ผู้ใช้:Sopawan.ka/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
SOPAWAN KANRAKSA

ประวัติ[แก้]

  • ชื่อ-สกุล นางสาวโสภาวรรณ ขันธ์รักษา
  • ที่อยู่ 4 หมู่ 6 บ้านโนนพระ ตำบลโคกสว่าง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด 45210
  • E-mail sopawan.ka@hotmail.com
SOPAWAN KANRAKSA

ประวัติการศึกษา[แก้]

  • ปัจจุบันกำลังศึกษา ปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา สาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ
  • พ.ศ. 2555 จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ
  • พ.ศ. 2553 จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • พ.ศ. 2549 จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนปทุมพิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2546 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนหนองพอกพัฒนาประชานุสรณ์ จังหวัดร้อยเอ็ด
SOPAWAN KANRAKSA

ตำแหน่งด้านไอทีที่สนใจ[แก้]

  • Network Admin

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Facebook : Sopawan Kanraksa
  • IG : bellsinnercircle

บทความเกี่ยวกับไอที[แก้]

สิ่งดีๆ ที่คุณจะพบใน Windows 8

  • 1.การบูตเครื่องได้เร็วมาก เมื่อเทียบกับวินโดวส์อื่นๆ เพียงไม่กี่วินาทีคุณก็สามารถใช้งานวินโดวส์ได้แล้ว
  • 2.อินเตอร์เฟสใหม่ที่แปลกตา หน้าแรกของการใช้งานคุณจะเจอ แอพพลิเคชันหรือโปรแกรมที่ใช้งานมารวมอยู่หน้าเดียวกันที่หน้า Start แบบ Modern Style สะดวกในการใช้งาน อาทิเช่น แอพพลิเคชันของอีเมล, รูปภาพ, ข่าว, ปฏิทิน, พยากรณ์อากาศและอื่น ๆ อีกมาก ทั้งนี้ยังแสดงเป็นแบบอัพเดทตลอดเวลา ซึ่งทำให้คุณทราบข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
  • 3.ระบบค้นหายอดเยี่ยม Windows 8 มีฟังก์ชันการค้นหาสิ่งต่าง ๆ โดยแบบเป็นหมวดหมู่ Application, Settings, File และในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยค้นหาผ่านหน้า Start ได้ทันที่เพียงแค่พิมพ์คำที่ต้องการค้นหาลงไปซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ทั้งคำ วินโดวส์จะทำการแสดงทุกอย่างที่ตรงกับคำค้นหาขึ้นมาทันที
  • 4.เชื่อมต่อข้อมูลกันได้หมด ไม่ว่าคุณจะมีคอมพิวเตอร์, โน้ตบุ๊ก หรือแท็บเล็ต สักกี่เครื่อง คุณก็สามารถตั้งค่าต่างๆ ให้อุปกรณ์ดังกล่าวที่ใช้ Windows 8 เชื่อมต่อข้อมูลกัน โดยข้อมูลเกือบทั้งหมดจากทุกเครื่องจะเหมือนกันไม่ว่าเครื่องนั้นจะอยู่ที่จุดใดของโลกใบนี้ ขอเพียงให้มีอินเตอร์เน็ตใช้ ด้วยฟังก์ชั่น Sync ผ่านแอคเคาท์ของไมโครซอฟท์
  • 5. แชร์ข้อมูล แชร์ (Share) ฟังก์ชันเหมาะสมมาก สำหรับคนที่ชอบโซเชียลเน็ตเวิร์ก ไมโครซอฟท์ออกแบบให้ Windows 8สามารถเลือกแชร์สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูล, รูปภาพ, หน้าเว็บไซต์, เพลง, ภาพยนตร์ และอื่นๆ สำหรับวิธีแชร์นั้นก็ง่ายมาก เพียงแค่เลือกปุ่ม Share ใน Charms Bar เท่านั้นเอง นอกจากนี้ยังสามารถแชร์ไปยังแอพพลิเคชัน อื่น ๆ ได้อีกด้วย อาทิเช่น แชร์ลิงก์หน้าเว็บไปยังคลิปบอร์ดหรือ Notepad หรือแชร์รูปภาพไปยังโปรแกรมแต่งภาพ เป็นต้น
  • 6.เปิดอินเตอร์เน็ตได้รวดเร็ว ถ้าคุณใช้เบราว์เซอร์ Internet Explorer 10 คุณจะต้องประหลาดใจว่า IE10 เปิดเว็บได้รวดเร็วกว่า IE รุ่นก่อนมากนัก เร็วจนเบราว์เซอร์อื่นๆ ต้องหันมามองแล้วล่ะว่า จะพัฒนาเบราว์เซอร์ของตัวเองให้เร็วขึ้นเพื่อหนี IE 10 ได้อย่างไร
  • 7.การรีเฟรชและรีเซตระบบ Windows 8 นี้ มีฟีเจอร์ใหม่ให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขระบบได้เมื่อระบบมีปัญหาจนไม่สามารถแก้ได้แบบปกติ ฟีเจอร์รีเฟรช (Refresh) หรือรีเซต (Reset) ของ Windows 8 ช่วยคุณแก้ไขได้ง่ายโดยใช้เวลาไม่ได้นาน การรีเฟรซ ? คือการล้างระบบใหม่เพื่อให้กับเครื่องที่ใช้ไปนานๆ แล้วรู้สึกว่าเครื่องทำงานช้าหรือมีปัญหานั้น ให้สามารถกลับมาทำงานได้ดีขึ้นโดยการรีเฟรชนี้จะไม่ทำให้ ไฟล์, การปรับแต่งส่วนบุคคล (Personalization Settings) และแอพพลิเคชันหายไป การรีเซต ? จะลบทุกอย่างในเครื่องออกทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นไฟล์, แอพพลิเคชัน แอคเคาท์ต่าง ๆ ของคุณ พูดง่ายๆ คือเครื่องจะกลับม้เหมือนตอนติดตั้งวินโดวส์ครั้งแรก ฟีเจอร์ทั้งสองคุณสามารถเข้าได้ที่เมนู Charms Bar เลือก Settings > Change PC Settings > General
  • 8. Task ManagerWindows 8 ปรับปรุง Task Manager ให้ดูสวยงามขึ้น ใช้งานง่าย และมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม การแสดงแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ Apps, Background Processes และ Windows Processes และมีรายละเอียดการใช้ทรัพยากรเครื่องของแต่ละแอพพลิเคชันให้ดูว่าใช้ CPU, Ram, Bandwidth เท่าไหร่ในแบบ Real Time พร้อมทั้งยังมีการแสดงในรูปแบบกราฟ และบันทึกการใช้ทรัพยากรในแต่ละช่วงเวลาให้ดูย้อนหลังได้ นอกจากนี้ ทั้งนี้ยังสามารถตั้งค่าให้แอพพลิเคชัน เริ่มทำงานหรือไม่ทำงานทันทีที่เปิดเครื่องได้
  • 9.หน้าต่างก็อปปี้ไฟล์ Windows 8 มีการก็อปปี้ไฟล์แบบใหม่ทั้งหน้าตาและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น โดยเมื่อเจอไฟล์ชื่อซ้ำกันและแสดงหน้าต่างถามก่อนว่าต้องการทำอะไรกับมัน ทำให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไรกับไฟล์ปรับความเร็วในการก็อปปี้ได้ตัวเอง ยกตัวอย่าง เช่น คุณกำลังก็อปปี้ไฟล์ผ่านระบบเครือข่ายไร้สายอยู่แต่มาเสียบสายแลนในเวลาต่อมาระบบจะรับรู้แล้วปรับตัวเองให้ทำงานเร็วขึ้นโดยอัตโนมัติถ้าไฟล์ให้มากจนเครื่องเข้าโหมด Sleep หรือ Hibernate ระบบจะหยุดการก็อปปี้ไฟล์ และเมื่อตื่นขึ้นมาจะถามว่าต้องการ Resume ต่อหรือไม่ถ้ามีปัญหา error ขณะก็อปปี้ไฟล์ระบบจะถามก่อนเริ่มก็อปปี้ในกรณีพบก่อน หรือแจ้งเตือนปัญหาหลังก็อปปี้เสร็จในกรณีพบระหว่างทาง ช่วยทำให้งานไม่หยุดชะงักและคุณไม่ต้องเฝ้าหน้าเครื่องตลอดเวลาที่ก็อปปี้ไฟล์
  • 10. ริบบอนเมนูของ Windows Explorer Windows Explorer ของ Windows 8 จะมีเมนูแบบ Ribbon ที่เหมือนกับ Microsoft Office 2010 ทำให้ใช้งานได้สะดวกและหลากหลายขึ้น โดยWindows Explorer แสดงผลได้ทั้งแบบเต็มแบบย่อ (minimize) ซึ่งเป็นดีฟอลต์เพื่อลดความซับซ้อนและเพิ่มพื้นที่ของหน้าต่าง Explorer ที่ปุ่มของริบบอนจะมี Tooltip ของปุ่มจะแสดงรายระเอียดว่าใช้ทำอะไร ค่าต่างๆ ที่คุณตั้งไว้ใน Explorer สามารถบันทึกไว้ในแอคเคาท์คุณได้ และสามารถนำไปใช้ซิงค์กับเครื่องอื่นโดยอัตโนมัติ
  • ที่มา notebookspec.com

บทความเกี่ยวกับไอที[แก้]

F1 ถึง F12 รู้ไหมว่ามันทำอะไรได้บ้าง?

คีย์ที่กล่าวมาส่วนมากเราจะเรียนกมันว่า "ฟังก์ชันคีย์" F1 ถึง F12 อาจมีความหลากหลายของการใช้งานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งและโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่เปิดอยู่ซึ่งจะเปลี่ยนวิธีการของแต่ละคีย์เหล่านี้ ยังรวมถึงการใช้งานฟังก์ชันคีย์รวมดับคีย์ ALT หรือ CTRL เช่นผู้ใช้ Microsoft Windows สามารถกด ALT + F4 เพื่อปิดโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ ด้านล่างเป็นรายการบางส่วนของการทำงานของคีย์ฟังก์ชั่นในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Microsoft Windows แต่จะไม่ใช่ทุกโปรแกรมที่สนับสนุนฟังก์ชันคีย์

  • F1

มักจะใช้เป็นคีย์ช่วยเกือบทุกโปรแกรมจะเปิดหน้าจอ ป้อนการตั้งค่า CMOS Windows Key + F1 จะเปิดตัวช่วยของ Microsoft Windows เปิดบานหน้าต่างงาน

  • F2

ใน Windows จะใช้ในการเปลี่ยนชื่อไอคอนหรือไฟล์ Alt + Ctrl + F2 เปิดเอกสารใหม่ในโปรแกรม Microsoft Word . Ctrl + F2 จะแสดงหน้าต่างตัวอย่างก่อนพิมพ์ใน Microsoft Word เข้าสู่การป้อนการตั้งค่า CMOS หรือ Bios

  • F3

เปิดคุณลักษณะการค้นหาในหลายๆโปรแกรมรวมถึง Microsoft Windows ใน MS - DOS หรือ Windows ของบรรทัดคำสั่ง F3 จะทำซ้ำคำสั่งสุดท้าย Shift + F3 จะมีการเปลี่ยนแปลงข้อความใน Microsoft Word

  • F4

เปิดพบหน้าต่าง ทำซ้ำการกระทำล่าสุด ( Word 2000 ขึ้นไป ) Alt + F4 จะปิดโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ใน Microsoft Windows Ctrl + F4 จะปิดหน้าต่างที่เปิดอยู่ในหน้าต่างที่ใช้งานในปัจจุบันใน Microsoft Windows

  • F5

ในทุกเบราว์เซอร์อินเทอร์เน็ต F5 จะรีเฟรชหรือโหลดหน้าเว็บหรือหน้าต่างเอกสาร เปิดหน้าค้นหา แทนที่ และไปที่หน้าต่างใน Microsoft Word เริ่มสไลด์โชว์ใน PowerPoint

  • F6

ย้ายเคอร์เซอร์ไปที่ Address bar ใน Internet Explorerและ Mozilla Firefox . Ctrl + Shift + F6 เปิดไปยังเอกสารอื่น ๆ ใน Microsoft Word

  • F7

ปกติจะใช้เพื่อตรวจสอบการสะกดและไวยากรณ์ตรวจสอบเอกสารในโปรแกรม Microsoft เช่น Microsoft Word, Outlook, ฯลฯ Shift + F7 ทำงานตรวจสอบบนคำที่ไฮไลต์ เปิดการใช้งานเลือนหน้าต่างด้วยปุ่มลูกศรบนคีย์บอร์ดใน Mozilla Firefox

  • F8

แป้นฟังก์ชันที่ใช้ในการเข้าสู่เมนูเริ่มต้น Windows, นิยมใช้ในการเข้าถึง Windows แบบ Safe Mode .

  • F9

เปิดแถบเครื่องมือวัดใน Quark 5.0

  • F10

ใน Microsoft Windows เปิดใช้งานแถบเมนูของโปรแกรมที่เปิดอยู่ Shift + F10 เป็นเช่นเดียวกับการคลิกขวาบนไอคอนที่ไฮไลต์ไฟล์หรือการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ต การเข้าถึงการกู้คืนพาร์ทิชันที่ซ่อนอยู่ ของ HP และ Sony คอมพิวเตอร์ ป้อนการตั้งค่า CMOS .

  • F11

โหมดเต็มหน้าจอในเบราว์เซอร์อินเทอร์เน็ต CTRL + F11 การเข้าถึง การกู้คืนพาร์ทิชันที่ซ่อนอยู่ในคอมพิวเตอร์ของ Dell การเข้าถึงการกู้คืนพาร์ทิชันที่ซ่อนอยู่บน eMachines, Gateway, และคอมพิวเตอร์ Lenovo

  • F12

เปิดหน้าที่ทำการบันทึกใน Microsoft Word SHIFT + F12 บันทึกเอกสาร Microsoft Word Ctrl + Shift + F12 พิมพ์เอกสารใน Microsoft Word

  • ปลาย เกร็ดเล็กๆครับเครื่องคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มก่อนหน้านี้ยังมี F13 -- F24 บนแป้นพิมพ์ แต่เนื่องจากแป้นพิมพ์เหล่านี้ไม่มีการใช้งานจึงได้ถูกนำออกไป เอาไปประดับความรู้กันจะได้รู้ว่า ไอ้ปุ่มพวกนี้ที่เราไม่เคยใช้งานความจริงมันใช้ได้ดีเสียด้วย นี่แค่บางส่วนถ้า ว่าง จะหาแบบเต็ม ๆ มาให้ครับ
  • ที่มา http://www.superict.com/component/viewrecord.php?id=674&section_id=1&catagory_id=1

บทความเกี่ยวกับไอที[แก้]

Microsoft เปิดตัว Office Preview 2016 สำหรับ Mac อย่างเป็นการแล้ว

  • Microsoft ได้เปิดตัว Office 2016 สำหรับ OSX โดยในชุดประกอบด้วยโปรแกรมสุดฮิตมากมายอย่าง Word, Excel, PowerPoint, OneNote และ Outlook โดยหน้าตาของตัวโปรแกรมเปลี่ยนใหม่หมด ให้เรียบง่าย รองรับหน้าจอ Retina และการแสดงผลแบบเต็มจอนอกจากนี้ชุด Microsoft Office 2016 สำหรับ MAC ใหม่นี้ ยังรองรับการเชื่อมต่อกับระบบ Cloud ของ Microsoft อย่าง OneDrive, OneDrive for Business และ SharePoint ผู้ใช้สามารถใช้ทุกความสามารถของตัวโปรแกรม Office ได้เช่นเดียวกับบน Windows รวมถึงความสามารถอื่นๆ เพิ่มเติม อย่างเช่นตัว PowerPoint จะมาพร้อมกับชุดคำสั่ง Slide Transition แบบใหม่ และปรับปรุงคุณภาพของการแสดง Animate ต่างๆโดยผู้สนใจทดลองใช้ สามารถดาวน์โหลด Microsoft Office 2016 สำหรับ MAC ใหม่นี้ได้ฟรี และ Microsoft ยังเปิดรับทุกความเห็น จากประสบการณ์การใช้ของคุณ ผ่านทางมุมบนด้านขวาของหน้าจอ เพื่อปรับปรุงคุณภาพต่อไป อย่างไรก็ตาม ตัว Office 2016 ใหม่นี้จะรองรับเฉพาะบน Mac OSX:Yosemite (10.10) เท่านั้น และถ้าคุณมี Office เวอร์ชั่น 2011 อยู่ ก็สามารถใช้ไปพร้อมกันได้ โดยไม่ต้องลบออกโดยขนาดของไฟล์สำหรับติดตั้งจะอยู่ที่ 2.5GB และต้องเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้งไว้ประมาณ 6GB และเนื่องจากตัวโปรแกรมยังคงเป็นเวอร์ชั่นพรีวิว อาจมีบัค หรือมีความเสียหายในบางครั้ง ผู้ใช้ควรตัดสินใจเลือกใช้สำหรับงานที่ไม่จริงจังมากนัก เพราะอาจเกิดความเสียหายขณะทำงานได้
  • ที่มา office

เทคโนโลยี LAN[แก้]

การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่ายแลนนั้น มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสื่อสาร ข้อมูลระหว่างกันได้ทั้งหมดหากนำเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องต่อสายสัญญาณเข้าหากันจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสอง นั้นส่งข้อมูลถึงกันได้ครั้นจะนำเอาคอมพิวเตอร์เครื่องที่สามต่อรวมด้วย เริ่มจะมีข้อยุ่งยากเพิ่มขึ้น และยิ่งถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก ก็ยิ่งมีข้อยุ่งยากที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดสื่อสารกันได้ ด้วยเหตุนี้ผู้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงต้องหาวิธีการและเทคนิคในการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบต่างๆ เพื่อลดข้อยุ่งยาก ในการเชื่อมโยงสายสัญญาณโดยใช้สายสัญญาณน้อยและเหมาะสมกับการนำไปใช้งานได้ ทั้งนี้เพราะข้อจำกัดของการใช้ สายสัญญาณเป็นเรื่องสำคัญมาก บริษัทผู้พัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้พยายามคิดหาวิธี และใช้เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน ออกมาหลายระบบ ระบบใดได้รับการยอมรับก็มีการตั้งมาตรฐานกลาง เพื่อว่าจะได้มีผู้ผลิตที่สนใจการผลิตอุปกรณ์ เชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่าย เทคโนโลยีเครือข่ายแลนจึงมีหลากหลาย เครือข่ายแลนที่น่าสนใจ เช่น อีเทอร์เน็ต (Ethernet) โทเก็นริง (Token Ring) และ สวิตชิง (Switching)

  • 1 อีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากโครงสร้างการเชื่อมต่อแบบสายสัญญาณร่วมที่เรียกว่า บัส (Bus) โดยใช้สายสัญญาณแบบแกนร่วม คือ สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นตัวเชื่อม สำหรับระบบบัส เป็นระบบ เทคโนโลยีที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเชื่อมโยงเข้ากับสายสัญญาณเส้นเดียวกัน คือ เมื่อมีผู้ต้องการส่งข้อมูล ก็ส่งข้อมูลได้เลย แต่เนื่องจากไม่มีวิธีการค้นหาเส้นทางที่ส่งว่างหรือเปล่า จึงไม่ทราบว่ามีอุปกรณ์ใดหรือคอมพิวเตอร์ เครื่องใดที่ส่งข้อมูลมาในช่วงเวลาเดียวกัน จะทำให้เกิดการชนกันขึ้นและเกิดการสูญหายของข้อมูล ผู้ส่งต้องส่งข้อมูล ไปยังปลายทางอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เสียเวลามาก จึงมีการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์กลางที่เรียกว่า ฮับ (Hub) และเรียกระบบใหม่นี้ว่า เทนเบสที (10 base t) โดยใช้สายสัญญาณที่มีขนาดเล็กลงและราคาถูกซึ่งเรียกว่า สายคู่บิตเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded twisted pair : UTP) ทำให้การเชื่อมต่อนี้ มีลักษณะแบบดาววิ ธีการเชื่อมแบบนี้จะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ฮับ ใช้สายสัญญาณไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์อื่น ๆ จุดเด่นของดาวตัวนี้ จะอยู่ที่ เมื่อมีการส่งข้อมูล จะมีการตรวจสอบความผิดพลาดว่า อุปกรณ์ใดจะส่งข้อมูลมาบ้างและจะมีการสับสวิตซ์ให้ส่ง ได้หรือไม่ แต่เมื่อมีฮับเป็นตัวแบกภาระทั้งหมด ก็มีจุดอ่อนได้คือ ถ้าฮับเกิดเป็นอะไรขึ้นมา อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ หรือคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้อีก ภายในฮับมีลักษณะเป็นบัสที่เชื่อมสายทุกเส้นเข้าด้วยกัน ดังนั้นการใช้ฮับและบัสจะมีระบบการส่งข้อมูลแบบ เดียวกัน และมีการพัฒนาเป็นมาตรฐาน กำหนดชื่อมาตรฐานนี้ว่า 802.3 ความเร็วในการส่งกำหนดไว้ที่ 10 ล้านบิตต่อ วินาที และกำลังมีมาตรฐานใหม่ให้สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที
  • 2 โทเก็นริง เป็นเครือข่ายที่บริษัท ไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น รูปแบบการเชื่อมโยงจะเป็น วงแหวน โดยด้านหนึ่งเป็นตัวรับสัญญาณและอีกด้านหนึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณ การเชื่อมต่อแบบนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ โดยผ่านเส้นทางวงแหวนนี้ การติดต่อสื่อสารแบบนี้จะมีการจัดลำดับให้ผลัดกันส่งเพื่อว่าจะได้ไม่สับสน และมีรูปแบบ ที่ชัดเจน โทเก็นริงที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้มีความเร็วในการรับส่งสัญญาณได้ 16 ล้านบิตต่อวินาที ข้อมูลแต่ละชุดจะมี การกำหนดตำแหน่งแน่นอนว่ามาจากสถานีใด และจะส่งไปที่สถานีใด
  • 3 สวิตชิง เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาเพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลระหว่างสถานีทำได้เร็วยิ่งขึ้น การคัดเลือกชุดข้อมูล ที่ส่งมาและส่งต่อไปยังสถานีปลายทาง จะกระทำที่ชุมสายกลางที่เรียกว่า สวิตชิง รูปแบบของเครือข่ายแบบนี้จะมีลักษณะ เป็นแบบดาว ซึ่งโครงสร้างนี้จะเหมือนกันกับแบบอีเทอร์เน็ตที่มีฮับเป็นศูนย์กลาง แต่แตกต่างกันที่ฮับเป็นจุดร่วมของสาย สัญญาณที่จะต่อกระจายไปยังทุกสาย แต่สวิตชิงจะเลือกการสลับสัญญาณไปยังตำแหน่งที่ต้องการเท่านั้น สวิตชิงจึงมีข้อดี กว่าฮับเนื่องจากแต่ละสายสัญญาณจะมีความเป็นอิสระต่อกันมาก ทำให้รับส่งสัญญาณไม่มีปัญหาเรื่องการชนกัน ของข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ในการสวิตชิงมีหลายแบบ เช่น อีเทอร์เน็ตสวิตซ์ และเอทีเอ็มสวิตซ์ เอทีเอ็มสวิตซ์เป็นอุปกรณ์การสลับสายสัญญาณในการรับส่งข้อมูลที่มีการรับส่งกันเป็นชุด ๆ ข้อมูลแต่ละชุดเรียกว่า เซล มีขนาดจำกัด การสวิตชิงแบบเอทีเอ็มทำให้ข้อมูลจากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่งดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งกำลังได้รับความสนใจและมีแนวโน้มจะได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งนี้เพราะการประยุกต์งานสมัยใหม่หลายอย่าง ต้องการความเร็วสูง โดยเฉพาะการสื่อสารที่มีการผสมหลายสื่อรวมทั้งข้อความ รูปภาพ เสียงและวีดิโอ

เทคโนโลยี WAN[แก้]

WAN (Wide Area Network) เป็นเทคโนโลยีใช้สำหรับการเชื่อมต่อ LAN (Local Area Network) ที่อยู่ห่างไกลกัน และไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยเทคโนโลยี LAN ตัวอย่างเครือข่าย WAN ที่รู้จักกันดีและเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็คือ อินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ข้อจำกัดในการออกแบบเครือข่าย WAN นั่นคือ ระยะทาง เพราะไม่ว่าจะเป็นสัญญาณประเภทใดก็แล้วแต่เมื่อต้องส่งไประยะไกลๆกำลังของสัญญาณนั้นๆก็จะอ่อนลง ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล การออกแบบ WAN น้อยกว่าของ LAN มาก แต่รับส่งข้อมูลได้ระยะไกลกว่า เทคโนโลยี WAN มีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในช่วงเริ่มแรกความต้องการในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันมาก เป็นแค่การต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ไม่กี่เครื่องเท่านั้น แต่

ปัจจุบันจะเป็นการเชื่อมต่อ LAN หลายๆวงที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งเอื้ออำนวยให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่าง LAN กันสามารถสื่อสารกันผ่านเครือข่าย WAN ได้ เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานย่อยเข้ากับเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ที่อยู่ในคนละเมืองได้ ในปัจจุบันหลายๆองค์กรมีเครือข่ายอินทราเน็ต และมีความต้องการที่จะเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ตด้วยเหตุผลทางธุรกิจ เช่น เป็นจุดติดต่อลูกค้า เป็นต้น การเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นต้องใช้เทคโนโลยี WAN 

เทคโนโลยี WAN นั้นจะแตกต่างกับเทคโนโลยี LAN มาก เทคโนโลยี LAN นั้นส่วนใหญ่จะมีมาตรฐานรองรับ แต่เทคโนโลยี WAN จะประกอบด้วยส่วนต่างๆที่สร้างจากหลายบริษัท บางส่วนก็มีมาตรฐาน บางส่วนก็เป็นเทคโนโลยีเฉพาะบริษัท ซึ่งจะแตกต่างกันทั้งทางด้านลักษณะ ประสิทธิภาพ และราคาที่อยากที่สุดในการสร้างเครือข่าย WAN คือการเลือกเทคโนโลยีที่สามารถทำงานร่วมกันได้ และสนองความต้องการของธุรกิจ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจทุกๆส่วนของเทคโนโลยี WAN

เทคโนโลยี WAN มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้

- ระบบส่งสัญญาณ (Transmission Facility) - อุปกรณ์เครือข่าย เช่น เราท์เตอร์, สวิตช์, CSU/DSU (Channel Service Unit/Data Service Unit) - ระบบจัดการที่อยู่ (Internetwork Sddressing) - โปรโตคอลจัดเส้นทาง (Routing Protocol)


OSI Layer[แก้]

TCP/IP Model OSI Model
Application Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.)
Presentation Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.)
Session Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.)
Transport TCP (host-to-host)
Network IP
Data Link Network acess (usually Ethernet)
Physical Network acess (usually Ethernet)

ในปี ค.ศ. 1977 องค์กร ISO (international Oraganization for Standard)ได้จัดตั้งคณะ กรรมการขึ้นกลุ่มหนึ่ง เพื่อทำการศึกษาจัดรูปแบบมาตราฐาน และพัฒนาสถาปัตยกรรมเครือข่าย และใน ปี ค.ศ. 1983 องค์กร ISO ก็ได้ออกประกาศรูปแบบของสถาปัตยกรรมเครือข่ายมาตราฐานในชื่อของ "รูปแบบ OSI " (Open System Interconnection Model) เพื่อใช้เป็นรูปแบบมาตราฐานในการเชื่อมต่อระบบ คอมพิวเตอร อักษร์ "O" หรือ "Open" ก็ หมายถึง การที่คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งสามารถ "เปิด" กว้างให้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่ใช้มาตราฐาน OSI เหมือนกันสามารถติดต่อไปมาหา สู่ระหว่างกันได้ จุดมุ่งหมายของการกำหนดการแบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายออกเป็นเลเยอร์ ๆ และกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละเลเยอร์ รวมถึงกำหนดรูปแบบการอินเตอร์เฟซระหว่างเลเยอร์ด้วย โดยมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดดังต่อไปนี้

	1. ไม่แบ่งโครงสร้างออกเป็นเลเยอร์ ๆ มากเกินไป
	2. แต่ละเลเยอร์จะต้องมีการทำงานแตกต่างกันทั้งขบวนการและเทคโนโลยี
	3. จัดกลุ่มหน้าที่การทำงานที่คล้ายกันให้อยู่ในเลเยอร์เดียวกัน
	4. เลือกเฉพาะการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบความสำเร็จแล้ว
	5. กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่ายๆ แก่เลเยอร์ เผื่อว่าในอนาคตถ้ามีการออกแบบเลเยอร์

ใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลใหม่ในอันที่จะทำให้สถาปัตยกรรมมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จะไม่มีผล ทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ที่เคยใช้อยู่เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลง

	6. กำหนดอินเตอร์เฟซมาตรฐาน
	7. ให้มีการยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละเลเยอร์
	8. สำหรับเลเยอร์ของแต่ละเลเยอร์ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับที่กล่าวมาใน 7 ข้อแรก

สถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI

หน้าที่การทำงานของเลเยอร์แต่ละชั้นในสถาปัตยกรรม OSI

	สถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI ที่ได้ประกาศออกสู่สาธารณชนมีรูปแบบดังแสดงในรูปด้านบน และ

สถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI สำหรับการสื่อสารผ่านเครือข่ายเป็นดังที่แสดงในรูปด้านล่าง รูปแบบ OSI มีการ แบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมออกเป็น 7 เลเยอร์ และในแต่ละเลเยอร์ได้มีการกำหนดหน้าที่การทำงานไว้ ดังต่อไปนี้

	1. เลเยอร์ชั้น Physical เป็นชั้นล่างที่สุดของการติดต่อสื่อสาร ทำหน้าที่ส่ง-รับข้อมูลจริง ๆ จาก

ช่องทางการสื่อสาร (สื่อกลาง) ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ มาตรฐานสำหรับ เลเยอร์ ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ (Connector) เช่น RS-232-C มีกี่พิน(pin) แต่ละพินทำหน้า ที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลต์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้

	2. เลเยอร์ชั้น Data Link จะเป็นเสมือนผู้ตรวจสอบ หรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูลโดยจะ

แบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็กเกจหรือเฟรม ถ้าผู้รับได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณยืนยันกลับมาว่า ได้รับ ข้อมูลแล้ว เรียกว่า สัญญาณ ACK (Acknowledge) ให้กับผู้ส่ง แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK หรือได้รับ สัญญาณ NAK (Negative Acknowledge) กลับมา ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมุลไปให้ใหม่ อีกหน้าที่หนึ่ง ของเลเยอร์ชั้นนี้คือป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีดความสามารถของเครืองผู้รับจะรับข้อ มูลได้

	3. เลเยอร์ Network เป็นชั้นที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่จะส่ง-รับใน

การส่งผ่านข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง ซึ่งแน่นอนว่าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารจะ ต้องมีเส้นทางการส่ง-รับข้อมูลมากกว่า 1 เส้นทาง ดังนั้นเลเยอร์ชั้น Network นี้จะทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่ ใช้เวลาในการสื่อสารน้อยที่สุด และระยะทางสั้นที่สุดด้วย ข่าวสารที่รับมาจากเลเยอร์ชั้นที่ 4 จะถูกแบ่งออกเป็น แพ็กเกจ ๆ ในชั้นนี้

	4. เลเยอร์ Transport บางครั้งเรียกว่า เลเยอร์ชั้น Host-to-Host หรือเครื่องต่อเครื่อง และจาก

เลเยอร์ชั้นที่ 4 ถึงชั้นที่ 7 นี้รวมกันจะเรียกว่า เลเยอร์ End-to-End ในเลเยอร์ชั้น Transport นี้เป็นการ สื่อสารกันระหว่างต้นทางและปลายทาง (คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์) กันจริง ๆ เลเยอร์ชั้น Transpot จะ ทำหน้าที่ตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งมาจากเลเยอร์ชั้น Session นั้นไปถึงปลายทางจริง ๆ หรือไม่ ดังนั้นการกำ หนดตำแหน่งของข้อมูล(address) จึงเป็นเรื่องสำคัญในชั้นนี้ เนื่องจากจะต้องรู้ว่าใครคือผู้ส่ง และใครคือผู้รับ ข้อมูลนั้น

	5. เลเยอร์ Session ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผู้ใช้จะใช้

คำสั่งหรือข้อความที่กำหนดไว้ป้อนเข้าไปในระบบ ในการสร้างการเชื่อมโยงนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดรหัสตำแหน่ง ของจุดหมายปลายทางที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารด้วย เลเยอร์ชั้น Session จะส่งข้อมูลทั้งหมดให้กับเลเยอร์ชั้น Transport เป็นผู้จัดการต่อไป ในเครือข่ายทั้งเลเยอร์ Session และเลเยอร์ Transport อาจจะเป็นเลเยอร์ ชั้นเดียวกัน

	6. เลเยอร์ Presentation ทำหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์ กล่าวคือคอยรวบรวมข้อความ (Text) และ

แปลงรหัส หรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิด ขึ้นกันผุ้ใช้งานในระบบ

	7. เลเยอร์ Application เป็นเลเยอรชั้นบนสุดของรูปแบบ OSI ซึ่งเป็นชั้นที่ใช้ติดต่อระหว่างผู้ใช้

โดยตรงซึ่งได้แก่ โฮสต์คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ PC เป็นต้น แอปพลิเคชันในเลเยอรชั้นนี้ สามารถนำเข้า หรือออกจากระบบเครือข่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่ามีขั้นตอนการทำงานอย่างไร เพราะจะ มีเลเยอร์ชั้น Presentation โดยตรงเท่านั้น


สถาปัตยกรรมเครือข่ายรูปแบบ OSI

	โปรโตคอลของในเลเยอร์แต่ละชั้นจะแตกต่างกันออกไปแต่อย่างไรก็ตามการที่เครื่องคอมพิวเตอร์

หลาย ๆ เครื่องจะติดต่อสื่อสารกันได้ ในแต่ละเลเยอร์ของแต่ละเครื่องจะต้องใช้โปรโตคอลแบบเดียวกัน หรือ ถ้าใช้โปรโตคอลต่างกันก็ต้องมีอุปกรณ์ หรือซอฟต์แวร์ที่สามารถแปลงโปรโตคอลที่ต่างกันนั้นให้มีรูปแบบเป็น อย่างเดียวกัน เพื่อเชื่อมโยงให้คอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่องสามารถติดต่อกันได้

	ตัวอย่างของโปรโตคอลที่ใช้ในเลเยอร์ชั้นต่างๆ ในรูปแบบ OSI แสดงไว้ในตารางด้านล่าง

เลเยอร์ มาตรฐาน รายละเอียด 7 ISO 8571 ISO 8572 การบริการโอนถ่าย และการแลกเปลี่ยนข้อมูล การบริการโอนถ่าย และการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO 8831 ISO 8832 การบริการโอนถ่าย และการแลกเปลี่ยนข้อมูล โปรโตคอลการบริการโอนถ่าย และการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO 9040 ISO 9041 การบริหารเทอร์มินัลแบบเสมือน โปรโตคอลการบริหารเทอร์มินัลแบบเสมือน CCITT X.400 ไปรษณีย์อิเล็คทรอนิกส์ และกักเก็บข่าวสาร 6 ISO 8822 ISO 8823 การบริหารแบบ Connection-oriented ในเลเยอร์ Presentation โปรโตคอลการบริการแบบ Connection-oriented ในเลเยอร์ Presentation 5 ISO 8326 ISO 8327 การบริการแบบ Connection-oriented ในเลเยอร์ Session โปรโตคอลการบริการแบบ Connection-oriented ในเลเยอร์ Session 4 ISO 8072 ISO 8073 การบริหารแบบ Connection-oriented ในเลเยอร์ Transport โปรโตคอลการบริการแบบ Connection-orientedในเลเยอร์ Transport 3 CCITT X.25 โปรโตคอล X.25 ในเลเยอร์ Network 2 ISO 8802 (IEEE 802) CCITT X.25 โปรโตคอลสำหรับเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)

โปรโตคอล SDLC,HDLC ในเลเยอร์ Data Link 1 CCITT X.21 ดิจิตอลอินเตอร์เฟซของเลเยอร์ Physical


สรุป

	เราสามารถแบ่งส่วนการทำงานของสถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI ได้ง่าย ๆ จากรูปด้านล่าง โดยด้าน

ซ้ายมือซึ่งจัดแบ่งเลเยอร์ทั้ง 7 ชั้นออกเป็น 3 ส่วนคือส่วนของผู้ใช้งาน ส่วนการติดต่อระหว่างเครื่องต่อเครื่อง และส่วนการเชื่อมโยงต้นทางกับปลายทาง สำหรับในทางขวามือของรูปจะเป็นการจัดแบ่งลักษณะ การสื่อ สารออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนดำเนินการโดยผู้ใช้งาน และอีกส่วนหนึ่งเป็นการดำเนินการโดยเครือข่าย


สถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI แบ่งแยกตามส่วนการทำงาน

	ถ้าเรากล่าวถึงการติดต่อเชื่อมโยงการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยัง	 

คอมพิวเตอร์ อีกเครื่องหนึ่ง ให้แบ่งกลุ่มการทำงานของเลเยอร์ตามทางซ้ายมือของรูป แต่จะเป็นเรื่องของ โปรโตคอลซึ่งทำหน้าที่ในการกำหนดการสื่อสาร และควบคุมจัดการสื่อสาร ขอให้ยึดแบบการแบ่งลักษณะของ การสื่อสารตามทางขวามือเป็นหลัก ตัวอย่าง เช่นการสื่อสารข้อมูลโดยผ่านเครือข่าย X.25 ของเครือข่ายจะ ทำหน้าที่ในการสื่อสารใน 3 เลเยอร์ชั้นล่างของรูปแบบ OSI ส่วนของเลเยอร์ 4 ชั้นที่เหลือจะเป็นโปรโตคอล สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้งาน



TCP/IP