ผู้ใช้:Timeshoppingnow/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สำหรับการ ออกแบบโลโก้บริษัท ปัญหาโดยส่วนใหญ่สำหรับนักออกแบบนั้น คือการออกแบบมาเพื่อจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพราะมันไม่ใช่เรื่องที่เมื่อ ออกแบบโลโก้บริษัท มาแล้ว อยากจะไปยื่นจดทะเบียนในทันทีเลยนั้น มันไม่สามารถทำได้ เนื่องจากการออกแบบโลโก้บริษัท จะต้องเป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ และต้องไม่เป็นเครื่องหมายการค้าต้องห้าม ตามมาตรา 8 แห่งพรบ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 อีกทั้งยังต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่เหมือน หรือคล้ายกับของบุคคลอื่น ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ดังนั้นแล้ว สำหรับการ ออกแบบโลโก้บริษัท จะต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว เมื่อได้ออกแบบมาแล้ว จะไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และสิ่งที่ตามมาคือ เจ้าของผู้ผลิตสินค้าภายใต้โล้โก้นั้น ๆ จะไม่สามารถดำเนินการใด ๆ กับผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้านั้นได้

เครื่องหมายการค้า คืออะไร

ซึ่่งหากเราได้กล่าวถึง การ ออกแบบโลโก้บริษัท ในที่นี้ ให้หมายความถึงเรื่อง เครื่องหมายการค้าตามมาตรา 4 แห่งพรบ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งให้คำนิยามของ คำว่า “เครื่องหมายการค้า” ว่าหมายถึง ภาพวาด, ภาพถ่าย, ภาพประดิษฐ์ตรา ชื่อ ข้อความ คำ ลายมือชื่อ ตัวหนังสือ และตัวเลข รวมถึงกลุ่มรูปทรงของวัตถุ รูปร่าง เสียง อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน

แนวทางการออกแบบโลโก้บริษัท ที่สามารถจดทะเบียนได้

  1. ชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดา ที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ชื่อเต็มของนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือชื่อในทางการค้าที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ และไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง
  • ชื่อตัว ชื่อสกุล ของบุคคลธรรมดา ที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกัน โดยธรรมดา
  • ชื่อเต็มของนิติบุคคลที่สามารถจดทะเบียนได้ ต้องเป็นชื่อเต็มของนิติบุคคล และต้องแสดงโดยลักษณพิเศษ
  • ชื่อในทางการค้า ที่สามารถจดทะเบียนได้ ต้องแสดงโดยลักษณะพิเศษ แต่ทั้งนี้ ชื่อดังกล่าว ต้องไม่เล็งถึงลักษณะ หรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง
  1. คำ หรือข้อความ อันไม่ได้เล็งถึงลักษณะ หรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ทางรัฐมนตรีประกาศกำหนด

2.1คำหรือข้อความ อันไม่ได้เล็งถึงลักษณะ หรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง หมายความว่า การใช้คำ หรือข้อความ ที่คิดประดิษฐ์ขึ้นมานั้น ต้องไม่บ่งบอก หรืออธิบายถึงคุณสมบัติพิเศษของสินค้านั้น ๆ ซึ่งคำ หรือข้อความ ที่เล็งถึงคุณสมบัติพิเศษ มีรายละเอียดดังนี้

  • เป็นคำหรือข้อความ ที่มีความหมายรวมทั้งคำ ที่เขียนขึ้นตามสำเนียงเรียกขานของคำในภาษาอื่น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “คำทับศัพท์”
  • เป็นคำ หรือข้อความ ที่เขียนขึ้นโดยเจตนาให้ตัวอักษรสะกดคำผิดหลับไวยากรณ์ ซึ่งหากพิจารณาการเรียกขานแล้ว ทำให้เข้าใจว่า เป็นคำ หรือข้อความที่มีการบรรยายถึงลักษณะพิเศษของสินค้านั้นโดยตรง
  • เป็นคำ หรือข้อความ ที่เขียนขึ้น โดยการนำคำ ที่มีความหมายตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป แล้วนำมารวมกัน แต่ความหมายออกมาบรรยายถึงลักษณะพิเศษของสินค้านั้นโดยตรง

2.2 คำหรือข้อความดังกล่าว ต้องไม่ใช้ชื่อภูมิศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นชื่อของภูมิศาสตร์ไทย หรือต่างประเทศ เช่นชื่อทวีป หมู่ เกาะ เป็นต้น

  1. คำที่ประดิษฐ์ขึ้น ต้องเป็นคำที่สร้างใหม่ ไม่มีความหมาย หรือคำแปลใด ๆ ทั้งสิ้น
  1. ตัวหนังสือ หรือตัวเลขที่ประดิษฐ์ขึ้น
  1. กลุ่มของสีที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ


เป็นการรวมกันตั้งแต่กลุ่มสี 2 สีขึ้นไป โดยแสดงลักษณะพิเศษ ไม่จำกัดว่า จะเป็นสีอ่อนหรือสีเข้ม แต่จะต้องไม่มีลักษณะที่เป็นสีธรรมชาติของตัวสินค้า ตัวอย่างเช่น สีของเนื้อไม้ที่นำมาใช้กับเฟอร์นิเจอร์ ต้องไม่เกิดจากหน้าที่การงาน หรือการใช้งานของสินค้านั้น หรือเช่น สีไฟจากหน้าร้านเสริมสวย จะต้องไม่ใช่กลุ่มสีที่จัดเรียงกันตามแบบธรรมดา เป็นต้น