นายจำนงราชกิจ (จรัล บุณยรัตพันธุ์)
นายจำนงราชกิจ | |
---|---|
เกิด | 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 จรัล บุณยรัตพันธุ์ |
เสียชีวิต | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2515 (74 ปี) |
คู่สมรส | นางสาวเฉลิม ศุขปราการ |
อาชีพ | ข้าราชการ |
รองเสวกเอก นายจำนงราชกิจ นามเดิม : จรัล บุณยรัตพันธุ์ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ยูงทอง อดีตรองราชเลขาธิการ
ประวัติ[แก้]
นายจำนงราชกิจ เดิมชื่อ จรัล บุณยรัตพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 เป็นบุตรนายจ่าง และ นางวร บุณยรัตพันธุ์ มีพี่น้องเรียงตามลำดับดังนี้
- นางสาวระวิง บุณยรัตพันธุ์
- นางวรรณ เชาวนปรีชาลักษณ์ (วรรณ บุนนาค) ภรรยาหลวงเชาวนปรีชาลักษณ์
- ท้าวศรีสัจจา (สังวาลย์ บุณยรัตพันธุ์) (2438–2533)
- นายจำนงราชกิจ (จรัล บุณยรัตพันธุ์)
- พันตรีนายแพทย์เจริญ บุณยรัตพันธุ์ (2444–2539)
- นางสาวรวีวรรณ บุณยรัตพันธุ์
- หลวงดิฐการภักดี (จรูญ บุณยรัตพันธุ์) (2449–2540)
- คุณหญิงไสววงศ์ ทองเจือ ภรรยานายพงศ์ทอง ทองเจือ
ท่านได้สมรสกับ นางสาวเฉลิม ศุขปราการ (เฉลิม จำนงราชกิจ) บุตรีของร้อยตำรวจเอกหลวงสุขกิจจำนงค์ เมื่อปี พ.ศ. 2476 มีบุตรชาย 1 คน คือ นายอำพน บุณยรัตพันธุ์ ซึ่งสมรสกับหม่อมหลวงสลีระพัฒน์ ลดาวัลย์ ธิดาหม่อมราชวงศ์สล้าง ลดาวัลย์(นายชิดหุ้มแพร) นายจำนงราชกิจ ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2515 รวมศิริอายุ 73 ปี เศษ
การศึกษา[แก้]
เริ่มเรียนที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เมื่ออายุ 5 ขวบ และโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์อีก 2ปี และเข้าเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนราชวิทยาลัย สมัยสายสวลีและสมัยบางขวาง เมื่อ พ.ศ. 2452-2459
การทำงาน[แก้]
ได้เข้ารับราชการในพระราชสำนักพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สังกัดกรมมหรสพ อยู่ 2ปี จากนั้นโปรดเกล้าฯ ไปรับราชการในกรมราชเลขานุการในพระองค์ (สำนักราชเลขาธิการในปัจจุบัน ) ได้ปฏิบัติราชการจนถึงรัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2499 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็น ข้าราชการพลเรือนชั้นพิเศษ และดำรงตำแหน่งรองราชเลขาธิการ ในปี พ.ศ. 2507 จนกำหนดเกษียณเนื่องจากสูงอายุแต่ก็ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการจนถึงแก่อนิจกรรม กล่าวได้ว่าเป็นผู้ได้มีชีวิตการทำงานใต้พระบารมีติดต่อกันเป็นเวลานานที่สุด 4 รัชกาล รวมเวลากว่า 60 ปี
ยศและบรรดาศักดิ์[แก้]
- 16 มิถุนายน พ.ศ. 2460 มหาดเล็กวิเศษ รับพระราชทานเงินเดือนมหาดเล็กสำรองชั้นที่ 3 [1]
- 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 ขุนชำนาญบรรณารักษ์ ถือศักดินา ๖๐๐[2]
- 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 นายจำนงราชกิจ หุ้มแพรวิเศษ ถือศักดินา ๕๐๐[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2511 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2508 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2464 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 5 (ว.ป.ร.5)[6]
- พ.ศ. 2489 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 3 (อ.ป.ร.3)[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๒๑๔)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 85 ตอนที่ 122 วันที่ 31 ธันวาคม 2511
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๖๓, ตอน ๑๙ ง, ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙, หน้า ๔๖๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2441
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2515
- สกุลบุณยรัตพันธุ์
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเพลงพระราชนิพนธ์
- บรรดาศักดิ์ชั้นนาย
- บุคคลจากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.5