ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Nanthiphoom Yongkiadtikan/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนเสนพงศ์ (ภาษาอังกฤษ: Senpong School) เป็นโรงเรียนเอกชนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นประเภทสามัญศึกษา มีพื้นที่จำนวน 10 ไร่ 2 งาน 50.5 ตารางวา ซึ่งโรงเรียนนี้ได้เปิดการเรียนการสั่งสอนตั้งแต่ชั้นเตรียมอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยก่อสร้างในวันอังคาร ที่ 5 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) ณ เลขที่ 161/1 ถนนปาดังเบซาร์ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 90120

โดยมีนางรวีวรรณ ภูวัชร์วรานนท์เป็นผู้อำนวยการของโรงเรียนเสนพงศ์ และมีนายตฤณกร เสนพงศ์เป็นผู้จัดการของโรงเรียนเสนพงศ์และในปีการศึกษา 2566 มีนักเรียนทั้งหมด 856 คนและยังมีบุคลากรโรงเรียนทั้งหมด 74 คน

ข้อมูลหลักของโรงเรียนเสนพงศ์[1][แก้]

ปรัญชาโรงเรียนคือ ความรู้ดี มีอนามัย ใฝ่คุณธรรม

-ความรู้ดี หมายถึง เน้นความมุ่งมั่นในการจำ ซึ่งเริ่มจากความที่จำง่ายๆ จนไปถึงความจำที่สูงขั้น เพื่อให้นักเรียนทันกับเทคโนโลยีและมีทักษะด้านคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาและบริหารจัดการ มีความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

-มีอนามัย หมายถึง ปลูกฝังการมีสุขภาพอนามัยที่ดี สมบูรณ์ดีทางด้านร่างกายและจิตใจและสามารถดำรงชีพในสังคมไทยอย่างมีความสุข

-ใฝ่คุณธรรม หมายถึง มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการฝึกฝน ทำความดีและมีคุณธรรมและจริยธรรม มีค่านิยมที่ดีสง่างามและมีความภูมิใจในความเป็นไทยและปฎิบัติตามระเบียบศาสนาของตนนับถือ ปฎิบัติตนในชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข

สุภาษิตประจำโรงเรียนคือ ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย (หมายถึงปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์)

สีประจำโรงเรียน คือ ม่วง - ขาว

-โดยสีม่วงหมายถึง ความเข้มแข็ง อดทน เป็นผู้นำ

-ส่วนสีขาวหมายถึง ความสะอาดและบริสุทธิ์

ต้นไม้ประจำโรงเรียนคือ ต้นดอกศรีตรัง

ประวัติของโรงเรียนเสนพงศ์[แก้]

ในวันอังคาร ที่ 5 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 มีนายวีระ เสนพงศ์ และนางเครือวัลย์ เสนพงศ์ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ทั้งหมด 10 ไร่ 2 งานและ 50.5 ตารางวาแล้วได้ดำเนินการกิจการโรงเรียนเสนพงศ์เพื่อนทุนส่วนตัวทั้งสิน ทำให้โรงเรียนเสนพงศ์คงอยู่ในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาใน ณ ปัจจุบันนี้

หลักสูตรของโรงเรียนเสนพงศ์[แก้]

ในโรงเรียนเสนพงศ์ในแต่ละชั้นและมีห้องเรียนพิเศษและห้องเรียนธรรมดา (ยกเว้นชั้นเตรียมอนุบาลศึกษาซึ่งมีอยู่ห้องเดียว) ซึ่งมีอยู่ดังนี้

ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 - 3 จะมีทั้งหมด 2 ห้องเป็นห้องเรียนพิเศษและจำนวน 1 ห้องและห้องเรียนธรรมดาอยู่ทั้งหมด 2 ห้อง (รวมเป็นชั้นอนุบาลศึกษาละ 3 ห้อง)

-ห้องเรียนพิเศษ Gifted (ห้องเรียนนี้จะลงท้ายด้วย " / 1 ") จะมีทักษะการเรียนการสั่งสอนสูงกว่าห้องเรียนธรรมดา

-ห้องเรียนพิเศษประเภท Smart (ห้องเรียนนี้จะลงท้ายด้วย " / 2 ") จะมีทักษะการเรียนการสั่งสอนสูงกว่าห้องเรียนธรรมดาเช่นกัน

-ห้องเรียนธรรมดา (ห้องเรียนนี้จะลงท้ายด้วย " / 3 ") จะมีทักษะการเรียนการสั่งสอนแบบธรรมดา (อยู่ ณ อาคารรวีวรรณ)

การเรียนการสั่งสอนของอนุบาลศึกษาจะมีเป็นการเรียนนอกห้องเรียนประจำชั้นด้วย เช่น พลศึกษา ศิลปะและนาฎศิลป์

ส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จะมีทั้งหมด 2 ห้องเป็นห้องเรียนพิเศษและอีก 2 ห้องเป็นห้องเรียนธรรมดา (รวมเป็นชั้นประถมศึกษาละ 4 ห้อง)

-ห้องเรียนพิเศษประเภท SMP (Science Math Program) จะมีอยู่จำนวนทั้งหมด 6 ห้อง (ห้องเรียนนี้จะลงท้ายด้วย " / 1 ") ห้องเรียนพิเศษนี้จะมีนักเรียนที่มีทักษะด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางวันจะมีคาบ 0 ซึ่งเป็นเวลาเข้าแถวหน้าเสาธงและจะมีเครื่องปรับอากาศในห้องด้วย (อยู่ ณ อาคารมงคลเสนพงศ์)

-ห้องเรียนพิเศษประเภท Smart จะมีอยู่จำนวนทั้งหมด 6 ห้องเช่นกัน (ห้องเรียนนี้จะลงท้ายด้วย " / 2 " ห้องเรียนพิเศษมีจะมีนักเรียนที่มีทักษะด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางวันจะมีคาบ 0 ซึ่งเป็นเวลาเข้าแถวหน้าเสาธงและจะมีเครื่องปรับอากาศในห้องด้วยเช่นกัน (อยู่ ณ อาคารมงคลเสนพงศ์)

-ห้องเรียนธรรมดา จะมีอยู่จำนวนทั้งหมด 12 ห้อง (ห้องเรียนนี้จะลงท้ายด้วย " / 3" และ " / 4") ห้องเรียนธรรมดาจะไม่มีเครื่องปรับอากาศและคาบ 0 (ยกเว้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่านั้น) แต่การเรียนการสั่งสอนจะเป็นตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ โดยที่ห้องเรียนพิเศษอาจจะมีการเรียนการสั่งสอนสูงกว่าหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเล็กน้อย (ไม่แน่นอน)

อ้างอิง[แก้]

  1. VTR FAV S, สืบค้นเมื่อ 2024-04-04 (ข้อมูลทั้งหมดถูกสรุปในคลิปนี้.)