ผู้ใช้:Sarawut30172/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปัญหาภัยแทรกซ้อนที่สนับสนุนการก่อเหตุรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้[แก้]

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา[แก้]

สถานการณ์การก่อเหตุรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และ ๔ อำเภอ ของจังหวัดสงขลา ความพยายามของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงที่จะสถาปนารัฐอิสลามบริสุทธิ์ด้วยการประกาศสงครามอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นการต่อสู้ของกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งที่มีอุดมการณ์ความเชื่อในแนวทางศาสนาเป็นการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนรุ่นหนึ่งนับร้อยปีมาแล้ว และเป็นปัญหาที่สลับซับซ้อน เชื่อมโยงมาจากหลายสาเหตุรวมกันเป็นเงื่อนไข เงื่อนไขดังกล่าวคือสภาวะที่เป็นอยู่สภาวะที่ต้องการจะเป็นคือต้องการปกครองตนเอง ความรู้สึกว่าตนเองเป็นชนกลุ่มน้อยจากสาเหตุของประวัติศาสตร์ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา และปรเพณีวัฒนธรรมสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ ซึ่งทำให้เกิดการรวมหมู่ทำให้เกิดความแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้เรียกรวมว่าเงื่อนไขประชาติเป็นนัยยะที่เกิดการรวมหมู่ทำให้เกิดความแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้เรียกรวมว่าเงื่อนไขประชาติเป็นนัยยะที่ก่อให้เกิดความเป็นชาติและรัฐชาติที่ประชาชนที่อยู่กลุ่มเดียวกันจะรวมตัวเรียกร้องต้องการการปกครองตนเอง ใช้ภาษาตนเอง มีประเพณีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของตนเอง และมีดินแดนอาณาเขตของตนเอง ความมีอัตลักษณ์นี้รวมถึงการนับถือศาสนาที่เป็นแบบอย่าของวิถีมุสลิมซึ่งเป็นวิถีชีวิตของกลุ่มชนที่ับถือศาสนาอิสลามด้วยตลอดเวลา ๑๐๐ ปีเศษที่ผ่านมาเงื่อนไขประชาชาติเป็นเสมือนไฟสุมขอนที่คุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา บางครั้งก็ลุกโชนขึ้นมาชั่วขณะหนึ่งแล้วก็มอดลงแต่ไม่เคยดับสนิทพร้อมที่จะลุกโชนขึ้นมาอีกตลอดเวลาเมื่อมีลมแรงพัดกระพือเข้าก็ลุกโชนขึ้นมาอีก สภาวะกระแสโลกาวิภัตน์ในปัจจุบันเป็นเสมือนลมกระโชกที่พัดพากระแสฟื้นฟูอิสลามเข้ามาเป่าให้ลุกโชนขึ้น

สำหรับในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และ ๔ อำเภอของจังหวัดสงขลา เราได้ทำการตรวจพบหลักฐานความเกี่ยวข้องควาสัมพันธ์แสดงถึงความเชื่อมโยงซึ่งอย่างน้อยก็ได้รับการถ่ายทอดแนวคิดจากกลุ่มก่อการร้ายในอินโดนีเซียมายังสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และ ๔ อำเภอของจังหวัดสงขลา คือการถ่ายทอดมากับนักศึกษาที่ไปเรียนที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศในตะวันออกกลางที่ก็จะได้รับการถ่ายทอดแนวความคิดตามลัทธิฟื้นฟูอิสลามนี้กลับมา โดยตรวจพบเอกสารส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับ เจมาอิสลามมิยา หรือ เจไอ ซึ่งเป็นกลุ่มก่อการร้ายในประเทศใน กลุ่มอาเซียน ซึ่งได้ตรวจพบที่ โรงเรียนญิฮัดวิทยา ที่บ้านท่าด่าน ตำบลตะโล๊ะกะโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

เอกสารอีกฉบับที่ได้ตรวจพบที่โรงเรียนญิฮัดวิทยา คือหนังสือเรื่องประวัติศาสตร์และการต่อสู้ของรัฐปัตตานี เอกสารฉบับนี้ได้ตรวจพบมาหลายครั้งในพื้นที่ จังหวัดยะลา,นราธิวาสและปัตตานี แปลได้ใจความว่าอาณาจักรปัตตานีเคยรุ่งเรืองมาก่อนแล้วถูกประเทศสยามรุกราน เผาบ้านเผาเมืองกวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยศึกเอาไปเป็นแรงงานที่กรุงเทพ หลังจากนั้นรัฐยามก็ยึดครองรัฐปัตตานีมาตลอดแล้วแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการเข้ามากอบโกยทรัพยากรของรัฐปัตตานีไปยังประเทศสยามจนหมดและยังได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง แยกการปกครองเป็น ๗ หัวเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๕ เพื่อง่ายในการปกครองโดยมีข้าหลวงจากรัฐสยามเข้าเก็บภาษีอากร และปกครองหัวเมืองต่างๆ ตามมาด้วยปี ๒๔๘๕-๒๔๑๙ เหตุหะยีสุหลง โต๊ะมีนา ได้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพแล้วเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย ๗ ข้อ จนถูกจับเข้าคุก ๔ ปี เมื่อถูกปล่อยออกมาถูกจับถ่วงน้ำตาย และเหตุกล่าวหาเจ้าหน้าที่ฆ่าประชาชน ๙ ศพที่สายบุรี เป็นกบฏดุซงญอ หนังสือเล่มดังกล่าวที่ได้ตรวจยึดมานี้กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงจะเอาไปปลุกระดมตามโรงเรียนสอนศาสนาต่างๆ ทำให้เด็กที่ผ่านการเรียนจะซึมซับประวัติศาสตร์ที่เขียนมาแบบผิดๆ และยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกโกรธแค้นต่อสยามประเทศมากยิ่งขึ้น

๑๐ กว่าปีที่เกิดเหตุความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราสูญเสียทั้งชีวิตประชาชน เจ้าหน้าที่และบาดเจ็บเป็นจำนวนหลายพันคน ผู้ก่อเหตุนั้นก่อเหตุได้อย่างไร? ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากที่ใด? องค์กรก่อการร้ายทั่วโลกทุกองค์กรไม่ว่ากบฏทั้งในอดีตและปัจจุบัน จะต้องใช้เงินทุนทรัพยากรในการดำเนินการในการเจริญเติบโตขององค์กรทั้งนั้น ต้องแสวงหาอาวุธยุทโธปกรณ์เงินทุน การรับการสนับสนุนจากภายนอกมันเพียงเพื่อได้ดำรงสภาพใ้คงอยู่ได้เท่านั้น มันเติบโตได้ลำบาก จึงต้องนำระบบแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่เขตอิพลของตนเป็นความชอบธรรม

น้ำมันเถื่อน ยาเสพติด การตัดไม้ทำลายป่า สินค้าหนีภาษี และธุรกิจสีเทาสีดำทั้งหลายก็เช่นกัน พ่อค้าจ่ายภาษีให้รัฐเท่าที่เขาอยากจะจ่าย เพราะไม่มีใครมาตรวจสอบเจ้าหน้าที่คนใดเข้มงวดเอาจริงเอาจัง ก็มีอันต้องเป็นไปโดยไม่ทราบสาเหตุ แล้วเจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็ถูกกลืนไปกับสถานการณ์แบบตามน้ำ พอหน่วยงานบางหน่วยแข็งพอที่จะเอาจริงกับเรื่องภาษีก็ร้องเรียนเรียกร้องว่าเป็นวิถีชาวบ้าน ไม่ได้รับความเป็ฯธรรมจากรัฐเจ้าหน้าที่รัฐไม่เห็ฯใจที่เขาต้องทนอยู่ในพื้นที่ด้วยความยากลำบาก เศรษกิจในพื้นที่ไม่ดี แต่ถ้าเราดูปริมาณเงินที่หมุนเวียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้กลับพบว่ามีปริมาณสูงมากกว่า ๗๐,๐๐๐ ล้นบาทเกือบทั้งหมดเป็นเงินนอกระบบทั้งสิ้น

นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมาที่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง ได้ปล้นปืนกองพันพัฒนาที่ ๔ ค่ายปิเหล็ง ไฟใต้ได้ลุกโชนมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ท่ามกลาางสถานการณ์ความรุนแรงทุกรูปแบบที่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงได้สร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินของทางราชการและชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องล้มตายลงแทบไม่เว้นแต่ละวัน แม้ว่ารัฐบาลโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงที่พยายามทุกวิถีทางที่จะดับไฟใต้ด้วยนโยบายต่าง ๆ ที่คิดว่าจะทำให้ไฟใต้ได้ดับลงโดยเร็วที่สุดแล้วก็ตามจนกระทั่งล่าสุดก็คือการพูดคุยตกลงกับกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนรง ก็ต้องล่มลงหลายครั้งแล้วมีความพยายามที่จะพูดคุยกับกลุ่มผู้ก่อเหตุตลอดมาแล้วปัญหาที่แท้จริงนั้นคืออะไร?

สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จากข้อมูลจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีปัญหาภัยแทรกซ้อนที่แฝงตัวอยู่ในรูปของผลประโยชน์อันมหาศาลของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงเช่น สินค้าหนีภาษี น้ำมันเถื่อน ยาเสพติด และการค้าแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นท่อน้ำเลี้ยงใหญ่อย่างดีให้กับกลุ่มผู้ก่อเหตรุนแรง ในการก่อความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชยแดนภาคใต้และ ๔ อำเภอของจังหวัดสงขลา ซึ่งในเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้นได้เชื่อมโยงไปถึงแล่งที่มาของท่อน้ำเลี้ยงที่ให้การสนับสนุนการก่อเหตุความรุนแรงในแต่ละครั้ง ดังเช่นเหตุการณ์ที่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงได้เข้าโจมตีฐานปฏิบัติการร้อย.ร ๑๕๑๒๑ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๔ ก็เนื่องจากหน่วยนี้เป็นจุดที่ตั้งด่านตรวจเพื่อสกัดกั้นภัยแทรกซ้อนดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการสิ่งผิดกฎหมาย สินค้าหลบหนีภาษี น้ำมันเถื่อน ไม้เถื่อน ที่ใช้เส้นทางนี้ในการลักลอบขนส่ง โดยเฉพาะน้ำมันเถื่อน ไม่พอใจเป็นอย่างมากเพราะได้มีการจับกุมน้ำมันเถื่อนได้หลายครั้งสร้างความเสียให้กับผู้กอบการมีมูลมหาศาล ผู้ประกอบการจึงมีการระดมทุนที่เรียกว่าลงขันประมาณ ๑ ล้านบาท เพื่อใช้ในการเข้าตีฐานที่ตั้งแห่งนี้

การปราบปรามน้ำมันเถื่อนได้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้จับกุมวันละประมาณ ๖๐ คัน พอเริ่มจับกุมในพื้นที่จังหวัดยะลาในวันที่๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ก็เริ่มมีระเบิดที่จังหวัดยะลา แต่ระเบิดครั้งนี้มันแตกต่างจากระเบิดครั้งก่อน ๆ ที่ผ่านมาทุกครั้งคือการระเบิดในครั้งได้เกิดเปลวเพลิงขนาดใหญ่เผาผลาญตึกแถวในตัวเมืองยะลาไป ๑๑ คูหา ก็ขยายผลปราบปรามหนักขึ้นไปอีก ไปตรวจค้นโกดังของผู้มีอิทธิพล นักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ อำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส วันละประมาณ ๒๐,๐๐๐ ลิตร นักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ อำเภอตากใบ เป็นผู้ค้าน้ำมันเถื่อนรายใหญ่รายหนึ่งมีเรือบรรทุกน้ำมันถึง ๓๐ กว่าลำ แล้วก็ขยายผลจากนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ อำเภอตากใบไปยังพื้นที่อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส พบโกดังขนาดใหญ่ มีแท็งค์ขนาด ๓๐,๐๐๐ ลิตร อยู่จำนวน ๖-๗ ถัง พบหลักฐานการนำน้ำมันเถื่อนปลอมปนกับน้ำมัน พฤติกรรมก็คือไปซื้อน้ำมันมาจำนวน ๑๐,๐๐๐ ลิตร แล้วนำน้ำมันเถื่อน(น้ำมันดีเซลคุณภาพต่ำ) ผสมลงไปอีก ๓๐,๐๐๐ ลิตรแล้วผสมกับสารโซเว้ลท์ เพื่อให้สีน้ำมันปลอมปนเหมือนกับสีของน้ำมันดีเซลแล้วจึงนำไปส่งที่ปั๊มต่างๆ ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

สำหรับผู้ค้าน้ำมันเถื่อนรายนี้ก็จะมีเครือข่ายปั๊มน้ำมันในสามจังหวัดชายแดนใต้ของตนเองอยู่จำนวน ๑๔ แห่ง(ปั๊ม ปตท.) ยังพบหลักฐานสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เอกสารการเบิกถอนของชมรมอิหม่ามรือเสาะ จากการตรวจสอบพบว่ามีการถอนเงินของชมรมอิหม่ามรือเสาะ จากการตรวจสอบพบว่ามีการถอนเงินจากสหกรณ์อิพนูอัฟฟาน(สหกรณ์ที่ยังไม่ได้ขออนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมาย) จำนวน ๓ บัญชี ในวันที่ ๑๙ และ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๔ จำนวน ๑,๐๑๕,๐๐๐ บาท โดยหัวหน้าเครือข่ายน้ำมันเถื่อนรายใหญ่ในอำเภอรือเสาะ

จากข้อมูลนั้นพบความเชื่อมโยงของหน้าหน้าเครอข่ายน้ำมันเถือนรายใหญ่ในอำเภอรือเสาะกับเครือข่ายของนายอับดุลฮาเล็ง ยามาสกา แกนนำผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และมีความเชื่อมโยงไปถึงนายซูฟียัน ยะกูมอ ซึ่งเป็นชุดปฏิบัติการที่เข้าโจมตีฐานปฏิบัติการ ร้อย.ร.๑๕๑๒๑ จากการตรวจสอบมีข้อมูลว่าเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ หัวหน้เครือข่ายน้ำมันเถื่อนรายใหญ่ ในอำเภอรือเสาะ ได้จ่ายเงินให้กับเครือข่ายของนายซูฟียัน ยะกูมอ แกนนำฝ่ายปฏิบัติการของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ บาท โดยจ่ายเงินผ่านลูกสาวของนายอับดุลฮาเล็ง ยามาสกา

ต่อมาได้มีการขยายผลจากพื้นที่อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ไปยังพื้นที่จังหวัดยะลา เข้าตรวจค้นแหล่งสะสมน้ำมันหลังมัรกัส จังหวัดยะลา สามารถตรวจขึดบุหรี่หนีภาษีได้จำนวน ๒๐,๐๐๐ กว่าคอตตอน มูลค่าประมาณ๑๕ ล้านบาท ซึ่งมีนายสุไฮมิง อาลีมามะ เป็นเจ้าของ และเมื่อตรวจสอบเอกสารก็พบหลักฐานว่ามีการจ่ายเงินจากเครือข่ายสินค้าหนีภาษี และน้ำมันเถื่อนไปยังสถานที่โรงเรียนตาดีกานันหยงนากอ ซึ่งเป็นเครือข่ายฝ่ายเศรฐกิจของ นายอาหมัด ตือง๊ะ แกนนำกลุ่มผู้ก่อเหตุ อำเภอบันนังสตา และอำเภอกรงปีนัง จังหวัดยะลา ตรวจพบบัญชีที่มียอดเงินประมาณ ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาทจากการตรวจสอบเลขบัญชีและเอกสารต่างๆ พบพฤติกรรมคือจะมีการโอนเงินทุกคืน ในห้วงเวลา ๒๒.๐๐ - ๒๔.๐๐ น. คืนละประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ - ๓๐๐,๐๐๐ บาท มากที่สุด ๘๐๐,๐๐๐ บาท รวมแล้วสัปดาห์ละ ๒-๕ ล้านบาท หนึ่งเดือนก็ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ - ๓๐๐,๐๐๐ บาท มากที่สุด ๘๐๐,๐๐๐ บาท รวมแล้วสัปดาห์ละ ๒-๕ ล้านบาท หนึ่งเดือนก็ประมาณ ๒๐ ล้านบาท

จากการติดตามตรวจสอบบัญชีพบโอนมากที่บัญชีนักธุรกิจในอำเภอสุไหงโกลก ที่ทำธุรกิจเรื่องการค้าผ้ามือสองบังหน้าอยู่ในพื้นที่ ก็พบบัญชีที่มีวงเงินจำนวนมากเดือนละหลายสิบล้านบาทโดยมีการโอนมาจากจังหวัดอยุธยา,กรุงเทพ,สมุทรปราการ,สุราษฎร์ธานี,ภูเก็ต,ยะลา และในพื้นที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส โดยมีพฤิตการณ์หิ้วขนเงินสดวันละประมาณ ๓-๕ ล้านบาท นำไปฝากเข้าธนาคารในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย แล้วพบการโอนเงินไปในประเทศมาเลเซีย ,อินโดนีเซีย, ซาอุดิอาระเบีย,ปากีสถาน และอัฟกานิสถานและยังพบโฉนดที่ดินจำนวนมาก รวมแล้วมีจำนวน ๑๘๙ แปลง เป็นที่ดิน ๑๘๔ ไร่ ส่วนใหญ่เป็นที่ดินในเขตเมืองที่มีมูลค่าสูง รวมมูลค่าประมาณ ๕๐๐ ล้านบาท

ข้อมูลที่ได้เชื่อมโยงข้ามประเทศ มีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายของชมรมสมาคมไทยปากีสถาน ซึ่งมีการไปประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศว่าอีกไม่นานแผ่นดินนี้จะเป็นประเทศเกิดใหม่ ฉะนั้นถ้าใครมาถือครองที่ดินไว้ที่นี่ก็จะป็นพลเมืองของประเทศใหม่ ก็สามารถลงหลักปักฐานทำมาหากินและทำธุรกิจได้ จึงให้นายหน้านักธุรกิจสีเทาสีดำเป็นตัวแทนนายหน้าในการถือครองที่ดิน

นี่เป็นเพียงแค่เหตุการณ์หนึ่งเท่านั้นเอง ยังมีความเชื่อมโยงความเกี่ยวพันให้ได้เห็นตัวตนที่แท้จริงของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงกับธุรกิจกลุ่มค้าน้ำมันเถือน สินค้าหลบหนีภาษี ไม้เถื่อน และธุรกิจในกลุ่มภัยแทรกซ้อนอีกมากมาย มาถึงตรงนี้แล้วพอจะมองภาพออกแล้วว่า "ทำไมสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงดูเหมือนกับว่าไม่มีวี่แววสงบลงได้ง่ายๆ

ถ้าเป็นเพียงแต่คำกล่าวอ้างจากกลุ่ม PERMAS ซึ่งเป็นองค์กรบังหน้าโดยใช้เยาวชนที่เป็นนักเรียนและนักศึกษาที่ถูกครอบงำทางความคิดผิดๆ ในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา และอัตลักษณ์ โดยฝังรากมาตั้งแต่โรงเรียนตาดีกาหรือปอเนาะแล้วนั้น มันคงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ที่ฝ่ายความมั่นคงและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ แต่ปัญหาภัยแทรกซ้อนเหล่านี้คือผลประโยชน์อันมหาศาลของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง ที่เชื่อมโยงไปถึงเครือข่ายภายนอกประเทศที่ีผลประโยชน์ร่วมกันและมีการวางแผนกันอย่างเป็นระบบ ที่ทำให้การแก้ปัญหาของฝ่ายความมั่นคงและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีความยากลำบากในการแก้ปัญหาซึ่งในระดับรัฐบาลต้องประสานการปฏิบัติในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ให้สอดคล้องร่วมกัน และที่สำคัญประชาชนทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมช่วยกันทำให้แผ่นดินสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และ ๔ อำเภอของจังหวัดสงขลา ไม่ให้เป็นไปตามคำกล่าวอ้างของชมรมสมาคมไทยปากีสถาน ที่มีการไปประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศว่า "อีกไม่นานผ่นดินนี้ก็จะเป็นประเทศเกิดใหม่ ฉะนั้นถ้าใครมาถือครองที่ดินไว้ที่นี่ก็จะเป็นพลเมืองของประเทศเกิดใหม่"

และจากหลักฐานในบางกรณีและจากผลการสอบสวนทำให้ทราบได้ว่าในการก่อเหตุการณ์รุนแรงครั้งสำคัญจะมีความเกี่ยวข้อง มีความเชื่อมโยงกับภัยแทรกซ้อนกับธุรกิจสีดำธุรกิจสีเทา

อ้างอิง[แก้]

[1]

บรรณานุกรม[แก้]

  • จรัญ เอี่ยมฐานนนท์, เอกสารวิจัยเรื่องแนวทางการแก้ปัญหาภัยแทรกซ้อนที่สนับสนุนการก่อเหตุรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้, 2017
  1. จรัญ เอี่ยมฐานนท์, 2017, หน้า 1-4