ผู้ใช้:P4super/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกตีนเทียน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordataa
ชั้น: Aves
อันดับ: Charadriiformes
วงศ์: Recurvirostridae
สกุล: Himantopus
สปีชีส์: H.  himantopus

บทนำ[แก้]

ชีววิทยาของนกตีนเทียน[แก้]

นกตีนเทียน (Black-winged stilt) เป็นนกขนาดกลาง ตัวเพรียว หัวเล็ก คอยาว หลัง ไหล่และปีกเป็นสีดำตัดกับส่วนที่เหลือซึ่งเป็นสีขาว ลักษณะที่เด่น คือ ขาที่มีขนาดเล็กเรียวยาว และมีสีชมพูสด ซึ่งจะพบได้ตามริมฝั่งแม่น้ำ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม เช่น ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ทุ่งนา และที่ลุ่มน้ำขังทั่วไป เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทั่วไป นกตีนเทียนจะหากินอยู่ตามลำพัง เป็นคู่ หรือหากินรวมกันเป็นฝูง บางครั้งหากินรวมกันอยู่กับนกชายเลนชนิดอื่น อาหารของนกตีนเทียน ได้แก่ แมลง หอย กุ้ง ปลาและเมล็ดพืชน้ำ [1]

คุณค่าของนกในระบบนิเวศ[แก้]

นกมีความสำคัญต่อระบบนิเวศในธรรมชาติอย่างมากมาย อย่างเช่น ช่วยในการผสมเกสร กำจัดศัตรูพืช ช่วยในการแพร่กระจายเมล็ดพืชและนกจากนี้แล้วนกยังมีความสำคัญต่อมนุษย์อีกด้วย เช่นใช้เป็นอาหาร [2] [3]

ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของนกตีนเทียนและญาติ[แก้]

นกมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน เนื่องจากว่ามีลักษณะที่คล้ายกับสัตว์เลื้อยคลานมีเกล็ดที่ขา มีการวางไข่ ซากดึกดำบรรพ์ของนกที่พบ คือ อาร์คีออพเทอริกซ์ (ARCHAEOPTERYX) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของนก ถูกขุดพบที่แคว้นบาวาเลีย ในประเทศเยอรมัน ซึ่งในปัจจุบันมีนกไม่ต่ำกว่า 9,800 ชนิด บนโลกนี้ สามารถจัดหมวดหมู่ได้ 27 อันดับ 183 วงศ์ ซึ่งในประเทศไทยพบประมาณ 80 วงศ์ แบ่งออกเป็นชนิดต่างๆได้ประมาณ 918 ชนิด [4] [5] หลังจากที่ อาร์คิออพเทอริกซ์ ได้ถือกำเนิดขึ้นมา ต้องใช้เวลาอีกหลายล้านปี ผ่านช่วงวิวัฒนาการหลายยุคหลายสมัย จึงเกิดต้นตระกูลของนกชนิดต่างๆ มากมายตามสภาพแวดล้อม โดยมีการวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงรูปทรงภายนอกและโครงสร้างภายใน ตลอดจนมีการพัฒนาอวัยวะต่างๆ ให้เหมาะสมกับการบิน เช่นขาหน้า มีการพัฒนากลายมาเป็นปีกลำตัวมีลักษณะเพียวและนอกจากนี้กระดูกยังมีลักษณะกลวงเป็นโพรงภายใน ทำให้มีน้ำหนักเบา และมีถุงลมพื่อช่วยในการหายใจ เนื่องจากนกจำเป็นต้องใช้อากาศเป็นจำนวนมากระหว่างบิน [6]

การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการของนกตีนเทียน (Evolutionary adaptation of the Black-winged Stilt)[แก้]

การปรับตัวเพื่อให้มีน้ำหนักเบา[แก้]

การที่นกจะบินได้นั้นจะต้องมีการใช้พลังงานที่สูง ดังนั้นนกจึงจำเป็นต้องมีการลดน้ำหนักตัวให้เบาลง โดยการลดรูปของอวัยวะต่างๆ เช่น ลดจำนวนของกระดูก และลดน้ำหนักของกระดูก โดยทำให้กระดูกนั้นกลวงมีลักษณะเป็นโพลงภายในและนอกจากนี้ยังมีถุงลมอีกมากมายเพื่อช่วยในการหายใจและช่วยในการพยุงตัวให้นกบินได้โดยที่ไม่ตกลงมา [7] [8]

การปรับตัวของปากนก[แก้]

ปากนกเป็นอุปกรณ์ทีสำคัญเพื่อจับหรือหาอาหารซึ่งจำเป็นต้องมีการลดรูปของกระดูกขากรรไกรให้มีขนาดที่เล็กลงและไม่มีฟัน แต่มีการเพิ่มความสามารถในการจับและฉีกอาหาร โดยการมีจะงอยปากที่แข็งแรงและนอกจากนี้ยังมีการพัฒนากระเพาะอาหารเพื่อให้ทำหน้าที่แทนบดเคี้ยวอาหารแทนกระดูกขากรรไกรและฟัน ซึ่งส่งผลทำให้มีขนาดและรูปร่างของจะงอยปากที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของอาหารที่นกกิน ซึ่งจะเห็นได้ว่ารูปร่างของจะงอยปากจะสัมพันธ์กับอุปนิสัยการกินอาหารของนก [9]

การปรับตัวเพื่อให้มีสมดุล (การรักษาดุลยภาพของน้ำ)[แก้]

นกจะมีขนปกคลุมร่างกายเพื่อใช้ในการป้องกันการสูญเสียน้ำเนื่องจากความร้อนและนอกจากนี้แล้วยังมีระบบการรักษาดุลยภาพของน้ำโดยการขับออกในรูปของปัสสาวะ นอกจากนี้ยังพบว่านกทะเลที่มีการกินพืชหรือสัตว์ทะเลเป็นอาหาร จะมีอวัยวะพิเศษที่ทำหน้าที่ในการกำจักแร่ธาตุหรือเกลือส่วนเกินออกไปจากร่างกาย เรียกอวัยวะนั้นว่า ต่อมขับเกลือ (Salt gland) ซึ่งจะอยู่ตรงบริเวณส่วนหัวและจมูก โดยแร่ธาตุและเกลือจะถูกกำจัดออกไปในรูปของน้ำเกลือ [10]

References[แก้]

  1. Jackass(2011)นกตีนเทียน http://bicycle2011.com/%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/
  2. http://www.bcst.or.th/?page_id=37
  3. http://61.19.202.164/works/birds/F04.htm
  4. http://www.waghor.go.th/v1/elearning/nature/Bird&Insect/ie%20bird%20homepage/gen%20bird%201.html
  5. http://pirun.ku.ac.th/~b521030289/การกำเนิดและวิวัฒนาการ/การกำเนิดนก.html
  6. http://www.bcst.or.th/?page_id=57
  7. กำพล มีสวัสดิ์, (2539).ปักษีวิทยาเบื้องต้น.ภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่
  8. http://boomkabank.com/component/content/article/31/72-กายวิภาคและการปรับตัวของนก-Read-more.html
  9. http://boomkabank.com/component/content/article/31/72-กายวิภาคและการปรับตัวของนก-Read-more.html
  10. http://vichakarn.triamudom.ac.th/comtech/studentproject/final55/345/html/homeostasis_content.html