ผู้ใช้:Namfon Chalemram/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชื่อ : นางสาวน้ำฝน เฉลิมรัมย์
ที่อยู่ : 308 ม.8 ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
การศึกษา : กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาณ นครราชสีมา คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาระบบสารสนเทศ ชั้นปีที่ 3
ตำแหน่งงานที่สนใจ : IT Manager เพราะเป็นงานที่ได้ใช้ความรู้ทางด้านบริหารและคอมพิวเตอร์ที่เรียนมาให้เกิดประโยชน์
คำคม : ถ้าไม่รู้จักคำว่ากล้า ชีวิตก็ไม่มีวันเดินหน้า

Internet Error Codes และความหมาย [แก้]

บางครั้งในเวลาที่คุณท่องอินเทอร์เน็ตและพยายามที่จะเปิดเว็บไซต์ที่ต้องการของคุณแต่ดันเกิด error ขึ้นแล้วก็ขึ้นอะไรก็ไม่รู้มาในหน้าต่างดูรหัสข้อผิดพลาดแล้วก็ไม่ค่อยเข้าใจเพราะมันมีข้อแตกต่างกัน คุณควรจะรู้ข้อมลเกี่ยวกับรหัสข้อผิดพลาดเหล่านี้ จะได้สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ถ้าคุณ รู้จัก กับความหมายรหัสความผิดพลาดต่าง ๆ ไว้บ้าง




รหัสข้อผิดพลาดตามความหมาย

  • 400 นี้เป็นข้อผิดพลาดคุณอาจจะพิมพ์ชื่อ URL ผิดและเซิร์ฟเวอร์ไม่เข้าใจคำที่พิมพ์ลงไป
  • 401 คุณพยายามเปิดใช้งานเว็บไซต์ไม่ได้รับอนุญาตหรือการตรวจสอบชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของคุณในการพยายามเปิดหน้าเว็บ
  • 402 การร้องขอในกรณีของการชำระเงินที่ระบบต้องการบางเว็บเท่านั้น
  • 403 คุณพยายามที่จะเปิดหน้าเว็บต้องห้ามและคุณจะถูกบล็อกโดยโดเมนทันที
  • 404 คุณพยายามเปิดชื่อหน้าเว็บที่ถูกลบ หรือต้องทำการตรวจสอบการสะกด URL อีกทีอาจจะพิมพ์ผิดหรือกรอกชื่อเว็บต่างๆไม่ถูกต้อง
  • 408 เป็นข้อผิดพลาดการหมดเวลาการใช้งานหน้าเว็บนี้ ต้องทำการร้องขอกับเว็บนั้นๆใหม่
  • 500 เป็นข้อผิดพลาดภายในมักจะเกิดจากข้อผิดพลาดของ CGI ตอนคุณกรอกแบบฟอร์ม แต่ script ที่ใช้ในการดำเนินการไม่ทำงานอย่างถูกต้อง
  • 503 ไม่สามารถใช้บริการได้ อาจเกิดจากเซิร์ฟเวอร์อาจจะมีการใช้งานมากเกินไปลงหรือมีปัญหาที่คล้ายกัน ให้ลองใหม่ภายหลัง


5 วิธีง่ายๆที่จะช่วยลดและประหยัดพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ใน Windows 7[แก้]


1.ใช้ เครื่องมือ Disk Cleanup
Disk Cleanup เป็นเครื่องมือที่ติดมากับ Windows 7 ที่จะช่วยลบไฟล์ข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์หรือไฟล์ขยะ(temporary files) เช่น ไฟล์ที่เกิดจากการใช้งาน Internet Explorer หรือไฟล์ที่ค้างอยู่ในถังขยะ วิธีใช้งาน Disk Cleanup
- เข้า Windows Explorer หรือ (my)Computer คลิกขวาในไดรว์ที่ต้องการใช้ Disk Cleanup แล้วเลือก Properties
- คลิกที่ Disk Cleanup จะเจอกับเครื่องมือสำหรับเลือกลบไฟล์ขยะต่างๆ เลือกลบไฟล์ตามหัวข้อของโปรแกรม

2.ถอนโปรแกรมที่ไม่ค่อยได้ ใช้งานออกไปบ้าง
เราสามารถถอนโปรแกรมต่างๆที่ติดตั้งเข้าไปใน Windows 7 โดยใช้เครื่องมือ Uninstall a program โดยเข้าไปที่ Control Panel และคลิกที่ Uninstall a program.

3.ปิดการ ทำงานโปรแกรมเสริมที่มากับ Windows ที่ไม่ค่อยได้ใช้
ใน Windows 7 จะมีโปรแกรมเสริมต่างๆมากมายที่แถมมาให้พร้อมกับตัว Windows โดยการ เข้าไปที่ Control Panel. คลิกที่ Programs. คลิก Enable or disable Windows features เอาเครื่องหมายถูกตรงหน้าโปรแกรมเสริมที่ไม่ต้องการใช้งานออก เพื่อปิดการทำงานของโปรแกรมนั้นๆ จะสามารถช่วยประหยัดพื้นที่ได้นิดหน่อย

4.ปิด ระบบ System Restore
System Restore คือตัวที่จะช่วยคืนค่าการทำงานต่างๆของวินโดว์ ให้กลับไปยังวันที่ต้องการได้ โดนคุณสมบัตินี้จะใช้พื้นที่ในการสำรองข้อมูลมากพอสมควร เราสามารถปิดการทำงานในส่วนนี้ได้ โดย
- คลิกขวาที่ My Computer และเลือก Properties
- คลิกที่แท็บ System Protection
- เลือกไดรว์ที่ต้องการปิด System Restore แล้วกด Configure
- คลิกที่ Turn off system protection.
- กด OK เป็นอันเสร็จ

5.ปิด การทำงาน Hibernate
Hibernate เป็นคุณสมบัติที่ใช้ในการปิดเครื่องแบบด่วน คือกดปุ๊บแล้วเครื่องจะปิดทันที โดยการโอนถ่ายข้อมูลจาก RAM ขณะนั้นมาใส่ใน HDD เวลาเราเปิดเครื่องครั้งต่อไป วินโดว์ก็จะกลับมาทำงานก่อนที่จะกด Hibernate วิธีปิดการทำงาน Hibernate
- ไปที่ run พิมพ์ cmd แล้ว กด ok
- พิมพ์คำสั่ง powercfg /hibernate off แล้วกด enter เพียงง่ายๆเท่านีเราก็สามารถประเนื้อที่ ฮาร์ดดิสก์ ได้แล้ว

การใช้ตัวอักษรที่มองไม่เห็น[แก้]

ขอเสนอทิป ที่อาจมีประโยชน์ สำหรับบางท่านที่ใ่ช้ในการตั้งชื่อไฟล์ และ ชื่อ อื่น ๆ บนระบบคอมพิวเตอร์หน่อยครับก่อนอื่นเวลาที่คุณต้องใส่ชื่อ หรือตั้งชื่อ ไม่ว่าจะตั้งชื่อไฟล์ ชื่ออีเมล์ และอื่น ๆ อีกมากมาย แล้วต้องการเว้นช่องว่างสำหรับบางคำ ก็เลยใช้ Space Bar ในการเว้นช่องว่างซึ่งคิดว่าเป็นหนทางเดียวพอตั้งเสร็จได้ชื่อที่สมดังใจพร้อมด้วยการเว้นวรรคด้วย แต่เจ้าโปรแกรมเจ้ากรรมดังกล่าวมันดันไม่ยอมให้เราตั้งชื่อเว้นวรรคซะงั้น ทำไงดีมีทางแก้ไหมมีแน่นอนเพราะว่าในความเป็นจริงมันยังมีอักขระที่มองไม่เห็น ! อักขระพิเศษนี้จะเท่ากับหนึ่งตัวอักษร แต่ว่ามันจะไม่แสดงให้เราเห็นเท่านั้นเอง เราจึงใช้มันแทนการเว้นวรรคได้ ทีนี้เราก็ได้ชื่อแบบมีเว้นวรรคสมใจแล้วมาดูกันเลย

การใช้งานตัวอักษรพิเศษแบบไม่แสดงตัวอักษร[แก้]

การเรียกใช้งานเมื่อเรากำลังพิมพ์ข้อความต่าง ๆ ให้เรากดปุ่ม ALT ค้างไว้ แล้วพิมพ์ 0160 ทีละตัวเลขตอนพิมพ์ตัวเลขให้กด ALT ค้างไว้ด้วยตลอด ( Alt+0160 ) บนแป้นพิมพ์ตัวเลขด้านขวาของคีย์บอร์ด พอพิมพ์ตัวเลขครบทั้ง 4 ตัวให้ปล่อยปุ่ม ALT ที่กดค้างไว้เรา จะสังเกตุเห็นว่าเคอร์เซอร์ที่เราพิมพ์ข้อความอยู่มันเว้นวรรคไปหนึ่งตัวอักษษซึ่งความจริงมันไม่ได้เว้นวรรค แต่มันพิมพ์อักขรพิเศษ ที่มองไม่เห็นให้เราแทน วิธีการใช้ตัวอักษรที่มองไม่เห็น

  1. คุณสามารถใช้มันเป็นที่อยู่อีเมลเนื่องจากปกติที่อยู่อีเมล์จะไม่ให้เราเว้นวรรค ( ข้อความระวังตั้งแบบนี้ต้องคิดถึงคนส่งอีเมล์ด้วยครับเขาคงไม่รู้ว่าเราพิมพ์ตัวอะไรตรงนั้น )
  2. ตั้งชื่อให้กับ ไอคอน บน เดสก์ทอปของคุณให้เป็นชื่อว่าง ๆ เอาไว้โชว์คนอื่น ๆ ได้ ( จะใช้ไม่ได้กับ My Computer, My Documents และ ไอคอน program )การเปลี่ยนชื่่อ ของไอคอนทำได้ดังนี้คลิกที่ไอคอนหนึ่งครั้ง จากนั้น กดปุ่ม F2พิมพ์รหัสตัวอักษรของเรามองไม่เห็น ( Alt +0160 ) แล้วเราก็จะได้ชื่อไอคอนที่ไม่มีชื่อ แล้ว แจ๋วดี


Technology LAN[แก้]

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย หรือที่เรียกว่า Network Topologies คือการแบ่งแยกการเชื่อมต่อเครือข่าย LAN ในลักษณะเชิงกายภาพ (Physical Topology) โดยมี 4 รูปแบบ ดังนี้

1. Bus Network Topology

รูปแบบการเชื่อมต่อแบบบัสจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวกัน(Backbone)โดยจำเป็นต้องมี T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ และจำเป็นต้องมี Terminator ปิดที่ด้านท้ายและหัวของสายสัญญาน เพื่อดูดซับไม่ให้สัญญาณสะท้อนกลับการส่งผ่านข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้งสองด้านที่เครื่องนั้นได้เชื่อมต่ออยู่ โดยเครื่องปลายทางจะคอยตรวจสอบแพ็คเกจว่าตรงกันกับตำแหน่งของตนเองหรือไม่ หากไม่ก็จะผ่านไปเมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่กำลังส่งข้อมูลอยู่ เครื่องอื่นๆจะไม่สามารถส่งข้อมูลได้ เนื่องจากสายสัญญาณเป็นสื่อกลางที่ใช้ร่วมกัน ดังนั้นหากมีการเชื่อมต่อแบบบัสจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงจำนวนเครื่องที่จะใช้ในเชื่อมต่อเครือข่าย

  • ข้อดี

ของการเชื่อมต่อรูปแบบบัสนี้คือมีรูปแบบการเชื่อมต่อที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ตัวอย่างเช่นหากมีการเชื่อมต่ออยู่แล้ว 2 เครื่องก็สามารถเพิ่มเป็น 3 เครื่องด้วยวิธีการถอด Terminator ที่ปลายสาย จากนั้นนำเครื่องที่ 3 พร้อมสายสัญญานอีกอันมาต่อ จากนั้นจึงปิด Terminator ที่ด้านท้ายสุดเช่นเดิม

  • ข้อเสีย

ปัจจุบันอุปกรณ์หาซื้อได้ยาก เช่น NIC หรือการ์ด LAN ที่มีพอร์ทที่สามารถเชื่อมต่อ T-Connector หาซื้อไม่ได้แล้ว ระบบบัสแทนที่จะง่าย ปัจจุบันกับเป็นเรื่องยากนั่นเอง ขอเสียด้านการส่งข้อมูลอย่างที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นคือระบบบัสจะมี backbone เพียงแค่ตัวเดียว การส่งข้อมูลจึงส่งได้ทีละเครื่อง ประการที่สอง เมื่อการส่งข้อมูลมีปัญหา จะสามารถตรวจสอบได้ยาก เนื่องจากทุกอุปกรณ์ต่างก็เชื่อมต่อเข้ากับสายแกนหลักทั้งหมด หากสายสัญญาณชำรุดระบบก็จะล่มทั้งหมด นอกจากนี้การส่งผ่านระหว่างเครื่องสู่เครื่องด้วยระบบบัสยังมีจำกัดเรื่องระะห่างที่ไม่มาก เพราะสัญญาณข้อมูลอาจส่งไปไม่ถึง


2. Ring Network Topology

Ring Topology เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันโดยมีลักษณะเป็นวงกลมหรือวงแหวน (Ring Topology บางระบบสามารถส่งได้ 2 ทิศทาง) โดยจะมีเครื่อง Server ในการปล่อย Token เพื่อตรวจสอบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดต้องการส่งข้อมูลหรือไม่ เครื่องใดที่ต้องการส่งข้อมูลก็จะต้องรอให้เครื่องอื่นๆส่งข้อมูลให้เสร็จสิ้นเสียก่อน (เช่นเดียวกับบัส)

  • ข้อดี

การส่งข้อมูลสามารถส่งไปยังผู้รับหลาย ๆ เครื่องพร้อมกันได้ โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงไปในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล ซึ่ง repeater ของแต่ละเครื่องจะคอยตรวจสอบเองว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่

  • ข้อเสีย

หากวงแหวนชำรุดหรือขาด จะส่งผลกระทบต่อระบบทั้งหมด และตรวจสอบได้ยากเช่นเดียวกันหากระบบเกิดมีปัญหา


3. Mesh Network Topology

Mesh Topology ถือว่าเป็นการเชื่อมโยงแบบ point to point โดยแต่ละเครื่องจะมีการเชื่อมโยงที่เป็นของตนเอง

  • ข้อดี

รูปแบบเมชคือไม่มีการแชร์ข้อมูลกันระหว่างเครื่องใดๆ จึงสามารถใช้แบนด์วิดท์ (bandwidth) ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากเป็นกันสื่อสารกันระหว่าง 2 เครื่องไม่มีเครื่องอื่นๆเลย

  • ข้อเสีย

เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายที่สิ้นเปลืองสายสื่อสารมากที่สุด


4. Star Network Topology

Star Topology เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch (จะกล่าวถึงอุปกรณ์ network ในบทต่อไป) โดยอุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องต่างๆในระบบ LAN ข้อดีของระบบแบบดาวนี้คือสามารถควบคุมดูแลได้สะดวกเนื่องจากมีจุดควบคุมอยู่ที่จุดเดียว เมื่อเครื่องใดเครื่องหนึ่งเกิดชำรุด ระบบก็จะยังคงทำงานได้ตามปรกติ การส่งข้อมูลไม่จำเป็นต้องรอคอยเครื่องใดๆสามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เป้าหมายได้เลย

  • ข้อดี

แม้การสื่อสารเครื่องใดๆมีปัญหาก็จะสามารถทราบได้ทันทีว่าเครื่องใดชำรุด และถึงแม้เครื่องนั้นๆจะชำรุดก็ไม่ส่งผลใดๆไปยังระบบส่วนรวม กรณีที่ฮับหรือสวิตช์ชำรุดก็สามารถทราบและดำเนินการแก้ไขได้ในทันที Star Topology จึงเป็นรูปแบบที่เป็นที่นิยมมากที่สุดและใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

  • ข้อเสีย

ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ได้แก่ เครื่องสวิตช์หรือฮับ รวมถึงอุปกรณ์สายสัญญาณที่ต้องสิ่นเปลืองกว่าระบบอื่นๆ ประการที่สอง หากอุปกรณ์ที่เป็นศูนย์กลางชุดรุดระบบก็จะไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ

Technology WAN[แก้]

เครื่อข่ายสวิตชิ่ง (Switching Networks) ประกอบด้วยโหนดส่งข้อมูล เวลาส่งข้อมูลจะต้องผ่านโหนดแต่ละโหนด แบบจุดต่อจุด เป็นการเชื่อมต่อแบบ มัลติเพล็ก โดยใช้สายส่งข้อมูลร่วมกัน ซึ่งมัลติเพล็กซ์ที่ใช้เป็น FDM TDM เพื่อลดค่าใช้จ่าย มีด้วยกัน 3 แบบ คือ

1. เครือข่ายเซอร์กิตสวิตซ์ (Circuit Switching Networks)
เป็นเครือข่ายที่ใช้เวลาในการส่งข้อมูลนานเพราะต้อง request และ acknowledge กันก่อน เช่น เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ เหมาะที่จะใช้กับระบบ ATM มากที่สุด และเหมาะกับระบบตลาดหลักทรัพย์ การเงิน การบริการดาต้าเน็ต ข้อมูลส่วนใหญ่เป็น Analog

2. เครือข่ายแมสเสจสวิตซ์ (Message Switched Networks)
เหมาะสำหรับการส่งข้อมูลแบบ Digital ข้อมูลจะถูกส่งแบบ block เรียกว่า message เช่น โทรเลข e-mail หรือ file computer เรียกอีกย่างว่า “store and forward” ในแต่ละ block ประกอบด้วยหัวและท้ายข้อมูล (Overhead) จุดเริ่มต้นข้อมูล (SOM) บิตอักขระกำหนดต้นทางปลายทาง (ADD) บิตอักขระกำหนดจุดสิ้นสุดของ block ข้อมูล (EOM)

3. เครือข่ายแพคเกจสวิตซ์ (Packet Switched Networks)
สามารถส่ง block ข้อมูลขนาดใหญ่เท่าไหร่ก็ได้ โดยแบ่งเป็น Packet เมื่อข้อมูลเกิดความผิดพลาดไม่ต้องส่งข้อมูลใหม่ทั้งหมด แต่จะส่งเฉพาะตัวที่ผิดไปใหม่ ข้อมูลจะส่งแบบเรียงลำดับ ลักษณะการส่งมี 2 แบบ คือ

  • วงจรเสมือน ซึ่งเส้นทางการส่งข้อมูลจะไหลไปตามโหนดเรียงลำดับหมายเลขของ Packet และสามารถควบคุมการไหลของข้อมูลได้
  • วงจรดาต้าแกรม จะกำหนดเส้นทางการส่งข้อมูลหรือไม่ก็ได้ และเลือกเส้นทางขณะที่ส่งข้อมูลไปพร้อมๆกันก็ได้ Packet จะไม่เรียงลำดับ


ตารางเปรียบเทียบ OSI กับ TCP/IP[แก้]


>>>>>>>>>>> OSI <<<<<<<<<<<< >>>>>>>>>>>> TCP/IP <<<<<<<<<<<<<
7 Application Application FTP,Telnet,HTTP,SMTP,SNMP,DNS,etc
6 Presentation Application FTP,Telnet,HTTP,SMTP,SNMP,DNS,etc
5 Session Application
Host-to-Host
FTP,Telnet,HTTP,SMTP,SNMP,DNS,etc
TCP UDP
4 Transport Host-to-Host
TCP UDP
3 Network Internet
ICMP,IGMP ARP,RARP
IP ARP,RARP
2 Data Link Network Access Not Specified
1 Physical Network Access Not Specified


หน้าที่การทำงานของชั้นสื่อสาร[แก้]

ลำดับชั้น ชื่อชั้นสื่อสาร หน้าที่ของชั้นสื่อสาร
1. Physical เคลื่อนย้ายข้อมูลระดับบิตจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดถัดไป
2. Data link เคลื่อนย้ายเฟรมจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดถัดไป
3. Network ส่งมอบแพ็กเก็ตจากโฮสต์หนึ่งไปยังโฮสต์ปลายทาง
4. Transport ส่งมอบข่างสารจากโปรเซสต้นทางไปยังโปรเซสปลายทาง
5. Session ควบคุมการสื่อสารและการซิงโครไนซ์
6. Presentation แปลงข้อมูล เข้ารหัสข้อมูล และบีบอัดข้อมูล
7. Application จัดการงานบริการให้แก่ผู้ใช้


อ้างอิง[แก้]


http://www.superict.com/component/viewrecord.php?id=101&section_id=1&catagory_id=1
http://www.superict.com/component/viewrecord.php?id=68&section_id=1&catagory_id=17
http://www.superict.com/component/viewrecord.php?id=567&section_id=1&catagory_id=1
http://www.108like.com/computer/Network_Topologies.html
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=6955114b8553d173