ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Lookmousu/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไมโครโฟน (Microphone) ไมโครโฟน (microphones) เป็นอุปกรณ์ช่วยในการรับเสียงและเปลี่ยนพลังงานเสียงมาเป็นพลังงานเสียงมาเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยแผ่นรับเสียงที่เรียกว่าไดอะแฟรม (diaphragm) ซึ่งจะรับและถ่ายทอดแรงสั่นสะเทือนที่มาจากเสียงเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าอ่อน ๆแล้วถึงจะส่งต่อไปยังไมค์ปรีแอมป์ (mic pre-amp) เพื่อขยายสัญญาณให้แรงพอที่จะส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียง

ชนิดของไมโครโฟน

1. ไดนามิก หรือ มูฟวิ่งคอยล์ (Dynamic or Moving Coil)
2. คอนเดนเซอร์ (Condensor)

ไดนามิก หรือมูฟวิ่งคอยล์ (Dynamic or Moving Coil Microphones)

   ทำงานโดยให้แผ่นไดอะแฟรม (diaphragm) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมมีขดลวดพันยึดติดอยู่รอบ ๆ เคลื่อนไปมาระหว่างแม่เหล็กถาวร (fixed mangnet)การเคลื่อนที่เกิดจากแรงสั่นสะเทือนของเสียง ซึ่งทำให้ไดอะแฟรมสั่นสะเทือนพร้อมทั้งทำให้ขดลวดที่ยึดติดอยู่เคลื่อนที่ไปด้วย ซึ่งทำให้เกิดการเหนี่ยวนำกับแม่เหล็กจึงสร้างกระแสไฟอ่อน ๆ ขึ้นมาซึ่งเรียกหลักการทำงานแบบนี้ว่า มูฟวิ่งคอยล์ (moving coil)หรือในอีกชื่อว่าไดนามิกไมค์ (Dynamic microphone)

คอนเดนเซอร์ (Condensor)

 หลักการทำงานตรงข้ามกับไดนามิกไมค์ (dynamic microphones)ซึ่งคอนแดนเซอร์ไมค์ (Condenser microphones) ไม่ใช้แม่เหล็กถาวรแต่ใช้วงจรทางอิเล็กทรอนิกส์แทน หลักการทำงานยังใช้ไดอะแฟรม (diaphragm) เป็นตัวรับเสียงเหมือนเดิมซึ่งมักทำจากแผ่น พลาสติกเคลือบทองยึดติดอยู่เหนือ blank plate (ทำจากเซรามิกเคลือบทอง) ซึ่งทำให้มีช่องว่างเล็ก ๆ เพื่อการเคลื่อนตัวไปมาซึ่งการเคลื่อนตัวที่ว่านี้จะทำให้แผ่นไดอะแฟรม (diaphragm) เคลื่อนที่เข้าหา blank plateแตะกันทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปมาได้ด้วยไฟฟ้าที่มาจากแหล่งกำเนิดที่เรียกว่า แฟนทอม (phantom) โดยผ่านตัวเก็บประจุ (capacitor) ซึ่งจะมีขั้วบวกและลบอยู่ โดยขั้วบวกและลบจะถูกตอ่ไว้ที่ไดอะแฟรม (diaphragm) คนละแผ่น

แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างวัสดุ ไมโครโฟนแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด ด้วยกันคือ 1) แบบคาร์บอน (Cabon mic) ทำจากผงถ่าน คุณภาพไม่ค่อยดี นิยมใช้กับเครื่องรับโทรศัพท์ 2) แบบคริสตัล (Crystal mic) ใช้แร่คริสตัลเป็นตัวสั่นสะเทือน ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่ทนต่อสภาพของอุณหภูมิและความชื้น ราคาถูก 3) แบบเซรามิค (Ceramic mic) คล้ายแบบคริสตัล แต่มีความทนทานสูงกว่า นิยใช้ติดตั้งกับเครื่องยานพาหนะ 4) แบบคอนเดนเซอร์ (Condenser mic) ใช้คอนเดนเซอร์ เป็นตัวสร้างความถี่ เพื่อทำให้เกิดสัญญาณขึ้น แต่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ เป็นตัวช่วยในการทำงาน คุณภาพเสียงดี เบาเล็กกระทัดรัด 5) แบบไดนามิค (Dynamic mic) ใช้แม่เหล็กถาวร และมีขดลวด (moving coil) เคลื่อนไหวไปมาในสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ และเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร คุณภาพของเสียงดี มีความคงทน เหมาะที่จะใช้งานสาธารณะ 6) แบบริบบอน (Ribbon mic) ใช้แผ่นอลูมิเนียมเบา บางคล้ายกับริบบิ้น จึงต้องอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูง เมื่อคลื่นเสียงมากระทบกับแผ่นอลูมิเนียม จะสั่นสะเทือนและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไมโครโฟนชนิดนี้จะมีราคาแพง มีคุณภาพดีมาก มีความไวสูง แม้แต่เสียงหายใจ ลมพัด จะรับเสียงได้ เหมาะที่จะนำไปใช้ในห้องส่งวิทยุโทรทัศน์-บันทึกเสียง

แบ่งตามทิศทางของการรับเสียง 

1) แบบรับเสียงได้ทิศทางเดียว (Uni-Directional mic) รับเสียงได้ทิศทางเดียวคือด้าน หน้า มีมุมรับเสียงค่อนข้างแคบ เหมาะที่จะนำไปใช้สำหรับการบรรยาย การบันทึกเสียง วงดนตรี หรือที่ที่ผู้พูดอยู่ด้านหน้าไมโครโฟน 2) แบบรับเสียงได้ 2 ทิศทาง (Bi-directional mic) รับเสียงได้ 2 ทิศทางที่อยู่ตรงข้างกัน 3) แบบรับเสียงได้รอบทิศทาง (Omni-directional mic) รับเสียงได้รอบทิศทาง โดยมี ความไวในการับเสียงเท่าๆ กัน เหมาะสำหรับใช้ในการแสดงบนเวที แต่มีข้อเสียคือ เสียงจะเข้ารอบทิศทาง ป้องกันสัญญาณย้อนกลับ (Feed back) ได้ยาก 4) แบบรับเสียงบริเวณด้านหน้ารูปหัวใจ (Cardioid mic) รับเสียงได้ทิศทางเดียว แต่สามารถรับเสียงได้เป็นมุมกว้าง คล้ายรูปหัวใจหรือใบโพธิ์ นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน แบ่งตามลักษณะการใช้งาน 1) แบบตั้งโต๊ะ (Desk mic) ใช้เสียบบนขาตั้ง วางบนโต๊ะ หรือตั้งพื้นตรงหน้าผู้พูดโดยที ผู้พูดไม่ต้องเคลื่อนไปมา 2) แบบมือถือ (Hand mic) ใช้สำหรับนักร้อง นักโฆษณา 3) แบบห้อยคอ (Lavalier mic) มีขนาดเล็ก ใช้เสียงติดกับคอเสื้อ-กระเป๋าเสื้อ หรือเนค ไท นิยมใช้ในการทำรายการโทรทัศน์ 4) แบบบูม (Boom mic) ติดอยู่บนแขนยาว ๆ อยู่เหนือศีรษะผู้พูดสามารถเสื่อนตามผู้ พูด หรือผู้แสดงไปได้ตลอด นิยมใช้ในห้องผลิตรายการโทรทัศน์ และห้องบันทึกเสียงการแสดง 5) แบบบิง (Bing mic) ใช้ตั้งโต๊ะอยู่กับที่โดยไม่เคลื่อนย้าย 6) แบบไม่มีสาย (Wireless mic) เป็นเครื่องส่งวิทยุระบบ F.M ขนาดเล็กกำลังส่งต่ำ ใช้กับเครื่องรับวิทยุระบบ F.M ส่งคลื่นไปได้ไกล ประมาณ 50-200 เมตรเท่านั้น

การติดตั้งและการต่อใช้งาน ส่วนใหญ่การต่อใช้งานไมโครโฟนกับเครื่องเสียง สามารถกระทำได้ง่าย ๆ เพียงแต่เสียบเข้ากับช่องเสียบแจ็คที่มีคำว่า MIC ของเครื่องเสียง แต่ถ้าเป็นแจ็คคนละขนาด อาจแก้ปัญหาโดยการใช้ตัวแปลงขนาดแจ็กมาใช้ ซึ่งจะมีทั้งแบบแปลงจากแจ็คขนาดใหญ่เป็นขนาดเล็ก และ แปลงจากขนาดเล็กเป็นขนาดใหญ่ สำหรับการติดตั้งต้องพิจารณาถึงตำแหน่งของมุม และผลของการสะท้อนของเสียงด้วย เพราะอาจจะทำให้เสียงไม่เรียบ หรือ เกิดเสียงหอนได้

วิธีใช้และดูแลรักษาไมโครโฟน 1. เลือกไมโครโฟนชนิดที่เหมาะสมงาน โดยพิจารณาในเรื่องทิศทางการรับเสียง และชนิดของไมโครโฟน 2. ควรพูดห่างจากไมโครโฟนประมาณ 4 -12 นิ้ว เพื่อลดการเกิดเสียง "ฮัม" และเสียงลมหายใจ 3. อย่าเคาะหรือเป่าไมโครโฟนเพราะอาจทำให้ขดลวดไมโครโฟนขาดหรือชำรุดได้ 4. ระวังอย่าให้ตกหล่นจากที่สูงหรือถูกน้ำ 5. อย่าวางสายไมโครโฟนใกล้กับสายไฟฟ้าเพราะเกิดเสียงรบกวนจากความถี่ไฟฟ้าได้ 6. อย่าหันส่วนหน้าของไมโครโฟนเข้าหาลำโพง หรืออยู่ใกล้ลำโพงเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดเสียงหวีดหรือเสียงหอนได้ เนื่องจากมีการสะท้อนของเสียงย้อนกลับมา ดังนั้น จึงควรเบี่ยงไมโครโฟนให้ห่างจากหน้าลำโพง ถ้าเกิดเสียงรบกวนอีก ให้ปิดสวิตช์ที่ไมโครโฟนแล้วลดระดับความดังของเครื่องเสียงลง จากนั้นจึงค่อย ๆ เร่งเสียงให้ดังขึ้นมาจนถึงระดับที่ต้องการ