ผู้ใช้:MUSCPL361-6205191/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มะละกอ
มะละกอขณะออกผล
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Brassicales
วงศ์: Caricaceae
สกุล: Carica
สปีชีส์: C.  papaya
ชื่อทวินาม
Carica papaya
L.



มะละกอ ( ชื่อวิทยาศาสตร์: binomial nomenclature Carica papaya L.[1]) ชื่อสามัญ: Papaya, Melan Tree, Paw Paw ชื่อท้องถิ่น: ก้วยลา (ยะลา), แตงต้น (สตูล), มะก้วยเทศ (ภาคเหนือ), มะเต๊ะ (มาเลย์-ปัตตานี), ลอกอ (ภาคใต้), บักหุ่ง (นครพนม-เลย)[2] มะละกอเป็นไม้ผลที่ปลูกกันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว เดิมทีเป็นไม้ผลพื้นเมืองในเขตร้อนของทวีปอเมริกา ตามแถบชายฝั่งของประเทศเมกซิโก และต่อมาได้มีการแพร่กระจายมายังประเทศต่างๆในทวีปเอเชีย โดยนักเดินเรือชาวปอร์ตุเกส และ ชาวสเปน เมื่อประมาณ พ.ศ. 2143 หรือ ร้อยกว่าปีมาแล้ว และก็ได้กลายมาเป็นไม้ผลที่นิยมรับประทานกันมากในหลายๆประเทศในทวีปเอเชีย[3] และตวามความเชื่อไทยแล้วไม่นิยมปลูกไว้หน้าบ้าน เพราะชื่อที่เป็นอมงคล คือ คำว่า ละ-กอ หมายถึง ละออกจากเผ่ากอ จากวงศ์ตระกูล ซึ่งไม่ดีจะทำให้ครอบครัวไม่เจริญ จึงไม่ควรปลูกไว้หน้าบ้านหรือบริเวณบ้าน[4]



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[2][แก้]

ไม้ล้มลุกอายุหลายปีขนาดใหญ่ อายุหลายปี สูง 2-8 ม. ลำต้นตั้งตรงมักไม่แตกกิ่ง ไม่มีแก่น ต้นอวบน้ำ มีรอยแผลเป็นของก้านใบที่หลุดร่วงไป มีน้ำยางสีขาวทั่วลำต้น

ใบ ใบเรียงสลับรอบต้นบริเวณยอด ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือกว้าง ยาว 25-60 ซม. โคนใบเว้า ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเว้าเป็นแฉกลึก 7-11 แฉก และจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว 25-90 ซม. เป็นท่อกลวงยาว

ดอก ดอกช่อสีขาวนวล มีกลิ่นหอม ออกที่ซอกใบ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 1.5-2.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.5 ซม. เกสรเพศผู้มี 10 อัน ดอกเพศเมียและดอกสมบูรณ์เพศออกเดี่ยวหรือ 2-3 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ ดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้

ผล ผลเป็นผลสดรูปยาวรี ปลายแหลม ผลดิบมีเนื้อสีขาวอมเขียว ผลสุกมีเนื้อสีแดงส้ม เนื้อหนาอ่อนนุ่ม รสหวาน มีเมล็ดมาก รูปไข่สีน้ำตาลดำ ผิวขรุขระ มีถุงเมือกหุ้ม

มูลค่าทางเศรษฐกิจ[แก้]

ในปี 2552 สำรวจและเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้านคุณภาพผลผลิตใช้มะละกอดิบ อายุ 2 เดือนจำนวน 3 ผล/พันธุ์/ราย จากเกษตรกราจำนวน 116 รายพบว่า ไม่พบการขายเพื่อเข้าโรงงานแปรรูป ราคาหน้าสวนผลิตมะละกอคละเกรดจะสูงกว่าตกเกรด ราคาผลดิบเฉลี่ยต่ำสุด 1.50 บาท/กก. ราคา ผลสุกเฉลี่ยต่ำสุด 3 บาท/กก. ราคาผลดิบและสุกเฉลี่ยสูงสุด 8 บาท/กก. ราคามะละกอดิบและสุกจะสูงในช่วง เดือน พฤศจิกายน ถึง มกราคม และมีราคาต่ำในช่วงเดือน กันยายน ถึง ตุลาคม[5]

จากข้อมูลสถิติของ FAO (องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ) ผลผลิตมะละกอไทยอยู่ที่อับดับ 8 ของโลก มีปริมาณผลผลิต 211,594 ตัน มูลค่า 1,921 ล้านบาท (2553) และ 212,000 ตัน มูลค่า 1,925 ล้านบาท ในปี 2553 มีปริมาณการส่งออกมะละกอสด 630 ตัน มูลค่า 27 ล้านบาทและในปี 2554 มีปริมาณการส่งออกมะละกอสดเพิ่มเป็น 995 ตัน มูลค่า 50 ล้านบาท[6]

ข้อมูลสถิติของ FAO ในปี 2563 ประเทศไทยได้ส่งออกมะละกอออก 1215 ตัน และปี 2564 ได้ส่งออกมะละกอออกเพิ่มเป็น 1880 ตัน[7]

ตลาดภายในประเทศ[8][แก้]

มะละกอ เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่กำลังมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ในปีหนึ่งๆคนไทยนิยมบริโภคมะละกอเป็นจำนวนมาก ทั้งในรูปของมะละกอผลสุก ผลดิบ และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับจากมะละกอ โดยเฉพาะประชาชนคนไทยที่อยู่ภาคตะวันออกฉียงเหนือนั้น มีความต้องการบริโภคผลมะละกอดิบในรูปของส้มตำมากที่สุด

การซื้อขายผลผลิตส่วนใหญ่จะมีพ่อค้าในท้องถิ่นซึ่งเป็นขาประจำ เข้าไปรับซื้อทั้งในรูปผลดิบและผลสุก ถึงแหล่งปลูกโดยตรง วิธีการซื้ออาจจะใช้วิธีเหมาซื้อเป็นสวนๆ หรือชั่งน้ำหนักคิดเป็นกิโลกรัมก็แล้วแต่จะตกลงกัน ผลผลิตทั้งหมดจะถูกส่งไปขายให้พ่อค้าคนกลางในตลาดกลางผลไม้ใหญ่ใน กรุงเทพมหานคร เช่น ปากคลองตลาด ส่วนมะละกอที่เหลือจะส่งให้พ่อค้าส่งออก หรือ ไม่ก็จำหน่ายให้ผู้บริโภคภายในท้องถิ่นหรือจังหวัดใกล้เคียง โดยส่งให้กับภัตตาคารหรือร้านอาหาร ตลอดจนพ่อค้าแม่ค้าที่ขายผลไม้สด หรือ วางขายบริเวณริมถนนต่างๆ ในท้องถิ่นนั้น

พ่อค้าขายปลีกหรือผู้ส่งออกจะมารับซื้อมะละกอจากพ่อค้าคนกลางในตลาดกลางผลไม้ดังกล่าว ไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภค ถ้าเป็นมะละกอดิบ ส่วนใหญ่ตลาดขายปลีกตลาดขายปลีกจะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนในภาคนี้นิยมบริโภคส้มตำกันมาก จนอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นอาหารหลักประจำวัน ส่วนมะละกอสุกก็จะวางขายตามตลาดสดในแหล่งชุมชนต่างๆตลอดจนแหล่งมีผู้คนพลุกพล่าน หรือตามริมทางเดินต่างๆทั่วไป

ตลาดต่างประเทศ[8][แก้]

ปัจจุบันการปลูกมะละกอมิได้มุ่งหวังเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ยังมุ่งปลูกเพื่อการส่งออกจำหน่ายในต่างประเทศอีกด้วย ชาวสวนมะละกอส่วยใหญ่ได้พยายามปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นและมีคุณภาพดี สามารถแข่งขันกับผลไม้อื่นในตลาดต่างประเทศได้ ในแต่ละปีประเทศไทยได้ส่งออกมะละกอสดทั้งในรูปผลสุกและผลดิบไปขายยังตลาดต่างประเทศ

ถ้าหากจะแบ่งตลาดต่างประเทศตามกลุ่มของประเทศผู้รับซื้อแล้ว พอจะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ คือ

ตลาดในเอเชีย ที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ศรีลังกา บรูไน ตลาดนี้นับเป็นตลาดรับซื้อมะละกอแหล่งใหญ่ที่สุด โดยเฉพาะ ฮ่องกงเพียงประเทศเดียวก็รับซื้อมะละกอจากประเทศไทยถึงร้อยละ 80 ปี ของปริมาณมะละกอที่ส่งออก ส่วนประเทศที่เหลือนอกนั้นมีปริมาณรับซื้อเพียงเล็กน้อยและไม่ค่อยสม่ำเสมอ

ตลาดในแถบตะวันออกกลาง มีประเทศซาอุดิอาระเบียเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ นอกนั้นได้แก่สาธารณรัฐอาหรับอามิเรสต์ คูเวต บาห์เรน ส่วนใหญ่จะซื้อในรูปของมะละกอดิบจึงเข้าใจว่าเพื่อให้แก่คนงานไทยที่ไปทำงานในประเทศเหล่านี้จำนวนมากบริโภค

ตลาดในแถบทวีปยุโรปและอเมริกา มีประเทศฝรั่ง เบลเยี่ยม สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ แคนาดา สหรัฐอเมริกา เป็นกลุ่ม ประเทศที่อยู่ห่างไกลและยังมีปริมาณรับซื้อไม่มากนัก แต่ก็เป็นกลุ่มประเทศที่น่าสนใจในการขยายตลาดออกไปอีก รวมทั้งผักผลไม้สดอื่น แต่ผลผลิตจะต้องคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดเหล่านี้ ซึ่งเลือกซื้อแต่สินค้าที่มีคุณภาพ

การเพาะปลูก[9][แก้]

ปกติแนะนําให้เกษตรกรเพาะกล้า ในช่วงกลางหรือปลายเดือนมกราคม ซึ่งจะสามารถย้ายต้นกล้าลงปลูกได้ประมาณกลางเดือนมีนาคม และจะเก็บเกี่ยวผลได้ตั้งแต่เดือน ตุลาคมเป็นต้นไป ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีผลไม้ประเภทอื่น ๆ ในท้องตลอดออกน้อยทําให้มะละกอมีราคาสูง ถึงแม้ว่าเกษตรกรชาวสวนที่ปลูกโดยอาศัยนํ้าฝนก็จะมีผลผลิตออกขายได้ยาวนาน แต่ถ้าเพาะเมล็ดช้าหรือย้ายปลูกช้าจะทําให้ช่วงที่มะละกอออกดอกติดผลตรงกับช่วงแล้งต้องให้นํ้าชลประทานมาก จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาก การเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงที่ได้ราคาสูง จะได้น้อยกว่า[10]

การเพาะเมล็ด เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมเพาะกล้าใส่ถุง 3-5 เมล็ด/ถุง หรือเพาะในกระบะเพาะกล้า เกษตรกรบางรายจะนำเมล็ดแช่น้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา 30-60 นาที หรือ 1-2 คืน นำมาห่อผ้าบ่มไว้ให้รากเริ่มงอก จึงนำไปเพาะในถุง ประมาณ 2-3 เมล็ดต่อถุงแล้วคลุมถุงกล้าด้วยผ้า รดน้ำ 5-7 วัน จึงเปิดผ้าคลุมออก ดูแลจนกล้ามีใบจริงประมาณ 5-6 ใบ หรืออายุกล้า 30-60 วัน จึงย้ายปลูกลงแปลง

การย้ายปลูก อายุกล้าที่เหมาะสมในการย้ายปลูกประมาณ 30- 60 วันหลังจากหยอดเมล็ด การปลูกมะละกอเพื่อส่งโรงงานในพื้นที่ที่มีการปลูกพืชอื่นแซมด้วย เช่น การปลูกแซมในสวนยางพารา ระยะปลูกจะขึ้นกับร่องแปลงของต้นยาง หรือการปลูกบนพื้นที่ที่เป็นทางลาด หรือบนเนินเขา จะไม่มีระยะปลูกที่แน่นอน แต่จะขึ้นกับลักษณะของพื้นที่ว่างที่มีอยู่ ส่วนการปลูกในพื้นที่ราบ สามารถกำหนดระยะปลูกได้ ส่วนมากเกษตรกรจะใช้ระยะปลูก 2.5× 2.5 , 2.5 ×3.0 หรือ 3× 3 เมตร ตามความเหมาะสม เกษตรกรบางรายจะใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมก่อนการย้ายปลูก

ฺฺการคัดเพศดอก มะละกอเริ่มออกดอกประมาณ 3-4 เดือนหลังย้ายปลูกการปลูกมะละกอ 2-3 ต้นต่อหลุม สามารถเลือกต้นสมบูรณ์เพศไว้ 1 ต้นต่อหลุม เพื่อให้ได้มะละกอที่มีผลยาว การเลือกดอกสมบูรณ์เพศดูได้จากลักษณะของดอกที่เป็นทรงกระบอกยาว มีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน โดยในปัจจุนสามารถการตรวจสอบเพศมะละกอในระดับโมเลกุลในระยะต้นกล้าต้นทุนต่ำไพรเมอร์ T1 และ W11 สามารถระบุความแตกต่างของเพศมะละกอได้โดยสามารถแยกมะละกอเพศผู้และสมบูรณ์เพศออกจากเพศเมียได้และการสกัดดีเอ็นเอโดยใช้สารละลาย NaOH ใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า[11]


การใส่ปุ๋ย เกษตรกรส่วนใหญ่จะเริ่มใส่ปุ๋ยครั้งแรกหลังย้ายกล้าแล้ว 1 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 25-7-7 ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะต่อต้น บางรายจะใช้ปุ๋ยคอก และปุ๋ยน้ำหมักร่วมด้วย โดยใส่ประมาณ 1 ครั้งต่อเดือน เมื่อมะละกอเจริญเติบโตอยู่ในช่วงให้ผลผลิต จะเปลี่ยนปุ๋ยเป็นสูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 กำมือต่อต้น ถ้าพบว่ามีต้นที่แสดงอาการขาดธาตุอาหาร จะใช้ปุ๋ยคอก และปุ๋ยน้ำหมักร่วมด้วย ประมาณ 1-1.5 เดือนต่อครั้ง

การให้น้ำ การให้น้ำส่วนใหญ่เป็นระบบมินิสปริงเกอร์ การให้น้ำระบบนี้ จะช่วยหลีกเลี่ยงการเกิดโรคทางใบมะละกอได้ เนื่องจากการกระจายน้ำจะอยู่บริเวณใต้ต้นเท่านั้น เกษตรกรส่วนใหญ่จะให้น้ำ 1-2 วันต่อครั้ง หรือ สังเกตดูว่ามะละกอเริ่มขาดน้ำจึงให้น้ำเป็นเวลา 15-30 นาทีต่อครั้ง ในช่วงฤดูแล้งจะให้น้ำบ่อยขึ้น เพื่อช่วยให้มะละกอสามารถติดผลได้(ปกติฤดูแล้งมะละกอจะไม่ค่อยติดผล)

การกำจัดวัชพืช การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในแปลงมะละกอต้องทำอย่างระมัดระวัง เนื่องจากต้นมะละกอจะเติบโตผิดปกติ ถ้าได้รับสารกำจัดวัชพืช ดังนั้นถ้าจำเป็นต้องใช้สารเคมีในมะละกอต้นเล็ก จะใช้ถุงพลาสติกคลุมต้นก่อนแล้วจึงพ่นยา ในมะละกอต้นโตจะพ่นยารอบแปลงปลูกหรือในร่องแปลงเท่านั้น ส่วนรอบโคนต้นจะใช้วิธีถากหญ้า

โรค และแมลง โรคใบด่างวงแหวนมะละกอ เป็นปัญหามากในการปลูกมะละกอที่ทำให้ผลผลิตลดลงและไม่ได้คุณภาพ เข้าทำลายมะละกอทุกระยะการเจริญเติบโต อาการที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ใบด่างเหลือง บิดเบี้ยวหงิกงอ และเรียวเล็ก อาการที่พบบนลำต้นและก้านใบ จะพบลักษณะที่จุดช้ำหรือรอยช้ำเป็นทางยาว ส่วนอาการบนผล จะเป็นจุดคล้ายวงแหวนทั่วทั้งผล เนื้อส่วนที่เป็นจุดช้ำ มักจะเป็นไตแข็ง มีรสขม แมลงที่พบเข้าทำลายมะละกอ ได้แก่ เพลี้ยหอย ส่วนมากจะเป็นเฉพาะต้น ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัด ส่วนใหญ่เกษตรกรจะตัดต้นถูกเพลี้ยหอยเข้าทำลายทิ้ง หรือนำไปเผาทิ้งนอกแปลงปลูก นอกจากนี้ยังมีหอยทากที่ขึ้นไปบนต้นมะละกอ กัดกินใบอ่อนและดอกทำให้ไม่มีผล ในบางสวน หอยทากระบาดค่อนข้างมาก การกำจัดเป็นไปได้ยาก ต้องใช้สารเคมีในการกำจัดเท่านั้น

โรค target spot หรือใบจุดอย่างรุนแรงของมะละกอ โดยเชื้อรา Corynespora cassiicola (Berk. & Curt.) Wei. สาเหตุของโรคนี้ ซึ่งพบพบ mycelium เจริญอยู่ระหว่างเซลล์พืชและสามารถเจริญผ่านชั้น epidermis โดยสร้าง conidiophore ผ่าน epidermal cell ทั้งด้านบนและด้านล่าง จึงสามารถพบส่วนขยายพันธุ์ (spore) อยู่ทั้งด้านบนและด้านใต้ใบในธรรมชาติเช่นกัน[12]

การเก็บเกี่ยว เมื่อมะละกออายุ 6-8 เดือนหลังย้ายปลูก จะเก็บผลผลิตได้ โดยดูผลที่เริ่มมีแต้มสี ประมาณ 2-3 แต้ม เกษตรกรสามารถเก็บได้ต้นละ 1-2 ผล/ต้น/ครั้ง และเก็บผลผลิต 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ ในช่วงการเก็บเกี่ยวปีแรก จะเก็บได้สะดวก เนื่องจากต้นเตี้ย ถ้าไม่มีการระบาดของโรคใบด่างวงแหวนสามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 2 ปีแต่ต้นจะสูง จึงต้องมีไม้จำปาช่วยในการเก็บผล

สารสำคัญ[แก้]

เอนไซม์ปาเปน (Papain) พบมากในยางมะละกอในส่วนใบ ก้าน และผลดิบ ซึ่งใช้ในการกรีดเอายางมะละกอ เพื่อสกัดปาเปน โดยสายพันธุ์ของมะละกอที่สามารถผลิตน้ำยางสดได้สูงคือ สายพันธุ์จำปาดำและแขกดำ เช่น เบียร์ ไวน์ และน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่ม เพื่อทำให้ใส เนื่องจากเอนไซม์ปาเปนจะทำหน้าที่ย่อยโปรตีนโมเลกุลใหญ่ที่แขวนลอยในสารละลาย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดตะกอนขุ่น ให้มีโมเลกุลเล็กลงส่งผลให้ได้สารละลายที่ใส ไม่ขุ่นเมื่อเก็บรักษาไว้นาน หรือในอุณหภูมิต่ำ และทำให้เนื้อนุ่ม (meat tenderizer) ใช้เอนไซม์ปาเปนนำมาคลุกเคล้ากับเนื้อสัตว์เพื่อย่อยเนื้อสัตว์ที่เหนียวให้นุ่ม และเปื่อยมากขึ้น เมื่อนำไปปรุงสุกเป็นอาหารสำหรับรับประทาน[13]

อีกทั้งยังมี chymopapain ใบมีไกลโคไซด์ชื่อ carposide และอัลคาลอยด์ capaine ผลมีสารพวก pectin ผลสุกมีสาร carotenoids ที่พบในมะละกอมี krytoxanthin, violaxanthin, zeaxanthin ในเมล็ดมีสาร benzyl isothiocyanate [14]

คุณค่าทางโภชนาการ[แก้]

ผลดิบ[แก้]

มะละกอดิบ ต่อ 100 กรัม[15]
คาร์โบไฮเดรต 10 g.
น้ำตาล 7.82 g.
เส้นใย 1.7 g.
ไขมัน 0.26 g.
โปรตีน 0.47 g.
วิตามินเอ 47 μg.
เบตาแคโรทีน 274 μg.
ลูทีนและซีแซนทีน 89 μg.
วิตามินบี 1 0.023 mg.
วิตามินบี 2 0.027 mg.
วิตามินบี 3 0.357 mg.
วิตามินบี 5 0.191 mg.
วิตามินบี 6 0.038 mg.
วิตามินบี 9 38 μg.
วิตามินซี 62 mg.
วิตามินอี 0.3 mg.
วิตามินเค 2.6 μg.
ธาตุแคลเซียม 20 mg.
ธาตุเหล็ก 0.25 mg.
ธาตุแมกนีเซียม 21 mg.
ธาตุแมงกานีส 0.04 mg.
ธาตุฟอสฟอรัส 10 mg.
ธาตุโพแทสเซียม 182 mg.
ธาตุโซเดียม 8 mg.
ธาตุสังกะสี 0.08 mg.
ไลโคปีน 1,828 μg.

ผลสุก[แก้]

Ripe Papaya Fruit Per 100g[16]
Water 90 g.
Protein 0.5 g.
Fat 0.1 g.
Ash 0.5 g.
Calcium 24 mg.
Phosphorus 22 mg.
Iron 0.6 mg.
Sodium 4 mg.
Potassium 230 mg.
Beta-carotene equivalent 950 μg.
Thiamine 0.04 mg.
Riboflavin 0.04 mg.
Niacin 0.4 mg.
Ascorbic Acid 70 mg.

การใช้ประโยชน์[แก้]

ด้านเครื่องดื่ม[17][แก้]

มะละกอ นอกจากกินเป็นผลไม้ได้อร่อยแล้ว ยังนำไปทำเป็นน้ำมะละกอ หรือชามะละกอได้ น้ำมะละกอ สุกช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยการทำงานของลำไส้ ทำความสะอาดไต และยังเป็นยาระบายอ่อนๆอย่างดีอีกด้วย ส่วนชามะละกอดิบช่วยล้างระบบดูดซึมสารอาหาร คือ ล้างคราบไขมันที่ผนังลำไส้ซึ่งเกาะตัวที่ผนังลำไส้ ที่ขัดขวางการดูดซึมสารอาหารและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดด้วย

น้ำมะละกอสุก เลือกมะละกอที่สุกกำลังดี เนื้อไม่แข็ง หรือเละจนเกินไป เนื้อเนียน รสหวาน นำมะละกอสุกหั่นเอาแต่เนื้อครึ่งถ้วย น้ำเย็นจัด 1 ถ้วย ผง อบเชย 1/8 ช้อนชา เกลือป่น 1/4 ช้อนชา น้ำมะนาว 2 ช้อนชา ปั่นมะละกอกับน้ำเย็นจัด เกลือ น้ำมะนาวเข้าด้วยกัน รินใส่แก้ว โรยด้วยผงอบเชย ดื่มเย็นๆ ทันที

ชามะละกอจากผลมะละกอดิบ ใช้มะละกอดิบไม่อ่อนเกินไปครึ่งผล ชาเขียว หรือชาจีน หรือชาใบหม่อน อย่างใดอย่างหนึ่ง เพิ่มดอกเก๊กฮวย ใบเตย หรือรากเตยไปด้วยถ้ามีดอกเก๊กฮวยและใบเตยมีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ส่วนรากเตยช่วยฟื้นฟูตับอ่อนให้มีกำลังปอกเปลือกมะละกอล้างน้ำให้สะอาด แล้วหั่นแบบชิ้นฟัก นำชิ้นมะละกอใส่หม้อ เติมน้ำ 3-4 ลิตร ตั้งไฟ (ใส่ดอกเก๊กฮวย หรือใบเตย หรือรากเตยตามชอบ) เมื่อน้ำเดือดสักพักหนึ่งยกหม้อลง ตักมะละกอ และดอกเก๊กฮวยออก ให้เหลือแต่น้ำ นำน้ำดังกล่าวไปชงชา ใส่ใบชาประมาณครึ่งกำมือ หลัง 5 นาทีกรองเอากากชาออก ทิ้งไว้ให้เย็นดื่มได้ทันที หรือบรรจุขวดเก็บไว้ในตู้เย็นได้ประมาณ 3 วัน

ด้านความงาม[17][แก้]

เอนไซม์ปาเปนที่พบในมะละกอ ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย ทั้งด้านเภสัชกรรม โรงผลิตเบียร์ โรงงานเครื่องหนัง อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สปา เอนไซม์ปาเปนถูกใช้ในเครื่องสำอางได้เนื่องจากเอนไซม์ดังกล่าวสามารถย่อยสลายคอลลาเจนได้ ช่วยเร่งการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิว จึงใช้ทดแทนสารสังเคราะห์ แอลฟาไฮดรอกซีแอซิด (alphahydroxy acids; AHA) ได้ และมีคุณสมบัติช่วยย่อยโมเลกุลของโปรตีนด้วย ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้าเอนไซม์ปาเปนจากต่างประเทศ ปัจจุบันสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้สนับสนุนภาคเอกชนไทยผลิตเอนไซม์ปาเปนจากมะละกอดิบ พัฒนาเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สปา ทดแทนกรดผลไม้ที่มีค่าความเป็นกรดสูง พร้อมลดการนำเข้าจากต่างประเทศปีละกว่า 60 ล้านบาท

สำหรับผู้ที่มีผิวแห้ง หรือมีปัญหาเรื่องสิวบนใบหน้า สามารถทำมาสก์มะละกอสุกใช้เอง เพื่อผิวหน้าที่อ่อนนุ่มได้

สูตรที่ 1 ใช้มะละกอสุกปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นๆ สัก 2-3 ชิ้น บดขยี้ด้วยช้อนจนละเอียด แล้วนำมะละกอ ดังกล่าวบดมาทาให้ทั่วใบหน้ายกเว้นรอบดวงตาทิ้งไว้สัก 10-15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ใช้สัปดาห์ละครั้ง ผิวที่แห้งจะเริ่มชุ่มชื้น นุ่มนวล กระชับขึ้น เป็นสูตรโบราณจากประเทศอินเดียใช้ลบริ้วรอยได้ดี

สูตรที่ 2 เหมือนสูตรข้างบน แต่เมื่อบดเนื้อมะละกอ แล้วให้ผสมโยเกิร์ตรสธรรมชาติปริมาณพอข้นให้เข้ากัน ทิ้งส่วนผสมไว้สัก 5 นาที นำมาพอกหน้าและคอ แขน มือ ทิ้งไว้ 10-15 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด เสร็จแล้วทาครีมบำรุงทันที ผิวจะนุ่ม และใสขึ้นเรื่อยๆ ใช้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งจะลบริ้วรอยได้จ

ด้านยา[14][แก้]

Papain และ chymopapain เป็น proteolytic enzymes ย่อยสารโปรตีน ใช้เตรียมเป็นยาแผนปัจจุบัน เป็นยาช่วยย่อย ชื่อ caroid และ papase ผลิตเป็นยาเม็ดลดอาการบวมอาการอักเสบจากการผ่าตัดหรือบาดแผล และใช้เตรียมนํ้ายาล้างเลนส์สัมผัสชนิดอ่อน (soft contact lens) เหง้า ใช้ขับปัสสาวะ ผลสุก ระบายอ่อนๆ เมล็ดแก่จัดขับพยาธิ อัลคาลอยด์ capaine ที่พบในใบ มีฤทธิ์คล้าย digitalin มีฤทธิ์บำรุงหัวใจ

ด้านอื่นๆ[14][แก้]

แม่ครัวไทยใช้ยางจากผลมะละกอดิบหยดลงในหม้อต้มเนื้อ หรือเอาใบมะละกอสดห่อเนื้อ ช่วยทำให้เนื้อเปื่อยนุ่มเร็วขึ้น และยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องเพื่อทำให้เนื้อนุ่ม ในอุตสาหกรรมเบียร์ ทำให้เบียร์ใส ถึงแม้ว่าจะเก็บไว้นาน ผลดิบ ช่วยย่อย ผลสุก มีวิตามินสูง มีวิตามินเอ และบี เหล็กและแคลเซียม จึงเป็นผลไม้ ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ราคาเยา ทั้งผลดิบผลสุกสามารถเตรียมเป็นอาหาร เก็บไว้ได้ มีวิธีถนอมอาหาร เช่น ผลดิบ และยอดอ่อนของต้น ทำตังฉ่าย และซีเซ็กฉ่าย ผลดิบหั่นเป็นเส้นยาวๆ กวน เติมนํ้าตาล มะนาว หรือใส่มะดัน ให้มีรสเปรี้ยว ผลสุกกวนเติมนํ้าตาล นอกจากนั้นผลสุกยังเป็นตัวปนปลอม ในการทำซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ผลสุกเตรียมนํ้าผลไม้

ประโชชน์ด้านสุขภาพ[17][แก้]

ระบบหัวใจและหลอดเลือด[แก้]

มะละกออาจช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแข็งตัวและโรคหัวใจที่มีสาเหตุจากโรคเบาหวานได้ดี มะละกอมีวิตามินซี วิตามินอีและวิตามินเอ (ในรูปของสารแคโรทีนอยด์) ซึ่งเป็นสารอนุมูลอิสระที่มีความสำคัญช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระของคอเลสเตอรอล เชื่อว่าวิตามินซีและอีช่วยการทำงานของเอนไซม์พาราออกโซเนสซึ่งหยุดการเกิดอนุมูลอิสระของคอเลสเตอรอล

เส้นใยอาหารในมะละกอช่วยลดคอเลสเตอรอลส่วนกรดโฟลิกใช้เปลี่ยนกรดอะมิโฮโมซิสเทอีนเป็นกรดอะมิโนซิสเทอีนที่ไม่มีพิษภัยอะไร ถ้ามีโฮโมซิสเทอีนอยู่มากกรดอะมิโนนี้จะทำลายผนังหลอดเลือด เกิดความเสี่ยงของอาการหัวใจวายหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้

ระบบทางเดินอาหาร[แก้]

สารอาหารในมะละกอช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ เส้นใยอาหารจากมะละกอสามารถจับกับสารพิษก่อมะเร็งในลำไส้ใหญ่และพาส่งออกทำให้เกิดการสัมผัสกับเซลล์ลำไส้ใหญ่น้อยที่สุด และสารโฟเลต บีตาแคโรทีน วิตามินซีและอี ที่พบในมะละกอ จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยลดการถูกทำลายของสารพันธุกรรมในเซลล์ดังกล่าวด้วยอนุมูลอิสระ

ระบบภูมิคุ้มกัน[แก้]

ร่างกายมนุษย์สามารถเปลี่ยนบีตาแคโรทีนที่ได้จากมะละกอสุกเป็นวิตามินเอและซีได้ เนื่องจากร่างกายต้องการวิตามินทั้งสองเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ให้ทำหน้าที่ได้ราบรื่น จึงพบว่าการกินมะละกอ เป็นประจำอาจลดความถี่การเกิดไข้หวัดและการติดเชื้อในช่องหูได้

ระบบประสาททางสายตา[แก้]

งานวิจัยตีพิมพ์ในต่างประเทศกล่าวว่าการกินผลไม้ 3 ครั้งต่อวันอาจลดความเสี่ยงของอาการภาวะจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ อันเป็นสาเหตุของการเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุ เนื่องจากคนไทยกินมะละกอ ทั้งดิบหรือสุกอยู่เป็นปกติ ดังนั้นเราจึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าวลดลงในยามชรา

ระบบทางเดินหายใจ[แก้]

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยรัฐแคนซัส สหรัฐอเมริกาพบว่า สารก่อมะเร็งจากบุหรี่ (benzo(a)pyrene) ทำให้เกิดการขาดวิตามินเอในสัตว์ทดลองที่ได้รับอาหารปกติ และเกิดอาการถุงลมปอดโป่งพอง แต่สัตว์ที่ได้รับวิตามินเอปริมาณมากแต่ได้รับสารดังกล่าวไม่พบว่ามีอาการถุงลมปอดโป่งพอง ผู้วิจัยจึงเชื่อว่าผู้ที่สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่เป็นนิตย์ควรป้องกันตนเองโดยการกินอาหารที่มีวิตามินเอสูงเป็นประจำ และมะละกอสุกก็เป็นหนึ่งในอาหารดังกล่าว

การรักษาโรคมะเร็ง[แก้]

ที่ประเทศอินเดียกล่าวสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ ว่าเมล็ดมะละกอใช้รักษาโรคมะเร็งได้ งานวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นรายงานเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2550 นี้ว่า เมล็ดมะละกอมีเอนไซม์ไมโรซิเนส และสารเบนซิลกลูโคซิโนเลตในปริมาณมาก

สารเบนซิลกลูซิโนเลตนี้ส่วนใหญ่พบในพืชวงศ์คะน้า มีฤทธิ์ขับไล่สัตว์กินพืชในธรรมชาติ แต่มนุษย์ย่อยสารนี้โดยใช้เอนไซม์ไมโรซิเนส ได้สารต้านมะเร็ง งานวิจัยยังพบว่าสารสกัดเฮกเซนของเมล็ดมะละกอมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสารซูเปอร์ออกไซด์ และมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งแบบอะป๊อปโทซิส จะเห็นว่าเมล็ดมะละกอมีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้จริงตามภูมิปัญญาการแพทย์อินเดีย แต่ต้องใช้เวลาอีกมากกว่าจะมีการพัฒนาเป็นยาแผนปัจจุบันได้ต่อไป


แหล่งอ้างอิง[แก้]

  1. https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:30011248-2, Plants of the World Online.
  2. 2.0 2.1 https://il.mahidol.ac.th/e-media/plants/webcontent3/interactive_key/key/describ/malako.htm, มะละกอ.
  3. คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอ, .
  4. Ongkeaw, Wattanee (2009). "ความเชื่อที่เป็นมงคลและอมงคลเกี่ยวกับพืชและสัตว์ของชาวบ้าน. อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา" (PDF). {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. จันทาศรี, รภัสสา (2009). "สถานการณ์การผลิต การปลูก การตลาด และการแปรรูปของมะละกอในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด". สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
  6. http://www.hort.ku.ac.th/2016/index.php/topmenu-download-book/category/11-2017-01-13-07-55-48?download=15:2017-04-20-04-24-25, เทคโน เกษตร.
  7. https://www.fao.org/3/cb9412en/cb9412en.pdf, Major Tropical Fruits: preliminary results 2021 Page 22.
  8. 8.0 8.1 http://panaddadarachai.blogspot.com/2015/07/80-60-70-3-1.html, การตลาดมะละกอในประเทศและต่างประเทศ.
  9. วะสี, สิริกุล; ยูระสิทธิ, มาริสา; สุขกิจ, ดวงหทัย; ก๋าคำมูล, ขนิษฐา (2011). "ระบบการผลิตมะละกออุตสาหกรรม" (PDF). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
  10. http://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/tree_fruit/fruit28.pdf, การปลูกมะละกอ ฉลองชัย แบบประเสริฐ.
  11. Sab-udommak, Pattraporn; Kongsiri, Nongluck; Pooprasert, Alisa; Thaipong, Kriengsak; Boonruangrod, Ratri (2016). "Low-cost Technique Development for Sex-type Identification of Papaya Seedling". วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 34 (3): 33–38.
  12. Choolbamroong, Wirat; Tontya pron, sanchai; Po - ngern, Kanchana; Kueprakone, Ubon (1990). "Corynespora cassiicola the Causal Fungus of Target Spot of Papaya". กรมวิชาการเกษตร.
  13. มะละกอ ผลไม้มากคุณค่าที่มีมากกว่าความอร่อย, .
  14. 14.0 14.1 14.2 มะละกอมีสรรพคุณดังนี้, .
  15. https://fdc.nal.usda.gov/fdc-app.html#/food-details/169926/nutrients, Papayas, raw.
  16. http://www.philippineherbalmedicine.org/papaya.htm, Papaya Fruit Nutrition Facts.
  17. 17.0 17.1 17.2 มะละกอ ต้านอนุมูลอิสระ, .