ผู้ใช้:Natcha Yoonan/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การทดลองการกระเจิงของนิวตรอน (Neutron scattering)

        การศึกษาการกระเจิงของนิวตรอน (Boue et al.) จะให้ข้อมูลที่น่าสนใจหลายประการนอกเหนือจากเครื่องมือวัดการกระเจิงแบบอื่นๆ  เนื่องจากนิวตรอนเป็นอนุภาคที่ไม่มีประจุจึงทำให้เกิดการกระเจิงได้ดีกว่าอนุภาคอื่นเพราะจะไม่มีผลกระทบเนื่องจากการผลักหรือดูดกันของประจุที่ทำการวัดกับประจุที่อยู่ในโครงสร้าง โดยสามารถให้ข้อมูลต่างๆ เช่น การกระจายตัวของโฟนอน (The Phonon dispersion) และพลศาสตร์สปินแลตทิซ (Spin lattice dynamics) และความหนาแน่น สถานะโดยสามารถแยกแยะ สมบัติทางแม่เหล็กของสารเจือแบบต่างๆ ได้อย่างชัดเจน
        การทดลองการกระเจิงของนิวตรอนจะวัดผลของการกระเจิงที่ทำให้นิวตรอนมีโมเมนตัมเปลี่ยนไป Q  มีพลังงานเปลี่ยนไป ω โดยศึกษาฟังก์ชัน SAB(Q,ω)   แล้วจะแปลงเป็นข้อมูลในรูปปริภูมิเสรีและเวลาของฟังก์ชันกรีนต่อไป GAB(r,t)   โดยการวัดด้วยการกระเจิงของนิวตรอนนั้นมีหลายประเภทและให้ข้อที่แตกต่างกัน  ซึ่งมีทั้งที่แสดงด้วยภาพหรือการแสดงด้วยปริมาณบางอย่างที่น่าสนใจ แต่ข้อมูลทั้งหมดจะแสดงถึงสมบัติทางแม่เหล็กหรือองค์ประกอบที่แสดงถึงสมบัติทางแม่เหล็กของตัวนำยวดยิ่งนั้นๆด้วย
รูปแสดงการจัดเรียงอุปกรณ์การวัดการกระเจิงของนิวตรอน
(ที่มา : พงษ์แก้ว อุดมสมุทรหิรัญ)

[1]

  1. พงษ์แก้ว อุดมสมุทรหิรัญ. 2559. ตัวนำยวดยิ่งพื้นฐาน. หน้า 21-23. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย