ผู้ใช้:Suphaphon Hankudtum/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปกครองท้องถิ่นฟิลิปปินส์

ประวัติและข้อมูลทั่วไปประเทศฟิลิปปินส์(โดยย่อ)[แก้]

ประเทศฟิลิปปินส์ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1543 ชื่อของประเทศถูกตั้งในนามของพระเจ้าเฟลีเปที่2 แห่งสเปน โดยนักสำรวจชื่อ รุย โลเปซ เด วิลยาโลโบส(Ruy Lopez de Villalobos) การเกิดของประเทศฟิลิปปินส์ยังคงเป็นที่ตกลงกันไม่ได้แต่มีข้อสันนิษฐานข้อหนึ่งเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปในปัจจุบันคือฟิลิปปินส์เป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย ฟิลิปปินส์เป็นประเทศหนึ่งในเอเชียที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นชาติที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด มีการผสมผสานกันระหว่างตะวันตกกับตะวันออกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อาร์โนลด์ โจเซฟ ทอยน์บี (Arnold J. Toynbee) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้กล่าวไว้ในงานของเขาว่า "ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศลาตินอเมริกาที่ถูกพัดพาไปยังตะวันออก โดยคลื่นทะเลยักษ์"

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์มีพื้นที่ 115,707 ตารางไมล์ ประกอบด้วยเกาะจำนวน 7,107 เกาะ มีเกาะลูซอนเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ .และมีลักษณะพิเศษคือเป็นประเทศเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก ประเทศสเปน(ค.ศ.1521-1899)และสหรัฐอเมริกา (พ.ศ.1899-1946) ได้ครองฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมเป็นเวลา 4 ศตวรรษ และเป็นสองอิทธิพลใหญ่ที่สุดต่อวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์อยู่ในพื้นที่มรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน เริ่มในเดือนมีนาคมและร้อนที่สุดในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 35 องศาเซลเซียส ฤดูฝน ปกติปริมาณน้ำฝนอยู่ที่ประมาณ 5,000 มิลลิเมตร แต่บางครั้งจะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านทำให้มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ติดต่อกันหลายวัน และฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยกลางวันประมาณ 28 องศาเซลเซียส และกลางคืน 17 องศาเซลเซียส โดยหนาวที่สุดในช่วงธันวาคม การที่ฟิลิปปินส์อยู่ในเขตมรสุม ทำให้มีสภาพอากาศแปรปรวนและฝนตกหนักอันเนื่องจากพายุและไต้ฝุ่น จนต้องประสบภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง และก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตเกษตรเป็นจำนวนมาก[1]

ข้อมูลการเมืองการปกครองของประเทศฟิลิปปินส์[แก้]

“เสียงของประชาชนคือเสียงของพระเจัา” “The voice of the people is the voice of God” หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงฟิลิปปินส์เป็นเอกราชโดยสมบูรณ์ ประเทศฟิลิปปินส์ปกครองแบบสาธารณรัฐโดยมีอำนาจปกครองตนเอง ไม่เป็นเมืองของประเทศใดอีกต่อไป รัฐบาลฟิลิปปินส์ มุ่งให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบบริหารประเทศเพื่อปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวงและขจัดความยากจน จึงได้รับความนิยมจากประชาชนและมีสถานะความมั่นคงทางการเมืองสูง ทั้งนี้รัฐบาลยังมีมาตราการเร่งด่วน ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การสร้างมาตรฐานกฎระเบียบด้านงบประมาณ การปรับปรุงระบบข้าราชการพลเรือน และการปรับปรุงระบบการศึกษา ส่วนประเด็นด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐบาลฟิลิปปินส์เน้นการส่งเสริมความร่วมมือในหัวข้อท้าทายต่าง ๆ เช่น การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การระบาดของโรคติดต่อ การฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ และการสร้างพลังประชาคมระหว่างประเทศในทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายการ พัฒนาแห่งสหัสวรรษ(Millennium Development Goals MDG)

ลักษณะทั่วไปทางการเมืองการปกครองของประเทศฟิลิปปินส์[แก้]

ฟิลิปปินส์ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบสาธารณรัฐโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ฟิลิปปินส์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 เขต 81 จังหวัด และ 12 เมือง โดยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 1,499 เทศบาล และ 41,969 บารังไกย์ ซึ่งเทียบเท่ากับตำบลหรือหมู่บ้าน[2]

1.การเมืองแบบปิตาธิปไตย รัฐปิตาธิปไตยโดยหลักการแล้ว เป็นรัฐที่ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ทางอานาจของผู้ที่ต้องการเข้ามามีอานาจ ขาดระบบราชการที่เข้มแข็ง แต่ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากภายนอกมาสู่การเมืองที่ไร้ประสิทธิภาพเป็นการเมืองแบบปิตาธิปไตยอย่างในปัจจุบัน การเมืองฟิลิปปินส์ามีลักษณะแบบปิตาธิปไตย มีลักษณะของการอุปถัมภ์สูง มีความชัดเจนมากในยุคของมาร์กอสที่ได้ใช้อานาจของตนอย่างเผด็จการเอื้อประโยชน์ทางการเมืองและโอกาสทางเศรษฐกิจ จนเกิดความไม่มีเสถียรภาพและเสรีภาพทางเศรษฐกิจ

2.การเมืองด้านอิทธิพล เจ้าพ่อ และอำนาจท้องถิ่น ฟิลิปปินส์มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ไม่ทั่วถึง เกิดความยากจนขึ้นเป็นอย่างมาก ขบวนคอมมิวนิสต์ในปัจจุบันก็ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากประชาชนในท้องที่ เพราะรัฐไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรทางอานาจและเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึง คนทั่วไปในฟิลิปปินส์ยังประสบกับความยากจนอยู่มาก ดังนั้นการเมืองเชิงอิทธิพลจึงเกิดจากนักการเมืองหรือ เจ้าพ่อ ท้องถิ่นที่มีอานาจจากการยินยอมยอมรับของประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ และเลือกเข้ามาดารงตาแหน่งทางการเมืองอาจจะเข้ามาทางการซื้อเสียง

3.การเมืองภายใต้โครงสร้างอานาจนาของมหาอำนาจโลก หลังจากประกาศเอกราชจากสเปน ฟิลิปปินส์ตกเป็นอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาอีก โดยสหรัฐฯใช้ฟิลิปปินส์เป็นฐานที่มั่นสาคัญในเชิงยุทธศาสตร์ทางทหารโดยเฉพาะในยุคการต่อสู้กับขั้วอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ฟิลิปปินส์จึงเป็นประเทศที่มีความสาคัญอย่างมากต่อสหรัฐอเมริกา[3]

โครงสร้างทางการเมืองการปกครองของประเทศฟิลิปปินส์[4][แก้]

อำนาจการปกครองแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ

1.ฝ่ายบริหาร

              ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปี และจำกัดให้ดำรงตำแหน่งเพียงครั้งเดียว และประธานาธิบดีไม่มีอำนาจในการยุบสภา  ผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีต้องอาศัยอยู่ในฟิลิปปินส์มาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี และไม่มีรายชื่ออยู่ในคณะผู้บริหารขององค์กรที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาล ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศและเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล

2.ฝ่ายนิติบัญญัติ

              สมาชิกวุฒิสภาจำนวน 24 คน สภาผู้แทนราษฎรจำนวน 250 คน มีหน้าที่พิจารณาข้อกฎหมายและข้อตกลงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประเทศ ช่น สนธิสัญญาระหว่างประเทศ ข้อโต้แย้งที่เกี่ยวข้องกับประธานาธิบดี รวมถึงการปลดประธานาธิบดีออกจากตำแหน่ง โดยรัฐสภามีอำนาจในการริเริ่มขบวนการถอดถอน และวุฒิสมาชิกมีอำนาจสูงสุดด้วยมติ 2 ใน 3 ในการตัดสินคดีความ 

3.ฝ่ายตุลาการ บังคับใช้กฎหมายผ่านทางศาล แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ ศาลระดับท้องถิ่น ศาลระดับภูมิภาค ศาลระดับชาติ และศาลสูงสุด

    3.1)ศาลระดับท้องถิ่น เป็นศาลเทศบาล ศาลในเมืองขนาดใหญ่ และศาลเคลื่อนที่ ซึ่งจะเวียนกันไปพิจารณาคดี ในท้องที่ต่างๆ โดยรับพิจารณาเฉพาะคดีที่ไม่ร้ายแรงนัก
    3.2)ศาลระดับภูมิภาค มีหน้าที่พิจารณาคดีที่ร้ายแรงกว่าศาลท้องถิ่นและคดีอุทธรณ์ โดยศาลระดับภูมิภาคมี 13 แห่ง ประจำใน 13 ภูมิภาคเท่านั้น
    3.3)ศาลระดับชาติเป็นศาลอุทธรณ์และศาลมุสลิม ส่วนมากจะรับพิจารณาคดีอุทธรณ์ด้านภาษี คดีข้าราชการ และคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง รวมถึงคดี ที่ต้องพิจารณาจากกฎหมายมุสลิม
    3.4)ศาลสูงสุด รับพิจารณาคดีการเมือง คดีอุทธรณ์ คดีฎีกา รวมถึงคดีที่มีความสำคัญระดับประเทศ เช่น การสั่งปลดประธานาธิบดี หรือระงับการประกาศใช้กฎอัยการศึก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ออกกฎระเบียบในการสอบอาชีพทนายความทั่วประเทศ

การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นของประเทศฟิลิปปินส์[แก้]

1.ช่วงก่อนการตกอยู่ภายใต้อาณานิคม ย้อนหลังกลับไปในสมัยก่อนที่จะเป็นอาณานิคมของสเปน กลุ่มชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่กันอย่างกระจัดกระจายตามหมู่เกาะนับพันแห่งของฟิลิปปินส์ได้มีการรวมตัวกันปกครองตนเองอยู่แล้ว โดยมีลักษณะการปกครองแบบหมู่บ้าน หรือที่เรียกว่า บารังไก

2.ช่วงที่อยู่ภายใต้การเป็นอาณานิคม การรวมตัวเข้าสู่ศูนย์กลางเริ่มหลังจากการเข้ายึดครองของสเปนอันเป็นเวลาต่อเนื่องมาสามศตวรรษกว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวสเปนได้จัดตั้งระบบการปกครองท้องถิ่นขึ้น โดยสเปนมีความพยายามทำให้ชาวพื้นเมืองฟิลิปปินส์มีความรู้สึกว่าเป็นชาวฟิลิปปินส์ร่วมกันสเปนได้บังคับให้ประชาชนท้องถิ่นให้เคลื่อนย้ายจากบารังไกเข้ามารวม กันอยู่ในเขตการปกครองท้องถิ่นที่เรียกว่า พูโบล

3.ช่วงภายหลังการได้รับเอกราช หลังจากประเทศฟิลิปปินส์ได้รับเอกราชแล้ว ความสนใจของผู้ปกครองยังเน้นที่การเมืองระดับชาติและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นสำคัญ และกว่าที่การปกครองท้องถิ่นจะได้รับความสนใจก็ใช้ระยะเวลานาน

4.ช่วงสมัยเผด็จการของรัฐบาลนายเฟอร์ดินานด์มาร์กอส เมื่ออดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์มาร์กอส ได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจโดยการเลือกตั้งของประชาชนในปีค.ศ. 1965 ในระยะแรก ดูเหมือนว่า ประธานาธิบดีมาร์กอสมีความพยายามที่จะพัฒนาท้องถิ่นและส่งเสริมให้มีการกระจายอำนาจมากขึ้นด้วยการประกาศนโยบายส่งเสริมการปกครองตนเอง และมีการออกกฎหมายการกระจายอำนาจ เพื่อเพิ่มรายได้และอำนาจให้แก่ท้องถิ่น

5.ช่วงภายใต้รัฐบาลนางอากีโนจนถึงปัจจุบัน หลังจากที่รัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดีมาร์กอสถูกโค่นอำนาจลงโดยพลังประชาชนในปีค.ศ. 1986 อาจกล่าวได้ว่าการกระจายอำนาจได้กลับมาสู่ฟิลิปปินส์อีกครั้งหนึ่ง โดยรัฐบาลของนางคอราซอน อากีโน ได้ประกาศนโยบายสำคัญประการหนึ่งคือ “รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระในการปกครองตนเองแก่ท้องถิ่น”

ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศฟิลิปปินส์[แก้]

ประเทศฟิลิปปินส์ไม่มีการปกครองส่วนภูมิภาค แต่มีการปกครองส่วนท้องถิ่น ประธานาธิบดีเป็นผู้มีอำนาจควบคุมหน่วยการปกครองท้องถิ่นทั้งหมด ตามรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ปีค.ศ. 1987 ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดให้หน่วยการปกครองท้องถิ่น มีความเป็นอิสระในการปกครองตนเอง โดยประธานาธิบดีมีหน้าที่เพียงการกำกับดูแลการปกครองท้องถิ่นโดยทั่วๆ ไป รวมทั้งยังกำหนดให้รัฐสภาตราประมวลกฎหมายการปกครองท้องถิ่น ซึ่งออกในปีค.ศ. 1991 ภายใต้หลักการสำคัญเกี่ยวกับการจัดให้มีการปกครองท้องถิ่นที่ตอบสนองและมีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น ผ่านระบบการกระจายอำนาจ พร้อมกับกลไกที่มีประสิทธิภาพในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง การริเริ่มเสนอกฎหมายหรือเรื่องต่างๆ และการหยั่งเสียงประชามติ การจัดสรรอำนาจความรับผิดชอบและทรัพยากรของหน่วยการปกครองท้องถิ่นระดับต่างๆ การกำหนดคุณสมบัติวิธีการเลือกตั้ง การแต่งตั้งและการให้พ้นจากตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง เงินเดือน อำนาจและภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดองค์การและการดำเนินการของหน่วยการปกครองท้องถิ่น[5]

รูปแบบการปกครองท้องถิ่น[แก้]

หน่วยการปกครองท้องถิ่นแบ่งเป็น 5 หน่วย ดังนี้

1. จังหวัด จังหวัด (Province) เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุด จังหวัดเป็นองค์กรนิติบุคคล มีอำนาจในการปกครองตนเอง จังหวัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ จังหวัดธรรมดาและจังหวัดพิเศษ มีการปกครองโดยกฎหมายจังหวัดและปกครองโดยกฎหมายพิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าการบริหารของจังหวัด มีอำนาจในการควบคุมการบริหารงานและอยู่ภายใต้การปกครองของประธานาธิบดี

2. เทศบาล เทศบาล (Municipality) เป็นหน่วยการปกครองที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด เป็นองค์กรนิติบุคคลจึงมีสิทธิทางศาลได้ มีอำนาจตามกฎหมาย และเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่ก่อตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติแห่งรัฐสภาโดยคำสั่งของประธานาธิบดี เทศบาลปกครองโดยกฎหมายทั่วไปซึ่งเรียกว่ากฎหมายเทศบาล (Muni-cipal Law) ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการควบคุมเทศบาล นายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้าการบริหารงานของเทศบาลและยังมีอำนาจในการจับคุมบุคคลที่ทำผิดซึ่งหน้าได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใบอำนาจ

3.ตำบล ตำบล (Barrio) เป็นหน่วยการปกครองที่รองลงมาจากเทศบาล กฎบัตรตำบลซึ่งผ่านโดนรัฐสภาได้ให้อำนาจการปกครองตนเองแก่ตำบล

4. นครตามกฎบัตร นครตามกฎบัตร (Chartered city) เป็นหน่วยปกครองท้องถิ่นพิเศษของฟิลิปปินส์ ก่อตั้งโดยกฎหมายพิเศษ ถือเป็นองค์กรนิติบุคคล และมีอำนาจในการปกครองตนเอง รัฐสภาเท่านั้นที่มีสิทธิ์จะแก้ไขและเพิกถอนกฎบัตรได้

5. กึ่งจังหวัด กึ่งจังหวัด (Suk - Provine) มีอำนาจในการปกครองตนเองแต่ไม่ได้มีฐานะเป็นจังหวัด เพราะมีรายได้และทรัพยากรน้อย มีรูปแบบการปกครองเป็นแบบพิเศษ ประชาชนส่วนมากในกึ่งจังหวัดมักจะมีขนบธรรมเนียบ ประเพณีผิดไปจากจังหวัดธรรมดา เช่น ชนเผ่าที่อยู่ตามภูเขา เป็นต้น

โครงสร้างภายในหน่วยการปกครองท้องถิ่นของประเทศฟิลิปปินส์[แก้]

ในการบริหารงานระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้า ระดับเทศบาลมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า ระดับตำบลหรือหมู่บ้านมีหัวหน้าเป็นผู้ปกครอง ประธานาธิบดีบังคับบัญชาโดยสั่งผ่านกระทรวงการปกครองท้องถิ่น

ความสัมพันธ์ของระบบการปกครองท้องถิ่น[แก้]

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นกับหน่วยงานรัฐบาลกลาง[แก้]

หัวหน้าการบริหารส่วนท้องถิ่นจะคอยช่วยเหลือประสานงานกับเจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง เพื่อออกคำสั่งต่างๆและรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ยกตัวอย่างเช่น นายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้าบริหารงานของเทศบาล มีหน้าที่ควบคุมการบริหารงานท้องถิ่น คอยดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและประสานงานกับเจ้าหน้าที่ส่วนกลางเพื่อคอยช่วยเหลือประชาชน

ความสัมพันธ์กับองค์การประชาชนและองค์การพัฒนาเอกชน[แก้]

หน่วยงานรัฐบาลกลางจะตั้งสำนักงานใหญ่ไว้ในแต่ละภูมิภาค เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนที่อยู่ในจังหวัดในภูมิภาคนั้น

บทสรุปและวิเคราะห์ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศฟิลิปปินส์วนปัจจุบัน[แก้]

ประธานาธิบดีปัจจุบัน นายเบนิกโน เอส.อากีโน ที่ 3 (พ.ศ.2553-2559) จากพรรคลิเบอร์รัล (Liberal Party of the Philippines:LP) ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 15 ของประเทศ พร้อมกับนายเจโจมาร์ บิไนย์ (Jejomar Binay) อดีตนายกเทศมนตรีเมืองมากาตี ได้รับเลือกตั้งเป็นรองประธานาธิบดี โดยรัฐบาลภายใต้การบริหารของนายเบนิกโนมุ่งให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบบริหารประเทศ การปราบปรามคอร์รัปชั่น และแก้ไขปัญหาความยากจน ทำให้รัฐบาลชุดนี้ได้รับความนิยมจากประชาชนค่อนข้างยาก นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การสร้างกฎระเบียบด้านงบประมาณและการปรับปรุงระบบการศึกษาด้วย[6]

การปกครองท้องถิ่น เป็นรูปแบบการปกครองที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการเมืองการปกครองของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งกล่าวในทางทฤษฎีและแนวความคิดทางการปกครอง จะเห็นได้ว่ารัฐบาลซึ่งเป็นกลไกในการบริหารการปกครองของประเทศนั้น ย่อมมีภาระหน้าที่ในการบริหารประเทศเพื่อประชาชน ทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระบบการปกครองท้องถิ่นสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สนองตอบต่อความต้องการของชุมชนและพัฒนาท้องถิ่นไปในทิศทาง ที่ตนเองต้องการได้โดยอิสระ จนทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และ ตรงกับความมุ่งประสงค์ของท้องถิ่นนั้นๆ สำหรับประมวลกฎหมายการปกครองท้องถิ่นของประเทศฟิลิปปินส์นั้น ได้ปูทางให้กับการถ่ายโอนอำนาจการปกครองและ การกระจายอำนาจในการบริหารงานของรัฐบาลให้แก่ท้องถิ่น ทั้งนี้ประเทศฟิลิปปินส์มีประวัติการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางมาเป็นระยะเวลายาวนาน ดังนั้น การกระจายอำนาจและหน้าที่ไปยังหน่วยการปกครองท้องถิ่นจึงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเนื่องจากประชาชน นอกจากนี้จุดเด่นประการหนึ่งของการปกครองท้องถิ่นของฟิลิปปินส์ภายใต้ประมวลกฎหมายการปกครองท้องถิ่นปีคือ การจัดโครงสร้างภายในของหน่วยการปกครองท้องถิ่นจะมีการแยกกันอย่างชัดเจนระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งจะมีสภาของท้องถิ่นโดยที่สมาชิกสภาจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน และฝ่ายบริหารจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับการปกครองท้องถิ่นในระดับจังหวัด ส่วนเมืองและเทศบาลจะมีนายกเทศมนตรีเมืองและนายกเทศมนตรีเทศบาล ขณะที่ในระดับบารังไกจะมีบูนังหรือหัวหน้าบารังไก แต่ที่น่าสังเกตคือ ผู้นำทางฝ่ายนิติบัญญัติหรือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นประธานสภาของแต่ละหน่วยการปกครองท้องถิ่นแทนที่จะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น แต่กฎหมายกลับกำหนดให้ฝ่ายบริหารทำหน้าที่เป็นประธานสภาท้องถิ่น อย่างไรก็ดีอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับรูปแบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศฟิลิปปินส์ก็คือ บทบาทและสถานะของผู้นำของแต่ละหน่วยการปกครองท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรีเมือง นายกเทศมนตรีเทศบาล และบูนัง โดยผู้นำของแต่ละท้องถิ่นของฟิลิปปินส์นั้นจะมีบทบาทและสถานะอยู่ใน 3 ฐานะด้วยกันคือ

1) การเป็นตัวแทนของรัฐ กล่าวคือ ผู้นำท้องถิ่นของฟิลิปปินส์จะทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงและประสานงานระหว่างท้องถิ่นกับรัฐบาลกลาง เนื่องจาก ฟิลิปปินส์มีโครงสร้างการบริหารราชการเพียง 2 ระดับคือ การบริหารราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ซึ่งไม่มีการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเช่นเดียวกับประเทศไทย ดังนั้นการกำกับดูแลและเชื่อมโยงประสานงานที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปในลักษณะของหน่วยการปกครองท้องถิ่นกับรัฐบาลกลาง และหน่วยการปกครองท้องถิ่นด้วยกันเอง

2) การเป็นผู้นำของชุมชนหรือท้องถิ่น ที่มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารจัดการและการจัดบริการต่างๆ ให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบตามที่กฎหมายระบุไว้

3) การเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ภายใต้ประมวลกฎหมายการปกครองท้องถิ่นกำหนดให้ผู้นำทางฝ่ายบริหารต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรีเมืองและเทศบาล และบูนัง นอกเหนือจากการมีฐานะเป็นผู้นำของท้องถิ่นแล้ว อาจกล่าวได้ว่ายังมีฐานะของการเป็นนักการเมืองท้องถิ่นด้วย ซึ่งข้อดีก็คือ เนื่องจากจะต้องอาศัยฐานเสียงจากประชาชน ดังนั้นการทำงานจึงต้องมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม มีการนำเสนอนโยบายหรือโครงการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งการแข่งขันกันในเชิงนโยบาย นอกจากผลประโยชน์จะตกแก่ท้องถิ่นแล้ว ส่วนหนึ่งก็เป็นผลดีต่อการพัฒนานักการเมืองท้องถิ่นให้มีคุณภาพด้วย[7]

  1. http://www.fact.fti.or.th/th/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B-%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%8C/
  2. http://asean.skru.ac.th/content/90/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%8C
  3. http://www.lukhamhan.ac.th/course/blog/6421
  4. http://www.boi.go.th/thai/asean/Philippines/capt1_p1n.html
  5. http://mams.rmit.edu.au/ci3eajl92q6zz.pdf
  6. http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=3647&filename=index
  7. http://kpi2.kpi.ac.th/kpith/pdf/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%88/AEC/%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99.pdf