ผู้ใช้:Lertpisittip/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอธิการเสถียร คุณวโร
ส่วนบุคคล
เกิด12 มิถุนายน พ.ศ. 2483 (83 ปี)
นิกายธรรมยุติกนิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดถ้ำพระภูวัว จังหวัดบึงกาฬ
อุปสมบท14 กรกฎาคม พ.ศ. 2505
พรรษา67
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดถ้ำพระภูวัว

หลวงปู่เสถียร คุณวโร เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ศิษย์ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดถ้ำพระภูวัว เป็นที่เคารพในฐานะเสาหลักพระกรรมฐานในยุคปัจจุบันอีกหนึ่งท่าน

ชาติกำเนิด[แก้]

หลวงปู่เสถียร คุณวโร หรือในนาม หลวงปู่เถียร ท่านได้ถือกำเนิดในตระกูล พรหมศรีจันทร์ เมื่อ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๓ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะโรง ณ บ้าน เลขที่ ๕๒ บ้านไร่ม่วง อ. เมือง จ. เลย โยมบิดา คือ นายเขียน พรหมศรีจันทร์ (ถึงแก่กรรมปีพุทธศักราช ๒๕๑๙) และ โยมมารดา คือ นางฝน พรหมศรีจันทร์ (ถึงแก่กรรมปีพุทธศักราช ๒๕๓๕) หลวงปู่เถียร ท่านเป็นบุตรชายคนโตมีพี่น้องร่วมบิดามารดา รวมเป็น ๖ คน คือ ๑. เด็กหญิง ไม่ทราบชื่อ เพราะถึงแก่กรรมไปตั้งแต่ยังเล็กมาก ๒. หลวงปู่เสถียร คุณฺวโร ๓. นางเสวียน ศิริมา สมรสกับ นายสมพร ศิริมา มีบุตรธิดา ๓ คน ๔. นางบุญเทียน แก้วจำปา สมรสกับ นายศักย์ แก้วจำปา (ถึงแก่กรรม) มีบุตรธิดา ๓ คน ๕. นายทองเหรียญ พรหมศรีจันทร์ สมรสกับ นางอรพินทร์ พรหมศรี-จันทร์ มีบุตรธิดา ๓ คน ๖. นางสังเวียน พรหมศรี สมรสกับ นายชิต พรหมศรี มีบุตรธิดา ๓ คน

อุปสมบท[แก้]

หลวงปู่เสถียร ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุตามประเพณี ที่วัดศรีสุทธาวาส จ. เลย เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕ โดยมี หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ (พระธรรมวราลังการ วัดศรีสุทธาวาส พระอารามหลวง (วัดเลยหลง) ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระมหาสุพิทย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้รับฉายาว่า คุณวโร หลวงปู่เข้านาคก่อนบวชประมาณ ๑ เดือนจึงได้บรรพชา มีคู่นาค ๒ คนแล เณร ๑ องค์

ศึกษาธรรม[แก้]

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร บันทึกภาพร่วมกับพระภิกษุที่จำพรรษา ณ วัดป่าอุดมสมพร (หลวงปู่เสถียร แถวยืนด้านซ้ายสุด)

หลวงปู่เสถียร คุณวโร ได้มีศึกษาธรรมและอุปัฎฐาก หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่เสถียรได้ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆทั่วทุกภาคของประเทศไทย ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคอีสานจนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๒๐ หลังจากที่หลวงปู่ฝั้น อาจาโร มรณภาพแล้ว หลวงปู่อยู่ร่วมงานพิธีจนครบ ๑๐๐ วัน ท่านจึงได้ออกธุดงค์เข้ามาพำนักและจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำพระภูวัวแห่งนี้ จวบจนถึงปัจจุบัน นอกจากคุณธรรมขององค์ท่านที่น่าไปทำบุญกราบไหว้ให้เป็นบุญของชีวิตแล้ว ภูวัวนี่เอง ยังมีน้ำตกที่สวยงาม และที่วัดเองก็มีทิวทัศน์น่ารื่นรมณ์ และใกล้กัน คือคนละฟากของภูวัว ก็คือวัดหลวงปู่ทองคำ กาญจนวัณโณ วัดถ้ำบูชา น้ำตกเจ็ดสี วัดถ้ำบูชาแห่งนี้ อยู่หน้าทางเข้าน้ำตกเจ็ดสี และที่แห่งนี้เป็นที่จำพรรษาของหลวงปู่ ทองคำ พระอริยะสงฆ์ ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบองค์หนึ่ง ศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เช่นกัน ก่อนนี้ หลวงตามหาบัว ท่านนำเอาข้าวสารอาหารแห้งมาอุปถัมภ์วัดสองวัดคือ วัดถ้ำบูชา และวัดถ้ำพระถูวัว

วัดถ้ำพระภูวัว[แก้]

พระพุทธรูปที่หลวงปู่ฝั้นปั้นเองสร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์คู่แผ่นดิน ณ วัดถ้ำพระภูวัว

มงคลล้ำค่าคู่แผ่นดิน..พระพุทธรูปที่ถ้ำพระภูวัว ฝีมือการปั้นของหลวงปู่ฝั้นและพระอาจารย์มหาทองสุข อนุสรณ์ที่ฝากไว้ให้ลูกหลาน ในปีพ.ศ. ๒๔๙๑ เมื่อออกพรรษา หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ได้พาภิกษุสามเณร เดินธุดงค์ไปวิเวกที่ภูวัว ในท้องที่อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบันเป็น จ.บึงกาฬ)เหตุที่จะไปพำนักเพื่อบำเพ็ญความเพียรบนภูวัว เริ่มจากท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี ได้นิมนต์พระอาจารย์ฝั้นไปในงานศพของพระอาจารย์อุ่น ที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เสร็จงานศพแล้ว พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ และท่านพระครูอุดมธรรมคุณ (พระอาจารย์ทองสุข สุจิตโต อดีตเจ้าอาวาส วัดป่าสุธาวาส จ.สกลนคร) ได้ปรึกษาหารือกันว่า จะไปทางไหนกันดี หรือจะแยกย้ายกันกลับวัด พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ก็ออกความเห็นว่า ไปวิเวกต่อแถว ๆ ภูลังกา หรือภูวัวก่อนดีกว่า ต่างก็เห็นดีด้วย ทั้งสามท่าน พร้อมด้วยภิกษุผู้เป็นศิษย์อีกบางรูป จึงพร้อมกันออกเดินทางจากอำเภอท่าอุเทนไปทางอำเภอบ้านแพง จนกระทั่งถึงภูลังกา ซึ่งเป็นที่พำนักของพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร เมื่อขึ้นไปพักอยู่กับพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร จึงได้สอบถามพระอาจารย์วัง เกี่ยวกับภูวัว โดยปรารภว่า อยากจะไปวิเวกอยู่ที่นั่น พระอาจารย์วังก็บอกว่า ภูวัวเป็นที่วิเวกดีมาก

พื้นที่บริเวณวัดถ้ำพระภูวัว

เป็นป่าดงดิบเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด พระอาจารย์อ่อนกับพระอาจารย์ฝั้น และท่านพระครูอุดมธรรมคุณ (พระอาจารย์ทองสุข สุจิตโต) จึงได้ลงจากภูลังกา เดินทางต่อไปยังบ้านโพธิ์หมากแข้ง แล้วไปพักอยู่ในวัดร้างบริเวณป่าใกล้ ๆ บ้านโสกก่าม เมื่อถามญาติโยมถึงสถานที่อันเหมาะแก่การบำเพ็ญกัมมัฏฐานบนภูวัว พวกญาติโยมก็บอกว่ามีอยู่หลายแห่ง พระอาจารย์ฝั้นจึงให้นำขึ้นไป

วันแรกที่ขึ้นภูวัว ได้ไปพักที่ “ก้อนน้ำอ้อย” ที่เรียกว่าก้อนน้ำอ้อยเพราะเป็นหินก้อนใหญ่ พระอาจารย์ทั้งสามพำนักอยู่ที่นี่หลายวัน ก็เห็นว่าเป็นสถานที่ไม่สงบนัก เพราะเป็นทางช้างผ่านขึ้นลงอยู่เป็นประจำ ทั้งสามท่านจึงย้ายไปพักวิเวกที่ถ้ำพระ โดยให้พวกญาติโยมยกแคร่ขึ้นเป็นที่พักถ้ำพระแห่งนี้ อยู่ในบริเวณริมห้วยบางบาด มีลานหินกว้างใหญ่ และมีที่สำหรับบำเพ็ญภาวนาอย่างเหมาะสม ร่มรื่นและสงบดีเป็นอันมาก แต่ถึงอย่างไรก็ยังห่างไกลจากหมู่บ้าน ลงไปบิณฑบาตไม่ได้ ต้องให้ลูกศิษย์ทำอาหารถวายทุกวัน ถ้าวันไหนพระอาจารย์ฝั้น จะไม่ฉันจังหัน ท่านก็จะบอกให้ทำฉันกันเอง ท่านจะอดอาหารไปกี่วัน ท่านก็จะบอกล่วงหน้าให้ทราบ และจริงอย่างที่พระอาจารย์วังพูดไว้ บนภูวัวเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด น้ำท่าก็อุดมสมบูรณ์ดี แต่ขณะนี้มีหมู่บ้านใหม่ตั้งใกล้เข้าไปอีก ห่างจากถ้ำพระประมาณ ๖ – ๗ กิโลเมตร พระและเณรที่ไปพักวิเวกจึงพอเดินไปบิณฑบาตกันได้แล้ว พระอาจารย์ฝั้นพักวิเวกอยู่ที่ถ้ำพระบนภูวัวได้ประมาณ ๒ เดือนเศษ ท่านพระครูอุดมธรรมคุณ (พระอาจารย์ทองสุข สุจิตโต) ก็ออกความเห็นขึ้นว่า ควรจะทำอะไรไว้เป็นที่ระลึกในสถานที่นั้นสักอย่าง บังเอิญบนที่พักสูงขึ้นไปเป็นหน้าผา เหมาะสำหรับจะสร้างพระประธานไว้สักการบูชาเป็นอย่างยิ่ง พระอาจารย์ฝั้นจึงได้ตกลงสร้างพระพุทธรูปบนหน้าผาขึ้นด้วยวัสดุที่หาได้ง่าย ๆ เช่น มูลช้าง มูลวัว จึงแจ้งให้บรรดาญาติโยมบ้านดอนเสียด บ้านโสกก่าม และบ้านนาตะไก้ พร้อมด้วยบ้านอื่น ๆ ใกล้เคียงช่วยหาให้ สำหรับช่างปั้นนั้น พระอาจารย์ฝั้นกับพระครูอุดมธรรมคุณ มีฝีมือเยี่ยมอยู่แล้ว จึงไม่ต้องเสาะหา เมื่อได้ของพร้อมแล้วก็ลงมือทันที