ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Pimsiri Yanaco/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

'วัดป่าสันติสุข จังหวัดเชียงใหม่'[แก้]

ประวัติ[แก้]

วัดป่าสันติสุข จังหวัดเชียงใหม่
วัดป่าสันติสุข จังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ.2565)

วัดป่าสันติสุข จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๑ ถนนสักกะวิถี (บ้านใหม่หนองหอยซอย๑๐) หมู่ ๖ ตำบลสันติสุข อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ มีขนาดเนื้อที่ดิน ๗ ไร่ เริ่มต้นซื้อที่ดินเมื่อเดือนสิงหาคมปี พ.ศ.๒๕๕๘ โดยคณะญาติธรรมมีคุณอมรรัตน์ กอกุลจันทร์ เป็นแกนนำพร้อมด้วยกัลยาณมิตรหลายกลุ่ม เช่น คุณสักก์พิพัฒน์ ประภาสิทธิ, คุณวรวุฒิ สมหวังประเสริฐ อัครราชทูต(ฝ่ายการพาณิชย์) ประจำกรุงปารีส, กลุ่มคุณกายทิพย์ สรัสวดีมณฑล, กลุ่มเพื่อนมัธยม, กลุ่มแสงปัญญา เป็นต้น เพื่อต้องการซื้อที่ดินที่เหมาะสมแก่การสร้างเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมจึงได้ร่วมกันระดมทุนซื้อสวนลำไยเก่า มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่มากรูปทรงสวยสมบูรณ์อยู่ด้านหน้า เป็นที่ดิน นส.๓ ก จำนวน ๗ ไร่ เป็นเงิน ๑,๔๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ทำถนนลูกรัง ห้องน้ำ กุฏิ และปรับปรุงบ้านสวนหลังเล็กที่มีมาพร้อมที่ดิน สิ้นเงินก่อสร้าง ๖๐๐,๐๐๐ บาท ร่วมเป็นเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ใช้เวลารวบรวมเงิน ๔ เดือนเศษ ได้ทำพิธีถวายที่ดินพร้อมกุฏิ ๒ ชั้นซึ่งนับเป็น “ปฐมกุฏิ”

ในเบื้องต้นระหว่างยังไม่มีการสร้างศาลาอเนกประสงค์ บ้านสวนเดิมหลังเล็กๆที่ได้รับการปรับปรุงจึงถูกใช้เป็นที่ทำสังฆกรรม หอฉัน ที่ทำครัว นับว่ามีประโยชน์มาก ปัจจุบันบ้านสวนหลังนี้ได้ถูกใช้เป็นที่ทำการสำนักงานวัดป่าสันติสุข

ในระหว่างขั้นตอนระดมทุนซื้อที่ดินและขอจดทะเบียนเป็นวัด สถานที่แห่งนี้ได้ใช้ชื่อเรียกชั่วคราวว่า “สวนสันติสุข” โดยนำเอาชื่ออันเป็นมงคลของตำบลที่ตั้งสวนลำไยแห่งนี้มาใช้ ต่อมาเมื่อขอตั้งชื่อวัดในขั้นตอนจดทะเบียน ยังคงใช้ชื่อมงคลนี้ต่อ จึงเป็นที่มาของชื่อ “วัดป่าสันติสุข” ด้วยด้านหน้าที่ดินผืนนี้มีต้นโพธิ์ดั้งเดิมขนาดใหญ่ ยืนต้นเด่นเป็นสง่า ได้รูปทรงเป็นพุ่มสวย คล้ายเป็นสัญญาลักษณ์ที่บ่งบอกว่า สถานที่แห่งนี้จะกลายเป็นวัดในพระพุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่งเป็นแน่แท้ ต้นโพธิ์ใหญ่จึงกลายเป็นที่มาของตราสัญญาลักษณ์ประจำสวนสันติสุขและกลายมาเป็นตราของวัดป่าสันติสุขในที่สุด ซึ่งเป็นรูปใบโพธิ์สีเขียวมีพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิอยู่ตรงกลางมีชื่อของสถานที่อยู่ด้านล่าง


วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มีประกาศอนุญาตให้ น.ส.อมรรัตน์ กอกุลจันทร์ สร้างวัดอย่างเป็นทางการ ณ สถานที่แห่งนี้ ดังนั้นในช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๐ สวนสันติสุขจึงเร่งการก่อสร้างสาธารณูปโภคและสิ่งปลูกสร้างจำเป็นหลายอย่างพร้อมกัน เช่นการเจาะน้ำบาดาล รั้ววัดแบบชั่วคราว ห้องน้ำสงฆ์ ห้องน้ำฆราวาส กุฏิสำหรับพระสงฆ์ ที่พักฆราวาส ศาลาอเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรม ศาลาใต้ต้นโพธิ์และสร้างพระนาคปรกขนาดใหญ่พร้อมบันไดนาคริมสระน้ำใหญ่บริเวณเนินท้ายสวน ตลอดช่วงเวลาดังกล่าวมีพระสงฆ์แวะเวียนมาพักอาศัยชั่วคราวหลายรูป

ต้นไม้ทนแล้งต่างๆเพื่อเพิ่มความชื้นในดิน สวนสันติสุขได้รับความร่วมมือจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการนำของ รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนา รองคณบดี ได้ประสานขอรับการสนับสนุนพันธุ์ไม้จากสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ อำเภอแม่ริม โดยมีคุณอดุลวิทย์ ริยาพันธ์ ช่วยดำเนินการ ทางสวนยังได้รับการสนับสนุนพันธุ์กล้าไม้จากสถานีเพาะชำกล้าไม้ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่และผู้บริจาคทั่วไปอีกด้วย

ความพยายามปลูกต้นไม้สร้างความชุ่มชื่นให้ผืนดิน วางระบบการรดน้ำ ปรับปรุงคุณภาพดินโดยวิธีการต่างๆอย่างต่อเนื่องค่อยๆเป็นผล ทำให้สภาพในปัจจุบันร่มเย็นแม้ในฤดูร้อน มีต้นไม้ใหญ่สูงให้ร่มเงาเป็นป่าภายในวัดเหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรม

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีประกาศอนุมัติขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งนี้ให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนามีชื่อว่า “วัดป่าสันติสุข” สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๐ ใช้เวลาขอขึ้นทะเบียนเป็นวัดหนึ่งปีเศษนับว่ารวดเร็วมาก วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ไม่ใกล้แต่ไม่ไกลชุมชนจนเกินไปนัก จึงเป็นสถานที่เงียบสงบสัปปายะเหมาะสมสำหรับการปฏิบัติธรรมและไม่ลำบากแก่บิณฑบาตของพระภิกษุสามเณร จึงมีพระสงฆ์เวียนมาพักปฏิบัติชั่วคราวอยู่เรื่อยๆ

ในช่วงต้น วัดมีพระสงฆ์อยู่รักษาการเป็นหัวหน้าสงฆ์ผลัดเปลี่ยนชั่วคราวหลายรูป จนกระทั้งปี พ.ศ.๒๕๖๒ จึงมี เจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการรูปแรกซึ่งนับเป็น“ปฐมเจ้าอาวาส”คือ พระอธิการโสภณ ปัญญาสาโร ผู้มีคุณูปการต่อวัดเป็นอันมาก โดยเป็นกำลังในการพัฒนาวัด วางรากฐานการบริหารจัดการต่างๆและเป็นประธานในการจัดหารายได้เพื่อสร้าง พระประธานขนาดใหญ่ภายในอุโบสถอีกด้วย ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ มีการก่อสร้างเสนะสนะที่จำเป็น พร้อมกันจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารอเนกประสงค์ “ศาลาธรรมสันติสุข” ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๕ เมตร จะเป็นสถานที่หลักสำหรับทำกิจกรรมทุกอย่าง เช่น เป็นหอฉัน โรงล้างบาตร ทำวัตร จัดงานพิธีต่างๆ ในช่วงนั้นมีพระมหาประเสริฐ วรธัมโม เป็นหัวหน้าสงฆ์ได้เป็นประธานลงเสาเอกก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙ นับเป็น “ปฐมศาลา” ของสถานที่แห่งนี้ ในช่วงแรกทำเป็นศาลาโปร่งต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๖๔ จึงมีการต่อเติมผนังเป็นอาคารทึบ ติดตั้งหน้าต่าง ประตู สมบูรณ์

ปฐมศาลา วัดป่าสันติสุข จังหวัดเชียงใหม่


ใน พ.ศ.๒๕๕๙ ลานใต้ต้นโพธิ์ก็ได้รับการพัฒนาเป็นลานอเนกประสงค์ โดยมีพระพุทธรูปปางแสดงปฐมเทศนา ศิลปะคันธาระ หน้าตัก ๑.๕ เมตร มาประดิษฐานไว้เป็นประธานใต้ต้นโพธิ์ โดยมีคุณกายทิพย์ สรัสวดีมณฑลและคณะเป็นเจ้าภาพถวายพร้อมสร้างฐานพระและลานปูนเพื่อใช้ทำกิจกรรม นับเป็น “ปฐมพุทธปฏิมา”ของสถานที่แห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๐ คณะคุณจำนง เขื่อนแก้ว ได้ปรับปรุงลานปูนเดิมโดยสร้างเป็นศาลาโล่งมีหลังคาทรงไทยครอบ ในปีพ.ศ.๒๕๖๓ พระพุทธรูปได้รับการอันเชิญย้ายมาประดิษฐานไว้ด้าน หน้าวัดบริเวณใต้ต้นโพธิ์พร้อมทำฐานใหม่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ด้านหน้าวัด ต่อมา พ.ศ.๒๕๖๔ คุณสักก์พิพัฒน์ ประภาสิทธิ ได้ปรับปรุงให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่โดยสร้างเป็นอาคารทึบก่อผนังและประตูหน้าต่าง ปิดทองลายไทยประดับ เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับนั่งสมาธิใต้ต้นโพธิ์ ชื่อว่า “โพธิ์บัวแก้วธรรมศาลา” ซึ่งศาลานี้จะเย็นตลอดทั้งปีแม้ในฤดูร้อน

ขณะเดียวกันในปี พ.ศ.๒๕๖๐ บริเวณด้านหลังวัดซึ่งเป็นที่เนินดินมีสระน้ำขนาดใหญ่ ได้สร้างพระนาคกลางแจ้งปรกขนาดใหญ่พร้อมบันไดนาคโดยคุณมณฑล สายทัศน์และคณะ เป็นเจ้าภาพหลักพร้อมทั้งสร้างกุฏิขนาดเล็กริมสระน้ำไว้จำนวน ๖ หลัง ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๖๕ ทางวัดได้ทำการปรับภูมิทัศน์บริเวณลานพระนาคปรกและพื้นที่โดยรอบสระ โดยเทปูนแล้วปูกระเบื้องทั่วทั้งลาน ดาดขอบสระและคันสระด้วยปูนเสริมเหล็กทั้งหมดขยายพื้นที่เนินด้านหลังให้สวยงามและใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้วัดยังได้ก่อสร้างสิ่งจำเป็นอีกหลายอย่าง เช่น หอเก็บน้ำ โรงครัวได้รับการอุปถัมภ์จากคุณศรีสุดา–คุณมานพ กอกุลจันทร์, ท่าน้ำท้ายวัดได้รับ การอุปถัมภ์จากคุณอมรรัตน์ กอกุลจันทร์, การเจาะน้ำบาดาลได้รับการอุปถัมภ์จาก คุณสักก์พิพัฒน์ ประภาสิทธิ กุฏิไม้ชั้นเดียว(หลังที่สองของวัด)ได้รับการอุปถัมภ์จากครอบครัววรอุไรและยังนำทายาทในครอบครัวมาบวชเป็นสามเณรรูปแรกของที่นี่ อีกด้วย

ในวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐ วัดได้จัดงานกฐินครั้งแรกซึ่งนับเป็น “ปฐมกฐิน”จุดประสงค์เพื่อก่อตั้ง“กองทุนวัดป่าสันติสุข” โดยมีพระราชวิสุทธิญาณ วัดป่าดาราภิรมย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน(ธรรมยุต) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และได้บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุที่เศียรพระนาคปรก "พระรัตนชัยมงคลสันติสุข”


ในปี พ.ศ.๒๕๖๒ เมื่อเสนาสนะภายในวัดเริ่มเพียงพอ คุณสักก์พิพัฒน์ ประภาสิทธิ ผู้มีคุณูปการต่อวัดเป็นอย่างมากจึงดำริสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเข้าวัดเป็นระยะทาง ๑.๓ กิโลเมตร ซึ่งถนนเดิมเป็นลูกรังมักเป็นฝุ่นในฤดูแล้ง เป็นหลุม และถนนลื่นในฤดูฝน พร้อมกันนั้นได้ทำถนนและลานจอดรถคอนกรีตเสริมเหล็กลาดผิวหน้าด้วยยางมะตอยภายในวัดอีกด้วย ถนนเส้นนี้มีขนาดสองเลนตีเส้นจราจรอย่างดี เป็นประโยชน์ต่อวัดและชุมชนใช้สัญจรอย่างปลอดภัย ทางวัดจึงขออนุญาตเทศบาลตำบลสันติสุขตั้งชื่อถนนให้เป็นเกียรติว่า “ถนนสักกะวิถี” อันหมายถึงเส้นทางของ พระอินทร์ นอกจากนี้ยังเป็นผู้อุปถัมภ์การขยายเขตไฟฟ้าแรงสูงพร้อมไฟส่องสว่างริมถนนเพื่อความปลอดภัย ตลอดระยะทาง ๑.๓ กิโลเมตร และวางระบบไฟฟ้ามาตรฐานภายในวัดโดยมีคุณอมรรัตน์ กอกุลจันทร์ เป็นผู้ประสานงานกับนายช่างก่อสร้าง การไฟฟ้าภูมิภาค ชุมชนและหน่วยงานราชการ พิธีเปิดใช้ถนนสักกะวิถี ถนนเข้าวัดป่าสันติสุข ได้จัดขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒ โดยมีนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลสันติสุขและผู้ใหญ่บ้านเป็นตัวแทนรับมอบ พระอธิการโสภณ ปัญญาสาโร มอบของที่ระลึกแด่ผู้มีส่วนร่วมกับการสร้างถนนให้ชุมชน มีคณะเด็กนักเรียนโรงเรียนสันติสุขร่วมทำการแสดงต่างๆในพิธีเปิดใช้ถนน


เนื่องจากอำเภอดอยหล่อ มีสภาพอากาศหนาวมากในฤดูหนาวเพราะใกล้ดอย อินทนนท์ ร้อนจัดในฤดูร้อนเพราะเป็นดินทรายและมักประสบปัญหาพายุฤดูร้อนบางทีก็มีลูกเห็บตก ทำให้เกิดความเสียหายกับเสนาสนะภายในวัด ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๕๖๔ วัดจึงปรับปรุง สิ่งปลูกสร้างภายในวัดและวางระบบการก่อสร้างใหม่ ให้ทนต่ออากาศร้อน พายุลมแรงและลูกเห็บ กำหนดแบบมาตรฐานสิ่งปลูกสร้างที่จะทำการสร้างใหม่ให้แข็งแรงมั่นคง โดยได้เริ่มจากการก่อสร้างกุฏิในแบบมาตรฐานรักษาอุณหภูมิได้ดีและแข็งแรง มีการสร้างใหม่และรื้อกุฏิเดิมที่ใช้โครงสร้างเหล็กปิดผนังด้วยไม้ฝาซีเมนต์ เปลี่ยนเป็นการก่ออิฐฉาบปูน มุงหลังคากระเบื้องคอนกรีตที่ทนพายุลูกเห็บ

วัดป่าสันติสุขมีความเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ มีการจัดตั้งกองทุนวัด มีคณะศรัทธาสาธุชนหลายคณะร่วมกันอุปถัมภ์วัด ในขณะนั้นญาติธรรมทั้งหลายเล็งเห็นว่าอำเภอดอยหล่อนี้ยังไม่มีอุโบสถของพระสงฆ์ธรรมยุต ดังนั้นทางคณะจึงเห็นสมควรว่าควรจะสร้างอุโบสถถวายไว้ เพื่อใช้ทำสังฆกรรมต่างๆ ทางวัดจึงเริ่มก่อสร้างอุโบสถเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑ โดยได้รับเมตตาจากพระครูภาวนาภิรัต(หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ) วัดป่าอาจารย์ตื้อ จังหวัดเชียงใหม่ อธิษฐานจิตเจิมแผ่นศิลาฤกษ์แผ่นที่ ๑ และพระราชวิสุทธิญาณ วัดป่าดาราภิรมย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน(ธรรมยุต) เป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์และเจิมศิลาฤกษ์แผ่นที่ ๒

วางศิลาฤกษ์
อุโบสถวัดป่าสันติสุข จังหวัดเชียงใหม่

ตัวอาคารอุโบสถมีขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๕.๕ เมตร รูปแบบการก่อสร้างผสมผสานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบล้านนา ประดับด้วยการปั้นปูนสดรูปสัตว์ป่าหิมพานต์ต่างๆ อุโบสถมีประตูเข้า-ออกประตูเดียวแบบอุโบสถมหาอุตม์ มีลานและกำแพงแก้วโดยรอบ ตัวรูปทรงอาคารมีลักษณะคล้ายรูปถุงเงินคือมีบันไดด้านหน้าประตูโค้งออกคล้ายปากถุง ตัวอาคารย่อมุม ๓ ช่วง กว้างขยายออกไปคล้ายตัวถุงเงิน ภายในประดับด้วยกระจกจืน (กระจกแบบโบราณ)และปิดทองเป็นลวดลายต่างๆแบบล้านนา

ภาพมุมสูงอุโบสถวัดป่าสันติสุข จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๓ พระครูวิสิษฎ์พิทยาคม(พระอาจารย์วราห์ ปุญฺญวโร) วัดโพธิ์ทอง กรุงเทพมหานคร เมตตาอธิษฐานจิตเปิดหัวใจครุฑ องค์พญาครุฑรุ่นจอมราชันย์ เพื่อนำไปบรรจุในหน้าอกครุฑปูนปั้น รูปครุฑชูองค์พระที่ซุ้มหน้าบันประตูอุโบสถ เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ สำนักนายกรัฐมนตรีมีประกาศเรื่อง พระราชทานวิสุงคามสีมา และมีประกาศ ในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ มีขนาดกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๓๐ เมตร สิริรวมใช้เวลาก่อสร้างอุโบสถทั้งหมด ๓ ปี สิ้นทุนทรัพย์การก่อสร้างทั้งหมดประมาณ ๑๐ ล้านบาทเศษ

ดังนั้นคณะสงฆ์และคณะญาติธรรมมีความเห็นว่าอุโบสถใกล้เสร็จสมบูรณ์และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วเห็นควรจัดงานยกช่อฟ้าและผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตในปี พ.ศ.๒๕๖๕ ระหว่างการก่อสร้างอุโบสถ วัดได้สร้างพระประธานเป็นพระทรงเครื่องศิลปะล้านนาหล่อด้วยทองเหลืองขนาดหน้าตัก ๒ เมตร (รวมฐาน ๓ เมตร) โดยพระราชวิสุทธิญาณ วัดป่าดาราภิรมย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน ถวายพระนามองค์พระประธานว่า"พระพุทธมหาจักรพรรดิมุนีศรีสันติสุข"(พระเจ้าสมปรารถนา) เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงโปรดประทานพระบรมสารีริกธาตุเพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานในยอดพระเศียร พระพุทธมหาจักรพรรดิมุนีศรีสันติสุข พระประธานประจำอุโบสถที่กำลังจัดสร้างขึ้น ทรงประทานพระวโรกาสให้พระอธิการโสภณ ปัญญาสาโร เจ้าอาวาสนำคณะพระภิกษุและตัวแทนญาติธรรมที่ร่วมอุปถัมภ์วัดและการหล่อพระเข้าเฝ้ารับประทานพระบรมสารีริกธาตุ อันเป็นของบูชา ส่วนพระองค์ ณ ตำหนักอรุณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร

พิธีหล่อพระเป็นพิธีใหญ่จัดที่ลานวัด เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ โดยมีพระราชวิสุทธิญาณ วัดป่าดาราภิรมย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน, พระครูภาวนาภิรัต (หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ) วัดป่าอาจารย์ตื้อ จังหวัดเชียงใหม่และพระอธิการโสภณ ปัญญาสาโร เจ้าอาวาสวัดป่าสันติสุข เป็นประธานเททองหล่อ มีพระสงฆ์ร่วมอธิษฐานจิตในพิธีกว่าร้อยรูป มีพระเถระจารแผ่นชนวนทองคำเช่น หลวงปู่บุญกู้ อนุวฑฺฒโน วัดอโศการาม กรุงเทพ, ครูบาอุ่นเรือน อิสโร วัดพระธาตุผาเงา จังหวัดเชียงราย, หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ วัดป่าภูมิพิทักษ์ จังหวัดสกลนคร, ครูบาสังเวียน ขันติธัมโม วัดม่อนพญาคำ จังหวัดลำปาง, พระครูสังฆรักษ์สุธีรวงศ์ วัดป่าคะยอมใต้ จังหวัดลำพูนและหลวงตาม้า วัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ) จังหวัดเชียงใหม่จารแผ่นชนวนทองคำแท้และร่วมอธิษฐานจิตเดี่ยว

หล่อพระประธานวัดป่าสันติสุข

เมื่อประกอบองค์พระประธานแล้วจึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานภายในอุโบสถซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๓ แล้วจึงทำซุ้มโขงด้านหลังองค์พระโดยมีคณะญาติธรรมชาวอินโดนีเซียคุณIr. Vincent Ang MM.(Ang sun ching)และคุณUpik Sarimana (Xie pik cen) สร้างถวาย เมื่ออุโบสถเสร็จสมบูรณ์ วัดจึงได้ทำพิธีเบิกพระเนตรและประดับอุณาโลมถวายองค์พระประธาน วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔ โดยมีพระราชวิสุทธิญาณ วัดป่าดาราภิรมย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน เป็นประธาน ต่อมาวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๕ จึงเริ่ม ปิดทององค์พระโดยมีพระอธิการโสภณ ปัญญาสาโร เจ้าอาวาส ปิดทองพระนำฤกษ์ที่พระโมลี,พระเนตรและพระอุระ ใช้เวลาประมาณ ๔ เดือนจึงแล้วเสร็จ

จากนั้นช่างทองและและช่างเครื่องประดับได้ทำตัวเรือนโดยใช้เงินแท้มาทำการสลักดุนเพื่อเป็นตัวเรือนขึ้นชิ้นงานยึดอัญมณี ติดตั้งตามจุดสำคัญต่างๆตามเครื่องทรงขององค์พระ รวมสิ้นค่าใช้จ่ายสำหรับค่าปิดทองและประดับอัญมณี ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ บาท (ไม่รวมมูลค่าเพชรและทองคำอีกจำนวนหนึ่งซึ่งได้รับการถวาย) หากรวมมูลค่าสิ่งเหล่านี้ด้วยยอดรวมมูลค่าจะประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทเศษ โดยชิ้นงานอัญมณีที่สำคัญประกอบด้วย อุณาโลม มีคุณกายทิพย์ สรัสวดีมณฑลและคณะเป็นเจ้าภาพอุณาโลมทำจากทองคำหนัก ๔ บาท ลงยาราชาวดีสีแดงสด มีทับทิมเนื้อแก้วเม็ดใหญ่อยู่ตรงกลางด้านบนสุดเป็น เพชรน้ำ ๙๗ ขนาด ๕๐ สตางค์ แล้วล้อมรอบด้วยเพชรขนาด ๒ สตางค์อีก ๕๐ เม็ด ชุดหน้าพระมงกุฎด้านหน้าสุด ตรงกลางเป็นทับทิมขนาดใหญ่ขึ้นตัวเรือนด้วยเงินล้อมด้วยพลอยสีแดงสดแล้วล้อมด้วยเพชรน้ำ ๙๗ ขนาด ๔๐ สตางค์จำนวน ๑๔ เม็ดอีกชั้นหนึ่ง ด้านบนสุดประดับด้วยเป็นหยกพม่าสีเขียวจักรพรรดิอีก ๑ เม็ด ทางด้านล่างเป็นหินอาเกตล้อมด้วยพลอยสีเหลือง ส่วนชุดหน้าพระมงกุฎทางด้านซ้าย ด้านขวาและด้านหลัง ตรงกลางเป็นหยกพม่าล้อมด้วยพลอยต่างๆตามความเหมาะสมทำตัวเรือนด้วยเงินแล้วปิดทองแท้my[ทับทรวงเป็นเพชรและพลอยนพเก้า ๒ ชุด ตรงกลางเป็นทับทิมเม็ดใหญ่ล้อมด้วยเพทายเจียรเหลี่ยมเกษรและมีโมราสีเขียวสดประดับทั้ง ๔ มุม ขึ้นตัวเรือนด้วยทองแดงสลักดุนแล้วปิดทองแท้ ที่สังวาลย์ประดับด้วยหยกจำนวนมากพระชานุทั้งสองประดับด้วยลาบราดอไรต์(Labradorite) ล้อมด้วยทับทิมขึ้นตัวเรือนด้วยเงินสลักดุนลายปิดทองแท้ ที่พระอังสาและพระกรประดับด้วย ลาบราดอไรต์ ล้อมด้วยหินควอตซ์สีเขียวสดขึ้นตัวเรือนด้วยเงินสลักดุนลายปิดทองแท้ สร้อยพระศอประดับด้วยหินอาเกตจำนวนมาก พระธำมรงค์ทั้ง ๖ วง เป็นทับทิม, หยกพม่า, ไหมทอง(หินควอตซ์)และพลอยธรรมชาติสีต่างๆ ตัวยอดพระเกศปิดด้วยทองคำ ตัวเฉพาะชิ้นส่วนยอดนี้ใช้ทองคำที่ได้รับการถวายในงานหล่อพระประธานจำนวนมากหล่อเบ้าพิเศษเฉพาะชิ้นงาน ผสมร่วมกับทองเหลือง จึงเป็นทองเหลืองแก่ทองคำ ที่ดอกบัวฐานพระปิดทองแท้แล้วประดับด้วยกระจกจืนสีทอง(กระจกโบราณ)ทำเป็นกลีบดอกบัวทั่วทั้งฐาน รวมมูลค่าการจัดสร้างพระประธานตั้งแต่การหล่อพระและปีดทองประดับอัญมณีประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท

พระประธานวัดป่าสันติสุข จังหวัดเชียงใหม่

วันมาฆบูชา พ.ศ. ๒๕๖๕ พระอธิการโสภณ ปัญญาสาโรได้บรรจุพระกริ่งสมปรารถนาจำนวน ๙ องค์ (เนื้อเงิน,เนื้อทองชุบ,เนื้อทองเหลือง)ไว้ในพระเกศพระประธาน ส่วนพระบรมสารีริกธาตุได้แบ่งเป็น ๓ ชุด ชุดที่ ๑ ประดิษฐานไว้ในผอบทองคำในช่องมณฑปด้านบนสุดของซุ้มโขงพระ ชุดที่ ๒ บรรจุในพระมงกุฎของพระหินเขียวในช่องกลางของมณฑป ชุดที่ ๓ ประดิษฐานไว้ภายในพระเกศ พระประธานนอกจากนี้คุณฑาริกา พฤทธิ์พงศาและครอบครัวได้ถวายพระหยกดำพม่าแกะสลักจำลองพระรอดหลวง วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน จัดสร้างโดยร้านJADE FOR YOU ประดิษฐานไว้ที่หน้าพระประธาน พร้อมทั้งสร้างกุฏิถวาย ๒ หลัง

ปี พ.ศ.๒๕๖๓ วัดได้จัดสร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อสมปรารถนาจำลองขนาด ๙ นิ้วจำนวน ๑๐ องค์และ ๕ นิ้ว แบบปิดทองและแบบรมดำรวม ๑๐๐ องค์ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้รวมบุญสร้างพระประธานและสมทบทุนกองทุนวัดป่าสันติสุข ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๖๔ ทางวัดได้จัดสร้าง“พระกริ่งสมปรารถนา” เพื่อเป็นที่ระลึกให้ผู้ร่วมสมทบทุนกองทุนวัดป่าสันติสุขเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายทั่วไปในวัด ประกอบด้วยเนื้อเงินแท้ เนื้อทองเหลืองชุบทองและเนื้อเทองเหลือง

เสาและผนังภายในด้านบนของอุโบสถได้ประด้วยงานปิดทองลายไทยแบบล้านนาแล้วประดับกระจกจืน(แบบกระจกโบราณ) ทำเป็นลวดลายเทวดาเชิญตุง เป่าสังข์ โปรยดอกไม้ ภายในช่องซุ้มโขงพระทำเป็นลายดอกไม้ร่วง เป็นต้น

ประวัติปฐมเจ้าอาวาสวัดป่าสันติสุข พระอธิการโสภณ ปัญญาสาโร มีนามเดิมว่านายโสภณ หิรัญธรรมาภรณ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๙ ที่ตำบลดงคู่ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย บิดาชื่อนายสนั่น คำอ้าย มารดาชื่อนางป้อง คำอ้าย ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย ท่านมีความเลื่อมใสในปฏิปทาหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นอย่างมาก เมื่ออายุได้ ๓๙ ปีจึงตัดสินใจบรรพชาอุปสมบท ณ วัดสันติธรรม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๘ โดยมีพระครูสุขุมบุญวัฒน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ต่อมาได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่พระเทพมงคลโมลี มีพระครูวิมลธรรมรัต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสัมภาษณ์ สมฺภาโสเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “ปัญญาสาโร” แปลว่าผู้มีปัญญาเป็นสาระ ท่านศึกษาวิชาธรรมสอบไล่ประโยคนักธรรมชั้นตรี เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ สำนักศาสนศึกษาวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่และอบรมหลักสูตร พระธรรมทูต รุ่น ๑๗ ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ.๒๕๕๗ ได้เป็นประธานสงฆ์ที่ Delapan Jalan Mulia Buddhis Centerเมือง Tangerang ประเทศอินโดนีเซีย ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๖๒ ท่านได้มารับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการรูปแรกของวัดป่าสันติสุข โดยสมเด็จพระมหาวีรวงค์ (สุชิน อคฺคชิโน) ผู้รักษาการเจ้าคณะภาค 4-5-6-7 (ธรรมยุต) เป็นประธานมอบตราตั้งในงานประชุมพระสังฆาธิการประจำปี พ.ศ.๒๕๖๒ วางรากฐานบริหารจัดการ ระบบระเบียบภายในวัด ทำให้วัดมีความเจริญเติบโตอย่างมั่นคง ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกๆด้าน นอกจากนี้ท่านยังเป็นประธานจัดสร้างพระประธานประจำอุโบสถ โดยนำญาติธรรมสายประเทศอินโดนีเซียจำนวนมากมาร่วมสร้างพระประธาน สร้างอุโบสถและร่วมงานบุญต่างๆของวัดเสมอมา เช่น คุณIr. Vincent Ang MM.(Ang sun ching), คุณUpik Sarimana (Xie pik cen), คุณAnthoni Wijaya , คุณDarwin wijaya, คุณLili Yanti, คุณAsun Junaidi, คุณ A/n pak Djono,คุณBudiyanto Sutedja, คุณ Sovanna Antonio และคุณบุญโชค พลดาหาญ เป็นต้น ท่านยังเกื้อกูลชุมชนรอบวัดตามวาระโอกาส มีการสนับสนุนการสร้างและซ่อมแซมบ้านให้ผู้ยากไร้ตามที่ทางอำเภอดอยหล่อขอความอนุเคราะห์ บริจาคอุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาล ประจำอำเภอดอยหล่อ บริจาคข้าวสารให้ครอบครัวที่ยากจนในชุมชนจำนวนมาก เป็นต้น