ผู้ใช้:MUSCPL361-6205167/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มะขามป้อม[แก้]

มะขามป้อม อยู่ในวงศ์มะชามป้อม (Phyllanthaceae) ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus emblica L. ชื่อสามัญ: Indian gooseberry ชื่ออื่น: Amla/Amalak (แปลว่า พยาบาลหรือแม่) (ประเทศอินเดีย), กันโตน (จันทบุรี), กำทวด (ราชบุรี),  มังลู่(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) โดยมีถิ่นกำเนิด[1]อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ในประเทศไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และในเอเชียใต้ เช่น ประเทศอินเดีย ปากีสถาน ศรีสังกา บังคลาเทศ ซึ่งมะขามป้อมเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพและจัดเป็นสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวฝาด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

เป็นไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง โดยมีความสูง 8-12 เมตร ลำต้นคดงอเปลือกเรียบสีน้ำตาลเทา กิ่งมักลู่ลง

ลักษณะการเรียงใบเป็นแบบเรียงเดี่ยวระนาบเดียว[2] ใบอ่อนมีมีขนละเอียด ส่วนใบแก่ไม่มีขน ลักษณะใบมีขนาดเล็กปลายโค้งมน ฐานใบโค้งแคบ

ดอกเป็นดอกขนาดเล็กแยกเพศโดยดอกเพศผู้ออกตามซอกกิ่งแบบกระจุก 3-5 ดอก ดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยว ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียมีสีเหลืองนวล ดอกมีกลิ่นคล้ายกลิ่นผิวมะนาว

ผลมีลักษณะกลม ผิวเรียบ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร มี 6 พู[3] ผลเป็นแบบเมล็ดเดียวแข็ง (drupe) ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดมีรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง

ตำนาน เรื่องเล่า ความเชื่อ[แก้]

ในประเทศอินเดียเชื่อว่ามะขามป้อมเป็นยาอายุวัฒนะ โดยมีเรื่องเล่าว่ามีพรานคนหนึ่งกำลังหาของกิน เมื่อหาของทานได้แล้วเขาก็นั่งใต้ต้นมะขามป่อมและกินผลของมะขามป้อมด้วยเช่นกัน จากนั้นขณะที่เขากำลังลงจากต้นไม้ เขาพลาดตกลงและเสียชีวิต เมื่อเทพเจ้า Yama หรือเทพเจ้าแห่งความตายจะนำวิญญาณเขาไป ก็ไม่สามารถทำได้ เมื่อสืบมาจนรู้ความว่าพรานคนนี้ได้กินผลมะขามป้อมก่อนตาย ดังนั้นจากเรื่องเล่านี้จึงสร้าวความเชื่อว่า amla เปรียบเสมือนน้ำทิพย์จากสวรรค์สำหรับร่างกายมนุษย์

นอกจากนี้ในปฏิทินฮินดูยังมีเทศกาลที่ชื่อว่า Akshaya Navami หรือ Amla Navami อยู่ในช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน เป็นเทศกาลที่ชาวฮินดูเคารพสักการะต้นมะขามป้อมและมีการให้มะขามป้อมแก่กัน โดยมีความเชื่อที่ว่าขณะที่พระลักษมีลงมายังพื้นโลก พระนางอยากสักการะพระวิษณุและพระศิวะด้วยเช่นกัน ซึ่งพระนางเองอยากสักการะทั้งสองเทพเจ้าในเวลาเดียวกัน โดยพระนางนึกถึงผลมะขามป้อมที่อุดมไปด้วยสมบัติต่างๆทางยา จึงได้บูชาด้วยต้นอัมลาที่ออกผล จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเทศกาลนี้ [4]

การใช้ประโยชน์[แก้]

ส่วนต่างๆของต้นมะขามป้อมสามารถนำมาทานหรือใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้[5] ดังนี้

  • ผลของมะขามป้อม[6] สามารถทานสดได้หรือนำเมล็ดออกให้เหลือแต่เนื้อ จากนั้นนำมาใส่เกลือ พริก น้ำตาล แล้วตำให้พอแหลก ก็เป็นอีกวิธีที่นิยม
  • ราก นำมาต้ม ใช้เป็นยาลดไข้ ยาเย็นและยาฟอกเลือด ในกรณีที่นำมากลั่น จะมีคุณสมบัติเป็นยาสมาน
  • ลำต้น สามารถทำเป็นเครื่องประดับ โดยสามารถเพิ่มความทนทานด้วยการแช่น้ำ นอกจากนี้ยังใช้สำหรับเป็นเชื้อเพลิง
  • ใบ สามารถต้มกับน้ำใช้อาบลดไข้ หรือในใบแห้งมีปริมาณสารแทนนินสูง ใช้ย้อมเส้นใย เช่น ไหม ขนสัตว์ ซึ่งจะให้สีน้ำตาลเหลือง
  • ดอก มีกลิ่นคล้ายผิวมะนาว ใช้เป็นยาเย็นและยาระบาย
  • ยางจากผล ให้รสฝาดและขม สามารถทานเพื่อช่วยย่อยอาหารและขับปัสสาวะ
  • เมล็ด ชงในน้ำร้อน ช่วยลดไข้ บรรเทาโรคเกี่ยวกับน้ำดี คลื่นไส้และอาเจียน แต่เมื่อนำเมล็ดมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วผสมน้ำมันพืช ใช้ทาแก้ตุ่มแผลคันต่างๆ
  • น้ำมันจากเมล็ด ใช้ทาศีรษะ ช่วยให้ผมดกดำมากขึ้น

คุณค่าทางโภชนาการ[แก้]

มะขามป้อมสด 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการ[7] ดังนี้

  • พลังงาน 58 กิโลแคลอรี
  • น้ำ 84.10 กรัม        
  • ไขมัน 0.50 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 14.30 กรัม      
  • เส้นใยอาหาร 2.40 กรัม                
  • โปรตีน 0.70 กรัม                    
  • แคลเซียม 29 มิลลิกรัม                        
  • ฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม                                
  • เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม                                
  • วิตามินเอ 100 หน่วยสากล                        
  • วิตามินบี 10.03 มิลลิกรัม                        
  • วิตามินบี 20.04 มิลลิกรัม                    
  • ไนอะซิน 0.2 มิลลิกรัม                            
  • วิตามินซี 276 มิลลิกรัม

สารสำคัญที่พบ[แก้]

สารประกอบที่พบในผลมะขามป้อม[8] ได้แก่

  • แทนนิน (Tannins) สารประกอบที่พบคือ Emblicanin A, Emblicanin B, Punigluconin, Pedunculagin, Chebulinic acid, Chebulagic acid, Corilagin, Geraniin, Ellagotannin
  • อัลคาลอยด์ (Alkaloids) สารประกอบที่พบคือ Phyllantine, Phyllembein, Phyllantidine
  • สารประกอบฟีนอล (Phenol compounds) สารประกอบที่พบคือ Gallic acid, Methyl gallate, Ellagic acid, Trigallyl glucose
  • กรดอะมิโน (Amino acids) สารประกอบที่พบคือ Glutamic acid, Proline, Aspartic acid, Alanine, Cystine, Lysine
  • ฟลาโวนอยด์(Flovonoids) สารประกอบที่พบคือ Quercitin, Kaempferol
  • คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) สารประกอบที่พบคือ Pectin
  • วิตามิน (Vitamin) สารประกอบที่พบคือ Ascorbic acid (Vitamin C)
  • กรดคาร์บอกซิลิก (Carboxylic acid) สารประกอบที่พบคือ Citric acid

อ้างอิง[แก้]

  1. "มะขามป้อมมาจากไหน และอย่างไรถึงเรียกว่ามะขามป้อม". ชื่อเว็บไซต์.
  2. "Untitled Document". il.mahidol.ac.th.
  3. "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด". www.rspg.or.th.
  4. "Akshaya Navami today: Know why this day is also called Amla Navami". www.timesnownews.com (ภาษาอังกฤษ).
  5. "ทำความรู้จัก มะขามป้อม (Amla)". Restorlife Thailand (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. Ammk. (2021-03-10). "มะขามป้อม กินอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด!". Spring Green Evolution (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  7. "มะขามป้อม ผลไม้วิตามินซีสูงปรี๊ด ประโยชน์จี๊ดกว่าแก้ไอ !". www.watchaomool.ac.th.
  8. https://www.gpo.or.th/uploads/file/202008/8714fe8b97f9e348c4102c6671cc922e.pdf