ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Lalida22/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม[แก้]

1.1 ประวัติความเป็นมา [แก้]

“ นครปฐม” เป็นอู่อารยธรรมสําคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ จาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์ กล่าวว่าเมืองนครปฐมแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่มีความเจริญรุ่งเรือง มานับตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีสําคัญในสมัยทวารวดี ในยุคนั้น นครปฐมเป็นแหล่งเผยแพร่ อารยธรรมจากประเทศอินเดีย ซึ่งรวมทั้งพุทธศาสนา นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญ มีชนชาติต่างๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจํานวนมาก ต่อมาได้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในเมืองนครปฐม เพราะกระแสน้ําที่ ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ริมน้ําและสร้างเมืองใหม่ขึ้น ชื่อ  “เมืองนครไชยศรี” หรือ “ศรีวิชัย” นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ยังทรงผนวชได้ธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็น เจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ใดเทียบเท่า ครั้นเมื่อได้ครองราชย์ จึงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้ โดยให้ ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย์” ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดฯ ให้ขุด คลองเจดีย์บูชาเพื่อให้การเสด็จมานมัสการองค์พระปฐมเจดีย์สะดวกขึ้น    ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมืองนครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่ารก พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากตําบลท่านา อําเภอนครชัยศรี มาตั้งที่บริเวณ องค์พระปฐมเจดีย์เหมือนเช่นครั้งสมัยโบราณ   ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่เสด็จ แปรพระราชฐานและฝึกซ้อมรบแบบเสือป่า โดยโปรดฯ ให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย รวมทั้งสร้าง สะพานเจริญศรัทธาข้ามคลองเจดีย์บูชาเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟกับองค์พระปฐมเจดีย์ ตลอดจนสร้าง พระร่วงโรจนฤทธิ์ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์และบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้สมบูรณ์สวยงาม ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อจากเมือง “นครไชยศรี” เป็น “นครปฐม”

1.2 ที่ตั้งและอาณาเขต ที่ตั้ง     [แก้]

นครปฐมเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตก ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ําท่าจีนในที่ราบลุ่มภาค กลาง โดยอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 องศา 45 ลิปดา 10 ฟิลิปดา เส้นแวงที่ 100 องศา 4 ลิปดา 28  ฟิลิปดา มีพื้นที่ 2,168.327 ตารางกิโลเมตรหรือ 1,355,204 ไร่ หรือร้อยละ 0.42 ของประเทศและ อันดับที่ 62 ของประเทศ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปตามเส้นทางถนนเพชรเกษม 56 กิโลเมตรหรือตาม เส้นทางถนนบรมราชชนนี (ถนนปิ่นเกล้า–นครชัยศรี) 51 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟ 62 กิโลเมตร โดยมี อาณาเขตติดต่อ ดังนี้  ทิศเหนือ ติดต่อกับอําเภอสองพี่น้อง  จังหวัดสุพรรณบุรี  ทิศใต้  ติดต่อกับอําเภอกระทุ่มแบน อําเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร    และอําเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี  ทิศตะวันออก ติดต่อกับอําเภอไทรน้อย อําเภอบางใหญ่ อําเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเขตทวีวัฒนา เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร   อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ทิศตะวันตก ติดต่อกับอําเภอบ้านโป่ง  อําเภอโพธาราม  จังหวัดราชบุรี    และอําเภอท่ามะกา อําเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

1.3 สภาพภูมิประเทศ [แก้]

สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครปฐมโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบถึงค่อนข้างราบเรียบ ไม่มีภูเขา และป่าไม้  ระดับความแตกต่างของความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 2-10 เมตร เหนือระดับน้ําทะเลปานกลาง สภาพพื้นที่โดยทั่วไปลาดจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ และตะวันตกสู่ตะวันออกมีแม่น้ําท่าจีนไหลผ่านจากทิศเหนือลงสู่ ทิศใต้ พื้นที่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นที่ดอน  ส่วนพื้นที่ทางตอนกลางของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่ม มีที่ดอนกระจายเป็นแห่งๆ และมีแหล่งน้ํากระจาย สําหรับพื้นที่ด้านตะวันออก และด้านใต้เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ําท่าจีน มีคลองธรรมชาติและคลองซอยที่ขุดขึ้น เพื่อการเกษตรและคมนาคมอยู่มาก พื้นที่สูงจากระดับน้ําทะเล 2-4 เมตร

1.4  สภาพภูมิอากาศ[แก้]

  1.4.1 ปริมาณน้ําฝน[แก้]

จากสถิติข้อมูลปริมาณน้ําฝนของจังหวัดนครปฐม โดยใช้ข้อมูลของสถานีอุตุนิยมวิทยานครปฐม ย้อนหลัง 5 ปี (2553–2557) ปริมาณน้ําฝนจะอยู่ในช่วง 1,100–1,200 มิลลิเมตร ฝนตกมากที่สุด ปี 2554 วัดได้ 1,295.5 มิลลิเมตร ส่วนฝนตกน้อยที่สุดในปี 2557 วัดได้ 795.7 มิลลิเมตร  

1.4.2 อุณหภูมิ[แก้]

จากสถิติข้อมูลอุณหภูมิของจังหวัดนครปฐม โดยใช้ข้อมูลของสถานีอุตุนิยมวิทยานครปฐม  เปรียบเทียบย้อนหลัง 5 ปี (2553–2557) ปรากฏว่าอุณหภูมิโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปกติ สําหรับอุณหภูมิสูง ที่สุด วัดได้ 40.2 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 และอุณหภูมิต่ําที่สุด วัดได้ 10 องศา เซลเซียส  เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2557  

๑.๕ การเมืองการปกครอง   [แก้]

๑.๕.๑ เขตการปกครอง [แก้]

จังหวัดนครปฐมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 อําเภอ 106 ตําบล 904 หมู่บ้าน สําหรับการ บริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง  เทศบาล เมือง 4 แห่ง  เทศบาลตําบล 18 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตําบล 93 แห่ง     ๑.๕.๒  ประชากร จังหวัดนครปฐมมีประชากรจํานวนทั้งสิ้น 894,567 คน เป็นชาย จํานวน 429,789 คน   หญิง จํานวน 464,778 คน  ครัวเรือน จํานวน 366,022 ครัวเรือน  สําหรับอําเภอที่มีประชากรมากที่สุด  ได้แก่  อําเภอเมือง รองลงมา ได้แก่ อําเภอสามพราน และกําแพงแสน ตามลําดับ รายละเอียดดังตาราง ตาราง 1-1 จํานวนประชากรและครัวเรือน ปี พ.ศ. 2557   อําเภอ ชาย หญิง รวม จํานวนครัวเรือน อําเภอเมือง 132,655 145,227 277,882 107,116 อําเภอกําแพงแสน 60,921 64,803 125,724 37,236 อําเภอนครชัยศรี 54,173 59,723 113,896 42,754 อําเภอดอนตูม 23,349 24,632 47,981 14,061 อําเภอบางเลน 43,635 44,710 88,345 29,767 อําเภอสามพราน 96,572 105,501 202,073 116,063 อําเภอพุทธมณฑล 18,484 20,182 38666 19,025 รวม 429,789 464,778 894,567 366,022

ที่มา: ที่ทําการปกครองจังหวัดนครปฐม (มีนาคม 2557)

๑.๕.๒ การบริหารราชการ[แก้]

จังหวัดนครปฐม แบ่งส่วนการบริหารราชการออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนราชการบริหารส่วนกลางในจังหวัด (ที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง) มีจํานวน 66 หน่วยงาน เป็น หน่วยงานในสังกัดกระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ จํานวน 48 หน่วยงาน หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จํานวน 4 หน่วยงาน และหน่วยงานอิสระจํานวน 14 หน่วยงาน  2) ส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาค มีจํานวน 32 หน่วยงาน เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวง  ทบวง กรมอื่น ๆ จํานวน 23 หน่วยงาน หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย 8 หน่วยงาน ระดับอําเภอ แบ่งเป็น 7 อําเภอ 106 ตําบล 904 หมู่บ้าน  3) ส่วนราชการบริหารส่วนท้องถิ่น แบ่งออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด จํานวน 1 แห่ง เทศบาลนคร จํานวน 1 แห่ง  เทศบาลเมือง จํานวน 4 แห่ง  เทศบาลตําบล จํานวน 18 แห่ง และองค์การ บริหารส่วนตําบล จํานวน 93 แห่ง

๑.๖ สภาพเศรษฐกิจ   [แก้]

๑.๖.๑ ภาคเกษตร   [แก้]

ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product: GPP)  ณ ราคาประจําปี 2557  เท่ากับ 261,676 ล้านบาท มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2556 จํานวน  16,913 ล้านบาท  และมีผลิตภัณฑ์มวลรวม จังหวัดต่อประชากร  (GPP per  capita) เท่ากับ 256,501 บาท คิดเป็นลําดับที่ 11 ของประเทศ และสูงสุด ในกลุ่มภาคกลางตอนล่าง 1 สาขาที่มูลค่าสูงสุดและมีความสําคัญในการสร้างรายได้ให้กับจังหวัด 3 ลําดับแรก ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรม จํานวน 152,251 ล้านบาท รองลงมาเป็นสาขาการขายส่ง การขายปลีก การ ซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน จํานวน 31,555 ล้านบาท และ อันดับ 3  สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ จํานวน 20,177  ล้านบาท มีพื้นที่เกษตรกรรม จํานวนทั้งสิ้น 730,261 ไร่ คิดเป็นประมาณร้อยละ 58.89 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด การเกษตรเป็นสาขาการ ผลิตที่สําคัญของจังหวัดนครปฐม ประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 23.59 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพสําคัญ ได้แก่ การทํานา ทําไร่ ทําสวนผลไม้และพืชผัก การเลี้ยงสัตว์และการทําการประมง ได้แก่ การเพาะเลี้ยงสัตว์ น้ํา ระบบการเกษตรในจังหวัดนครปฐม จัดเป็นเขตเกษตรก้าวหน้า เพราะมีระบบชลประทานที่ดี โดยอาศัย แหล่งน้ําจากลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยา ท่าจีน และแม่กลอง ประกอบกับเกษตรกรจังหวัดนครปฐมมีศักยภาพสูง สามารถเรียนรู้วิทยาการแบบใหม่ ๆ และมีการใช้เทคโนโลยีภาคการเกษตรที่พัฒนามากขึ้น การเกษตรกรรม ของจังหวัดมีความเป็นไปได้สูงต่อการวางแผนจัดระบบการผลิตเพื่อเชื่อมโยงการส่งออก

 ๑) การเพาะปลูก จังหวัดนครปฐมมีพื้นที่เพาะปลูกแยกเป็นพื้นที่ใช้ทํานาปี จํานวน 429,064 ไร่ ทํา นาปรัง จํานวน 427,362 ไร่ พืชไร่ จํานวน 87,293 ไร่ ไม้ดอกไม้ประดับ จํานวน 17,408 ไร่   พืชเศรษฐกิจที่สําคัญ ได้แก่   ข้าว จังหวัดนครปฐมมีการทํานาปีละ 2 ครั้ง คือ ข้าวนาปีและข้าวนาปรัง โดยข้าวนาปีเป็นข้าว เพาะปลูกในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และจะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนสิงหาคม-มกราคม ส่วนข้าวนาปรังเป็น ข้าวที่เพาะปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน และจะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม  แต่เนื่องจากจังหวัดนครปฐมมีระบบชลประทานที่สมบูรณ์ จึงสามารถปลูกข้าวได้ต่อเนื่องตลอดปี คือสามารถ ปลูกได้ 2 ปี 5 ครั้ง สําหรับผลผลิตข้าวฤดูการผลิตปี พ.ศ.2556  ของจังหวัด ดังนี้     

- ข้าวนาปี จากสถิติการปลูกข้าวพบว่า ปี พ.ศ. 2555/2556  มีปริมาณผลผลิตรวมประมาณ 386,276 ตัน มีเนื้อที่เพาะปลูก จํานวน 429,064 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่  870 กิโลกรัม   

- ข้าวนาปรัง จากสถิติการเพาะปลูกพบว่า ปี พ.ศ. 2555/2556 มีปริมาณผลผลิตรวมประมาณ 386,666 ตัน มีเนื้อที่เพาะปลูก จํานวน 427,362 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 879 กิโลกรัม     

อ้อยโรงงาน พืชไร่ที่สําคัญของจังหวัดฯ คือ อ้อยโรงงานที่ใช้ผลิตน้ําตาลทรายในปี  พ.ศ.2556  จังหวัดนครปฐมมีผลผลิตอ้อยโรงงานรวมประมาณ 1,070,256 ตัน มีเนื้อที่เพาะปลูก จํานวน 75,175 ไร่  ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 13,960 กิโลกรัม

ผลไม้ การทําสวนผลไม้นับเป็นอาชีพหนึ่งที่ราษฎรทําการเพาะปลูกมาก ประกอบด้วย มะพร้าว น้ําหอม ส้มโอ มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ มะนาว กล้วยน้ําว้า กล้วยหอม ลําไย ฯลฯ สําหรับผลไม้ที่มีชื่อเสียงของ จังหวัดมีผลผลิตรวมประมาณ 128,437 ตัน เนื้อที่เพาะปลูก จํานวน 73,802 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 1,740 กิโลกรัม     

พืชผัก มีการปลูกกันทั่วไป นอกจากจะใช้บริโภคภายในจังหวัดนครปฐมแล้ว ยังส่งไปจําหน่ายยัง จังหวัดข้างเคียงและกรุงเทพฯ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง มีผลผลิตผักรวมประมาณ 155,118 ตัน เนื้อที่เพาะปลูก จํานวน 57,140 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ จํานวน 2,714 กิโลกรัม

ไม้ดอกไม้ประดับ จังหวัดนครปฐมเป็นแหล่งเพาะปลูกกล้วยไม้ที่สําคัญและมีไม้ดอก ไม้ประดับอื่น ๆ เช่น กุหลาบ มะลิ บัวฉัตร ดอกรัก ฯลฯ มีเนื้อที่เพาะปลูกรวมประมาณ 17,408 ไร่ ส่วนใหญ่ อยู่ในเขตอําเภอสามพราน นครชัยศรี พุทธมณฑล และบางเลน  

 ๒) การปศุสัตว์   การเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคและการค้า สัตว์ที่นิยมเลี้ยง (สํานักงานปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ. 2558)    ตาราง 1-2 ประเภทสัตว์และจํานวนเกษตรกรผู้เลี้ยง

ที่มา: สนง.ปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม (2558)

๓) การประมง จังหวัดนครปฐมมีเกษตรกรประกอบอาชีพประมงน้ําจืดเป็นส่วนใหญ่ ผลผลิตของสาขาประมง โดยทั่วไปได้จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํามีเกษตรกรด้านการประมงทั้งสิ้น จํานวน ๘,390 รายพื้นที่ทํา การประมงมีจํานวนทั้งสิ้น 90,467 ไร่ สัตว์น้ําที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ กุ้งก้ามกราม กุ้งขาว ปลาน้ําจืด ปลาสวยงาม จระเข้ และสัตว์น้ําอื่นๆ ตามลําดับ มีผู้ประกอบการด้านการประมง ทั้งสิ้น 1๘8 ราย ประกอบด้วย  ผู้ค้าปัจจัย การผลิต/ ผู้ค้า ผู้รวบรวม สัตว์น้ํา/แพปลา ท่าขึ้นปลา/โรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สัตว์น้ํา/กลุ่มและผู้แปร รูปสัตว์น้ํา/ผู้นําเข้า ผู้ส่งออกสัตว์น้ําและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ํา  โครงสร้างการผลิต ประกอบด้วยกิจกรรมการเลี้ยง ปลาน้ําจืดทุกชนิด (ปลานิล ปลาตะเพียน ปลายี่สก ปลาดุก ฯลฯ) ร้อยละ 75.9 รองลงมาคือการทําฟาร์มเลี้ยง กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม ร้อยละ 22.6  ส่วนการเพาะพันธุ์ปลาและกุ้งมีสัดส่วนร้อยละ 1.6 ซึ่งมาจากกิจกรรม การเพาะพันธุ์และอนุบาลกุ้งทะเลกุ้งก้ามกราม ปลาน้ําจืด สัตว์น้ําสวยงามและสัตว์น้ําอื่น ๆ ดังที่ได้แสดงไว้ใน ตารางและแผนภูมิดังต่อไปนี้ (แหล่ง

ข้อมูล: สนง.ปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม สรุป ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๘)

๑.๖.๒ ภาคอุตสาหกรรม [แก้]

ในปี พ.ศ. 2557 จังหวัดนครปฐมมีโรงงานจํานวนทั้งสิ้น 3,120 แห่ง จํานวนเงินลงทุนประมาณ 283,943,411,071 บาท การจ้างงาน 186,629 คน เป็นชาย 94,835 คน เป็นหญิง 91,794 คน กําลังการ ผลิตทั้งสิ้น 3,986,488.43 แรงม้า     ตาราง 1-10 จํานวนโรงงานแยกตามหมวดอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2557   

ที่มา: สนง.อุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม (2557)

๑.๖.๓ การพาณิชยกรรม[แก้]

จังหวัดนครปฐมเป็นศูนย์กลางทางการค้าของภูมิภาคตะวันตกและเป็นชุมทางการขนส่ง  การขนถ่ายสินค้ามายาวนาน โดยทางรถไฟ รถยนต์ และการขนส่งสินค้าเกษตรทางน้ําเพื่อเข้าสู่ตลาดกรุงเทพฯ รวมทั้งมีความได้เปรียบทางด้านทําเลที่ตั้งประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดมีการพัฒนาการเกษตรใน ทุกด้าน จึงก่อให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการเกษตรได้เป็นอย่างดี และรวดเร็ว ทําให้โครงสร้าง ทางเศรษฐกิจของจังหวัดกระจายไปสู่สาขาต่างๆ และมีความมั่นคง จนกลายเป็นศูนย์กลางทางพาณิชยกรรม มีทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 90,076,572,540 บาท

๑.๖.๔ การเงิน การคลัง และการธนาคาร [แก้]

1) การเงิน การคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 จังหวัดนครปฐมจัดเก็บรายได้ จํานวน 44,810.796 ล้านบาท สูงกว่า ช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2557 จํานวน 44,652.688 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 158.11 ล้านบาท  จาก ตารางสรุปการจัดเก็บรายได้ของจังหวัดนครปฐม แสดงให้เห็นว่าจังหวัดมีศักยภาพในการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง

๑.๖.๕  เงินฝากและเงินสินเชื่อ[แก้]

ในปี พ.ศ. 2558 จังหวัดนครปฐมมีเงินฝากรวมทั้งสิ้น  233,835.20 ล้านบาท  โดยเพิ่มขึ้น จากเดือนเดียวกันของปี 2557 จํานวน  9,564.14  ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.26 ส่วนเงินสินเชื่อมีจํานวน 152,181.02 ล้านบาท  โดยลดลงจากเดือนเดียวกันปี  2557 จํานวน 12,655.33  ล้านบาท คิดเป็นร้อย ละ 7.68  เงินฝากขยายตัวสูงกว่าสินเชื่อเนื่องจากธนาคารส่วนใหญ่ใช้กลยุทธ์บริหารต้นทุนดอกเบี้ย เพื่อประคองส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในจังหวะที่สินเชื่อเติบโตในอัตราที่ชะลอลง เป็นผลมาจากการบริโภค ภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางทรงตัวอยู่ในระดับต่ํา

๑.๖.๖ การประกันภัย   [แก้]

ในปี พ.ศ. 2557  จังหวัดนครปฐมมีข้อมูลสาขาบริษัทประกันภัย การประกันวินาศภัยดังนี้ (1)  สาขา จํานวน 22 บริษัท รวม 23 สาขา  สาขาย่อย จํานวน 2 บริษัท รวม 2 สาขา และ สาขาเฉพาะเพื่อการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จํานวน 5 บริษัท  รวม 5 สาขา (2)  ศูนย์บริการบริษัท จํานวน 3 บริษัท  รวม 3 สํานักงาน    - ตัวแทนประกันวินาศภัย จํานวน 11 บริษัท  รวม 31 สํานักงาน    - นายหน้าประกันวินาศภัยบุคคล จํานวน 4 สํานักงาน ๑.๖.๗ การประกันชีวิต - สาขา จํานวน 6 บริษัท รวม 12 สาขา และตัวแทนประกันชีวิต จํานวน 3 บริษัท รวม  18 สํานักงาน [ที่มา : สนง.คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ภาค 10 นครปฐม] ๑.๖.๘  การแรงงาน ๑) สถานประกอบกิจการและลูกจ้าง  ในปี พ.ศ. 2558 จังหวัดนครปฐมมีสถานประกอบกิจการทั้งหมด 7,701 แห่ง มีจํานวนลูกจ้าง ทั้งหมด 211,315 คน ในจํานวนนี้เป็นสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่มีลูกจ้าง 1,000 คนขึ้นไป จํานวน 14 แห่ง มีจํานวนลูกจ้าง 26,343 คน ตามตารางแสดงจํานวนสถานประกอบกิจการและลูกจ้างจังหวัดนครปฐม ปี 2558

๑.๗  สภาพสังคม[แก้]

๑.๗.๑ การศึกษา   [แก้]

จังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความพร้อมทางการจัดการศึกษา กล่าวคือ มีสถานศึกษาทุกระดับ ที่จะให้บริการทางการศึกษาแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในจังหวัดนครปฐมอย่างพอเพียงตั้งแต่ระดับ ก่อนประถมศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา นอกจากนี้ ยังมีสถาบันอุดมศึกษาอีกหลายแห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยคริสเตียน มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และโรงเรียนนายร้อยตํารวจ                     

ในด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครปฐมมีสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๑ รับผิดชอบดูแลสถานศึกษาในพื้นที่อําเภอเมืองนครปฐม  กําแพงแสน และดอนตูม  และสํานักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๒ รับผิดชอบดูแลสถานศึกษาในพื้นที่อําเภอนครชัยศรี บางเลน สาม พราน และพุทธมณฑล     ในปี พ.ศ.๒๕๕7  จังหวัดนครปฐมมีสถานศึกษาจํานวน 300 แห่ง แยกเป็นสถานศึกษาในพื้นที่ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จํานวน 150 แห่ง และในพื้นที่สํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2  จํานวน  150 แห่ง  (ที่มา: สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต ๑  และ ๒)  และสังกัดมัธยมศึกษาเขต ๙ จํานวน ๒๙ แห่ง  

๑.๗.๒ การศาสนา   [แก้]

ศาสนาพุทธ  1) วัด  219 แห่ง  พระอารามหลวง 5 แห่ง  วัดราษฎร์ 214 แห่ง  มหานิกาย 199 แห่ง  ธรรมยุต   19 แห่ง  อนัมนิกาย 1 แห่ง 2) สํานักสงฆ์ 2 แห่ง 3) ที่พักสงฆ์ 2 แห่ง 4) วัดร้าง 14 แห่ง 5) พระอารามหลวง  ได้แก่ 5 แห่ง (1) วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร (มหานิกาย)   อําเภอเมืองนครปฐม (2) วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร (มหานิกาย)             อําเภอเมืองนครปฐม (3) วัดเสน่หา  (ธรรมยุต)      อําเภอเมืองนครปฐม (4) วัดพระงาม (มหานิกาย)              อําเภอเมืองนครปฐม (5) วัดไร่ขิง (มหานิกาย)     อําเภอสามพราน

ศาสนาคริสต์  จําแนกเป็น โปรเตสแตนท์ 18 แห่ง คาธอลิก  6 แห่ง ศาสนาอิสลาม  มัสยิดปากีสถาน  (ปาทาน)      1   แห่ง

๑.๗.๓ วัฒนธรรม/ประเพณี[แก้]

จังหวัดนครปฐม มีขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และการละเล่นพื้นเมืองสําคัญที่นิยมปฏิบัติ สืบทอดกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน รวมถึงงานที่จัดขึ้นเป็นประจําทุกปี  ดังนี้ งานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ งานประเพณีที่มีมาแต่โบราณ จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 12 ค่ํา ถึงแรม 4 ค่ํา เดือน 12 ของทุกปี  บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุและร่วมกันบริจาคทรัพย์บํารุงรักษาองค์พระปฐมเจดีย์ ให้มั่นคงสืบต่อไป ภายในงานจะมีการออกร้านจําหน่ายสินค้าพื้นเมืองและการแสดงมหรสพต่างๆ  งานเทศกาลอาหาร ผลไม้  และของดีนครปฐม จัดขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน ปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณ องค์พระปฐมเจดีย์ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียง ของจังหวัด เช่น ส้มโอ มะพร้าวน้ําหอม ฝรั่ง และกล้วย เป็นต้น ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้แก่ กุนเชียง หมูแผ่น หมูหยอง หมูหัน ข้าวหลาม ฯลฯ รวมทั้งอาหารโต๊ะจีนที่ขึ้นชื่อ ตลอดจนสินค้าทางอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยในงาน จะมีการประกวดผลผลิตด้านการเกษตรประเภทต่างๆ     งานมหาธีรราชเจ้ารําลึก มหกรรมวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม จัดขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ ระหว่างวันที่ 1-7 มกราคมของทุกปี ณ บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ เริ่มจัดเมื่อปี พุทธศักราช 2545 จนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และสืบสานวัฒนธรรมไทย  ในงานดังกล่าวจะมีกิจกรรมการประกวดต่างๆ การแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน และการ แสดงทางวัฒนธรรมของนักเรียน นิทรรศการพระราชประวัติพระราชกรณียกิจรัชกาลที่ 6 และกิจกรรมอื่นๆ อีก มากมาย การจําหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม  ศูนย์อาหารของดีจังหวัดนครปฐมตลอดจนการจําหน่ายสินค้าต่าง ๆ ประเพณีการแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์ การนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ที่พุทธศาสนิกชนนิยมกระทํา ได้แก่ การบูชาด้วยดอกไม้  ธูป เทียน ในวันธรรมดาเป็นปกติ และในวันสําคัญทางศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา จะมีการบูชาด้วย การเดินเวียนเทียนทักษิณาวัตรรอบองค์พระปฐมเจดีย์ เพื่อเป็นการทําให้จิตใจสงบ  

ประเพณีลอยกระทง[แก้]

ตรงกับช่วงงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ จึงนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงาน องค์พระปฐมเจดีย์ด้วย ในวันลอยกระทงคืนวันเพ็ญเดือน 12 นี้ มีประชาชนมาเที่ยวงานอย่างคับคั่งมากกว่าวัน อื่นๆ เป็นประจําทุกปี จัดให้มีพิธีลอยกระทงบริเวณคลองเจดีย์บูชาทางด้านสะพานเจริญศรัทธา

ประเพณีแห่ธงสงกรานต์[แก้]

เป็นประเพณีพื้นบ้านและเป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านานใน หมู่คนไทยเชื้อสายลาวครั่ง บริเวณเขตตําบลโพรงมะเดื่อ อําเภอเมืองนครปฐม และในตําบลห้วยด้วน ตําบล ดอนรวก ตําบลลําเหย อําเภอดอนตูม  การแห่ธงสงกรานต์เป็นประเพณีเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่ปฏิบัติแตกต่าง ไปจากคนไทยกลุ่มอื่นในช่วงเทศกาลของทุกปี   

ประเพณีการแข่งเรือยาว[แก้]

เป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจําทุกปี บริเวณลุ่มแม่น้ํานครชัยศรี (แม่น้ําท่าจีน) หน้าวัดบางพระ อําเภอนครชัยศรี ประมาณช่วงออกพรรษา โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานโล่รางวัลแก่ทีม ชนะเลิศ นอกจากนั้น ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ํา เป็นต้นไป เป็นเวลา 1 เดือน จะมีการแข่งเรือในวันทอดกฐินตามวัด ต่างๆ ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ํา ซึ่งในช่วงดังกล่าววัดต่างๆ จะมีการทอดกฐินหรือถวายผ้าไตรจีวรพร้อมเครื่องอัฐบริขาร แด่พระภิกษุสงฆ์ อันเป็นประเพณีสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

๑.๗.๔  การสวัสดิการสังคม [แก้]

ปี พ.ศ. 2558 จังหวัดนครปฐม มีจํานวนสถานประกอบการขึ้นทะเบียน ทั้งสิ้น 7,831 ราย สูงกว่า ปี พ.ศ. 2556 และ 2557  คิดเป็นร้อยละ 5 และร้อยละ 2 ตามลําดับ สําหรับนายจ้างที่ขึ้นทะเบียนในปี พ.ศ. 2558 มีจํานวน 7,166 ราย สูงกว่าปี พ.ศ. 2556 และ 2557  คิดเป็นร้อยละ 5 และร้อยละ 2 ตามลําดับ และสําหรับลูกจ้างที่ขึ้นทะเบียนประกันตนในปี พ.ศ. 2558 มีจํานวนทั้งสิ้น 197,293 ราย สูง กว่าปี พ.ศ. 2556 และ 2557  คิดเป็นร้อยละ 6 และร้อยละ 1 ตามลําดับ  ตามตารางแสดงจํานวนสถาน ประกอบการ นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ประกันตน

๑.๗.๗  ยาเสพติด [แก้]

จังหวัดนครปฐม มีการจับกุมคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จํานวน 3,272 คดี และจับกุมผู้ต้องหา ได้ จํานวน 3,384 คน ประเภทยาเสพติดที่จับกุมได้มากที่สุด คือ แอมเฟตามีน (ยาบ้า) จํานวน 2,613 คดี (ร้อยละ 79.86 ของคดีทั้งหมด) รองลงมาคือ กัญชา 314 คดี (ร้อยละ 9.60 ของคดีทั้งหมด) ตามตาราง สถิติการจับกุมยาเสพติด

๑.๘ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

๑.๘.๑ ไฟฟ้า[แก้]

1) จังหวัดนครปฐมมีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขา ทั้งหมด 7 แห่ง  มีจํานวนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น 274,974 ราย และหน่วยจําหน่ายไฟฟ้า จํานวนทั้งสิ้น 3,964,434,945 กิโลวัตต์/ชั่วโมง   

2) จังหวัดนครปฐมมีผู้ใช้ไฟฟ้าฟรี จํานวน 3,244 ราย หน่วยไฟฟ้าฟรี 67,649,462 กิโลวัตต์/ ชั่วโมง   

๑.๘.๒  แหล่งน้ํา[แก้]

๑) ระบบน้ําประปา จังหวัดนครปฐมมีจํานวนที่ทําการประปา จํานวน 2 แห่ง  ดังนี้   

- ประปาในเขตเมือง เป็นของเทศบาลนครนครปฐม ซึ่งจําหน่ายน้ําในเขตเทศบาล มีผู้ใช้น้ํา 28,619 ราย ปริมาณน้ําผลิต 28,900,585 ลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ําจําหน่าย 18,504,478 ลูกบาศก์เมตร และปริมาณน้ําสูญเสียร้อยละ 35.97 (ที่มา: สํานักงานเทศบาลนครนครปฐม (2557))   

- ประปาในเขตสามพราน เป็นของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาสามพรานมีพื้นที่ การให้บริการประมาณ 69.79 ตารางกิโลเมตร มีผู้ใช้น้ํา จํานวน 55,609 ราย ปริมาณน้ําผลิต 21,167,873ลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ําผลิตจ่าย จํานวน 11,945,213 ลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ําสูญเสีย ร้อยละ 43 (ที่มา: สํานักงานเทศบาลนครนครปฐม (2557)

๒) แหล่งน้ําธรรมชาติ  จังหวัดนครปฐมมีแหล่งน้ําธรรมชาติที่สําคัญ คือ แม่น้ําท่าจีน (แม่น้ํานครชัยศรี) ไหลผ่านจังหวัด นครปฐมตั้งแต่อําเภอบางเลน สิ้นสุดเขตจังหวัดนครปฐมที่เขตอําเภอสามพราน เป็นแหล่งน้ําสายหลัก  มีแม่น้ําหรือลําธาร คลอง จํานวน 724 สาย สามารถใช้งานได้ในฤดูแล้ง จํานวน 723 สาย มีหนอง  บึง 24 แห่ง สามารถใช้งานได้ในฤดูแล้ง จํานวน 23 แห่ง  และอื่น ๆ จํานวน 224 แห่ง ใช้งานได้ในฤดูแล้ง จํานวน 224 แห่ง 

๓) แหล่งน้ําชลประทาน  ในเขตจังหวัดนครปฐม มีแหล่งน้ําประกอบด้วย โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาที่สร้างแล้วเสร็จ  จํานวน 8 โครงการ  คือ

(1) โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาบางเลน

(2) โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษากําแพงแสน

(3) โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษานครปฐม

(4) โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษานครชุม

(5) โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาพระยาบรรลือ

(6) โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาพนมทวน

(7) โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาพระพิมล

(8) โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาภาษีเจริญ พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการฯ มีจํานวน 1,036,626 ไร่ หรือร้อยละ 76.49 ของพื้นที่ ทั้งจังหวัด (ที่มา: โครงการชลประทานนครปฐม(2557))

๑.๘.๓  การคมนาคมขนส่ง[แก้]

รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายเก่า สายถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านอ้อม น้อย อ้อมใหญ่ สามพราน ไปจนถึงจังหวัดนครปฐม หรือ เส้นทางสายใหม่จากกรุงเทพฯ ถนนบรมราชชนนี ผ่านพุทธมณฑล นครชัยศรี ไปจนถึงจังหวัดนครปฐม ระยะทาง 56 กิโลเมตร จังหวัดมีถนนในความรับผิดชอบ ของหน่วยงาน  2  แห่ง  ดังนี้

- แขวงทางหลวงชนบทนครปฐม  ในปี พ.ศ. 2557 แขวงทางหลวงชนบทนครปฐม มีถนนโครงข่ายทางหลวงชนบทอยู่ในความ รับผิดชอบ ทั้งหมดจํานวน 21 สายทาง ระยะทางรวม 249,518 กิโลเมตร โดยแยกแต่ละประเภท ดังนี้ 1) ทางลาดยาง  249.518 กิโลเมตร 2) ทางคอนกรีต    -     กิโลเมตร 3) ทางลูกรัง 27.306  กิโลเมตร

โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการบํารุงรักษา ดังนี้

(1) สํานักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครปฐม รับผิดชอบบํารุงรักษา จํานวน 21 สายทาง ระยะทาง 249.518 กิโลเมตร แบ่งออกเป็นถนนลาดยาง จํานวน 249.518 กิโลเมตร และถนนลูกรัง จํานวน 27.306 กิโลเมตร

(2) ศูนย์บํารุงทางหลวงชนบทกําแพงแสน รับผิดชอบบํารุงรักษา จํานวน 17 สายทาง ระยะทาง 216.803 กิโลเมตร โดยเป็นถนนลาดยางทั้งหมด ตามตารางดังนี้   

- แขวงทางหลวงนครปฐม แขวงทางหลวงนครปฐม มีถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบที่ขึ้นทะเบียนทางหลวงไว้ ระยะทางรวมทั้ง สิ้น 565.868 กิโลเมตร โดยแยกเป็นทางลาดยาง จํานวน 355.040 กิโลเมตร คอนกรีต จํานวน 210.828 กิโลเมตร และสะพาน จํานวน 7,688.81 เมตร

๑.๘.๔  โทรศัพท์[แก้]

จังหวัดนครปฐมมีจํานวนเลขหมายโทรศัพท์ทั้งสิ้น 79,904 เลขหมาย โดยแยกประเภทเลขหมายที่ เปิดใช้เป็นราชการ จํานวน 3,317 เลขหมาย บ้าน 33,719 เลขหมาย

๑.๙  ด้านการท่องเที่ยว [แก้]

จังหวัดนครปฐมจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของไทยอย่าง ต่อเนื่อง รวมทั้งได้จัดทําแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด  ซึ่งจะทําให้ภาคการท่องเที่ยวมีการเจริญเติบโตมากขึ้น   สถานที่ท่องเที่ยวสําคัญในจังหวัดนครปฐมได้แก่ องค์พระปฐมเจดีย์ พระราชวังสนามจันทร์ พุทธ มณฑล พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง วัดไร่ขิง ตลาดน้ําดอนหวาย และลานแสดงช้างและฟาร์ม จระเข้สามพราน ฯลฯ

อําเภอเมืองนครปฐม[แก้]

  วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร  เป็นที่ประดิษฐานของพระร่วงโรจนฤทธิ์ พระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราช วรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในบริเวณใจกลางเมืองนครปฐม เป็นที่ประดิษฐาน องค์พระปฐมเจดีย์อันเก่าแก่ที่มีอายุยาวนานนับพันปี และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก โดยทั่วไป อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของชาวจังหวัดนครปฐม อีกด้วย ปูชนียสถานสําคัญแห่งนี้เชื่อกันว่าพระปฐมเจดีย์เป็นเจดีย์องค์แรก ที่สร้างขึ้นในประเทศไทย มีพระร่วงโรจนฤทธิ์ ประดิษฐานในซุ้มวิหารทาง ทิศเหนือหน้าองค์พระปฐมเจดีย์

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ [แก้]

ตั้งอยู่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ทางด้านทิศตะวันออก เป็นที่รวบรวมเก็บรักษา โบราณวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศิลปะสมัยทวารวดีเปิดให้ชมวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00–16.00 น. อัตราค่าเข้าชมคนละ 20 บาท ชาวต่างประเทศ คนละ 100 บาท    พระราชวังสนามจันทร์ พระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นพระราชวังของกษัตริย์ในสมัยโบราณ ใกล้กับเนิน ปราสาท มีสระน้ําใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเรียกขานกันมาแต่เดิมว่า สระน้ําจันทร์ ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีพระราช ประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังที่ประทับขึ้น ณ เมืองนครปฐม สําหรับเป็นที่ ประทับแปรพระราชฐานในโอกาสเสด็จฯ มาสักการะองค์พระปฐมเจดีย์ และเพื่อประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถ ทรงเลือกจังหวัดนครปฐม โดยได้ พระราชทานนามว่า "พระราชวังสนามจันทร์" (อัตราค่าเข้าชม คนไทย ผู้ใหญ่ คนละ 30 เด็กคนละ 10 บาท นักเรียนนักศึกษาคนละ 10 บาท ชาว ต่างประเทศ คนละ 50 บาท หยุดวันนักขัตฤกษ์)    วัดพระประโทณเจดีย์ วัดพระประโทณเจดีย์อยู่บริเวณริมถนนเพชรเกษมห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ องค์พระประโทณเจดีย์ สูง 50 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 60 เมตร มีบันได 57 ขั้น  พระปรางค์ที่ตั้งอยู่บนสุดเป็นลักษณะแบบรัตนโกสินทร์ วัดพระประโทณเจดีย์ ได้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหารภายในบริเวณวัด ยังมีปูชนียวัตถุ เช่น พระเขี้ยวแก้ว ทะนานทองจําลอง รอยพระพุทธบาท หลวงพ่อโต ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสมัยเชียงแสน  อําเภอกําแพงแสน

สวนป่าสมุนไพรวัดปลักไม้ลาย[แก้]

ตั้งอยู่ที่ตําบลทุ่งขวาง อําเภอกําแพงแสน ห่างจากนครปฐมไปตามถนนมาลัย แมนประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นสวนสมุนไพรประมาณ 500 ชนิด บนเนื้อที่ จํานวน 92 ไร่ มีการนวดแผนโบราณ อบสมุนไพร และการปฏิบัติธรรม

สวนพฤกษศาสตร์และสวนแสนปาล์ม[แก้]

ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน ซึ่งภายใน มหาวิทยาลัยมีโครงการต่างๆ ที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจ มีการจําลอง เทคโนโลยีเกษตร ระบบชลประทาน อุทยานแมลง – ผีเสื้อ แปลงปลูกพืชและ ปาล์มชนิดต่างๆ

เมืองเก่ากําแพงแสน[แก้]

เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี ปัจจุบันใช้เป็นค่ายลูกเสือของจังหวัด เมืองเก่า กําแพงแสนสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นโดยเมืองนครชัยศรีเพื่อควบคุมเส้นทาง การค้าตามคูคลอง การเที่ยวชมโบราณสถานแห่งนี้จะเน้นไปในลักษณะของคู น้ําและคันดินที่ยังคงสภาพเดิมไว้อย่างชัดเจน โดยไม่มีซากโบราณสถานใดๆ สภาพภายในตัวเมืองมีเนินดินสระน้ํา ต้นไม้ใหญ่และเป็นที่อยู่อาศัยของนก นานาพันธุ์

อําเภอสามพราน[แก้]

  วัดไร่ขิง วัดไร่ขิงสร้างเมื่อ พ.ศ. 2394 โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)  ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญานวโรรสได้ทรงพระราชทาน นามว่า วัดมงคลจินดารามแต่ชาวบ้านเรียกว่าวัดไร่ขิง ตามชื่อตําบล ตั้งอยู่ที่ ตําบลไร่ขิง ห่างจากกรุงเทพฯ 32 กิโลเมตร มีทางเข้า 3 ทาง คือ ทางแยก หน้าสถานีตํารวจโพธิ์แก้ว ทางแยกตรงข้ามกับสวนสามพราน และทางแยก พุทธมณฑลสาย 5      ลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้สามพราน ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม ห่างจาก กรุงเทพฯตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม ห่างจากกรุงเทพฯ 31 กิโลเมตร มีเนื้อที่ ประมาณ 150 ไร่  การแสดงชนช้างสงครามยุทธหัตถี  ประกอบแสงสีเสียง ตระการตาความน่ารักของช้างแสนรู้และการแสดงอื่นๆ

สวนสามพราน[แก้]

สวนสามพราน (โรสการ์เด้น) ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษมห่างจาก ลานแสดงช้าง และฟาร์มจระเข้สามพราน 1 กิโลเมตร เป็นสถานที่พักผ่อน อยู่ติดแม่น้ํานครชัยศรี ภายในตกแต่งเป็นสวนดอกไม้นานาชนิด มีหมู่บ้านไทย บรรยากาศร่มรื่น เปิดทุกวัน เวลา 08.00-18.00 น.

ตลาดริมน้ําวัดดอนหวาย[แก้]

ตลาดริมน้ําวัดดอนหวายตั้งอยู่ ตําบลบางกระทึก อําเภอสามพราน การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามถนนเพชรเกษม ใช้ทางเข้า ทางเดียวกับวัดไร่ขิงตรงไปอีก 10  กิโลเมตร เป็นตลาดย้อนยุคที่ยังหลงเหลือ ความเป็นอดีตสมัยรัชกาลที่ 6 ให้เห็น

อําเภอนครชัยศรี[แก้]

  พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย                         [แก้]

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ตั้งอยู่บนถนนปิ่นเกล้า–นครชัยศรี กิโลเมตรที่ 13 ตําบลขุนแก้ว เป็นสถานที่จัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาส ซึ่งมีความสวยงาม และเหมือนจริง

ตลาดน้ําวัดกลางคูเวียง[แก้]

ตลาดน้ําวัดกลางคูเวียง ตั้งอยู่ที่ตําบลสัมปทวน มีจําหน่ายอาหาร ผลไม้ นานาชนิด  และแพปลาทั้งยังมีบริการล่องเรือชมทิวทัศน์แม่น้ํานครชัยศรี  ชมวิถีชีวิตชุมชน และเที่ยวชมวัดต่าง ๆ  

วัดศีรษะทอง[แก้]

เป็นวัดที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เพราะในแต่ละวันจะมีประชาชนนิยมมา สักการบูชาพระราหูเพื่อความเป็นสิริมงคลที่วัดนี้เป็นจํานวนมาก ด้วยคติความ เชื่อที่ว่าพระราหูนั้นเป็นเทพซึ่งสามารถบันดาลประโยชน์และโทษให้เกิดขึ้นกับ บุคคลหรือสิ่งต่างๆ ได้  ดังนั้น จึงเกิดพิธีกรรมในการบูชาพระราหูขึ้นเพื่อช่วย ให้โชคร้ายอันอาจจะเกิดขึ้นนั้น บรรเทาลงหรือกลับแปรเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ดีงาม กับชีวิต    เจษฎา เทคนิคมิวเซี่ยม (ยนตรกรรมโบราณ)   เป็นพิพิธภัณฑ์รถเก่า ก่อตั้งขึ้นโดย นายเจษฎา เดชสกุลฤทธิ์ นักธุรกิจชาวไทย  เกิดจากการได้พบเห็นพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในทวีปยุโรปและอเมริกา ที่เป็น แหล่งรวบรวมรถยนต์หายากที่จัดแสดงไว้มากมาย จึงได้เริ่มสะสมรถยนต์หา ยากขึ้นบ้าง  โดยเริ่มสะสมจากรถ Messerschmitt KR-200 รถการ์ตูน (Bubble Car) รถคันแรกที่นําเข้ามาจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จนถึง ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 500 คัน 

อําเภอบางเลน[แก้]

  ตลาดน้ําลําพญา[แก้]

อยู่บริเวณหน้าวัดลําพญา ต.ลําพญา จากกรุงเทพฯ ใช้ถนน ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี  วัดจะอยู่ด้านซ้าย เป็นตลาดริมน้ํามีสินค้า พืช ผัก ผลไม้ และอาหารอร่อยขึ้นชื่อของอําเภอบางเลน

   ตลาดบางหลวง ร.ศ.122[แก้]

เป็นชุมชนเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี เรียกว่า ตลาด 100 ปี บางหลวง เริ่มก่อตั้ง ตลาดตั้งแต่ปี พ.ศ.2446 ตั้งอยู่ริมแม่น้ําท่าจีน (หรือแม่น้ําสุพรรณบุรี) ด้านฝั่ง ตะวันตก เป็นห้องแถวไม้สองชั้นหันหน้าเข้าหากัน ยาวจากหัวตลาดถึงท้าย ตลาดประมาณ 68 ห้อง ปัจจุบันยังคงสภาพความสวยวามและบรรยากาศของ สถาปัตยกรรมตลาดเก่าในอดีตไว้อย่างสมบูรณ์ทั้งรูปแบบวิถีชีวิตที่เรียบง่าย การค้าขายของคนในชุมชน รวมทั้งประเพณีและวัฒนธรรมที่ผสมผสาน กลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมไทย–จีนที่สืบทอดกันมาเป็นเวลากว่า 100 ปี   

อําเภอดอนตูม[แก้]

 ศาลพระโพธิสัตย์กวนอิม[แก้]

บ้านทุ่งพิชัย ตั้งอยู่เส้นทางหลวงหมายเลข 3036 เป็นแบบปางสมาธิ ศิลปะจีนโบราณ แกะสลักด้วยไม้ที่มีอายุกว่า 1,000 ปี การแกะสลักใช้ไม้ท่อนเดียวตั้งแต่ช่วง พระพักตร์จนถึงช่วงหน้าตัก ลงลักปิดทอง มีขนาดหน้าตักกว้าง 5.50 เมตร  ความสูงจากฐานถึงยอดปรก 12 เมตร ได้ทําพิธีปฐมฤกษ์การแกะสลักเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 ณ โรงงานแกะสลักที่เมืองแต้จิ๋ว ประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน มีพระนามว่า“กวนซิอิมผู่สัก” และได้มีพิธีอัญเชิญองค์พระ โพธิสัตว์กวนอิมขึ้นประดิษฐาน เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2552