ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Super Nung/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นายอำพน บุณยรัตพันธุ์[แก้]

เกิด 30 มกราคม 2478 - 30 พฤศจิกายน 2553[แก้]

เป็นบุตรชายคนเดียวของนายจำนงราชกิจ (จรัล บุณยรัตพันธุ์) อดีตรองราชเลขาธิการ และนางเฉลิม ศุขปราการ

การศึกษา[แก้]

ระดับประถมต้น   โรงเรียนอัญสัมชัญ บางรัก รุ่น 2495

ระดับมัธยม        โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย รุ่น + - 28

ระดับอุดมศึกษา  เข้าเรียนที่คณะบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลังจากนั้นเดินทางไปเรียนต่อด้านวิศวกรรมเครื่องยนต์ที่ Burgsolms / An der Lahn  Engineering School , Wetzlar, Germany

ชีวิตการทำงาน[แก้]

หลังจากศึกษาจบจากวิทยาลัยวิศวกรรม Burgsolms/An der Lahn ก็ได้ไปฝึกงานอยู่ที่บริษัท โฟล์กสวาเกน ในเมือง Wolfsberg ประเทศเยอรมัน และได้รับการทาบทามจาก หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต ให้มาดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัทประชายนต์ จำกัด ซึ่งในขณะนั้นเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์โฟล์กสวาเกนในประเทศไทยและประเทศลาวแต่เพียงผู้เดียว

จวบจนกระทั่งบริษัทประชายนต์เกิดวิกฤต จึงได้ย้ายมาร่วมงานกับบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จนเกษียรอายุ 55 ปี จากนั้นได้รับการทาบทาบจาก ด.ร. จักรกฤษณ์ บูรณะสัมฤทธ์ ให้ไปร่วมงานกับบริษัทเลออนไทย ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเลคโทรนิค ก่อนจะเกษียรตัวเองไปเป็นพ่อบ้านแบบฟูลทาร์ม

ธุรกิจครอบครัว[แก้]

รับช่วงการบริหารโรงเรียนวรวิทยา ซึ่งเปิดสอนระดับ อนุบาล 1 ถึง ประถม 7

ชีวิตสมรส[แก้]

ได้พบกับหม่อมหลวงสลีระพัฒน์  ลดาวัลย์ บุตรีหม่อมราชวงศ์สล้าง ลดาวัลย์ และนางทองพูน ลดาวัลย์ ณ อยุธยา เมื่อเริ่มงานที่บริษัทประชายนต์ ในตำแหน่งเลขานุการ ซึ่งภายหลังได้กลายมาเป็นภรรยาที่ครองคู่กันมากว่า 43 ปี โดยสมรส เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2510 มีบุตรธิดารวม 2 คน คือนางสาวกุศิราและนายวิรคุณ บุณยรัตพันธุ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ)

งานอดิเรก[แก้]

  • ชอบเล่นเรือ Speed boat เคยเล่าให้ครอบครัวฟังว่า สมัยเรียนที่ธรรมศาตร์ จะขับเรือโฉบไปมาหน้ามหาวิทยาลัยทำให้ไม่เคยเข้าเรียนสักครั้ง ต่อมาเปิดหนังสือเพื่อต่อเรือเอง โดยใช้เครื่อง Volvo Penta ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ใหญ่วางกลางลำ ตั้งชื่อว่าเรือกุศิรา เป็นเรือที่ภูมิใจมาก เคยพาเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับในรัชกาลที่ 5 นั่งตะลุยแม่น้ำเจ้าพระยามาส่งท่านที่ท่าราชวรดิษฐ์ เพื่อกลับวังหลวง  จากนั้นก็ทำการดัดแปลงอาคารศาลาท่าน้ำให้เป็น อู่จอดเรือ
  • ซื้อเรือเร็วมาตั้งไว้ดูเล่นที่บ้าน ไม่มีโอกาสเอาลงน้ำจนเรือผุพังไปตามกาลเวลา
  • ต่อเรือให้ลูก ๆ ขับเล่นในบริเวณบ้าน สมัยน้ำท่วมบ้านปี 2526
  • สร้างหนัง 8mm โดยให้ลูก ๆ และคนในบ้านเป็นนักแสดง
  • สร้างกระดานโค้งให้ลูกชายฝึก จักรยาน BMX
  • เป็นออแกนไนท์เซอร์จัดปาร์ตี้ ที่บ้าน
  • ตัดหญ้า ทำสวน ปลูกต้นไม้
  • ประดิษฐ์ เครื่องมือของใช้ต่าง ๆ ซึ่งทุกวันนี้ยังมีสิ่งประดิษฐ์ที่คนในบ้านไม่เข้าใจว่าคืออะไรตั้งอยู่หลายชิ้น
  • ซ่อม สร้าง โมดิฟายด์ เครื่องกล เครื่องยนต์ ต่าง ๆ
  • ปั้นปลายของชีวิต มีความสุขกับการสร้างระบบเครื่องเสียงและคาราโอเกะแบบ custom made เอง

ข้อมูลอ้างอิง[แก้]

หนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดมกุฏกษัตริยราม 18 มกราคม 2554