ผู้ใช้:Pakapon jitjuk/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเมืองการปกครองสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ข้อมูลพื้นฐานของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[แก้]

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

สำหรับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะมีเนื้อที่ทั้งหมดของประเทศอยู่ประมาณ 83,600 ตารางกิโลเมตร อยู่แถวกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อยู่ติดบริเวณอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานในทางทิศเหนืออยู่บริเวณอ่าวเปอร์เซีย ทิศใต้อยู่บริเวณติดกับประเทศซาอุดิอาระเบีย ประเทศโอมาน ทิศตะวันอยู่บริเวณติดกับประเทศซาอุดิอาระเบีย ประเทศโอมาน เช่นเดียวกับในทิศใต้ ทิศตะวันออกอยู่บริเวณติดกับประเทศโอมาน และอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในระหว่างเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายนจะเป็นฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิสูงโดยประมาน 32 ถึง 48 องศาเซลเซียส และในระหว่างเดือนตุลาคมจนถึงเมษายนจะเป็นฤดูหนาวจะมีอุณหภูมิ ต่ำโดยประมาน 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส[1]

ตราแผ่นดิน สกุลเงิน[แก้]

ตราแผ่นดินของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ.2551 มีส่วนประกอบคือ 1 โล่ เป็นรูป สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2 ประคองข้าง เป็นรูป เหยี่ยว มีคำขวัญในป้ายสีแดง เขียนว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (อาหรับ:الإمارات العربيّة المتّحدة‎)[2] สกุลเงินของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คือ AED อัตตราซื้ออยู่ที่ 9.3506 อัตตราขายอยู่ที่ 9.4361 [อัตราในตลาดต่างประเทศ (ทอมสันรอยเตอร์) คำนวณผ่านอัตราซื้อขายเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดกรุงเทพฯ] สถานะ ณ วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560[3]

เมืองหลวง ภาษาราชการ ศาสนา[แก้]

ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์มีเมืองหลวงคือ กรุงอาบูดาบี (Abu Dhabi) เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็น อับดับ2ของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ โดยเมืองอาบูดาบีอยู่บนเกาะรูปตัวทีที่ยื่นเข้าไปในอ่าวเปอร์เซีย ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ และประเทศสหรัฐอาหารับเอมิเรสต์มีภาษาฟาร์ซี ที่ใช้ในหมู่ชาวอิหร่านที่พำนักอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์[4] ประชากรในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 9.3ล้านคน (ในปี พ.ศ.2556) โดยเป็นชาวอาหรับประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ ชาวต่างชาติ 88 เปอร์เซ็นต์ โดยชาวต่างชาติส่วนใหญ่จะมาจากประเทศ อินเดียร ปากีสถาน อิหร่าน ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ และกลุ่มจากประเทศอาหรับด้วยกัน โดยประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์มีการนับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด ประมาณ 96 เปอร์เซ็นต์ (นิกายสุหนี 80 เปอร์เซ็นต์ และชีอะต์ 16 เปอร์เซ็นต์ ) ส่วนอีก 4 เปอร์เซ็นต์ มีทั้ง ฮินดู คริสต์ และอื่นๆ[5]

ประวัติความเป็นมาของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์[แก้]

หนึ่งในประเทศแถบตะวันออกกลางที่เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยีหรือผู้นำการค้าด้านน้ำมันดิบก็จะต้องพูดถึง ประเทศสหรัฐอาหรับ เอมิเรสต์โดยจะประกอบด้วยรัฐ7รัฐได้แก่ รัฐดูไบ รัฐอาบูดาบี รัฐชาจ์จาห์ รัฐอุมม์อัลไกไวน์ รัฐฟูไจราห์ รัฐราสอัลไคมาห์ และ รัฐอัจมาน โดยที่ก่อนปีคริสต์ศักราชที่ 1971 ทั้ง 7 รัฐ เป็นที่กล่าวขานกันในชื่อ ทรูเชียลโอมาน (Trucial Oman) หรือ รัฐสงบศึก (Trucial States) โดยอิงมาจากสัญญาความสงบศึกในศตวรรษที่19 ระหว่างเชคอาหรับบางพระองค์กับอังกฤษ และในปีคริสต์ศักราชที่ 1833 ตระกูล Maktoum ได้เป็นแกรนนำประชากรจำนวนประมาน700-800คน จากชนเผ่า Bani Yas tribe อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่อยู่อ่าวเปอร์เซียบริเวณท่าเรือ บริเวณนั้นดูไบจึงกลายศูนย์กลางทางการประมง การค้าทางน้ำ ฟาร์มไข่มุกและอาหารทะเลอีกมากมาย พอถึงช่วงศตวรรษที่20 ดูไบกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการส่งออก ในปีคริสต์ศักราชที่1966 ได้มีการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ จึงทำให้กลายเป็นประเทศมหาอำนาจด้านน้ำมันอีกประเทศหนึ่ง แล้วยังมีโครงการพัฒนาริมชายฝั่งทะเลให้การเป็นแหล่งทีมีความเจริญ เป็นสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรมหรู ด้วยงบประมาณหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 1971 สหราชอาณาจักรได้ถอนตัวออกจากการปกครอง ทำให้ดูไบและรัฐต่างๆ รวมตัวกันจนกลายมาเป็นประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์[6]

การเมืองการปกครอง[แก้]

รูปแบบการปกครอง[แก้]

การปกครองของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์เป็นการปกครองแบบสหพันธรัฐ (Federation) โดยมีรัฐธรรมนูนฉบับวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ให้เป็นรัฐธรรมนูนฉบับถาวรในปี พ.ศ. 2539 และประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์มีระบบกฎหมายอยู่ด้วยกัน 2 ระบบ ได้แก่ ระบบกฎหมาย Shari'a ของศาสนาอิสลามและระบบประมวลกฎหมาย

การเมืองการปกครอง[แก้]

ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์เป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยสหพันธรัฐทั้งหมด 7 รัฐ โดยแต่ละรัฐจะมีการปกครองส่วนท้องถิ่นของตัวเอง จะไม่เหมือนกัน เมือง อาบูดาบีจะเป็นเมืองหลวงถาวร มีรัฐบาลกลาง (Federal Government) ทำหน้าที่ดูแลนโยบายและกิจการสำคัญต่างๆของประเทศ เช่น ความมั่นคง การต่างประเทศเป็นต้นโดยจะมีทั้งหมด 3 ส่วนได้แก่

  1. สภาสูงสุด (Federal Supreme Council) คือผู้ครองเมืองทั้ง 7 รัฐ โดยจะมีหน้าที่กำหนดนโยบาย ออกกฎหมายหรือเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีจากสมาชิกสภาฯ โดยจะต้องใช้คะแนนขั้นต่ำทั้งหมด 5 เสียง ซึ่งใน 5 เสียงจะต้องมีรัฐอาบูดาบีและดูไบใน 5 เสียงที่จะเลือก
  2. คณะรัฐมนตรี (Federal Council of Ministers) สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์จะมีคณะรัฐมนตรีทั้งหมด 24 ต่ำแหน่งโดยรวมกับนายกรัฐมนตรีแล้วทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารต่อสภาสูงสุด
  3. สภาแห่งชาติของสหพันธรัฐ (Federation National Council - FNC) มีวาระ4ปี มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด40คน โดย20คนจะมาจากการเลือกตั้งและอีก20คนจะมาจากการแต่งตั่งของเจ้าผู้ครองรัฐ

นโยบายต่างประเทศ[แก้]

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศตะวันตก มีท่าทีอันดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน มีการต่อต้านความรุนแรงและ การรุกราน การส่งเสริมความร่วมมือกับสันติประเทศ การไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศอื่น มีพันธมิตรทางทหารเป็นวงกว้าง และในปี พ.ศ.2547 ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์เข้าร่วมเป็นสมาชิกความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) มีความสนใจที่จะเป็นผู้นำในด้านการค้าอิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Education) กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) เป็นต้น และยังเป็นประเทศที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องพลังงานหมุนเวียน แต่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังมีข้อพิพาทกับอิหร่านในเรื่องอธิปไตยเหนือเกาะ 3 เกาะ คือ เกาะอาบู มูซา เกาะทูมใหญ่ และเกาะทูมเล็ก[7][8]

อื่นๆ[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์เป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งทางทรัพยากรพลังงานค่อนข้างมาก เป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมาก โดยมีน้ำมันดิบร้อยละ 10 ของโลก และจากการส่งออกของน้ำมันนั้นคิดเป็นประมาณร้อยละ 30 ของ GDP และแก๊สธรรมชาติสำรองเป็นอันดับต้นๆของโลก สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์มีอัตราความเติบโตทางเศรษฐกิจประมานร้อยละ7.5 และตั่งแต่ก่อตั้งประเทศ รัฐอาบูดาบีและรัฐดูไบมีการแข่งขันกันมาโดยตลอด จึงทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์คึกคักอยู่เสมอ แต่สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ก็ยังมีอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 14.0 รายได้ประชาชาติต่อหัวประมาณ 37,682 ดอลลาร์สหรัฐและยังมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศประมาณ 198.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ความสัมพันระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์[แก้]

ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ความสัมพันระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ได้เริ่มขึ้น โดยเป็นความสัมพันทางการฑูต สถานกงสุนใหญ่ไทยได้ไปเปิดอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ณ เมืองดูไบ ในปี2535 เดือนมกราคม และเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2537 ไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบีและในปี2541 เดือนเมษายน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เปิดสถานเอกอัครราชทูตฯ ที่กรุงเทพฯ ส่วนด้านเศรษฐกิจสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์เปรียบเสมือนประตูคู่ค้าของไทย เพราะในตะวันออกกลางสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์เป็นคู่ค้าของไทยอันดับ1 โดยสินค้าที่ไทยส่งออกไปค้าขายนั้น ได้แก่ อะไหล่รถยนต์ เครื่องประดับและอัณญมนี เป็นต้น ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันผ่านการแปรรูป เป็นต้น[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://sameaf.mfa.go.th/th/country/middle-east/detail.php?ID=34#1
  2. http://www.wikiwand.com/th/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B9%8C
  3. https://www.bot.or.th/thai/financialmarkets/_layouts/application/exchangerate/exchangerate.aspx
  4. http://www.apecthai.org/index.php/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2/623-%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B9%8C.html
  5. http://sameaf.mfa.go.th/th/country/middle-east/detail.php?ID=34
  6. https://sites.google.com/site/dubaibymix140240/prawati-meux-ngdubi
  7. https://sites.google.com/site/dubaibymix140240/karmeuxng-kar-pkkhrxng
  8. http://sameaf.mfa.go.th/th/country/middle-east/detail.php?ID=34#3
  9. http://sameaf.mfa.go.th/th/country/middle-east/detail.php?ID=34#4