ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Vvsiriki

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิกิพีเดีย:บาเบล
thผู้ใช้คนนี้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่
en-3ผู้ใช้คนนี้ใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับสูง
This user can contribute with an advanced level of English.
ผู้ใช้ตามภาษา
ระบบดิวอี้ที่สนใจ
000ตามระบบดิวอี้ ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่อง
คอมพิวเตอร์ และสารสนเทศ
100ตามระบบดิวอี้ ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่อง
ปรัชญา
140ตามระบบดิวอี้ ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่อง
แนวความคิดปรัชญาเฉพาะกลุ่ม
150ตามระบบดิวอี้ ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่อง
จิตวิทยา
170ตามระบบดิวอี้ ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่อง
จริยธรรม ศีลธรรม
200ตามระบบดิวอี้ ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่อง
ศาสนา
210ตามระบบดิวอี้ ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่อง
ศาสนาธรรมชาติ
300ตามระบบดิวอี้ ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่อง
สังคมศาสตร์
320ตามระบบดิวอี้ ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่อง
รัฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง
330ตามระบบดิวอี้ ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่อง
เศรษฐศาสตร์
360ตามระบบดิวอี้ ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่อง
ปัญหาสังคม การบริหารสังคม สมาคม
หน่วยเก็บกวาดเฉพาะกิจ
ผู้ใช้คนนี้ติดตั้งและใช้งาน
สคริปต์จัดให้
ผู้ใช้นี้เป็นหน่วยเก็บกวาดเฉพาะกิจ
และพร้อมปฏิบัติด้วยสคริปต์จัดให้

มุมมองที่มีต่อวิกิพีเดีย

[แก้]

ได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างจาก วิกิพีเดียอังกฤษ และเห็นว่านี่เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญมาก มีประโยชน์ทั้งการหาข้อมูลในหลากหลายวิชาสำหรับนักศึกษา และการช่วยเพิ่มความรู้ ขยายทัศนวิสัยของโลกให้กว้างขึ้น เมื่อเห็นความสำคัญเหล่านี้ ผมจึงสมัครสมาชิกวิกิพีเดียไทยเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาแหล่งความรู้สำหรับพี่น้องชาวไทยใหได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้


ข้อคิดเห็นและความประทับใจแรกหลังจากสมัครสมาชิกวิกิพีเดียไทย

[แก้]

วิกิพีเดียไทยตอนนี้ยังไม่ถึงจุดที่สามารถนำมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคลังคำศัพท์ยังไม่ใหญ่พอ ข้อมูลยังไม่เที่ยงตรง ระบบและการจัดหมวดหมู่ยังสะเปะสะปะอยู่ แต่นี่ไม่ใช่ปัญหาที่แก้ไม่ได้ การต้อนรับอย่างสนิทสนมและการช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดทำให้ผมรู้ว่าทีมงานของวิกิพีเดียไทยนั้นมีประสิทธิภาพและเอาจริงเอาจังกับงาน วิกิพีเดียไทยนั้นสามารถเป็นแหล่งความรู้ที่มีคุณภาพได้แน่ครับ


ปัญหานอกเวลาของวิกิพีเดียไทย

[แก้]

ปัญหาของวิกิพีเดียไทยนั้นไม่ได้อยู่แค่ในโลกคอมพิวเตอร์หรือโลกเทคโนโลยีสารสนเทศ

1) ปัญหาของภาษา มีคำศัพท์ใหม่มากมายที่เข้ามาแทรกแทรงในภาษาไทย ทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และอีกหลากหลายสาขา ทำให้เกิดการงงงวยว่าจะเลือกใช้คำภาษาไหนดี เช่น โลกเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไซเบอร์สเปซ, กระบวนการสันดาปของร่างกาย หรือ เมแทบอลิซึม ชุมนุมนิยม หรือ communitarianism ภาษาไทยนั้นยังไม่ได้มีการใช้ตายตัวในคำศัพท์ใหม่ๆนี้

2) ปัญหาของบรรทัดฐานทางสังคม (social norm) ความรู้ถูกมองเป็นสิ่งที่แสวงหาได้ทั่วไปสำหรับชาวตะวันตก แต่คนไทยหลายคนกลับเห็นว่าเป็นสิ่งที่ยัดเยียดให้ในเวลาเรียน และหลายครั้งก็รับอย่างไม่เต็มใจ ทั้งยังไม่คิดแสวงหาจากแหล่งความรู้อื่น หลายต่อหลายคนที่แสวงหาความรู้กลับถูกอิทธิพลกลุ่มเพื่อน (peer pressure) ขัดขวาง และนินทา

3) ปัญหาของเทคโนโลยี กลุ่มประชากรที่เข้าถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเท่านั้นที่สามารถใช้วิกิพีเดียได้ ซึ่งก็เป็นส่วนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรไทยทั้งประเทศ


วิธีแก้ปัญหา

[แก้]

ประเด็นที่ผมพยายามจะพูดก็คิด วิกิพีเดียไทยนั้นไม่สามารถเป็นแหล่งความรู้ที่มีค่าต่อประชากรไทยได้ในเมื่อ1)ผู้คนสับสนเมื่อใช้ 2) ผู้คนไม่เห็นค่า และ 3) ผู้คนเข้าไม่ถึง การจะพัฒนาวิกิพีเดียไทยให้เป็นแหล่งความรู้ที่มีค่าต่อประชากรไทยนั้นจะเปลี่ยนระบบในโลกคอมพิวเตอร์อย่างเดียวไม่ได้แต่ต้องสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความรู้ ต้องแนะนำวิกิพีเดียให้คนรู้จัก ต้องเชื้อเชิญให้ผู้คนสนใจในการช่วยวิกิพีเดีย และ ต้องมีการพัฒนาสังคมและชุมชนเพื่อให้อินเทอร์เน็ต

สิ่งที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลานี้ที่ชาววิกิพีเดียสามารถทำได้ คือการพัฒนาระบบวิกิพีเดียไทยจากภายใน ทั้งคุณภาพและปริมาณ และแนะนำผู้อื่นให้ใช้และช่วย