ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Sunisa.r/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติส่วนตัว[แก้]


ชื่อ - สกุล : นางสาวสุนิศา รัตน์ใหม่
ชื่อเล่น : เฟิร์น
ที่อยู่ปัจจุบัน/ที่สามารถติดต่อได้ : 28 ถ.มุขมนตรี22 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
ประวัติการศึกษา - ปัจจุบัน :

ปี พ.ศ ระดับการศึกษา
พ.ศ 2558 กำลังศึกษาที่ มทร.อีสาน คณะบริหารธุรกิจ สาขาระบบสารสนเทศ
พ.ศ 2556 จบการศึกษาที่ มทร.อีสาน คณะบริหารธุรกิจ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
พ.ศ 2554 จบการศึกษาที่ เทคโนโลยีช่างกลพาณิชยการ นครราชสีมา สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
พ.ศ 2550 จบการศึกษา มัธยมต้น ที่ โรงเรียนสุรนารีวิทยา 2 นครราชสีมา


ตำแหน่งงานด้านไอที ที่สนใจ (บอกเหตุผล) : IT Support



บทความด้านไอที[แก้]

ความปลอดภัยของระบบเครือข่ายคืออะไร โดยทั่วไปเมื่อคุณออกจากสำนักงานหลังเลิกงาน คุณจะเปิดระบบเตือนภัยและล็อคประตูเพื่อป้องกันสำนักงานและอุปกรณ์ในสำนักงานของคุณ คุณอาจมีตู้เก็บแฟ้มเอกสารนิรภัยหรือตู้ที่ล็อคได้เพื่อจัดเก็บเอกสารทางธุรกิจที่เป็นความลับด้วยเช่นกัน

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของคุณก็ต้องการการป้องกันในลักษณะเดียวกัน

เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของเครือข่ายช่วยป้องกันเครือข่ายของคุณจากการโจรกรรมและการใช้ข้อมูลลับทางธุรกิจไปในทางที่ผิด และยังช่วยป้องกันการโจมตีที่เป็นอันตรายจากไวรัสและเวิร์มจากอินเทอร์เน็ตด้วย หากบริษัทของคุณไม่มีีระบบความปลอดภัยของระบบเครือข่าย บริษัทของคุณจะเสี่ยงต่อการบุกรุกที่ไม่ได้รับอนุญาต เวลาสูญเปล่าของเครือข่าย การชะงักงันของบริการ การไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ และแม้แต่การดำเนินคดีทางกฎหมาย

ระบบความปลอดภัยทำงานอย่างไร

ความปลอดภัยของระบบเครือข่ายไม่ได้ขึ้นอยู่กับวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่เป็นการใช้ชุดของตัวป้องกันที่ทำหน้าที่ป้องกันธุรกิจของคุณด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน แม้เมื่อโซลูชันหนึ่งทำงานล้มเหลว โซลูชันอื่นๆ ยังคงทำงานอยู่ ซึ่งจะช่วยปกป้องบริษัทของคุณและข้อมูลของบริษัทจากการโจมตีเครือข่ายที่มีหลากหลายรูปแบบ

ชั้นของความปลอดภัยบนระบบเครือข่ายของคุณ หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าที่คุณจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจ พร้อมสำหรับการใช้งานและได้รับการปกป้องจากภัยคุกคามต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความปลอดภัยของระบบเครือข่าย:

ช่วยป้องกันการโจมตีระบบเครือข่ายจากภายในและภายนอก ภัยคุกคามสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งภายในและ ภายนอกกำแพงสี่ด้านของธุรกิจของคุณ ระบบความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพจะตรวจสอบกิจกรรมของระบบ เครือข่ายทั้งหมด ทำเครื่องหมายพฤติกรรมที่ผิดปกติ และทำการตอบสนองที่เหมาะสม ทำให้มั่นใจว่าการสื่อสารทั้งหมดมีความเป็นส่วนตัว ในทุกที่และทุกเวลา พนักงานสามารถเข้าถึงระบบ เครือข่ายจากบ้านหรือบนท้องถนนได้โดยมั่นใจว่าการสื่อสารของตนยังคงมีความเป็นส่วนตัวและได้รับการ ปกป้อง ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลโดยการระบุผู้ใช้และระบบของผู้ใช้อย่างแม่นยำ ธุรกิจต่างๆ สามารถตั้งกฏของตนเองเพื่อปกป้องการเข้าถึงข้อมูลได้ สามารถทำการปฏิเสธหรืออนุมัติตามข้อมูลการยืนยันตัวตนของผู้ใช้ ฟังก์ชันของงาน หรือเกณฑ์เฉพาะธุรกิจอื่นๆ ช่วยให้คุณมีภาพลักษณ์ที่ไว้วางใจได้มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยช่วยป้องกันระบบของคุณจากการโจมตี และช่วยปรับให้เข้ากับภัยคุกคามใหม่ๆ ดังนั้นพนักงาน ลูกค้า และคู่ค้าทางธุรกิจจึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลของตนยังคงมีความปลอดภัย


ระบบเครือข่ายแบบ LAN[แก้]

ระบบเครือข่ายแบบ LAN หรือ LAN Technologies

เครือข่ายแบบบัส (bus topology)[แก้]



เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก

  • ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มี
  • ข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา

ข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของสัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้

เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology)[แก้]



เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันก็จะส่งผ่านไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่

  • ข้อดีของเครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
  • ข้อเสียการตรวจหาข้อผิดพลาดของระบบทำได้ยาก ในกรณีที่สายส่งข้อมูลเกิดเสียหายจะทำให้ระบบ ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้
  • ข้อจำกัด ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย อาจทำให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้

เครือข่ายคอมแบบดาว(Star Network)[แก้]



เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน

  • ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ
  • ข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
  • ข้อจำกัด ถ้าฮับเสียหายจะทำให้ทั้งระบบต้องหยุดซะงัก และมีความสิ้นเปลืองสายสัญญาณมากกว่าแบบอื่นๆ

เครือข่ายแบบเมซ (Mesh Topology)[แก้]



โทโปโลยีเมซคือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบสมบูรณ์ กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะเชื่อมต่อถึงกันหมดโดยใช้สายสัญญาณทุกการเชื่อต่อ วิธีการนี้จะเป็นการสำรองเส้นทางเดินทางข้อมูลได้เป็นอย่างดี เช่น ถ้าสายสัญญาณเส้นใดเส้นหนึ่งขาด ก็ยังมีเส้นทางอื่นที่สามารถส่งข้อมูลได้ นอกจากนี้ยังเป็นระบบที่มีความเชื่อถือได้สูง แต่ข้อเสียก็คือ เครือข่ายแบบนี้จะใช้สัญญาณมาก ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบก็เพิ่มขึ้น ในการเชื่อมต่อจริงๆ นั้นการเชื่อมต่อแบบเมซนั้นมีการใช้งานน้อยมาก

  • ข้อดี ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสมารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ
  • ข้อเสีย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่น ๆ ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย



ระบบเครือข่ายแบบ WAN[แก้]

ระบบเครือข่ายแบบ WAN หรือ WAN Technologies ประเภทของเครือข่ายระยะไกล เครือข่าย สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

เครือข่ายส่วนตัว (Private Network)[แก้]

เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์การที่เป็นเจ้าของเครือข่ายอยู่ เช่น องค์การที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในระดับกายภาพ (Physical Layer) ของการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายส่วนตัวจะยังคงต้องใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ สายเช่า ดาวเทียม เป็นต้น การจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัวมีจุดเด่นในเรื่องของการรักษาความลับของข้อมูล สามารถควบคุมดูแลเครือจ่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการ ส่วยจ้อเสียคือในกรณีที่ได้ได้มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะและหากมีการส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่าง ๆ จะต้องมีการจัดหาช่องทางสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสาขาด้วย รวมทั้งอาจไม่สามารถจัดหาช่องทางการสื่อสารไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้

เครือข่ายสาธารณะ (Public Data Network)[แก้]

เครือข่ายสาธารณะ (PDNs) หรือที่บางครั้งเรียกว่า เครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (Value Assed) เป็นระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN) ซึ่งองค์กรที่ได้รับสัมปทานทำการจัดตั้งขึ้น เพื่อให้บุคคลทั่วไปหรือองค์กรอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการวางเครือข่ายเองสามารถแบ่งกันเช่าใช้งานได้ โดยการจัดตั้งอาจทำการวางโครงข่ายช่องทางการสื่อสารเอง หรือเช่าใช้ช่องทางการสื่อสารสาธารณะก็ได้ ระบบเครือข่ายสาธารณะ จะนิยมใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแบบ WAN กันมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งเครือข่ายส่วนตัว สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่ รวมทั้งมีบริการให้เลือกอย่างหลาย ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปทั้งในส่วนของราคา ความเร็ว ขอบเขตพื้นที่บริการ และความเหมาะสมกับงานแบบต่าง ๆ เครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit-Switching Network) เป็นบริการระบบเครือข่ายสาธารณะขั้นพื้นฐาน เช่น ระบบโทรศัพท์และระบบสายเช่า (leased line) ระบบเครือข่ายแบบสลับวงจรจะเป็นการเชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรระหว่างจุด 2 จุด เพื่อให้สามารถติดต่อส่งข้อมูล (หรือเสียง) กัน โดยการเชื่อมวงจรอาจเชื่อมอยู่ตลอดเวลา เช่น สายเช่าหรือเชื่อมต่อเมื่อมีการติดต่อเช่าโทรศัพท์ก็ได้ รวมทั้งอาจเป็นเครือข่ายอนาลอก เช่น โทรศัพท์หรือเครือข่ายดิจิตอล เช่น ISDN ก็ได้ ระบบเครือข่ายแบบสลับวงจรจะเป็น การเชื่อมต่อระหว่างจุดต่อจุด (point-to-point) จึงมีข้อดีคือมีอัตราความเร็วในการสื่อสารที่คงที่ตลอดเวลา เนื่องจากไม่ต้องทำการแบ่งช่องทางกับผู้อื่น แต่จุดด้อยคือต้งมีการเชื่อต่อกันทุก ๆ จุดที่มีการติดต่อกัน เครือข่ายแบบสลับแพคเกต (Packet Switching Data Network) เป็นระบบเครือข่ายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน มีการทำงานโดยใช้วิธีแบ่งข้อมูลที่ต้องการส่งระหว่างจุด 2 จุด ออกเป็น ชิ้น (packet) เล็ก ๆ เพื่อทำการส่งไปยังจุดหมายที่ต้องการ การเแบ่งข้อมูลออกเป็นแฟกเกตมีข้อดี คือ ทำให้สามารถใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลเพียงช่องทางเดียวในการเชื่อมเข้าสู่เครือข่าย ไม่ว่าวจะมีการติดต่อกันระหว่างกี่จุดก็ตาม รวามทั้งสามารถส่งแต่ละแพกเกตด้วยเส้นทางต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย และทำการรวมแต่ละแพคเกตกลับคือเมื่อถึงจุดหมายแล้ว จึงเป็นการใช้ทรัพยาการ (resource) ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด

OSI model + TCP/IP model[แก้]

OSI Model[แก้]

OSI Mode หรือ OSI Reference Model หรือชื่อเต็มว่า Open Systems Interconnection Basic Reference Model เป็นมาตรฐานการอธิบายการติดต่อสื่อสารและโพรโทคอลของระบบ

คอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กรที่ชื่อว่า International Organization for Standardization (ISO)

โมเดลนี้ได้ถูกแบ่งย่อยออกเป็น 7 ชั้นอันได้แก่ Application, Presentation, Session, Transportation, Network, Data Link และ Physical ตามลำดับจากบนลงล่าง เหตุผลที่โมเดลนี้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ชั้นก็เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจว่าแต่ละชั้นนั้นมีความสำคัญอย่างไร และสัมพันธ์กันอย่างไรระหว่างชั้น ซึ่งโดยหลักๆแล้วแต่ละชั้นจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับชั้นที่อยู่ติดกันกับชั้นนั้นๆ

Application Layer - ชั้นที่เจ็ดเป็นชั้นที่อยู่ใกล้ผู้ใช้มากที่สุดและเป็นชั้นที่ทำงานส่งและรับข้อมูลโดยตรงกับผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ซอร์ฟแวร์โปรแกรม ต่างๆที่อาศัยอยู่บนเลเยอร์นี้ เช่น DNS,HTTP,Browser เป็นต้น Presentation Layer - ชั้นที่หกเป็นชั้นที่รับผิดชอบเรื่องรูปแบบของการแสดงผลเพื่อโปรแกรมต่างๆที่ใช้งานระบบเครือข่ายทำให้ทราบว่าข้อมูลที่ได้เป็นประเภทใด เช่น [รูปภาพ,เอกสาร,ไฟล์วีดีโอ] Session Layer - ชั้นที่ห้านี้ทำหน้าที่ในการจัดการกับเซสชั่นของโปรแกรม ชั้นนี้เองที่ทำให้ในหนึ่งโปรแกรมยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมค้นดูเว็บ(Web browser)สามารถทำงานติดต่ออินเทอร์เน็ตได้พร้อมๆกันหลายหน้าต่าง Transport Layer - ชั้นนี้ทำหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลส่วนที่เรียกว่า checksum และอาจมีการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ โดยพิจารณาจาก ฝั่งต้นทางกับฝั่งปลายทาง (End-to-end)โดยหลักๆแล้วชั้นนี้จะอาศัยการพิจารณาจาก พอร์ต (Port)ของเครื่องต้นทางและปลายทาง Network Layer - ชั้นที่สามจะจัดการการติดต่อสื่อสารข้ามเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะเป็นการทำงานติดต่อข้ามเน็ตเวิร์คแทนชั้นอื่นๆที่อยู่ข้างบน Data Link Layer - ชั้นนี้จัดเตรียมข้อมูลที่จะส่งผ่านไปบนสื่อตัวกลาง Physical Layer - ชั้นสุดท้ายเป็นชั้นของสื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย ตัวอย่างของสื่อที่ใช้ได้แก่ Shield Twisted Pair(STP), Unshield Twisted Pair(UTP), Fibre Optic และอื่นๆ

TCP/IP model[แก้]

ข้อตกลงในการควบคุมการรับส่งข้อมูล และ internet หรือ protocol ของระบบ internet Transmission Control Protocol/Internet Protocolโปรโตคอล TCP/IP เป็นชื่อเรียกของชุดโปรโตคอลที่สำคัญ มีการใช้งานกันอย่าง แพร่หลายตามการขยายตัวของอินเตอร์เน็ต/อินทราเน็ต ความจริงแล้วโปรโตคอลTCP/IP เป็นกลุ่มของโปรโตคอลหลายตัว ที่ประกอบกันเป็นชุดให้ใช้งาน โดยมีคำเต็มว่า Transmission Control Protocol/Internet Protocol ซึ่งจากชื่อเต็มทำให้ เราเห็นว่าอย่างน้อยก็มีโปรโตคอลประกอบกันทำงานร่วมกัน 2 โปรโตคอลคือ TCP และ IP

         ตัวอย่างของกล่มโปรโตคอลในชุดของ TCP/IP ที่เราพบและใช้งานบ่อย ๆ เช่น Internet Protocol (IP) , Address Resolution Protocol (ARP), Internet Control Message Protocol (ICMP), User Datagram Protocol (UDP) , Transport Control Protocol (TCP),Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) และ Domain Name System (DNS) เป็นต้น
         โปรโตคอลที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ Internet Protocol (โปรโตคอล IP) เนื่องจาก เมื่อโปรโตคอลอื่น ๆ ต้องการส่งผ่านข้อมูลข้ามเครือข่ายในอินเตอร์เน็ตนั้น จะต้องอาศัยการผนึกข้อมูล (encapsulation) ไปกับโปรโตคอล IP ที่มีกลไกการระบุเส้นทาง(route service) ผ่าน Gateway หรือ Router เนื่องจากกลไกการระบุเส้นทาง จะทำงานที่โปรโตคอล IP เท่านั้น และด้วยเหตุนี้เราจึงเรียก IP ว่าเป็นโปรโตคอลที่มีความสามารุระบุเส้นทางการส่งผ่านของข้อมูลได้ (routable)


TCP/IP Model OSI Model
Application Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.)
Presentation Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.)
Session Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.)
Transport TCP (host-to-host)
Network IP
Data Link Network acess (usually Ethernet)
Physical Network acess (usually Ethernet)