ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Namfon jaja/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

[1]

ตราสัญลักษณ์โรงเรียนบ้านท่าโป่ง
นายไพโรจน์ เคนวิเศษ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าโป่ง

โรงเรียนบ้านท่าโป่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๓[แก้]

โรงเรียนบ้านท่าโป่ง ม.๔ ต.วังตะเฆ่ อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ๓๖๒๕๐ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๓ เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล-ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เป็นโรงเรียนขยายโอกาสขนาดกลาง

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

๑. ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนบ้านท่าโป่ง ตั้งอยู่ที่ บ้านท่าโป่ง หมู่ที่ ๔ ถนนชัยภูมิ – นครสวรรค์ ตำบลวังตะเฆ่ อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ รหัสไปรษณีย์ ๓๖๒๕๐ โทรศัพท์ ๐๔๔-๘๗๐๔๒๗ website http://www.thai-school.net/tapongschool สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต ๓ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
๒. เปิดสอนตั้งแต่ระดับ ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
๓. มีเขตพื้นที่บริการ ๔ หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ ๔ บ้านท่าโป่ง
- หมู่ที่ ๘ บ้านโนนม่วง
- หมู่ที่ ๑๐ บ้านวังน้ำเขียว
- หมู่ที่ ๑๗ บ้านโป่งนคร

ประวัติโดยย่อ[แก้]

โรงเรียนบ้านท่าโป่ง จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๑๖ โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เริ่มแรกจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษา ๑-๔ มีนักเรียนทั้งสิ้น ๓๐ คน มีนาย สด จริยพันธ์ เป็นครูใหญ่คนแรก อาคารเรียนได้จากบ้านพักคนงานของโรงเลื่อยห้วยยายจิ๋วยกให้ ซึ่งปัจจุบันอาคารหลังนี้ได้รื้อไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงพอสรุปได้ดังนี้
พ.ศ. ๒๕๑๘ นายชะมัด บุญญานุสนธ์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
พ.ศ. ๒๕๒๗ นายสมหมาย สุปินะ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่
พ.ศ. ๒๕๒๘ โรงเรียนมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้นจึงได้รับการปรับตำแหน่งผู้บริหารเป็นตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ นายสมหมาย สุปินะ เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก
พ.ศ. ๒๕๓๒ นายคำพา เคล้าโนนคร้อ ย้ายมาดำรงตำแหน่งในปีเดียวกันนี้โรงเรียนได้รับอนุญาตเปิดสอนชั้นเด็กเล็ก
พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับอนุมัติให้เป็นโรงเรียนนำร่องขยายโอกาสขั้นพื้นฐานเป็นสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเปิดสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๑ จำนนวน ๒ ห้องเรียน
พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับอนุมัติจัดการศึกษาก่อนระดับประถมศึกษาเป็นแบบอนุบาลชนบทโดยเปิดการสอนชั้นอนุบาล ๑ และชั้นอนุบาล ๒
พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับอนุมัติให้มีตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ ๒ ตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๓๘ โรงเรียนได้ขอกำหนดปรับตำแหน่ง ผู้บริหารโรงเรียนจากอาจารย์ใหญ่เป็นผู้อำนวยการ นายคำพา เคล้าโนนคร้อ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรก
พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับอนุมัติให้ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ทั้ง ๒ คนเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนทั้ง ๒ ตำแหน่งและในปีเดียวกันนี้ได้เปิดสอนนักเรียนอนุบาล ๓ ขวบ โดยเปิด ๒ ห้องเรียน
พ.ศ. ๒๕๔๐ นายมานิจ ดามาพงศ์ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแทน นายคำพา เคล้าโนนคร้อ ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนชุมชนหนองบัวระเหว
พ.ศ. ๒๕๔๙ - ปัจจุบัน นายไพโรจน์ เคนวิเศษ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการแทน นายมานิจ ดามาพงศ์ ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนบ้านโป่งขุนเพชร
ในปัจจุบัน(ปีการศึกษา ๒๕๕๗) โรงเรียนได้เปิดทำกรสอนเป็น ๔ ระดับคือ
๑) ระดับก่อนประถมศึกษา เปิดสอนชั้นอนุบาล ๑-๒ ชั้นละ ๒ ห้องเรียน
๒) ระดับประถมศึกษา เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ ๑-๖ ชั้นละ ๒ ห้องเรียน
๓) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๓ ห้องเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๓ ห้องเรียน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๒ ห้องเรียน
๔) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๕ จำนวน ๒ ห้องเรียน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ ห้องเรียน

ปรัชญา/สุภาษิต คำขวัญและสีประจำโรงเรียน[แก้]

ปรัชญา/สุภาษิต โยคา เว ชายเต ภูริ หมายถึง ปัญญาย่อมเกิดขึ้นเพราะการฝึกฝน
คำขวัญ ใฝ่รู้ ใฝ่ทำแต่ความดี เป็นวิถีนำชัยให้ชีวิต
สีประจำโรงเรียน เขียว – ขาว
สีเขียว หมายถึง....ความสมบูรณ์ ความเจริญงอกงามรุ่งเรือง ความเพียบพร้อม
สีขาว หมายถึง....ความบริสุทธิ์ ความสะอาด ปราศจากสิ่งมัวหมอง

อัตลักษณ์สถานศึกษา[แก้]

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ

มาตรการส่งเสริม[แก้]

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
รักษามาตรฐานการจัดการศึกษาและพัฒนาสู่สถานศึกษาต้นแบบ

วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์[แก้]

วิสัยทัศน์ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
พันธกิจ
ส่งเสริม……การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร และได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
สนับสนุน…การจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และจัดกระบวนการวัดผลประเมินผลจากสภาพจริง
พัฒนา…….แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและจำเป็นของผู้เรียน และท้องถิ่นโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและประชาคมอาเซียน
ปรับปรุง…ระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน และยึดหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์
๑. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม ความสามารถ ความสนใจ และได้รับการบริการตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
๒. ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
๓. บุคลากรครูจัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
๔. บุคลากรครูมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ
๕. สถานศึกษามีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
๖. สถานศึกษามีแหล่งเรียนรู้ นวัตกรรม สื่อ เทคโนโลยี อุปกรณ์ที่เหมาะสมและเพียงพอ
๗. สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องสถานศึกษามีสภาพแวดล้อมและการบริการที่เหมาะสม มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบบนพื้นฐานการมีส่วนร่วม ผู้เรียน ชุมชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในการบริหารจัดการ

ข้อมูลบุคลากร ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๗[แก้]

ตำแหน่ง จำนวน
ผู้บริหาร
ข้าราชการครู ๒๙
พนักงานราชการ
ลูกจ้างชั่วคราว
ครูอัตราจ้าง
ครูธุรการ
ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ
รวมทั้งสิ้น ๔๒

ข้อมูลนักเรียน ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๗[แก้]

ระดับชั้น จำนวน
อนุบาล ๑ ๔๒
อนุบาล ๒ ๔๔
ประถมศึกษาปีที่ ๑ ๔๗
ประถมศึกษาปีที่ ๒ ๔๕
ประถมศึกษาปีที่ ๓ ๔๓
ประถมศึกษาปีที่ ๔ ๔๙
ประถมศึกษาปีที่ ๕ ๔๘
ประถมศึกษาปีที่ ๖ ๓๖
มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๗๔
มัธยมศึกษาปีที่ ๒ ๙๒
มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ๕๐
มัธยมศึกษาปีที่ ๔ ๕๖
มัธยมศึกษาปีที่ ๕ ๕๔
มัธยมศึกษาปีที่ ๖ ๔๓
รวมทั้งสิ้น ๗๒๓

สภาพชุมชนโดยรวม[แก้]

โรงเรียนบ้านท่าโป่ง มีเขตบริการ ๔ หมู่บ้าน คือ
๑. หมู่ที่ ๔ บ้านท่าโป่ง จำนวน ๑๖๗ ครอบครัว
ชาย ๔๔๐ คน หญิง ๔๐๓ คน รวม ๘๔๓ คน
๒. หมู่ที่ ๘ บ้านโนนม่วง จำนวน ๑๘๑ ครอบครัว
ชาย ๓๙๐ คน หญิง ๓๘๕ คน รวม ๗๗๕ คน
๓. หมู่ที่ ๑๐ บ้านวังน้ำเขียว จำนวน ๖๕ ครอบครัว
ชาย ๑๕๕ คน หญิง ๑๕๐ คน รวม ๓๐๕ คน
๔. หมู่ที่ ๑๗ บ้านโป่งนคร จำนวน ๑๗๕ ครอบครัว
ชาย ๔๒๗ คน หญิง ๔๓๘ คน รวม ๘๖๕ คน
รวมทั้งสิ้นในเขตบริการ มีประชากร ๒,๗๘๘ คน เป็นชาย ๑,๔๑๒ คน เป็นหญิง ๑,๓๗๖ คน
อาชีพและสภาพในชุมชน
สภาพชุมชนโดยทั่วไปเป็นลักษณะของสังคมชาวเกษตร ที่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเป็นหลัก เช่น ทำนา ทำสวน ปลูกพืชไร่ตามฤดูกาล คือ มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย พริก ยางพารา เก็บของป่า หัตถกรรมพื้นบ้าน และรับจ้างทั่วไป โดยมีรายได้เฉลี่ย ประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี เมื่อเสร็จฤดูกาลทำไร่ ทำสวนแล้ว ผู้ปกครองนักเรียนมักจะไปประกอบอาชีพรับจ้างในตัวเมืองใหญ่ ๆ และได้ปล่อยบุตรหลานซึ่งอยู่ในวัยเรียนไว้กับปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติเป็นส่วนใหญ่
ศาสนา และวัฒนธรรม
ชุมชนในเขตบริการส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีชาวบ้านบางส่วนในหมู่บ้านโป่งนคร ที่นับถือศาสนาคริสต์ ในแต่ละหมู่บ้านมีวัดประจำหมู่บ้าน ในวันพระและวันสำคัญทางศาสนา วัดจะเป็นศูนย์รวมขอ'ชาวบ้านไปทำบุญและกิจกรรมต่างๆ ที่วัดเป็นประจำ นอกจากนี้ ขนบธรรมเนียมประเพณีของหมู่บ้านก็ยังรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ เช่น การเวียนเทียน การแห่เทียนจำนำพรรษา ลอยกระทง ประเพณีฮีด ๑๒ คอง ๑๔ เป็นต้น
โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน
ด้านโอกาส ชุมชนและผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษา โดยผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนและสถานศึกษา ได้ร่วมกันเสนอขออนุญาตเปิดขยายชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อให้บุตรหลานได้มีโอกาสเข้าเรียนในระดับที่สูงขึ้น และให้ความร่วมมือในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาเป็นอย่างดี บริบทของชุมชนมีแหล่งเรียนรู้หลากหลาย เช่น อุทยานแห่งชาติไทรทอง น้ำตกไทรทอง ทุ่งบัวสวรรค์ ป่าไม้ ลำธาร ป่าสมุนไพร ป่าชุมชนเขาวง นครพอเพียง สวนหินธรรมชาติ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้เชิงระบบนิเวศเป็นอย่างดี
ด้านข้อจำกัด ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน การสนับสนุนทรัพยากรในการพัฒนาการศึกษาเป็นไปตามอัตภาพ และการที่ผู้ปกครองต้องอพยพแรงงานไปรับจ้างต่างถิ่น ปล่อยบุตรหลานซึ่งอยู่ในวัยเรียนไว้กับปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติ ส่งผลให้บุตรหลานขาดความอบอุ่น มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

บริบทโรงเรียน[แก้]

  1. ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนบ้านท่าโป่ง