ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Sutipongboonmark/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนลมศักดิ์วิทยาคม

ตราสัญลักษณ์โรงเรียนลมศักดิ์วิทยาคม

ตั้งอยู่ที่ :บ้านจันลม ตำบลลมศักดิ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33140
อักษรย่อ :ล.ศ.ว. / L.S.W
ก่อตั้งเมื่อ :16 พฤษภาคม พ.ศ. 2532
ชนิดของโรงเรียน :โรงเรียนรัฐบาลประจำตำบล
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
สังกัด:กระทรวงศึกษาธิการ
ประเภท: โรงเรียนมัธยมศึกษา
ผู้บริหาร: นายสฤษดิ์ สมทิพย์
ปัชญาของโรงเรียน: ความรู้ดี มีคุณธรรม นำสังคม
สีประจำโรงเรียน: สีน้ำเงิน กับ สีขาว
website :[1]
facebook :[2]

โรงเรียนลมศักดิ์วิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28[แก้]

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

ชื่อ โรงเรียนลมศักดิ์วิทยาคม ที่ตั้ง เลขที่ 188 หมู่ 8 บ้านจันลม ตำบล ลมศักดิ์ อำเภอ ขุขันธ์ จังหวัด ศรีสะเกษ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 โทร - โทรสาร - E – mail : info.lomsak@gmail.com เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ประวัติโดยย่อ[แก้]

โรงเรียนลมศักดิ์วิทยาคม เดิมชื่อโรงเรียนตะเคียนวิทยาคม สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ เปิดทำการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 โดยเป็นสาขาโรงเรียนขุขันธ์ (สาขาตำบลตะเคียน) ขณะนั้นมี นายสุข มีกุล ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนขุขันธ์ เป็นผู้ให้การสนับสนุนและมอบหมายให้ นายจำลอง มหาลี ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนขุขันธ์เป็นผู้ควบคุมดูแลการเรียนการสอนในโรงเรียนสาขา ในการเปิดเรียนครั้งแรก มีเนื้อที่ 41 ไร่ - ตารางวา เขตพื้นที่บริการจำนวน 4 ตำบล คือ ตำบลลมศักดิ์ ตำบลตะเคียน ตำบลจะกง และตำบลดินแดง มีนักเรียน 53 คน โดยได้รับความอนุเคราะห์จากโรงเรียนบ้านจันลม ในการให้ใช้อาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน ทั้งนี้ในการก่อตั้งโรงเรียน ได้มีคณะบุคลากรผู้ริเริ่ม ซึ่งประกอบด้วย พระครูวิบูลโชติวัฒน์ เจ้าคณะแขวงนครไชยศรี เจ้าอาวาสวัดจันทรสโมสร กรุงเทพมหานคร พระครูสารการโกวิท เจ้าอาวาสวัดบ้านจันลม นายพรหม บุญเยี่ยม อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านจันลม นายพลอย รับรอง อดีตกำนันตำบลตะเคียน นายกลั่น รับรอง แพทย์ประจำตำบลตะเคียน นายสนามชัย เลิศศรี กำนันตำบลตะเคียน (ลมศักดิ์) พร้อมด้วยคณะกรรมการสภาตำบลตะเคียนให้การสนับสนุนก่อสร้างโรงเรียนเป็นการถาวร
พ.ศ. 2534 วันที่ 29 พฤษภาคม กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งเป็นโรงเรียนเอกเทศโดยใช้ชื่อว่า “ โรงเรียนตะเคียนวิทยาคม ” และต่อมาได้แต่งตั้ง นายอรุณ ชื่นตา อาจารย์ 2 โรงเรียนขุขันธ์ เป็นผู้บริหารโรงเรียนเป็นคนแรก
พ.ศ. 2535 วันที่ 13 มกราคม ได้ย้ายสถานที่เรียนจากโรงเรียนบ้านจันลมมาอยู่ ณ พื้นที่อันเป็นที่ตั้งปัจจุบัน ในเนื้อที่ 41 ไร่
พ.ศ. 2537 ได้เปิดสาขาที่ตำบลสะเดาใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ต่อมาได้ประกาศจัดตั้งเป็นโรงเรียนสะเดาใหญ่ประชาสรรค์
พ.ศ. 2538 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้โรงเรียนเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
พ.ศ. 2542 นายเอื้อ ทรวงโพธิ์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนตะเคียนวิทยาคมแทน นายอรุณ ชื่นตา ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนกุดเสลา
พ.ศ. 2544 นายเอื้อ ทรวงโพธิ์ ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนหนองขามวิทยา จังหวัดนครราชสีมา โดยมี นายอุดมพันธุ์ พิชญ์ประเสริฐ รักษาราชการแทน
พ.ศ. 2545 นางอุดร ฤาชา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนตะเคียนวิทยาคม
พ.ศ. 2546 นายประสิทธิ์ บัวแย้ม ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนตะเคียนวิทยาคมแทน นางอุดร ฤาชา ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ
พ.ศ. 2550 8 กุมภาพันธ์ 2550 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อนุมัติการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนตามความประสงค์ของผู้ปกครอง ชุมชน จากโรงเรียนตะเคียนวิทยาคม เป็น “โรงเรียนลมศักดิ์วิทยาคม”
พ.ศ. 2554 นายคณาวุฒิ พรหมทา ผู้อำนวยการโรงเรียนลมศักดิ์วิทยาคม
พ.ศ. 2555 นายอภิสันต์ งามพรหม รักษาราชการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนลมศักดิ์วิทยาคม
พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน นายสฤษดิ์ สมทิพย์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนลมศักดิ์วิทยาคม

ผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน
นายสฤษดิ์ สมทิพย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
กระทรวงศึกษาธิการ


แผนที่โรงเรียนลมศักดิ์วิทยาคม ตำบลลมศักดิ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33140


ข้อมูลบุคลากร[แก้]

ครูและบุคลากร จำนวน
1.ผู้บริหาร 1
2.ครูประจำการ 11
3.พนักงานราชการ 2
4.ครูพิเศษ 1
5.ช่างครุภัณฑ์ 2
รวม 17

ข้อมูลนักเรียน[แก้]

นักเรียนแยกตามชั้น ชาย (คน) หญิง(คน)) รวม(คน)
1.ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 13 15 28
2.ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 8 11 19
3.ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 13 18 31
4.ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 9 15 24
5.ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 9 21 29
6.ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 8 17 25
รวม 58 95 157

สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน[แก้]