ผู้ใช้:Medtrans th 02/วิกิพีเดีย:WikiProject Medicine/Translation task force/RTT/Simple Meningococcal vaccine

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น หมายถึงวัคซีนทั้งหมดที่ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ Neisseria meningitidis[1] ทั้งนี้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อโรคไข้กาฬหลังแอ่นทั้งบางประเภทหรือทุกประเภทนั้นมีอยู่หลายรุ่นด้วยกันคือ เอ, ซี, ดับเบิลยู135 และวาย ความมีประสิทธิภาพของวัคซีนนี้อยู่ที่ระหว่าง 85 ถึง 100% เป็นเวลาอย่างน้อยสองปี[1] ในกลุ่มประชากรที่ใช้วัคซีนเหล่านี้อย่างแพร่หลายได้แสดงให้ว่าวัคซีนนี้สามารถลดจำนวนของเชื้อเมนิงโกค็อกคัสที่เป็นสาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและภาวะเหตุติดเชื้อ[2][3] การให้วัคซีนเหล่านี้สามารถทำได้โดยการฉีดเข้าสู่กล้ามเนื้อหรือการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง[1]

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคระดับปานกลางถึงสูงหรือมีการแพร่ระบาดของโรคบ่อยครั้ง ดำเนินการให้วัคซีนเป็นประจำ[1][4] ส่วนประเทศที่มีอัตราการระบาดของโรคต่ำ ก็แนะนำว่าควรมีการให้วัคซีนแก่กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค[1] ประเทศภายในทวีปแอฟริกาที่เป็นแนวเข็มขัดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ African meningitis belt ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการของการให้วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดเอเพื่อสร้างภูมิคุมกันโรคแก่ประชากรทุกคนที่มีอายุระหว่างหนึ่งถึงสามสิบปี โดยให้เป็นวัคซีนควบคู่[4] ในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำให้มีการให้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อทั้งสี่ประเภทนี้แก่กลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง[1] นอกจากนี้ยังเป็นวัคซีนที่จำเป็นสำหรับผู้ที่เดินทางไปยังกรุงเมกกะเพื่อการแสวงบุญ[1]

ความปลอดภัยโดยทั่วไปนั้นอยู่ในระดับดี แต่ทั้งนี้สำหรับบางคนอาจเจ็บปวดและมีรอยแดงช้ำที่ตำแหน่งการฉีดวัคซีนได้[1] และก็ดูเหมือนว่าจะมีความปลอดภัยการใช้ในผู้ตั้งครรภ์[4] การเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขั้นรุนแรงนั้นเกิดขึ้นน้อยกว่าหนึ่งในล้านราย[1]

การให้วัคซีนโรคไข้กาฬหลังแอ่นครั้งแรกมีขึ้นเมื่อราวปี 2513-2523[5] วัคซีนนี้อยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดในระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน[6] ต้นทุนสำหรับราคาขายส่งต่อหนึ่งเข็มอยู่ระหว่าง 3.23 และ 10.77 เหรียญสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 2557[7] ต้นทุนในสหรัฐอเมริกา 100 ถึง 200 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับวัคซีนหนึ่งแบบแผน[8]

ข้อมูลอ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 "Meningococcal vaccines: WHO position paper" (PDF). Weekly epidemiological record. 47 (86): 521-540. Nov 2011. PMID 22128384.
  2. Patel, M; Lee, CK (25 January 2005). "Polysaccharide vaccines for preventing serogroup A meningococcal meningitis". The Cochrane database of systematic reviews (1): CD001093. PMID 15674874.
  3. Conterno, LO; Silva Filho, CR; Rüggeberg, JU; Heath, PT (19 July 2006). "Conjugate vaccines for preventing meningococcal C meningitis and septicaemia". The Cochrane database of systematic reviews (3): CD001834. PMID 16855979.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Meningococcal A conjugate vaccine: updated guidance, February 2015" (PDF). Weekly epidemiological record. 8 (90): 57-68. 20 Feb 2015. PMID 25702330.
  5. Barrett, Alan D.T. (2015). Vaccinology : an essential guide. p. 168. ISBN 9780470656167.
  6. "WHO Model List of EssentialMedicines" (PDF). World Health Organization. October 2013. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
  7. "Vaccine, Meningococcal". International Drug Price Indicator Guide. สืบค้นเมื่อ 6 December 2015.
  8. Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. p. 315. ISBN 9781284057560.