ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:LekHuang/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เป๋งจั๊ว แซ่อึ๊ง (จีน: 黃炳泉; พินอิน: Huáng bǐng quán; 28 พฤษภาคม 2480 - 8 กุมภาพันธ์ 2557)

เกิดวันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 (ปีฉลู)  หรือเดือน 4 วันที่ 19 ตามปฏิทินจีน (丁丑年 四月十九日) ที่อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร เป็นลูกของชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากแผ่นดินจีนมาตั้งรกรากที่แผ่นดินสยาม โดยมีบิดาและมารดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว (อำเภอเตี่ยเอี๊ย)

บิดาชื่อนายเทียงเอ็ง แซ่อึ๊ง (黃天英) มารดาชื่อนางกุ้ยบ๊วย แซ่โง้ว (吳桂梅) เกิดปี พ.ศ. 2451 (ปีวอก) จะมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งที่จารึกลงในที่ป้ายสุสาน คือ บิดาชื่อนายเส่งเต็ก แซ่อึ๊ง (黃成德) มารดาชื่อนางฉ่วงปู่ แซ่โง้ว (吳全富) ซึ่งเป็นธรรมเนียมจีนโบราณอย่างหนึ่งในการจารึกชื่อลงในป้ายสุสานบรรพชนของตระกูลนี้

ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ ชุมชนเอ่าเกาเสีย หมู่บ้านไซกี (อึ่งเต๊กกี๊) ตำบลฮับซัวโตว อำเภอเตี่ยเอี๊ย จังหวัดแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน 廣東省潮州府潮陽縣峽山都西岐 (黃竹歧) 鄉后溝社

ในอดีตครอบครัวลำบากและยากจน อากงและอาม่าได้ตัดสินใจเดินทางอพยพจากแผ่นดินบ้านเกิด มายังประเทศสยามตามคำชักชวนของเหล่าแปะและเหล่าอึ้ม (พี่ชายและพี่สะใภ้ของอากง) ที่ได้เดินทางเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารก่อนหน้านี้ การเดินทางเข้ามายังประเทศสยามนั้น อากงและอาม่าได้ออกเดินทางจากหมู่บ้านในอำเภอเตี่ยเอี๊ยหรือเฉาหยาง (潮陽) ไปยังท่าเรือซัวเถาหรือซานโถว (汕頭) จังหวัดแต้จิ๋วหรือเฉาโจว (潮州) นั่งเรือสำเภาหัวแดงมายังปลายทางที่ท่าเรือทรงวาด ประเทศสยาม

เรือสำเภาหัวแดงหรือที่เรียกว่า “อั่งเถ่าจุ๊ง” 紅頭船  ด้านข้างกราบเรือจะวาดตาสองข้าง หัวเรือยังติดยันต์แปดเหลี่ยม (โป๊ยข่วย) ซึ่งเป็นเรือสำเภาทำการค้าของคนชาวจีนแต้จิ๋ว

หลักฐานการเดินทางที่จดบันทึกไว้ได้สูญหายหมดแล้ว แต่จากการวิเคราะห์น่าอยู่ในช่วงต้นสมัยรัชกาลที่ 7 ประมาณปี พ.ศ. 2470 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศจีนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การเดินทางอพยพครั้งนี้มาด้วยกัน 5 คน คือ อากง อาม่า เหล่าโกว (น้องสาวของอากง) เหล่าเตี่ย (น้องเขยของอากง) และพาลูกชายของเหล่าแปะและเหล่าอึ้ม (หลานชายของอากง) มาพร้อมกัน เมื่อถึงประเทศสยามมีเหล่าแปะและเหล่าอึ้ม (พี่ชายและพี่สะใภ้ของอากง) มารอรับที่ท่าเรือ

อากงและอาม่ามาตั้งรกรากถิ่นฐานครั้งแรกบนแผ่นดินสยาม เริ่มต้นอาศัยอยู่ในชุมชนชาวจีนย่าน      ตลาดน้อย ถนนเจริญกรุง โดยได้รับความช่วยเหลือจากเหล่าแปะและเหล่าอึ้ม (พี่ชายและพี่สะใภ้ของอากง) และเมื่อครอบครัวขยายใหญ่ขึ้นจึงย้ายออกมาอาศัยอยู่ที่ชุมชนชาวจีนย่านสะพานเหลือง ถนนพระราม 4

เมื่อครั้งตอนเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมายังประเทศสยาม มีเทพเจ้าองค์หนึ่งนาม “เทียงโหวเซี๊ยบ้อ” 天后聖母 หรือเจ้าแม่ทับทิมที่ชาวจีนบูชานับถือ ซึ่งเป็นเทพธิดาแห่งท้องทะเลที่คุ้มครองผู้เดินทางเรือ คอยคุ้มครองปกปักรักษาให้เดินทางยังประเทศสยามอย่างปลอดภัย ในชุมชนจีนแห่งนี้ก็มีศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง หรือที่เรียกว่า “อึ่งเกี่ยม่า” 黄橋媽  เป็นที่เคารพบูชาของลูกหลานชาวจีนมาถึงปัจจุบัน

อากงเริ่มต้นจากอาชีพรับจ้างเป็นจับกัง ส่วนอาม่าทำอาชีพรับจ้างกรอด้ายเส้นไหม และทอผ้าไหม เพื่อหาเลี้ยงชีพคนในครอบครัว โดยมีบุตรธิดาด้วยกัน 3 คน ได้แก่ ธิดาคนโตชื่อนางเพ็กจู แซ่อึ๊ง (黄碧珠) บุตรชายคนโตชื่อนายเป๋งฮวก แซ่อึ๊ง (黃炳發) และบุตรชายคนเล็กชื่อนายเป๋งจั๊ว  แซ่อึ๊ง (黃炳泉)

ด้วยอาชีพจับกังที่ต้องใช้กำลังกาย แรงงาน แบกหาม ต่อสู้กับความยากลำบากของชีวิตชาวจีนอพยพ เพื่อหาเงินมาสร้างฐานะให้กับครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น อากงจึงต้องทำงานอย่างจนร่างกายทรุดโทรมและเสียชีวิตลงตั้งแต่ป่าป๊าอายุยังน้อย เมื่อเดือน 7 วันที่ 19 ตามปฏิทินจีน (七月十九日)

หลังจากอากงเสียชีวิต ป่าป๊าช่วยอาม่าหาเงินมาจุนเจือคนในครอบครัว ในวัยเด็กเริ่มต้นทำงานเป็นลูกจ้างในร้านก๋วยเตี๋ยว พอโตขึ้นเป็นหนุ่มก็ได้ไปทำงานป่าไม้อยู่ทางภาคเหนือ ก่อนที่อาแปะ (พี่ชาย) ที่เปิดร้านทำเฟอร์นิเจอร์ไม้กำลังไปด้วยดี อาแปะจึงเรียกชวนป่าป๊ากลับมาช่วยกัน ป่าป๊าอยู่ในโรงงานเป็นช่างไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ ส่วนอาแปะจะเป็นคนออกไปหาลูกค้า ทั้งสองคนพี่น้องช่วยกันทำงานสร้างฐานะขึ้นมา จนมีกำลังเงินมากพอที่จะส่งกลับไปช่วยเหลือญาติพี่น้องที่อยู่ในประเทศจีนได้ โดยใช้วิธีที่เรียกว่า “โพยก๊วน” (批馆) ซึ่งเป็นการส่งเงินของลูกหลานชาวจีนโพ้นทะเลไปยังบ้านเกิดที่ประเทศจีน

จากบันทึกในเอกสารหนังสือเดินทางของอาม่า    ในปี พ.ศ. 2521 อาม่าได้มีโอกาสกลับไปเที่ยวเพื่อเยี่ยมเยืยนญาติพี่น้องผ่านทางประเทศฮ่องกง และนั่งเรือต่อไปยังประเทศจีน โดยไปกลับอาโกวและอาเตี่ย (พี่สาวและพี่เขยของป่าป๊า)

อาม่าเสียชีวิตอย่างสงบที่บ้านตอนเช้าวันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2538 หรือเดือน 11 วันที่ 9 ตามปฏิทินจีน (乙亥年 冬月初九日) สิริอายุรวม 87 ปี และฝั่งศพร่วมกับอากงที่สุสานหงษ์ซัว (鳳山山莊) จังหวัดชลบุรี

หลังจากอาแปะ (พี่ชายของป่าป๊า) เสียชีวิตการติดต่อกับญาติพี่น้องที่ประเทศจีนก็เริ่มลดลง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2550 อาเชี๊ยะโกว (ลูกพี่ลูกน้องของป่าป๊า) ก็ได้นำป้ายชื่อวิญญาณของอาม่ากลับไปไว้ที่หอบรรพชนประจำตระกูลหมู่บ้านในประเทศจีน ซึ่งเป็นขอของอาม่าที่กล่าวไว้ก่อนเสียชีวิต (อาเชี๊ยะโกวมาที่บ้านมาบอกป่าป๊าว่าทำตามที่อาม่าขอไว้เรียบร้อยแล้ว)

ป่าป๊าอุปนิสัยเป็นคนโอบอ้อมอารี มีน้ำใจ ขยันขันแข็ง ชอบทำอาหาร และเป็นที่รักและเคารพนับถือ ของญาติพี่น้อง หลานๆ เพื่อนฝูง คนงานที่ร่วมงาน และเพื่อนบ้านตลอดมา เกษียณอายุจากการทำงานในวัย 70 ปี ป่าป๊าเสียชีวิตอย่างสงบที่บ้านตอนเย็นวันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 สิริอายุรวม 78 ปี หรือเดือน 1 วันที่ 9 ตามปฏิทินจีน (甲午年正月初九日) อัฐิได้เก็บบรรจุไว้ที่วัดธรรมมงคลเถาบุญนนทวิหาร กรุงเทพมหานคร