ผู้ใช้:Topspin~thwiki/ร่างบทความ

พิกัด: 0°N 0°E / 0°N 0°E / 0; 0
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพมหานคร
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง15 มิถุนายน พ.ศ. 2554
สำนักงานใหญ่ปรีดี พนมยงค์ 45 เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110
งบประมาณประจำปี358,183 แสนบาท (พ.ศ. 2556)
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • พชรพรรษ์ ประจวบลาภ, ประธานเครือข่าย
  • ธนายุทธ สิงหเสนี, รองประธาน1
  • รวิศุทธิ์ คณิตกุลเศรษฐ์, รองประธาน2
  • ชัยวัฒน์ ขุนศักดิ์, เลขาธิการ
เว็บไซต์http://www.ynetbangkok.or.th

เครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพมหานคร (Youth Network Of Bangkok)เป็นองค์กรเด็กและเยาวชนด้านวัฒนธรรม ในกรุงเทพมหานคร ที่หน่วยงานของรัฐให้การรับรอง [1] และกำกับดูแลโดยส่วนราชการ ในสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม โดยปัจจุบัน สำนักงาน เครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ ซอย ปรีดีพนมยงค์ 45 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร

ประวัติ[แก้]

เครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพมหานคร[แก้]

เครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพมหานคร ได้จัดตั้งขึ้น เมื่อ ปี 2554 โดยกลุ่มแกนนำเยาวชนจิตอาสา ที่มีใจอาสาพัฒนาสังคมและประเทศชาติ โดยการสร้างสรรค์โครงการที่เป็นประโยชน์แก่เด็กและเยาวชนในชุมชนของกรุงเทพมหานคร โดยปัจจุบันได้รับการจดแจ้งเป็นเครือข่ายวัฒนธรรม ของ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ตามความในมาตรา 15 วรรค 1 และมาตราที่ 17 แห่งพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ ปี 2553[2] ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2555


ที่ปรึกษาเครือข่าย[แก้]

ไฟล์:ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี.jpg
นายพชรพรรษ์ ประจวบลาภ ยื่นหนังสือถึง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่องการผลักดันกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ

ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเยาวชน[แก้]

เครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพมหานคร ได้จัดตั้งยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเยาวชน ซึ่งที่จะเป็นกำลังของชาติ โดยเสริมสร้าง ๓ ยุทธศาสตร์ ต่อไปนี้
  1. ยุทธศาสตร์ ที่ ๑ ด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมและการผลิตสื่อปลอดภัยอย่างสร้างสรรค์
  • กลยุทธ์ ที่ ๑ สนับสนุนการจัดทำสื่อนวัตกรรมที่สอดคล้องต่อวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาติ
  • กลยุทธ์ ที่ ๒ เสริมสร้างวัฒนธรรมการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ทั้งการเลือกรับสื่อและการผลิตสื่อออกสู่สังคม
  • กลยุทธ์ ที่ ๓ ส่งเสริมและสนับสนุนกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
  • กลยุทธ์ ที่ ๔ สนับสนุนกิจกรรมหรือโครงการที่เป็นการอนุรักษ์ส่งเสริมมิติทางวัฒนธรรม
  1. ยุทธศาสตร์ ที่ ๒ ด้านการศึกษาและการมีส่วนร่วมปฏิรูปหลักสูตรทางการศึกษา
  • กลยุทธ์ ที่ ๑ การมีส่วนร่วมในการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษา
  • กลยุทธ์ ที่ ๒ การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการสอบวัดผลระดับชาติ
  • กลยุทธ์ ที่ ๓ การสร้างเครือข่ายเยาวชนคุณภาพ เพื่อให้ตอบรับกับการศึกษาของไทยในปัจจุบัน
  • กลยุทธ์ ที่ ๔ การสร้างค่านิยมปฏิกิริยาลูกโซ่ ให้เยาวชนตื่นตัวกับการศึกษาไทยในปัจจุบัน
  • กลยุทธ์ ที่ ๕ เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันทางการศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาเยาวชนให้มีคุณภาพ
  1. ยุทธศาสตร์ ที่ ๓ ด้านการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
  • กลยุทธ์ ที่ ๑ รณรงค์ปลูกจิตสำนึกร่วมกับกองบัญชาการตำรวจนครบาลและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบรามยาเสพติด ในการเสริมสร้างเด็กและเยาวชนรู้ทันพิษภัยของยาเสพติด
  • กลยุทธ์ ที่ ๒ พัฒนาระบบเผยแพร่และการประชาสัมพันธ์ให้หลากหลาย ทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย
  • กลยุทธ์ ที่ ๓ ร่วมมือกับสถานศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนการรณรงค์และการสร้างกระแสการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
  • กลยุทธ์ ที่ ๔ ส่งเสริมการจัดการให้ความรู้ และพัฒนาภาคีเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกๆระดับ
  • กลยุทธ์ ที่ ๕ การพัฒนาศักยภาพแกนนำเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
  • กลยุทธ์ ที่ ๖ การสร้างกิจกรรมสัมพันธ์กับเด็กและเยาวชนในชุมชน ในการกระตุ้นให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง


อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ ปี 2553
  2. พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ ปี 2553
  3. เครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพมหานคร,รายงานประจำปี 2555 (หน้า 1),โรงพิมพ์ จักรวาล ดิจิทัล ,2555

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • [1] เว็บไซต์เครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพมหานคร
  • [2] เฟซบุคเครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพมหานคร
  • [3] รายการเด็กเต็มบาตร ทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนา (WBTV)
  • [4] ศูนย์ปฎิบัติการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
  • แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ Topspin~thwiki/ร่างบทความ

0°N 0°E / 0°N 0°E / 0; 0