ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Mylovewellshop/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile dysfunction)[แก้]


โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile dysfunction) หรือเรียกสั้นๆ ว่าโรคอีดี ซึ่งหมายถึง การที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวหรือแข็งตัวได้ไม่นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้สำเร็จจนเป็นที่พึงพอใจอยู่เป็นประจำหรืออย่างต่อเนื่อง

องคชาตแข็งตัวอย่างไร ?[แก้]


องคชาตประกอบไปด้วยแกน 3 แกนด้วยกัน การแข็งตัวขององคชาตจะต้องอาศัยแกนใหญ่ 2 แกนที่เรียกว่าคอร์ปัส คอเวอร์โนซั่ม (corpus cavernosum) ซึ่งประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อร่างแหคล้ายฟองน้ำ (sinusoid) ซึ่งร่างแหเหล่านี้ ก็คือเส้นเลือดแดงฝอยขององคชาตนั่นเอง

เมื่อมีการกระตุ้นทางเพศเกิดขึ้น ที่สำคัญที่สุดจะต้องมีการกระตุ้นผ่านสิ่งเร้าที่สมองส่วนที่เรียกว่า paraventricular nucleus (PVN) ซึ่งอยู่ในบริวณก้านสมองส่วนที่เรียกว่า hypothalamus เราเรียกกลไกนี้ว่า การแข็งตัวจากการกระตุ้นทางจิตใจ (psychogenic crection) ซึ่งระบบประสาทที่รับการกระตุ้นส่วนใหญ่จะเป็นชนิด dopamine receptor ชนิดที่ 2 จากนั้นคำสั่งจะผ่านมาทางไขสันหลังจนถึงไขสันหลังบริเวณก้นกบที่ระดับ 2-4 ซึ่งจะรวมกันเป็นปมประสาทที่เรียกว่า Sacral Plexus และแตกแขนงเป็นเส้นประสาท Cavernous (Cavemous nerve) ไปยังองคชาต ทำให้มีการพองตัวของเส้นเลือดที่เป็นร่างแหคล้ายๆ ฟองน้ำนี้เต็มที่ ก็กดเส้นเลือดดำที่ไหลออกจากองคชาตทำให้เลือดไหลออกจากองคชาตได้น้อยมาก องคชาตก็จะแข็งตัวเต็มที่

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเกิดจากสาเหตุใด ?[แก้]


1. ความล้มเหลวในการเริ่มต้น (Failure to initiate) อันมีสาเหตุจากปัญหาทางจิตใจ เนื้อเยื่อ ประสาท และฮอร์โมน

2. ความล้มเหลวในการแข็งตัว (Failure to fill) เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดแดง

3. ความล้มเหลวในการคงการแข็งตัวไว้ (Failure to store) จากความผิดปกติของเส้นเลือดดำทำให้เกิด Venous leakage

จากการศึกษาพบว่าสาเหตุด้านร่างกาย (Organic) สาเหตุด้านจิตใจ (Psychogenic) และทั้งสองสาเหตุร่วมกัน (Mixed ED) คิดเป็นร้อยละ 70, 11 และ 18 ตามลำดับ สำหรับสาเหตุทางร่างกายนั้น ที่พบบ่อยมักจะเกิดจากโรคเรื่อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน, เส้นโลหิตแข็งตัว จากอายุที่มากขึ้นหรือไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้พบได้ในรายที่มีการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง การผ่าตัดกระดูกเชิงกราน หรือการฉายรังสี การผ่าตัดต่อมลูกหมาก และ Multiple sclerosis เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการดื่มสุราจัด การสูบบุหรี่และจากยาหลายๆ ชนิด

คนไข้โรคอีดีจะต้องได้รับการรักษาทุกคนหรือไม่ ?[แก้]


คนไข้ที่มีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาทุกราย ถ้าคนไข้และคู่สมรสไม่รู้สึกเดือดร้อนที่ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่อย่างไรก็ตามคนไข้ที่มีปัญหานี้เป็นข้อบ่งชี้ว่า อาจจะเกิดจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ดังนั้นแม้ว่าไม่ต้องการจะมีเพศสัมพันธ์แล้ว ก็ควรจะได้รับการตรวจเช็คสุขภาพเพื่อประเมินโรคต่างๆ ดังกล่าว

การรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ[แก้]


1. การใช้ยา โดยยาที่ใช้จะมีกลไกทำให้หลอดเลือดบริเวณอวัยวะเพศเกิดการขยายตัว ทำให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่อวัยวะเพศได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้การแข็งตัวดีขึ้นและนานขึ้น แต่ยาจะได้ผลก็ต่อเมื่อมีกลไกทางธรรมชาติเข้ามาเสริมฤทธิ์ กล่าวคือ หลังจากรับประทานยาแล้วประมาณครึ่งชั่วโมง ผู้ป่วยจะต้องมีการกระตุ้นทางเพศ องคชาตจึงจะแข็งตัว เพราะตัวยาจะออกฤทธิ์ก็ต่อเมื่อร่างกายมีการหลั่งสารที่เกิดจากการกระตุ้นให้มีเพศสัมพันธ์ ไม่ใช่รับประทานยาแล้วนั่งรอเฉยๆ ให้องคชาตแข็งตัวเอง ยาก็จะไม่ได้ผล ทั้งนี้ในส่วนของการใช้ยา ผู้ป่วยควรสอบถามวิธีการใช้จากแพทย์ผู้ทำการรักษาอย่างละเอียด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

2. การใช้กระบอกสุญญากาศ ลักษณะเหมือนกระบอกพลาสติก ใช้สวมครอบองคชาต ตรงปลายกระบอกจะมีท่อต่อกับลูกบีบ คล้ายลูกบีบวัดความดันเพื่อดูดเอาอากาศออก ด้วยวิธีนี้เลือดจะวิ่งเข้ามาคั่งอยู่ในองคชาต ทำให้เกิดการแข็งตัว ก่อนเอาอุปกรณ์ออกต้องใช้อุปกรณ์สำหรับรัด รัดบริเวณโคนขององคชาตเพื่อกันไม่ให้เลือดไหลกลับ หลังจากมีการร่วมเพศแล้ว จึงค่อยดึงอุปกรณ์รัดนั้นออก ซึ่งกระบอกสุญญากาศนี้สามารถซื้อหาได้ง่าย และราคาไม่แพงเกินไป แต่ผู้ป่วยบางคนก็ไม่ชอบ เพราะรู้สึกว่ามีขั้นตอนยุ่งยากและไม่เป็นธรรมชาติ

3. การผ่าตัดใส่แกนอวัยวะเพศเทียม เป็นการผ่าตัดใส่แท่งซิลิโคนเข้าไปในองคชาต เพื่อให้องคชาตแข็งตัว ซึ่งแท่งซิลิโคนนี้มีอยู่ 2 แบบคือ แบบที่เป็นซิลิโคนทั้งแท่ง ทำให้องคชาตแข็งตัวอยู่ตลอด แต่สามารถหักพับงอได้ กับแบบเป็นแท่งซิลิโคนที่ตรงกลางเป็นช่องว่างเพื่อใส่น้ำเข้าไป โดยกลไกเก็บน้ำและตัวปั๊มจะอยู่ที่บริเวณถุงอัณฑะ เมื่อมีเพศสัมพันธ์และต้องการให้องคชาตแข็งตัว ให้บีบที่ตัวปั๊ม น้ำที่เก็บกักไว้ก็จะไหลเข้าไปตรงช่องว่างของแท่งซิลิโคน เมื่อสิ้นสุดการใช้งาน น้ำในแท่งซิลิโคนก็จะถูกดูดกลับไปไว้ยังที่กักเก็บเช่นเดิม การรักษาโดยวิธีนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยม เนื่องจากยุ่งยาก เจ็บตัว และมีราคาแพง

แหล่งข้อมูล[แก้]


www.mylovewell.net

ศ.นพ.สมบุญ เหลืองวัฒนากิจ, ศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะ, คลินิกสุขภาพเพศชาย ศูนย์ระบบปัสสาวะ โรงพยาบาลกรุงเทพ