ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Wanteesiriwan/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ

[แก้]

====1. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมของแบนดูลา (Bandura) จากทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมของแบนดูลา (Bandura. 1977, อ้างถึงใน ศรีสุดา ธิติโสภี. 2545 : 16 - 18) กล่าวถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลหรือปัจจัยในแง่ของพฤติกรรม สภาพแวดล้อม และสติปัญญามีผลซึ่งกันและกัน แบนดูลาให้ความสนใจในปัจจัยเป็นพิเศษ ด้วยเหตุนี้ แบนดูลาจึงพัฒนาแนวคิดของการเรียนรู้ด้วยการสังเกตขึ้นมา โดยที่เขามีความเชื่อว่า พฤติกรรมส่วนใหญ่ในสังคมของคนเราเกิดจากการเรียนรู้ โดยการสังเกตจากตัวแบบนั้นเองไม่ว่าตัวแบบนั้นจะเป็นชีวิตจริง เช่น พ่อ แม่ ครู หรือญาติพี่น้อง เป็นต้น หรือตัวแบบที่เน้นสัญลักษณ์ เช่น ตัวแบบจากภาพยนตร์ หรือหนังสือการ์ตูน เป็นต้น แบนดูลา [1](Bandura. 1977, อ้างถึงใน สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. 2537 : 224) ได้นำเสนอปัจจัยที่ส่งผลต่อการให้เด็กสังเกต และลอกเลียนแบบนั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ปัจจัย 1. กระบวนการตั้งใจ เด็กจะไม่สามารถจำพฤติกรรมของตัวแบบได้เลย ถ้าขาดความตั้งใจ ดังนั้นกระบวนการตั้งใจจัดได้ว่าเป็นกระบวนการแรกที่มีความสำคัญมากต่อการเรียนรู้โดยผ่านตัวแบบ ปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กเกิดความตั้งใจนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ปัจจัย หลักคือ ลักษณะของตัวแบบนั่นเอง คือตัวแบบที่เป็นบุคคลที่เด็กชื่นชอบ มีลักษณะเด่นมีชื่อเสียงก็จะทำให้เกิดความสนใจมาก ตัวแบบที่แสดงพฤติกรรมที่ชัดเจนไม่ซับซ้อนและเมื่อแสดงแล้วได้รับการเสริมแรงก็จะทำให้เด็กสนใจและอยากลอกเลียนแบบ นอกจากลักษณะของตัวแบบแล้ว ยังขึ้นอยู่กับลักษณะของเด็กเองอีกด้วย ถ้าเด็กมีความสนใจในการรับรู้ที่ดี ตื่นตัว มีสติปัญญาพอสมควร และเคยได้รับการเสริมแรงจากการลอกเลียนแบบจากตัวแบบมาก่อน เด็กก็จะให้ความสนใจต่อตัวแบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าเด็กมีความสนใจมากเท่าใดก็จะทำให้จดจำและลอกเลียนแบบได้มากขึ้นเท่านั้น 2. กระบวนการเก็บจำ บุคคลจะไม่สามารถแสดงพฤติกรรม ที่แสดงให้เห็นว่าเกิดจากการเลียนแบบได้เลย ถ้าเด็กไม่สามารถจำลักษณะของพฤติกรรมที่ตัวแบบแสดงออกได้ เด็กจะจดจำได้ดี ถ้าเด็กรู้จักวิธีการเก็บข้อมูลและจัดระบบข้อมูลและจัดระบบของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากความสามารถในการจัดระบบของข้อมูลได้ดี ถ้าเด็กได้เห็นตัวแบบแสดงพฤติกรรมบ่อย ๆ และมีโอกาสฝึกซ้อมการแสดงพฤติกรรมดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้น 3. กระบวนการกระทำเป็นกระบวนการที่เด็กจะนำเอาข้อมูลที่เก็บไว้มาแสดงเป็นการกระทำซึ่งแน่นอน การกระทำจะกระทำได้ ใกล้เคียงตัวแบบมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถในการจำ และความสามารถทางกายที่เด็กเคยมีอยู่แล้ว 4. กระบวนการจูงใจ เป็นกระบวนการที่จะบอกให้รู้ว่าเด็กจะแสดงพฤติกรรมที่ลอกเลียนแบบมานั้นหรือไม่ โดยที่เด็กจะแสดงออกต่อเมื่อเขามีแรงจูงใจที่กระทำนั่นคือ เมื่อเขากระทำแล้วเขาคาดว่าเขาจะต้องได้รับการเสริมแรง====

พฤติกรรมความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย

[แก้]

==== ศรีสุดา ธิติโสภี.[2] (2545 : 5-6) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมที่แสดงออกตามความเหมาะสมของตนเองได้เหมาะสมกับวัยที่มีต่อตนเองและต่อสังคม โดยไม่มีใครบังคับหรือว่ากล่าวตักเตือนโดยแบ่งออกได้ 5 ด้านดังนี้ 1. การดูแลและช่วยเหลือตนเอง เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อการดูแล ช่วยเหลือตนเอง ต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 2. การปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกของเด็กต่อการปฏิบัติงานให้งานสำเร็จ โดยไม่หลีกเลี่ยงหรือละทิ้งไปทำงานอย่างอื่น 3. การช่วยเหลือและแบ่งบันเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกของเด็กต่อการช่วยเหลือและแบ่งบันที่มีต่อบุคคลอื่น 4. การรักษาสมบัติของส่วนรวม เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกของเด็กต่อการรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ และรักษาดูแลสภาพแวดล้อมของส่วนรวม

นิลุบล สินธุปัน (2549 : 4-5) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมความรับผิดชอบดังนี้ 1. รู้จักหน้าที่ หมายถึง ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น ปฏิบัติตามระเบียงของโรงเรียน รู้จักเคารพกฎกติกาของโรงเรียน 2. มีความเพียรพยายาม หมายถึง ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง ช่วยเหลือตนเองได้ดี 3. รู้จักควบคุมอารมณ์ หมายถึง ไม่แกล้งเพื่อน รู้จักให้อภัยผู้อื่น ไม่พูดก้าวร้าว 4. ตรงต่อเวลา หมายถึง การเข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่บิดพลิ้ว ทำงานเสร็จทำเวลาการปฏิบัติงานตามข้อตกลง 5. ยอมรับการกระทำของตนเอง หมายถึง รู้จักขอโทษเมื่อทำผิด เก็บของเล่นไว้ที่เดิม โดยไม่มีใครชี้แนะ กล้าเผชิญต่อความจริง


ดวงพร ทองชอุ่ม [3] (2550 : 4) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมความรับผิดชอบดังนี้ 1. การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ หมายถึง การกระทำตามเงื่อนไขเพื่อให้เสร็จ ได้แก่ การนำการบ้านมาส่ง ทำงานได้ครบ และการทำงานได้สำเร็จ เป็นต้น 2. การยอมรับผลการกระทำของตน หมายถึง การกระทำที่แสดงถึงการยอมรับผลจากการกระทำของตนที่เกิดขึ้นทั้งผิดและชอบ ได้แก่ การเก็บของเล่นของใช้ที่ตนเองนำมาเล่น การยอมรับผิด เป็นต้น อังคณา บุญสีสด (2551 : 5) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมความรับผิดชอบ แบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบ 1. การทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หมายถึง พฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงออกถึงการรู้หน้าที่ของตนเอง เอาใจใส่และตั้งใจเล่าเรียน ดูแลตนเองและพึ่งพาตนเองได้ไม่ต้องให้ผู้อื่นคอยบอกหรือตักเตือน มีการวางแผนและควบคุมตนเองเพื่อให้งานที่ตนเองได้รับมอบหมายให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพ และในขณะเดียวกันสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นเพื่อทำงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ ไม่ให้ละทิ้งงานหรือมอบหมายงานของตน ให้ผู้อื่นทำแทนเพื่อเห็นแก่ความสะดวกสบายเป็นครั้งคราว 2. การยึดมั่นในกฎเกณฑ์ หมายถึง พฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงออกถึงการปฏิบัติตามกฎ และข้อบังคับของสังคมที่ตนเองสังกัดอยู่ ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดี รักษาสาธารณะสมบัติและเคารพสิทธิของผู้อื่น เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลรักษาความสะอาดของโรงเรียน ห้องสมุดหรือสถานที่ต่าง ๆ ภายในโรงเรียน 3. ความเพียรพยายาม หมายถึง พฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงออกถึง ความขยันหมั่นเพียร มุมานะทั้งในด้านการเรียน และการทำสิ่งที่ยากลำบากด้วยวิธีการต่าง ๆ จนกระทั่งสิ่งนั้นสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และให้กำลังใจตนเอง ยอมรับผลการกระทำของตนเองที่เกิดขึ้นทั้งที่เป็นผลดีและผลเสีย พร้อมทั้งพยายามปรับปรุงสิ่งที่ทำผิดพลาดให้ดียิ่งขึ้น 4. ความตรงต่อเวลา หมายถึง พฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงออกถึงการทำงานหรือสิ่งใด ๆ เสร็จภายในเวลาที่กำหนดด้วยตนเอง การปฏิบัติตามตารางเวลาในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม โดยทราบว่าอะไรควรทำหรืออะไรไม่ควรทำ และปฏิบัติสิ่งนั้นเป็นประจำ จนกระทั่งสิ่งนั้นเป็นวิถีชีวิตประจำวัน

====

แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์จำลอง

[แก้]

==== แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์จำลอง ความหมายของสถานการณ์จำลอง

   	 สถานการณ์จำลองเป็นเทคนิคหนึ่งในการนำมาใช้พัฒนาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้เด็กได้ปฏิบัติจนเด็กสามารถคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ได้ด้วยตนเอง มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของ     สถานการณ์จำลองไว้ดังนี้
    เรณู   สายเชื้อ (2547 : 6) กล่าวว่า สถานการณ์จำลอง หมายถึง การจำลองสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงแล้วให้ผู้เรียนลงอยู่ในสถานการณ์นั้น และให้มีปฏิกิริยาโต้ตอบกันการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา การตัดสินใจ จากสถานการณ์ที่นักเรียนเผชิญอยู่ ซึ่งสามารถถ่ายโยงไปสู่การปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน
    อริสา   โสคำภา[4] (2551 : 38) กล่าวว่า ความหมายของสถานการณ์จำลอง คือ เป็นการจัดเหตุการณ์ หรือสภาพแวดล้อมที่จัดขึ้นให้ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่ต้องการพัฒนาผู้เรียนเพื่อฝึกและพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะในการใช้ภาษา การแก้ปัญหาวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลในสถานการณ์ที่พบ
    สุวิทย์   มูลคำและอรทัย   มูลคำ (2552 : 74) กล่าวว่าการจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่สร้างมา ซึ่งสถานการณ์นั้นจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด ทั้งสภาพแวดล้อมและปฏิสัมพันธ์โดยมีการกำหนดบทบาท ข้อมูลและกติกาไว้เพื่อให้ดีที่สุด ซึ่งการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลองนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการถ่ายโยงการเรียนได้ดีและสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้
    จากความหมายของสถานการณ์จำลองพอสรุปได้ว่า สถานการณ์จำลอง หมายถึง การสร้างสถานการณ์จำลองขึ้นมา ให้ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง โดยผู้เรียนลงมือกระทำในสถานการณ์ที่สร้างขึ้นจากเนื้อหาในบทเรียนหรือสถานการณ์จริง โดยมีบทบาท ข้อมูล กติกาที่สะท้อนความเป็นจริง ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถถ่ายโยงความรู้ที่ดีและได้ผลมากที่สุด ฝึกการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ และสามารถนำไปใช้ปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน ====

ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ ที่ 1

[แก้]

==== ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ ที่ 1 จามจุรี สุนานันท์ (2545 : 53) ได้ศึกษาผลของการใช้ตัวแบบต่อการปลูกฝังพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่า 1) พฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) พฤติกรรมความรับผิดชอบของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ====

ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ ที่ 2

[แก้]

==== ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ ที่ 2 นิลุบล สินธุปัน (2549 : 40) ได้ศึกษาการใช้นิทานเพื่อการพัฒนาคุณลักษณะความมีวินัยและความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 พบว่า นักเรียนรู้จักหน้าที่ ให้ความร่วมมือผู้อื่น มีความเพียรพยายาม รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์ ให้อภัยผู้อื่น เป็นคนตรงต่อเวลา เข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่บิดพลิ้ว และยอมรับผลการกระทำของตนเอง เก็บของเล่นไว้ที่เดิม โดยไม่มีใครชี้แนะ ====

= === ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ ที่ 3

[แก้]

ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ ที่ 3 ดวงพร ทองชอุ่ม (2550 : 73-74) ได้ศึกษาคู่มือพัฒนาความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย พบว่าเมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการทำแบบฝึกหัดก่อนและหลังการใช้กิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 และ 2 ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า กิจกรรมพัฒนาความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัยทำให้เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 1 และอนุบาล 2 มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น

ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ ที่ 4

[แก้]

==== ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ ที่ 4 จินตนา จันทร์ดา (2550 : 49) ได้ศึกษาผลของนิทานใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการพัฒนาพฤติกรรมรับผิดชอบของเด็กปฐมวัยพบว่า 1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และพฤติกรรมรับผิดชอบ ของกลุ่มทดลองได้รับการพัฒนาโดยใช้นิทานใฝ่สัมฤทธิ์สูงกว่าก่อนได้รับการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และพฤติกรรมรับผิดชอบของกลุ่มทดลอง หลังได้รับการพัฒนาโดยการใช้นิทานใฝ่สัมฤทธิ์สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) รงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และพฤติกรรมรับผิดชอบของกลุ่มทดลองหลังการทดลอง 3 สัปดาห์สูงกว่าหลังการวัดทันทีเมื่อสิ้นสุดการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ====

ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์จำลอง ที่ 1

[แก้]

==== ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์จำลอง ที่ 1 สารภี โชติรัตน์ (2542 : 84) ได้ศึกษาผลของการใช้เกม ตัวแบบ และสถานการณ์จำลองต่อพฤติกรรมจริยธรรมของนักเรียนอนุบาล ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนอนุบาลที่ได้รับการสอนโดยใช้เกม ตัวแบบ และสถานการณ์จำลอง มีพฤติกรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์ ความมีระเบียบวินัย และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนอนุบาลที่ได้รับการสอนโดยใช้เกม ใช้ตัวแบบ และใช้สถานการณ์จำลอง มีพฤติกรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์ ความมีระเบียบวินัย และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สูงขึ้นอย่างไม่แตกต่างกัน ====

ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์จำลอง ที่ 2

[แก้]

==== ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์จำลอง ที่ 2 จันทิมา แซ่อั้ง (2545 : 58) ได้ศึกษาการเปรียบเทียบผลของการเรียนรู้แบบจิตปัญญาและการใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหน้าสถานี จังหวัดสระแก้ว ผลของการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น หลังจากได้รับการเรียนรู้แบบจิตปัญญา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ หลังจากได้รับการใช้สถานการณ์จำลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบจิตปัญญากับนักเรียนที่ได้รับการใช้สถานการณ์จำลองมีความคิดสร้างสรรค์ไม่แตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติ ====

ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์จำลอง ที่ 3

[แก้]

==== ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์จำลอง ที่ 3 เรณู สายเชื้อ (2547 : 145) ได้ศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 ได้สรุปผลการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง พบว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก ทักษะการทำงานกลุ่ม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความสามัคคี มีความรับผิดชอบและรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ====

ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์จำลอง ที่ 4

[แก้]

==== ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์จำลอง ที่ 4 อริสา โสคำภา (2551 : 65) ได้ศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานอีสปประกอบการใช้สถานการณ์จำลองได้สรุปผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้ 1) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม เล่านิทานอีสปประกอบการใช้สถานการณ์จำลองก่อนและหลังการทดลอง มีคะแนนพฤติกรรมทางสังคม โดยรวมเท่ากับ 3.09 และ 0.75 คะแนนด้านความร่วมมือ เฉลี่ยเท่ากับ 1.30 และ 0.52 คะแนนด้านการช่วยเหลือเฉลี่ยเท่ากับ 0.66 และ 0.41 คะแนน ด้านการแบ่งปัน เฉลี่ยเท่ากับ 1.12 และ 0.25 ตามลำดับ 2) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองมีพฤติกรรมทางสังคมรายด้าน มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P < .01 โดยด้านความร่วมมือ ด้านการแบ่งปันมีค่าเฉลี่ยสูงเท่ากับ 3.80 3.48 และ 3.71 แสดงว่า การจัดกิจกรรมเล่านิทานอีสปประกอบการใช้สถานการณ์จำลองส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมทางสังคมสูงขึ้นอย่างชัดเจน ====

  1. จินตนา จันทร์ดา. (2550). ผลของนิทานใฝ่ สัมฤทธิ์ต่อการพัฒนาพฤติกรรมรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
  2. จามรี สุนานันท์. (2545). ผลของการใช้ตัวแบบต่อการปลูกฝังพฤติกรรมความรับผิดชอบของ นักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
  3. จามรี สุนานันท์. (2545). ผลของการใช้ตัวแบบต่อการปลูกฝังพฤติกรรมความรับผิดชอบของ นักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
  4. เอกอนงค์ ปวง . (2550) . การใช้กิจกรรมสถานการณ์จำลองเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง พูด ภาษาอังกฤษและแรงจูงใจของนักเรียนในระดับกำลังพัฒนา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .