ผู้ใช้:Ts013

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สุพล วุฒิเสน[แก้]

รองศาสตราจารย์ ดร. สุพล วุฒิเสน' อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (สถาบันราชภัฎฉะเชิงเทรา) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ประวัติและผลงาน[แก้]

มหาวิทยาลัยราชภัฏที่ครองแชมป์จำนวนนักศึกษาในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (Admission) ประจำปีการศึกษา 2554 แบบขาดลอย คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.)

1. พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏฯ ที่ระบุให้ราชภัฏสนใจท้องถิ่น “World’s Local University” คือ การนำความรู้สากลมาพัฒนาท้องถิ่น สร้างความเป็นนานาชาติ ส่งเสริมการสร้างรากฐานของประชาคมอาเซียน และบัณฑิตสามารถนำความรู้มาพัฒนาชุมชนนำไปสู่ความยั่งยืน

2. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เช่น มีการดูงานต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียนตามแนวคิด TRENDS Model คือ การดูงานเปิดโลกทัศน์ให้นักศึกษาเรียนรู้นวัตกรรม ถือว่า ยกระดับราชภัฏไทยและสร้างความเข้มแข็งในกลุ่มราชภัฏ จนสามารถแข่งขันในเวทีอาเซียน

3. นโยบายรัฐบาล ที่ส่งเสริมให้ไทย เป็นศูนย์กลางการศึกษาของอาเซียน (Education Hub) และเป็นการจัดการศึกษาเพื่อทุกคนในอาเซียน (Education for all)


นักศึกษา

ปริญญาตรี: ในระดับปริญญาตรีนิสิตจะต้องเขียนบัณฑิตนิพนธ์ก่อนจบเป็นการบูรณาการในการเรียนระดับปริญญาซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศไทยโดยโครงการนี้เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2549และสำหรับนักศึกาชาวต่างชาติจะต้องเขียนส่งเป็น2ภาษาเกี่ยวกับประเทศเขาเป็นการรอบรู้เรื่องของประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ต้องเรียนรวมกันทุกคณะในวิชาพื้นฐาน เพื่อลดช่องว่างทางสังคม ริเริ่ม “โครงการเพิ่มประสบการณ์ชีวิต สร้างมิตรภาพกับนิสิตประเทศเพื่อนบ้าน” เป็นโครงการแลกเปลี่ยนนิสิต โดยนิสิตทุกคนต้องเรียนรู้ทั้งภาษาและวัฒนธรรมอย่างน้อย 1 ประเทศ เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ภาษา และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานในอาเซียนอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะมีการเชิญคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย 14 แห่งในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ จีน เวียดนาม ลาว กัมพูชา พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน และฟิลิปปินส์ มาให้ความรู้ก่อนเดินทางไปแลกเปลี่ยนหลักสูตรภาษาประเทศเพื่อนบ้าน ในภาคการศึกษาที่ผ่านมามีคนเลือกเรียน ภาษาพม่า 150 คน ภาษามลายู 150 คน ภาษาลาว 700 คน ภาษากัมพูชา 600 คน ภาษาเวียดนาม 747 คน และภาษาจีน 1,000 คน

ปริญญาโท: มีการดูงานต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง มาเก๊า เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม เป็นต้น

ปริญญาเอก: มีการดูงานต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนงานระดับปริญญาเอกให้กับระดับอาจารย์และนักศึกษา เช่น ที่

- อบรมภาษาอังกฤษแก่นักศึกษาปริญญาเอก สาขาการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น, การจัดการเทคโนโลยี และการจัดการนวัตกรรมและเทคโนยี Australia

- อบรมการบริหารจัดการคณะวิทยาศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย ให้แก่ผู้บริหารฯและประธานสาขาฯ

- อบรมการบริหารจัดการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ให้แก่ผู้บริหารฯและประธานสาขาฯ

บุคลากรและคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย

1. ให้เงินทุนสนับสนุนให้อาจารย์ทุกท่านได้เรียนหนังสือ ทั้งแบบรับและไม่รับดีกรี

2. มีการจัดโครงการให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยเดินทางไปเปิดโลกทัศน์ในต่างประเทศ เช่น กลุ่มประเทศยุโรป เยอรมัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ฮ่องกง มาเก๊า เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ฯลฯ เพื่อนำความรู้ที่เป็นสากลมาถ่ายทอดสู่นักศึกษาให้ก้าวทันโลก

3. มีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก เข้ามาเป็นคณะกรรมการประจำ เพื่อให้ช่วยปรับทิศทางการสอน ให้ตอบสนองต่อความต้องการในปัจจุบันอย่างแท้จริง

ประวัติการทำงาน[แก้]

รศ.ดร.สุพล วุฒิเสน รับราชการครั้งแรก: ที่ โรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี (วิทยาลัยครูอุดรธานี)

ตำแหน่งทางวิชาการ (ปัจจุบัน): รองศาสตราจารย์

ศาสตราจารย์พิเศษ ที่ Faculty of Computing , health and Science , Edith Cowan University , Perth , Australia

ศาสตราจารย์พิเศษ Tianjin Normal University , Tianjin PR.China

ศาสตราจารย์พิเศษ Chamroeun University of Technology , PhnomPenh , Combodia

ตำแหน่งทางการศึกษา (ปัจจุบัน): อธิการบดี

(ดำรงตำแหน่งอธิการบดีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528-ปัจจุบัน รวม 27 ปี)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

นอกจากได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและยังได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สายสะพาย Sahametrei Grand cros ของราชอาณาจักรกัมพูชาอีกด้วย

การถวายงาน[แก้]

- ในฐานะอธิการบดีได้จดทะเบียนตั้ง “มูลนิธิสถาบันราชภัฏราชนครินทร์” ซึ่งอยู่ในอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทุนการศึกษา ในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งครบวาระชนมพรรษา 80 พรรษา

- เป็นผู้ประสานงานกับสถาบันราชภัฎ36แห่งทั่วประเทศถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตให้กับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณีวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณวังสวนกุหลาบ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2542

- พิธีถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร ในคณะ Computing , Health and Science, Edith Cowan University, Australia, เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2542

- ในปีพ.ศ. 2538 สมัยดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดี สถาบันราชภัฉะเชิงเทรา เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสถาบันให้เจริญก้าวหน้า เช่น มีหนังสือถึงประธานสภาฯ ต.หัวไทร ขอใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ 500 ไร่เพื่อใช้ก่อสร้าง “วิทยาเขตราชภัฏฉะเชิงเทรา” เนื่องด้วย ดร.สุพล นั้นเป็นคนดีคนเก่งของสังคม จึงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ความทราบถึงสมเด็จพระพี่นางฯว่า ดร.สุพล อยากจะเปลี่ยนชื่อสถาบัน ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าพี่นางฯจึงได้ประทานนามใหม่ พร้อมทั้งลายหัตถ์ ว่า “สถาบันราชภัฏราชนครินทร์” เมื่อพ.ศ. 2541

- เป็นหนึ่งในคณะติดตามเสด็จและถวายงานเขียนหนังสือ แด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยร่วมกับคณะผู้บริหารและนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการเสด็จเยือนจีน เมื่อวันที่ 21 เมษายน-8 พฤษภาคมโดยร่วมเขียนหนังสือ “สายธรรมอารยธรรมจีน 7 ธานีแห่งอาณาจักรกลาง” โดยประทานอนุญาตพิมพ์เฉพาะ สถาบันราชภัฏราชนครินทร์ และหน่วยงานราชการของจังหวัดฉะเชิงเทรา

- ผู้ประสานงานขอประทานนามอาคาร หอสมุด บรรณราชนครินทร์ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฎทุกแห่งจำนวน 34 แห่ง

คุณวุฒิและเกียรติคุณทางวิชาการ[แก้]

"'ศาสตราจารย์วุฒิคุณ"' - Adjunct Professor, Edith Cowan University, Australia, Faculty of Computing, Health &Science, 2007-2009

- Adjunct Associate Professor, Edith Cowan University, Australia, Faculty of Communications, Health and Science, 1998-2002, 2004-2006

"'ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์"' - Senior Advisor and Honorary Professor, Chamroen University of Poly-Technology, Cambodia, 2007

- Honorary Professor, Tianjin Normal University, China, 2006

"'ตำแหน่งอื่นๆ"'

- Honorary Research Consultant, The University of Queensland, Faculty of Social and Behavioral Sciences, 1998-2000

- Ph.D. Co-Supervisor, The University of Queensland, Office of Research and Postgraduate Studies, 1998-2002 Co-Organizer

- International Conference on EDU-COM 2002. Rajabhat Institute Rajanagarindra, Khon Kaen University and , Edith Cowan University, Australia in Khon Kaen, Thailand 25-27 Nov 2002, 24-26 Nov 2002

- Training of the Qualitative Researchers. Surin Teacher College and Edinburgh University, Adult Educational Department, Apr 1-10, 1987

- International Workshop on Udonthani Teachers College and UNESCO/ACIED in Udonthani, Thailand, Nov 10-15, 1982

การศึกษา[แก้]

- Ph.D. (International/ Intercultural Education), The Florida State University, USA, 1984

- M.A. (Comparative International Development Planning in Education), Stanford University, USA, 1973

- M.A.T. (Social/ Asian Studies), University of the Philippines, Quezon City, The Philippines, 1970

- ปริญญาตรี กศ. บป. วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ), 1964

'"'ประกาศนียบัตร (Certificate)"'

- Queensland Higher Education Rajabhat Presidents Program, Australia, 2002

- Institutional Management in Higher Education, UNESCO/ SEAMEO, 2000

- Presidential Seminar on the Presentation of the Honorary Doctoral Award to His Royal Highness the Crown Prince, Edith Cowan University, Australia, 1997

- Graduate Training Program, Edith Cowan University, Australia, 1995

- Chula-Seminar and Korea Study Tour, Human Resource Development Project, Chung-Ang University, Seoul, Korea, 1994

- Entrepreneurship Educational, Southern Illinois University at Carbondale, 1988

- Presidential Seminar, Western Carolina University, USA, 1986

- Planning for Integrated Regional Development, UNCRD Nagoya, Japan, 1977

- College of Education, Scholar, University of the Philippines, 1970

ตำแหน่งปัจจุบัน[แก้]

2546 - ปัจจุบัน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประสบการณ์

2532 - 2546 อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (สถาบันราชภัฎฉะเชิงเทรา)

2528 - 2532 อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กรรมการสำคัญระดับประเทศ

2547-2549 ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ (คนแรก)

2546 กรรมาธิการวิสามัญสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ

2538 ประธานกรรมการพัฒนา “คลองแสนแสบ” (คำสั่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)

2536 อนุกรรมการพัฒนาการศึกษาอบรมเลี้ยงดูเด็ก (คำสั่งนายกรัฐมนตรี)

2534-2536 กรรมการอบรมครูประจำการระดับประเทศ (คำสั่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)

ผลงานความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน[แก้]

- จีน: เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย เดินทางมาร่วมเปิดสถาบันขงจื๊อศูนย์ขงจื๊อ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภายใต้การสนับสนุนทางการเงินจากทางการจีน (Confucias Institute Headquarters หรือ The Office of Chinese Language Council International-HANBAL) เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549

- กัมพูชา: มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการศึกษากับการพัฒนา แก่ สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรี ณ กระทรวงการต่างประเทศ ราชอาณาจักรกัมพูชา เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2549

- ลาว: มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการจัดการเทคโนโลยี แก่ ฯพณฯบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาล สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2550

- มีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม ส่งคนมาเรียนปริญญาโท, จีน ส่งนักเรียนมาเรียนปริญญาตรีด้วยกว่า 100 คน

- มีอาจารย์ต่างชาติมาสอน เช่น ชาวนิวซีแลนด์, ฟิลิปปินส์, จีน, มาเลเซีย, เวียดนาม กัมพูชา ลาว ฯลฯ

- เวียดนาม มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ The Ceremony of Conferring and Homoray degree of Doctor of Philosophy ให้กับนายกรัฐมนตรีเวียดนาม H.E Nguyen Tan Dung ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2551

การเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี2558[แก้]

24-28 สิงหาคม 2555 นำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ2555 จัดโดยคณะกรรมการสถาบันวิจัยแห่งชาติ งานThailland Research Expo 2012 มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จัดนำโดย ดร.สุพล วุฒิเสน ได้รับเชิญให้บรรยายเรื่อง TRENDS Model ดร.สุพล ได้แนะนำให้ใช้หลักของการประยุกต์ความรู้สากลสู่ท้องถิ่นและความรู้ท้องถิ่นสู่สากลและมีการเสนองานวิจัยประกอบในงานนี้ผู้เช้าร่วมฟังบรรยายมี่ทั้งประชาชนทั่วไปและแขกผู้มีเกียรติจาก10ประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน

25-30 สิงหาคม 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จัดการประชุมนานาชาติเพื่อการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในงานนี้ได้เชิญ อธิบดีกรมอาเซียน และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาได้มาร่วมบรรยายในงานนี้ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยานำโดย ดร.สุพลได้จัดการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อปี พศ.2554 กว่า10ประเทศและมีโครงการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องอีกในปี พศ.2555 ตัวแทน 10 ประเทศใน Asian ได้มาให้ข้อมูลในสิ่งที่แต่ละประเทศปฏิบัติร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยาซึ่งถือว่าได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและยังเป็นการส่งเสริมทางด้านวัฒนธรรมที่ดีอีกด้วยในโครงการอาจารย์ และนักศึกษาในมหาวิทยาลัย 10 ประเทศ มา ปฐมนิเทศน์ และการสอนเบื้องต้น ให้นิสิตปี 1 ก่อนที่จะร่วมเรียน ประเทศต่างๆที่บินมาร่วมงานครั่งนี้ได้แก่ พม่า กัมพูชา ลาว ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน อินโดนีเซีย และในงานมีการแสดงด้วยวัฒนธรรมร่วมกันทุกประเทศนอกจากนี้ยังมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลียเข้าร่วมบรรยายและยกย่องการใช้หลัก TRENDS Model ดร.สุพล เข้าเป็นส่วนหนึ่งในมหาวิทยาลัยของตนเองอย่างได้ผลดียิ่ง จีนผู้อำนวยการของสถาบันขงจื้อก็เข้าร่วมบรรยายด้วยซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่สถาบันขงจื้อในมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ชนะที่1 ของสถาบันขงจื้อทั้งหมด

แหล่งข้อมูลอ้างอิง[แก้]

- http://news.sanook.com

- http://www.muslimvoicetv.com

- http://www.semathong.com

- http://www.komchadluek.net