-24 September 1959 Italy Modena
9 1960 Spain Barcelona
10 2-14 July 1961 Germany Duisburg
11 September 1962 Spain Girón
12 July 1963 Ireland Dublin
13 July – August 1964 Portugal Lisbon
14 19-29 July 1965 United Kingdom Glasgow
15 14-29 June 1966 Netherlands Utrecht
16 4-17 July 1967 Spain Madrid
17 4-16 July 1968 Switzerland Bern
18 2-15 July 1969 Belgium Brussels
19 3-19 November 1970 Japan Tokyo
20 7-9 September 1971 Spain Gijón
21 30 Jul – 8 Aug 1973 Germany Munich
22 8-23 September 1975 Spain Madrid
23 24 June – 11 July 1977 Netherlands Utrecht
24 30 August – 15 September 1978 Korea Busan
25 2-17 September 1979 Ireland Cork
26 8-20 June 1981 USA Atlanta
27 15-28 August 1983 Austria Linz
28 10-27 October 1985 Japan Osaka
29 7-24 February 1988 Australia Sydney
30 19 Aug – 4 Sep 1989 United Kingdom Birmingham
31 20 Jun – 6 Jul 1991 Netherlands Amsterdam
32 19 Jul – 3 Aug 1993 Chinese Taipei Taipei
33 5-18 October 1995 France Lyon
34 27 Jun – 10 Jul 1997 Switzerland St.Gallen
35 3-17 November 1999 Canada Montreal
36 11-18 November 2001 Korea Seoul
37 18-25 June 2003 Switzerland St.Gallen
38 25 May - 1 June 2005 Finland Helsinki
39 14-21 November 2007 Japan Shizuoka
40 1-7 September 2009 Canada Calgary 41
41 5-8 October 2011 United Kingdom London 45
42 2-7 July 2013 Germany Leipzig 46
43 11-16 August 2015 Brazil São Paulo 50
44 14-19 October 2017 United Arab Emirates Abu Dhabi 49
45 22-27 August 2019 Russia Kazan

สาขาที่จัดการแข่งขัน[แก้]

Construction and Building Technology
1 Architectural Stonemasonry
2 Bricklaying
3 Cabinetmaking
4 Carpentry
5 Concrete Construction Work
6 Electrical Installations
7 Joinery
8 Landscape Gardening
9 Painting and Decorating
10 Plastering and Drywall Systems
11 Plumbing and Heating
12 Refrigeration and Air Conditioning
13 Wall and Floor Tiling
Creative Arts and Fashion
14 3D Digital Game Art
15 Fashion Technology
16 Floristry
17 Graphic Design Technology
18 Jewellery
19 Visual Merchandising
Information and Communication Technology
20 Cloud Computing
21 Cyber Security
22 Information Network Cabling
23 IT Network Systems Administration
24 IT Software Solutions for Business
25 Print Media Technology
26 Web Technologies
Manufacturing and Engineering Technology
27 Chemical Laboratory Technology
28 CNC Milling
29 CNC Turning
30 Construction Metal Work
31 Electronics
32 Industrial Control
33 Industrial Mechanic Millwright
34 Manufacturing Team Challenge
35 Mechanical Engineering CAD
36 Mechatronics
37 Mobile Robotics
38 Plastic Die Engineering
39 Polymechanics and Automation
40 Prototype Modelling
41 Water Technology
42 Welding
Social and Personal Services
43 Bakery
44 Beauty Therapy
45 Cooking
46 Hairdressing
47 Health and Social Care
48 Hotel Reception
49 Pâtisserie and Confectionery
50 Restaurant Service
Transportation and Logistics
51 Aircraft Maintenance
52 Autobody Repair
53 Automobile Technology
54 Car Painting
55 Freight Forwarding
56 Heavy Vehicle Technology

ผลงานประเทศไทยที่ผ่านมา[แก้]

ครั้งที่ จำนวนสาขาที่ส่งเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวนคนที่ส่งเข้าร่วม เหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง ประกาศนียบัตร ลำดับที่ได้ คะแนนเฉลี่ยที่ได้
32 7 7 - - - 1
33 10 10 1 1 1 1
34 14 14 1 1 - 4
35 16 17 - 1 2 6 502
36 15 1 - 1 6
37 13 14 1 2 - 6
38 14 15 1 1 1 6
39 17 17 - 4 - 7
40 15 15 2 - 2 5
41 25 26 2 2 - 12
42 20 22 2 1 - 8
43 21 23 1 - 1 10
44 24 26 - 1 - 12

   

ครั้งที่ สาขาที่ได้รับรางวับ
เหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง รางวัลชมเชย

(เหรียญฝีมือยอดเยี่ยม)

32 - - - 1.เครื่องประดับ
33 - 1.เครื่องประดับ 1.ทำผมบุรุษ 1.ตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี
34 1.ตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี 1.เครื่องประดับ - 1.เทคโนโลยีงานเชื่อม

2.อิเล็กทรอนิกส์

3.ปูกระเบื้อง

4.บริการอาหารและเครื่องดื่ม

35 - 1.อิเล็กทรอนิกส์ 1.เครื่องประดับ

2.ซ่อมรถยนต์

1.เมคคาทรอนิกส์

2.เขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ (CADD)

3.ปูกระเบื้อง

4.ตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

5.ตัดเย็บเสื้อผ้าบุรุษ

6.ประกอบอาหาร

36 1.เทคโนโลยีงานเชื่อม - 1.เครื่องประดับ 1.เขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ (CADD)

2.เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร

3.แฟชั่นเทคโนโลยี

4.แต่งผมสตรี

5.บริการอาหารและเครื่องดื่ม

6.เทคโนโลยีระบบทำความเย็น

37 1.แฟชั่นเทคโนโลยี 1.เทคโนโลยีงานเชื่อม

2.ช่างเครื่องประดับ

- 1.เมคคาทรอนิกส์

2.ไฟฟ้าภายในอาคาร

3.แต่งผม

4.เทคโนโลยียานยนต์

5.บริการอาหารและเครื่องดื่ม

6.เทคโนโลยีระบบทำความเย็น

38 1.เทคโนโลยีงานเชื่อม 1.แฟชั่นเทคโนโลยี 1.เทคโนโลยีระบบทำความเย็น 1.เมคคาทรอนิกส์

2.ออกแบบและเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ (CADD)

3.เทคโนโลยีสารสนเทศ

4.เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร

5.แต่งผม

6.บริการอาหารและเครื่องดื่ม

39 - 1.เครื่องจักรกล CNC

(เครื่องกลึง)

2.เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร

3.จัดดอกไม้

4.เทคโนโลยีระบบทำความเย็น

- 1.เทคโนโลยีงานเชื่อม

2.ท่อและสุขภัณฑ์

3.ออกแบบเว็บเพจ

4.แต่งผม

5.ตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

6.เทคโนโลยียานยนต์

7.บริการอาหารและเครื่องดื่ม

40 1.เครื่องจักรกล CNC (เครื่องกลึง)

2.เทคโนโลยีงานเชื่อม

- 1.กราฟิกดีไซน์

2.เทคโนโลยีระบบทำความเย็น

1.ท่อและสุขภัณฑ์

2.สีรถยนต์

3.ประกอบอาหาร

4.แฟชั่นเทคโนโลยี

5.เครื่องประดับ

41 1.เครื่องจักรกล CNC (เครื่องกลึง)

2.ออกแบบโมเดล

1.แฟชั่นเทคโนโลยี

2.สร้างและประกอบแม่พิมพ์

- 1.เมคคาทรอนิกส์

2.เทคโนโลยีงานเชื่อม

3.ปูกระเบื้อง

4.ท่อและสุขภัณฑ์

5.เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร

6.เครื่องประดับ

7.จัดดอกไม้

8.แต่งผม

9.เสริมความงาม

10.เทคโนโลยียานยนต์

11.ประกอบอาหาร

12.เทคโนโลยีระบบทำความเย็น

42 1.เครื่องจักรกล CNC (เครื่องกลึง)

2.สร้างและประกอบแม่พิมพ์

1.ออกแบบโมเดล - 1.เทคโนโลยีงานเชื่อม

2.ประกอบอาหาร

3.เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร

4.บริการอาหารและเครื่องดื่ม

5.แต่งผม

6.กราฟิกดีไซน์

7.แฟชั่นเทคโนโลยี

8.เครื่องประดับ

43 1.เครื่องจักรกล CNC (เครื่องกลึง) - 1.เทคโนโลยีงานเชื่อม 1.เมคคาทรอนิกส์

2.โพลีเมคคานิกส์และระบบอัตโนมัติ

3.ปูกระเบื้อง

4แต่งผม

5.เสริมความงาม

6.แฟชั่นเทคโนโลยี

7.ประกอบอาหาร

8.บริการอาหารและเครื่องดื่ม

9.เทคโนโลยีระบบทำความเย็น

10.กราฟิกดีไซน์

44 - 1.ประกอบอาหาร - 1.แฟชั่นเทคโนโลยี

2.เครื่องจักรกล CNC (เครื่องกลึง)

3.เทคโนโลยีงานเชื่อม

4.บริการอาหารและเครื่องดื่ม

5.เสริมความงาม

6.เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร

7.เครื่องจักรกล CNC (เครื่องกัด)

8.จัดดอกไม้

9.เมคคาทรอนิกส์

10.โพลีเมคคานิกส์และระบบอัตโนมัติ

11.เทคโนโลยีระบบทำความเย็น

12.ก่ออิฐ

เงินรางวัล[แก้]

รางวัล เงินรางวัล
เหรียญทอง 300,000
เหรียญเงิน 200,000
เหรียญทองแดง 100,000
ชมเชย 50,000
รางวัลปลอบใจ 10,000

การแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ

การแข่งขันฝีมือคนพิการนานาชาติ