ผู้ใช้:Pranompts/ประวัติ กรมทหารราบที่ ๑๓

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมทหารราบที่ 13
ประเทศประเทศไทย
รูปแบบกองทัพบก
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพันเอก มงคล หอทอง

ประวัติความเป็นมาของ กรมทหารราบที่ 13 "หลังจากการปราบฮ่อ ในปี พ.ศ.๒๔๑๗ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยมีเจ้าพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยานมิต) เป็นแม่ทัพ จนเหตุการณ์สงบ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๘ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๒๖ พวกฮ่อ รุกรานเมืองหลวงพระบาง อีก จึงโปรดให้พระยาพิชัย (มิ่ง) พระยาสุโขทัย (ครุธ) ยกกำลังไปปราบ แล้วให้พระยาราชวรานุกูล (เอก บุญยรัตนพันธุ์) เป็นแม่ทัพ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๒๘ แต่ไม่สำเร็จ จึงได้ถอนกำลังจาก ทุ่งเชียงคำ กลับมายังเมือง หนองค่าย เนื่องจากขาด เสบียงอาหาร และแม่ทัพ คือ พระยาราชวรานุกูล ถูกฮ่อยิงบาดเจ็บ ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารที่ได้รับการฝึกหัดตามแบบยุโรปขึ้นไปปราบฮ่อ โดยจัดเป็นสองกองทัพ คือ

กองทัพฝ่ายเหนือ มี นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสงชูโต)   เป็นแม่ทัพยกไปปราบฮ่อ ในแคว้นหัวพันห้าทั้งหกและแคว้นสิบสองจุไท
กองทัพฝ่ายใต้ มี นายพันเอก พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพ ยกไปปราบฮ่อในแคว้นเมืองพวน และได้ตั้งกองบัญชาการกองทัพอยู่ที่เมืองหนองค่าย หรือเมืองหนองคายในปัจจุบัน

จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๒๙ สามารถปราบฮ่อได้ราบคาบ จึงยกกำลังส่วนหนึ่งกลับถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๐ และคงกำลังส่วนหนึ่งไว้ในบังคับบัญชาของ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม และนี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของหน่วยทหาร ของกรมทหารราบที่ ๑๓ โดยมี พ.อ. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นผู้บังคับหน่วยคนแรก และต่อมา ในปี พ.ศ.๒๔๓๔ ได้จัดตั้งเป็น มณฑลลาวพวน โดยกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ดำรงตำแหน่งเป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ สำเร็จราชการมณฑลลาวพวน มีกองบัญชาการมณฑลที่เมืองหนองค่าย ภายหลังการปราบปรามฮ่อสงบแล้ว ไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เรียกว่า "กรณีพิพาท ร.ศ. ๑๑๒ ( พ.ศ. ๒๔๓๖ )" ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ทรงยอมเสียสละส่วนน้อย เพื่อรักษาประเทศไว้ จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และปฏิบัติตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง ๒ ประเทศ โดยห้ามประเทศสยามตั้งกองทหาร และป้อมปราการอยู่ในรัศมี ๒๕ กิโลเมตร ของฝั่งแม่น้ำโขง ดังนั้น เมื่อ วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๔๓๖ จึงได้เคลื่อนย้ายมณฑลลาวพวนลงมาทางใต้ เข้าที่ตั้งบริเวณบ้านหมากแข้ง ริมหนองนาเกลือ (หนองประจักษ์) จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ ได้เปลี่ยน นามหน่วยจาก มณฑลลาวพวน เป็น มณฑลอุดร ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้มีกระแส พระบรมราชโองการให้จัดตั้งเมืองอุดรธานี อยู่ในเขตการปกครองของมณฑลอุดร ขึ้นที่บ้านหมากแข้ง โดยให้ย้ายกำลังทหารจากหนองนาเกลือ มาตั้งริมหนองขอนกว้าง ซึ่งเป็นที่ตั้งของค่ายประจักษ์ศิลปาคม ในปัจจุบัน กำลังทหารในขณะนั้นมี ๒ หน่วยคือ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๕ และกรมทหารราบที่ ๗ ปี พ.ศ.๒๔๕๑ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๕ ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยใหม่เป็น กองทหารปืนใหญ่ที่ ๑๐ และเปลี่ยนชื่อ กรมทหารราบที่ ๗ เป็น กรมทหารราบที่ ๒๐ ทั้ง ๒ หน่วยขึ้นการบังคับบัญชากับ กองพลที่ ๑๐ ปี พ . ศ . ๒๔๕๔ กองทหารปืนใหญ่ที่ ๑๐ ย้ายไปตั้งที่จังหวัดอุบลราชธานี ส่วนกรมทหารราบที่ ๒๐ ย้ายไปตั้งที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยต่อมาในปี พ . ศ . ๒๔๕๖ จึงได้จัดตั้งกรมทหารม้าขึ้น ที่จังหวัดอุดรธานี เรียกชื่อว่า กรมทหารม้าที่ ๑๐ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๙ ยุบเลิก และเปลี่ยนเป็น กรมทหารราบในกองพลทหารบกที่ ๑๐ ปี พ . ศ . ๒๔๖๐ กรมทหารราบ ในกองพลทหารบกที่ ๑๐ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมทหารพราน ในกองพลทหารบกที่ ๙ ครั้นถึงปี พ . ศ . ๒๕๖๒ กรมทหารพรานในกองพลทหารบกที่ ๙ ก็เปลี่ยนชื่อเป็น กรมทหารพรานในกองพลทหารบกที่ ๑๐ ต่อมากรมนี้ได้ถูกยุบเมื่อปี พ . ศ . ๒๔๗๐ เนื่องจากกองทัพบก ได้ปรับปรุงกองทัพใหม่ แล้วตั้งเป็น กองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑๕ ปี พ . ศ . ๒๔๗๑ กรมทหารราบที่ ๑๕ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมทหารราบที่ ๖ โดย กองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑๕ เดิม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๖ ส่วนจังหวัดทหารบกอุดร มีฐานะเป็นจังหวัดทหารบก ชั้น ๓ มีผู้บังคับกองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๖ เป็นผู้บังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ ปฏิบัติงานในด้านกิจการต่างๆ ของสายงานจังหวัดทหารบกอุดร คงใช้เจ้าหน้าที่ของหน่วยกำลังรบเป็นส่วนใหญ่ ปี พ . ศ . ๒๔๗๕ เปลี่ยนชื่อ กองพันที่ ๒ เป็น กองพันทหารราบที่ ๑๘ ปี พ . ศ . ๒๔๗๗ กองพันทหารราบที่ ๑๘ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองพันทหารราบที่ ๒๒ ปี พ . ศ . ๒๔๘๖ กองพันทหารราบที่ ๒๒ ได้แบ่งแยกกำลังส่วนหนึ่งจัดตั้งเป็น กรมทหารราบที่ ๑๓ โดย กรมทหารราบที่ ๑๓ มี พ.ท.มล.เอก อิศรางกูล เป็น ผู้บังคับการกรม และ กองพันทหารราบที่ ๒๒ มี พ.ท.รัตน์ นพตระกูล เป็น ผู้บังคับกองพัน ปี พ . ศ . ๒๔๘๙ กองพันทหารราบที่ ๒๒ เปลี่ยนชื่อเป็น กองพันที่ ๑ และกำหนดให้เป็นหน่วย ขึ้นตรงของ กรมทหารราบที่ ๑๓ โดยทั้ง กรมทหารราบที่ ๑๓ และ กองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ มีที่ตั้งอยู่ ในพื้นที่บริเวณเดียวกันตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และในปีเดียวกัน ร.พัน.๒๑ ได้ย้ายที่ตั้งจากจังหวัดเพชรบูรณ์ มาตั้งที่หนองสำโรง โดยเปลี่ยนนามหน่วยเป็น กองพันที่ ๒ เป็นหน่วยขึ้นตรงของกรมทหารราบที่ ๑๓ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๔ ได้รับพระราชทานนามค่ายว่า " ค่ายประจักษ์ศิลปาคม" เพื่อเป็นอนุสรณ์ และถวายพระเกียรติแก่ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ กองทัพบก ได้มีคำสั่ง ทบ. ที่ ๒๘/๔๒๒๑ ลง ๑ มี.ค.๒๔๙๗ จัดตั้ง กองพันที่ ๓ ให้เป็นหน่วยขึ้นตรงของกรมทหารราบที่ ๑๓ โดยมีที่ตั้งบริเวณฝั่งด้านทิศใต้ของหนองสำโรง ตำบลหมูม่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ร่วมกับ กองพันที่ ๒ ซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยจนถึงปัจจุบัน

และต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๘ กรมทหารราบที่ ๑๓ แปรสภาพเป็น กรมผสมที่ ๑๓ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๑๐ โดยผู้บังคับการจังหวัดทหารบกอุดร และ ผู้บังคับการกรมผสมที่ ๑๓ ซึ่งเดิมเป็นคนเดียวกัน ได้แยกกันอย่างเด็ดขาด และมีบทบาทหน้าที่โดยเฉพาะ ตามตำแหน่งที่ปฏิบัติงาน

การเปลี่ยนแปลงนามหน่วยที่สำคัญ[แก้]

ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ กรมทหารราบที่ ๑๓ ได้แปรสภาพเป็น กรมผสมที่ ๑๓ ตามคำสั่ง ทบ. ที่ ๗๑๐/๒๓๗๖๐ ลง ๑๐ พ.ย.๒๔๙๘ มีชื่อย่อหน่วยว่า “ผส.๑๓” พร้อมทั้งให้เปลี่ยนการเรียกชื่อหน่วยขึ้นตรงจากกองพันที่ ๑ , ๒ และ ๓ เป็น กองพันทหารราบที่ ๑ , ๒ และ ๓ ตามลำดับ และมีชื่อย่อหน่วยว่า ผส.๑๓ ร.พัน.๑ , ๒ และ ๓ .....เมื่อเริ่มแปรสภาพหน่วย ก็ได้มีการนำวิทยาสมัยใหม่แบบทหารยุโรป มาใช้กับหน่วย โดยมีการฝึกเริ่มต้นภายในที่ตั้งหน่วย และบริเวณโดยรอบค่ายทหาร ต่อามีการใช้อาวุธขนาดหนัก มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ฝึกที่มีขนาดกว้างใหญ่มากขึ้น จึงได้ขยายผลไปฝึกในพื้นที่สนามฝึกรบในป่า อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นต้นมา และได้ใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าวซึ่ง กรมธนารักษ์ ได้มอบให้ฝ่ายทหารได้ใช้ประโยชน์ในการฝึก จนถึงปัจจุบัน .ปี พ.ศ.๒๕๒๒ กรมผสมที่ ๑๓ ได้แปรสภาพเป็น กรมทหารราบที่ ๑๓ ตามคำสั่ง ทบ. ที่ ๑/๒๕๒๒ ลง ๒๔ พ.ย.๒๒ จนถึงปัจจุบัน และมีที่ตั้งหน่วยดังนี้ กรมทหารราบที่ ๑๓ และกองพันทหารราบที่ ๑ มีที่ตั้งอยู่ที่ค่ายประจักษ์ศิลปาคม จนกระทั่ง ปี พ.ศ.๒๕๒๖ กองพันทหารราบที่ ๑ จึงได้ย้ายไปเข้าที่ตั้งแห่งใหม่ ณ ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา บ.โนนสูง ต.โนนสูง อ.เมือง จว.อ.ด. กองพันทหารราบที่ ๒ และกองพันทหารราบที่ ๓ มีที่ตั้งร่วมกันอยู่ที่ค่ายเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ บ.หนองสำโรง ต.หมูม่น อ.เมือง จว.อ.ด.

เกียรติประวัติในการรบของหน่วย[แก้]

การปราบปราม ผกค.เขตงาน กจ.๗๗๗.อุดร :[แก้]

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ ต่อเนื่องกับปี ๒๕๑๘ กรมผสมที่ ๑๓ (ในขณะนั้น) ได้รับอนุมัติให้จัดตั้ง เป็นหน่วยผสม พลเรือน ตำรวจ ทหาร มีชื่อย่อว่า พตท.๑๗๑๘ มีที่ตั้งบริเวณสนามบินจังหวัดเลย โดยมีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ ๓ จังหวัด คือ จ.หนองคาย , จ.อุดรธานี และ จ.เลย ดำเนินการกวาดล้างการ ผกค. เขตงาน กจ.อุดร ซึ่งมีที่ตั้งอยู่บริเวณภูซางใหญ่ (รอยต่อระหว่าง อ.น้ำโสม กับ อ.สุวรรณคูหา จ.อุดรธานี , อ.นาด้วง จ.เลย ) มีกำลังติดอาวุธประมาณ ๖๐๐ คน พตท.๑๗๑๘ ได้ดำเนินงานการต่อสู้ โดยใช้กำลังเข้ากวาดล้าง ผกค. ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๗ – ๒๕๒๖ โดยมี ผบ.หน่วย ตามลำดับดังนี้ - พ.อ.ยรรยง หงส์ศรีทอง ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ – ๒๕๑๘ - พล.ต.อาทิตย์ กำลังเอก ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ – ๒๕๒๑ - พ.อ.สง่า สายมงคล ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ – ๒๕๒๓ - พ.อ.จุลเลขา ชาญเลขา ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๒๖ จากผลการปฏิบัติงาน ได้ใช้นโยบายการเมือง และการทหารควบคู่กันตลอดมา ส่งผลให้ ผกค. ในพื้นที่บริเวณดังกล่าว เข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ ละทิ้งเขตงาน และอุดมการณ์ และเพื่อระลึกถึงคุณงาม ความดีของผู้เสียสละ จึงได้ดำเนินการจัดสร้างอนุสรณ์สถานแห่งความสงบไว้ ณ บริเวณใกล้กับสนามบิน จังหวัดเลย จนถึงปัจจุบัน

การจัดกำลังป้องกันอธิปไตยตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ประจำปี ๒๕๓๐ :[แก้]

กรมทหารราบที่ ๑๓ นำโดย พ.อ.สมพันธ์ บุญกังวาล ผบ.ร.๑๓ จัดกำลังพล และอาวุธยุทโธปกรณ์ ออกปฏิบัติภารกิจป้องกันอธิปไตย ตามแนวชายแดน ไทย - กัมพูชา ด้าน จ.สุรินทร์ ในห้วง ต.ค.๒๕๒๙ - ก.ย.๒๕๓๐ โดยจัดกำลังเป็นหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ ๑๓ มีที่ตั้งที่ บ.บักจะรัง อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ขึ้นการบังคับบัญชากับ กกล.สุรนารี โดยมีหน่วยรองหลัก คือ พัน.ร.๑๓๓ โดยมี พ.ท.พลพรรค ตราชู เป็น ผบ.พัน. ด้วยการสนธิกำลังจาก ร.๑๓ พัน.๓ และ ร.๑๓ พัน.๒

การจัดกำลังป้องกันชายแดนด้านตะวันตก ประจำปี ๒๕๔๕ :[แก้]

กรมทหารราบที่ ๑๓ นำโดย พ.อ.ศักดิ์ศิลป์ กลั่นเสนาะ ผบ.ร.๑๓ จัดกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ ออกปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนด้านตะวันตก ในห้วง ต.ค.๔๔ - ก.ย.๔๕ ในพื้นที่รับผิดชอบของ ทภ.๓ โดยรับผิดชอบในพื้นที่ ๕ อำเภอชายแดนของ จ.ตาก คือ อ.อุ้มผาง , อ.พบพระ , อ.แม่สอด , อ.แม่ระมาด และ อ.ท่าสองยาง ความยาวพื้นที่รับผิดชอบ ๕๘๓ กิโลเมตร โดยจัดกำลังเป็น หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ ๑๓ มีที่ตั้งที่ บ.แม่ตาว ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก ขึ้นควบคุมทางยุทธการกับ กกล.นเรศวร โดยมีหน่วยในอัตรา คือ ร้อย.ค.หนัก และ หน่วยรองหลัก คือ พัน.ร.๑๓๓ ซึ่งสนธิกำลัง จาก ร.๑๓ พัน.๓ และ ร.๑๓ พัน.๒ โดยมี พ.ท.ธานินทร์ สนิทชน เป็น ผบ.พัน. และ พัน.ม.๒๑๓ (จัดจาก ม.พัน.๓ รอ.)

การจัดกำลังรักษาความมั่นคงภายในสนับสนุน ทภ.๔ ในพื้นที่ ๓ จชต. ประจำปี ๒๕๔๘ :[แก้]

กรมทหารราบที่ ๑๓ ภายใต้การนำของ พ.อ.สิทธิ จันทร์สมบูรณ์ เป็น ผบ.หน่วย และ มี พ.อ.ธานินทร์ สนิทชน เป็น เสนาธิการจัดกำลังพล และอาวุธยุทโธปกรณ์ ออกปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงภายใน สนับสนุน ทภ.๔ ในพื้นที่ ๓ จชต. ตั้งแต่ ๑๑ ธ.ค.๔๗ ถึง ๗ ต.ค.๔๘ โดยจัดกำลังเป็นหน่วยเฉพาะกิจพรหมินทร์ มีที่ตั้งที่ วัดสังฆสิทธาราม ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ขึ้นควบคุมทางยุทธการกับ ทภ.๔ สน. / ฉก.ทักษิณ โดยมีหน่วยรองหลัก คือ ฉก.๓๔ รับผิดชอบพื้นที่ อ.เจาะไอร้อง และ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส และ ฉก.๓๕ รับผิดชอบพื้นที่ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส และ พัน.ร.๑๓๒ โดยการนำของ พ.ท.ชาญชัย เอมอ่อน เป็น ผบ.พัน. รับผิดชอบพื้นที่ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส และเมื่อ ๑ มี.ค.๔๘ ได้แปรสภาพหน่วยเป็น ฉก.๓๔ มีหน่วยรองหลัก ประกอบด้วย พัน.ร.๓๐๑ จัดจาก ร.๓ พัน.๑ , พัน.ร.๖๐๒ จัดจาก ร.๖ พัน.๒ และ ฉก.ทพ.๔๕ ซึ่งเป็นหน่วยในพื้นที่

การจัดกำลังปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพในแคว้นดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน ของ “ กกล.ฉก.๙๘๐ ไทย/ดาร์ฟูร์ ” :[แก้]

นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างสูงสุดของ กรมทหารราบที่ ๑๓ ที่ได้รับเกียรติให้เป็นหน่วยหลักในการจัดกำลังเป็นกองกำลังเฉพาะกิจ ๙๘๐ ไทย/ดาร์ฟูร์ ผลัดที่ ๑ ภายใต้การนำของ พ.อ.ณรงค์ สวนแก้ว เสธ.ร.๑๓ ซึ่งถือเป็นตัวแทนของทหารไทย ในการเข้าร่วมเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพในปฏิบัติการผสม สหประชาชาติ - สหภาพแอฟริกาในแคว้นดาร์ฟูร์ สาธารณรัฐซูดาน ( UNAMID ) ...นับเป็นกองกำลังผสมจากนอกภูมิภาคแอฟริกาเพียงหน่วยเดียว ที่ได้รับความไว้วางใจจาก สหประชาชาติ และเป็นการจัดกำลังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดไปปฏิบัติภารกิจที่ไกลที่สุด และท้าทายมากที่สุด จากที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของกองทัพไทย โดยมีบทบาทในการปฏิบัติหน้าที่เป็นกองกำลังรักษาสันติภาพ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อม ที่ปลอดภัยและสนับสนุนองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ในการส่งผ่านความช่วยเหลือสู่ประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ ด้วยการลาดตระเวนด้วยความเข้มแข็งทั้งกลางวันและกลางคืนครอบคลุมทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ ประมาณ ๑๓ , ๐๐๐ ตารางกิโลเมตร... นอกจากนี้ ยังปฏิบัติหน้าที่ในบทบาทของการเป็นทหารไทย เพื่อเป็นการแสดงศักยภาพ และขีดความสามารถของกองทัพไทย ส่งผลดีต่อประเทศชาติ ในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้เป็นที่ยอมรับในสายตาของประชาคมโลกตลอดจนการช่วยเหลือประชาชน โดยได้น้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของประชาชน.... ....จากการปฏิบัติงานทำให้ได้รับการยอมรับ และชื่นชมจาก หน่วยงานของรัฐบาล และประชาชนในพื้นที่ ว่าทหารไทย กลับมาอีกครั้ง นอกจากนี้ ยังได้รับการยกย่อง จากกองกำลังสหประชาชาติ ( UNAMID) ว่า “ THAIBATT ๑ เป็นเสมือนสัญลักษณ์ทางทหาร ที่เป็นความภาคภูมิใจของ UNAMID ” นับว่าเป็นการสร้างชื่อเสียงเกียรติยศ อย่างน่าภาคภูมิใจมาสู่กองทัพไทย และประเทศชาติเป็นส่วนรวม