ผู้ใช้:Kwanbababa/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชื่อ – สกุล  : นางสาวขวัญนภา มุ่งผลกลาง
Name  : Miss Kwannapa Mungphonklang
ที่อยู่ปัจจุบัน  : หมู่ 3 ตำบลหนองหอย อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา 30220
การศึกษา :จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนทัพรั้งพิทยาคม จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ)
ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่ :ปัจจุบัน กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
ตำแหน่งงานที่สนใจ  : นักวิเคราะห์ระบบ,นักพัฒนาโปรแกรม

สถาปัตยกรรมเครื่อข่าย[แก้]

Layer Name Date Unit Device Group
7 Application Data Gateway
6 Presentation Data - User Support
5 Session Data -
4 Transport Segment - Transport Support
3 Network Packet Router
2 Data Link Frame Switch Network Support
1 Physical Bit HUB


ส่วนประกอบของเครื่อข่าย[แก้]

Computer[แก้]

คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง ๆ เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน หรือเครื่องคิดเลข ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมดในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึงเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนคอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิด คำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลข และ ตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนียังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้


ไฟล์:Comimg.jpg



Network Interface[แก้]

          การ์ดเชื่อต่อเครือข่าย (Network Interface Card : NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้
ไฟล์:Networkrmuti.jpg


Operating System[แก้]

           ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ (Hardware) กับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้อีกที โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผล การทำงานของฮาร์ดแวร์ ให้บริการกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปในการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ และจัดสรรการใช้ทรัพยากรระบบ (Resources) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยทั่วไประบบปฏิบัติการนั้น ไม่ได้มีแต่เฉพาะในคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่มีอยู่ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายชนิด เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา พีดีเอ แท็บเล็ตต่างๆ โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ และติดต่อกับผู้ใช้ผ่านโปรแกรมประยุกต์ (Application) ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Windows, Linux, Mac OS, Solaris, Ubuntu ส่วนตัวอย่างของระบบปฏิบัติการใช้มือถือได้แก่ Windows Mobile, iOS, Android เป็นต้น


ไฟล์:OSMG.jpg


Network Device[แก้]

ฮับ (HUB) 
          เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อถึงกันได้โดยตรงแต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น  การ์ดมีความเร็ว  100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับเครื่องใช้ในระบบ



Switch

           ฟังก์ชั่นส์ Switch คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการเพิ่มหรือขยายพอร์ทให้เพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่ Modem Router ที่ได้มาจากผู้ให้บริการจะมีพอร์ท Switch ตั้งแต่ 1-4 พอร์ท แล้วแต่รุ่น แต่เราสามารถเพิ่มพอร์ทให้มีมากขื้นโดยใช้งาน Switch ดังกล่าว แต่เดิมหลาย ๆ คนเรียกว่า Hub ซึ่งแท้จริงแล้วในปัจจุบันหาซื้อ Hub แทบไม่มีแล้วเนื่องจาก Hub เป็นเทคโนโลยีที่เก่าแล้ว เป็นฟังก์ชั่นส์หรืออุปกรณ์ซึ่งอยู่ใน Layer 1 ของ OSI Layer Reference Model แต่ Switch ทำงานอยู่ใน Layer 2 มีความฉลาดกว่า เร็วกว่า มีการแชร์ความเร็วที่ดีกว่า Hub เรียนรู้การใช้งาน MAC Address ได้ Switch มีหลายประเภท หากให้แบ่งก็คงแบ่งได้ดังนี้ หากแบ่งตามกายภาพ มีแบบ Desktop Switch (Switch แบบใช้วางบนโต๊ะทั่วไปตัวไม่ใหญ่ส่วนใหญ่เป็นเคสพลาสติก) อีกประเภทคือ Rack Switch หรือ Switch ประเภทที่สามารถประกอบกับตู้ Rack มาตรฐาน 19" ได้ส่วนใหญ่เป็นเคสโลหะมี Power Supply ในตัว


ไฟล์:Sw.gif



Router

       เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือ ข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้



ไฟล์:Rou.jpg



Gateway

         เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูล คอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่าย เดียวกัน



ไฟล์:Fg way.jpg



Firewall

          เมื่อเรามีระบบ Firewall ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็เหมือนกับการสร้างกำแพงให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา และเหลือประตูทางเข้าไว้เป็นทางผ่านของข้อมูลต่างๆจากเครือข่ายอื่น และตรงประตูนั้นจะมียามคอยรักษาการณ์อยู่คอยทำหน้าที่ตรวจสอบการเชื่อมต่อต่างๆให้เป็นไปตามกฏ ซึ่ง Firewall จะเป็นตัวกรองข้อมูลว่า ข้อมูลชนิดนี้คือ ใคร (Source) ตัวข้อมูลต้องการจะไปที่ไหน (Destination) และข้อมูลชิ้นนี้จะบริการอะไรหรือทำอะไร (Service/Port) ถ้ารู้สึกว่าข้อมูลไม่ปลอดภัยหรือมีความเสี่ยงที่จะมาทำความเสียหาย Firewall ก็จะทำหน้าที่กันไม่ให้ข้อมูลเข้าไปได้


ไฟล์:F ware.gif


สายสัญญาณ[แก้]

สายโอแคกช์[แก้]

       สายโคแอ็กซ์เชียล(coaxial cable) เป็นสายสัญญาณที่ใช้เป็นสื่อกลางการเดินทางของข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(computer network) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้และเป็นที่นิยมมากในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยแรกๆ แต่ในปัจจุบันเครือข่ายส่วนใหญ่จะใช้สายสัญญาณอีกประเภทหนึ่ง คือ สายคู่เกลียวบิดและสายใยแก้วนำแสง ส่วนสายโคแอ็กซ์เชียลถือว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบเครือข่ายบางประเภทที่ใช้สายแบบนี้อยู่สายโคแอ็กซ์เชียลมักถูกเรียกสั้นๆว่า สายโคแอ็กซ์(coax) มีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ คือ มีแกนร่วมกัน นั่นหมายความว่า ตัวนำไฟฟ้าทั้งสองตัวมีแกนร่วมกันนั่นเอง โครงสร้างของสายโคแอ็กซ์ประกอบไปด้วย สายทองแดงป็นแกนกลาง ห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง เป็นแผ่นโลหะบางหรืออาจเป็นใยโลหะที่ถักเป็นเปียหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ชั้นสุดท้ายเป็นฉนวนหุ้มและวัสดุป้องกันสายสัญญาณส่วนที่เป็นแกนของสายทำหน้าที่นำสัญญาณข้อมูล ชั้นใยข่ายจะเป็นชั้นที่ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกและเป็นสายดินไปในตัว ดังนั้น ทั้งสองส่วนนี้จึงไม่ควรเชื่อมต่อกัน เนื่องจากจะทำให้ไฟช็อตได้


ไฟล์:Co.gif



สายคู่บิดเกลียวและการเข้าสาย[แก้]

           เป็นสายชนิดที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการนำมาใช้งานตามห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ทั่วไป รวมทั้งตามสำนักงานต่างๆ สายชนิดนี้ได้ชื่อมาจากลักษณะองค์ประกอบภายในของสาย ที่เป็นสายลวดทองแดงสองเส้นนำมาพันเกลียวเข้าด้วยกันเพื่อทำให้เกิดเป็นสนามแม่เหล็ก ซึ่งใช้เป็นเสมือนเกราะสำหรับป้องกันสัญญาณรบกวนทั่วไปได้ในตัวเอง จำนวนรอบหรือความถี่ ในการพันเกลียว เช่น พันเกลียว 10 รอบต่อความยาว 1 ฟุต นั้นมีผลโดยตรงต่อกำลังของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น ถ้าจำนวนรอบสูงก็จะทำให้สนามแม่เหล็กมีกำลังแรงขึ้น สามารถป้องกัน สัญญาณรบกวนได้ดีขึ้น แต่ก็ทำให้สิ้นเปลืองสายมากขึ้น แต่ถ้าจำนวนรอบต่ำ ก็จะเกิดสนามแม่เหล็กกำลังอ่อน ซึ่งป้องกันสัญญาณรบกวนได้น้อยลงก็ใช้สายเปลืองน้อยลงเช่นกัน โดยทั่วไปแล้วสายชนิดนี้จึงมีคุณสมบัติในการป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีกว่าสายที่ไม่มีการ พันเกลียวเลยบริเวณแกน (Core) ของสายคู่บิดเกลียว สายคู่บิดเกลียว ประกอบด้วยสายทองแดงจำนวนหนึ่ง หรือหลายคู่สาย ห่อหุ้มสายด้วยฉนวนบางๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการลัดวงจร แล้วนำมาพันเกลียวเข้าด้วยกันเป็นคู่ ทุกคู่จะถูกห่อหุ้มฉนวนอีกชั้นหนึ่งรวมกันเป็นสายขนาดใหญ่เพียงสายเดียว สายคู่บิดเกลียวแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ แบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)แบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)สาย UTP เป็นสายที่พบเห็นกันมาก มักจะใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสายประเภทนี้จะมีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร และสาย UTP มีจำนวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่ คู่สายในสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้นซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างกัน และตลอดทั้งสายนั้นจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก (Plastic Cover) ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย


ไฟล์:Kuwertyu.jpg



สายใยแก้ว[แก้]

         การใช้แสงเป็นสื่อในการนำสัญญาณแล้วส่งไปในตัวกลางต่างๆ นั้น ได้เริ่มขึ้นจากนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ จอห์น ทินดัล ( John Tyndall ) ได้พบว่าแสงสามารถส่งผ่านไปตามลำได้ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2413 จาก จุดเริ่มต้นนี้ก็ได้มีความพยายามกันเป็นเวลานานที่จะทำให้ ปรากฏการณ์นี้เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติได้ จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2503 ก้าวสำคัญของการเปลี่ยนแปลงได้มาถึงเมื่อมีการทดลองใช้เลเซอร์เป็นครั้ง แรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ก็มีนักวิทยาศาสตร์สองคนของสหราชอาณาจักร ชื่อ ฮอคแคม ( G.A Hockham ) และเกา( C.C. Kao ) ได้ทำการศึกษาวิจัยว่าตัวกลางที่ทำด้วยใยแก้วนำแสงสามารถส่งผ่านได้ 1% ของแสงอินพุตด้วยระยะทาง 1 กิโลเมตร และตัวกลางนี้จะเป็นคู่แข่งสำคัญกับสายทองแดงและสายหุ้มฉนวน ( Coaxial Cable ) จากนั้นความก้าวหน้าทางวัสดุศาสตร์เรื่อยมา จนปัจจุบันทำให้สามารถมีใยแก้วนำแสงที่มีการส่งผ่านแสงได้อย่างมี ประสิทธิภาพ หรือการสูญเสียต่ำได้ ใยแก้วนำแสงบางชนิดซึ่งอาจมีการสูญเสียต่ำ มากคือการสูญเสียเพียง 0.1 เดซิเบลต่อกิโลเมตร ( db\km ) เท่านั้น


ไฟล์:Yai.jpg




รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย[แก้]

peer2peer[แก้]

       เครือข่ายแบบนี้จะเก็บไฟล์และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละคน โดยไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางที่ทำหน้าที่นี้ เรียกได้ว่าต่างคนต่างเก็บ ต่างคนต่างใช้ แต่ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถเรียกใช้ไฟล์จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำการแชร์ไฟล์เหล่านั้นไว้ เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer นี้เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันไม่เกิน 10 เครื่อง เนื่องจากติดตั้งง่าย ราคาไม่แพง และการดูแลไม่ยุ่งยากนัก แต่ถ้าคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีมากกว่า 10 เครื่องขึ้นไปควรจะใช้เครือข่ายแบบอื่นดีกว่า


ไฟล์:P2p.jpg

Client/serve[แก้]

         Client คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไปร้องขอบริการและรับบริการอย่างใดอย่างหนึ่งจาก Server คือเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง โดยอาศัยโปรแกรม Web server แก่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่าย ในระบบเครื่อข่ายserver แบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่

1.เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น

2.ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น

3.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น client/server คือ การที่มีเครื่องผู้ให้บริการ (server) และเครื่องผู้ใช้บริการ (client) เชื่อมต่อกันอยู่ และเครื่องผู้ใช้บริการได้มีการติดต่อร้องขอบริการจากเครื่องผู้ให้บริการ เครื่องผู้ให้บริการก็จะจัดการตามที่เครื่องผู้ขอใช้บริการร้องขอ แล้วส่งข้อมูลกลับไปให้เครือข่ายแบบ Client / server เหมาะกับระบบเครือข่ายที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก โดยการรองรับจำนวนเครื่องลูกข่าย (Client )อาจเป็นหลักสิบ หลักร้อย หรือหลักพัน เพราะฉะนั้นเครื่องที่จะนำมาทำหน้าที่ให้บริการจะต้องเป็นเครื่องที่มี ประสิทธิภาพสูง เนื่องจากถูกต้องออกแบบมาเพื่อทนทานต่อความผิดพลาด ( Fault Tolerance )และต้องคอยให้บริการทรัพยาการให้กับเครื่องลูกข่ายตลอดเวลา โดยเครื่องที่จะนำมาทำเป็นเซิร์ฟเวอร์อาจเป็นคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้


ไฟล์:Clis.jpg


LAN Technology[แก้]

BUS Topology[แก้]

          แบบบัส ( BUS Topology ) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS ทีปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Teminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย

ข้อดี ของการเชื่อแบบบัส คือสามารถติดตั้งได้ง่าย เนื่องจากเป็นโครงสร้างเครือข่ายที่ไม่ซับซ้อนการเดินสายเพื่อต่อใช้งาน สามารถทำได้ง่ายประหยัดค่าใช้จ่าย กล่าวคือ ใช้สายส่งข้อมูลน้อยกว่า เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับสายหลักได้ทันทีง่ายต่อการเพิ่มสถานีใหม่เข้าไปในระบบ โดยสถานีนี้สามารถใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้

ข้อเสีย ของการเชื่อแบบบัส คือ 1. ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดไปจากสถานีใดสถานีหนึ่ง ก็จะทำให้ระบบเครือข่ายนี้หยุดการทำงานลงทันที 2. ถ้าระบบเกิดข้อผิดพลาดจะหาข้อผิดพกลาดได้ยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่


ไฟล์:Bus TOPOLOGY.jpg



Star topology[แก้]

     แบบดาว ( Star topology ) เป็นการเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่าง ๆ ออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่า File Server แต่ละสถานีจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกัน เมื่อสถานีใดเกิดความเสียหายจะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่น ๆ ปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ HUB เป็นตัวเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง

ข้อดี

       ของการเชื่อมแบบดาว คือ ง่ายต่อการใช้บริการ เพราะมีศูนย์กลางอยู่ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายอยู่เครื่องเดียวและเมื่อเกิดความเสียหายที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก็จะไม่มีผลกระทบอันใดเพราะใช้สายคนละเส้น

ข้อเสีย

       ของการเชื่อมแบบดาว คือ ต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก เพราะแต่ละสถานีมีสายสัญญาณของตนเองเชื่อมต่อกับศูนย์กลางจึงเหมาะสมกับเครือข่ายระยะใกล้มาก กว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล การขยายระบบก็ยุ่งยากเพราะต้องเชื่อมต่อสายจากศูนย์กลางออกมา ถ้าศูนย์กลางเสียหายระบบจะใช้การไม่ได้


ไฟล์:Stp.gif




Ring Topology[แก้]

       แบบวงแหวน ( Ring Topology ) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถาน สุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานี

ข้อดี

        ของการเชื่อมแบบวงแหวน คือ ใช้สายสัญญาณน้อยกว่าแบบดาว เหมาะกับการเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณใยแก้วนำแสง เพราะส่งข้อมูลทางเดียวกันด้วยความเร็วสูง

ข้อเสีย

        ของการเชื่อมแบบวงแหวน คือ ถ้าสถานีใดเสียระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้จนกว่าจะแก้ไขจุดเสียนั้น และยากในการตรวจสอบว่ามีปัญหาที่จุดใดและถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไปจะพกหระทำได้ยากด้วย


ไฟล์:Rpol.jpg



Mesh Topology[แก้]

       โทโปโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)รูปแบบเครือข่ายแบบนี้ ปกติใช้ในระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) ลักษณะการสื่อสารจะมีการต่อสายหรือการเดินของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโหนดไปยังโหนดอื่น ๆ ทุก ๆ ตัว ทำให้มีทางเดินข้อมูลหลายเส้นและปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่จะเกิดจากการล้มเหลวของระบบ แต่ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบอื่น ๆ เพราะต้องใช้สายสื่อสารเป็นจำนวนมาก

ข้อดี

        ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสมารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ

ข้อเสีย

            สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่นๆยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย



ไฟล์:Meshtplg.jpg




WAN Technolog[แก้]

Circuit Switching[แก้]

             การทำงานของ Circuit Switch เป็นเทคนิคที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลแบบหนึ่งโดยที่เมื่อต้องการส่งข้อมูลจะต้องสร้างเส้นทางเสียก่อน และฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบกลับมาก่อนว่าพร้อมที่จะรับข้อมูลแล้วจึงจะเริ่มรับส่งข้อมูลได้ และเมื่อสร้างเส้นทางในการรับส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอดและคนอื่นไม่สามารถใช้เส้นทางนี้ได้ และจากรูปจะเห็นว่าในระหว่างเส้นทางของการสื่อสารแบบ Circuit Switch จะมีการเชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรแบบจุดต่อจุด และเมื่อรับส่งข้อมูลเสร็จจะต้องยกเลิกเส้นทางที่ใช้สื่อสาร เพื่อให้ผู้ใช้อื่นสามารถใช้เส้นทางในการสื่อสารได้ ค่าใช้จ่ายของการสื่อสารแบบ Circuit Switch จึงขึ้นอยู่กับระยะทาง และระยะเวลาที่ใช้เครือข่าย แต่จะไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูล ตัวอย่างเครือข่ายที่ทำงานแบบ Circuit Switch เช่นเครือข่ายของโทรศัพท์เป็นต้น



ไฟล์:Circuit SwitchingRMUTI.jpg




Packet Switching[แก้]

             packet switching (แพ็กเกจสวิตชิง) ใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง แพ็กเกจสวิตชิง เป็นเทคนิคในการหาเส้นทางให้กับแต่ละ แพ็กเกจที่มีจุดหมายปลายทางต่างกัน ปลายทาง คือ DTE( Data Terminal Equipment ) อุปกรณ์ที่ช่วยถ่ายทอดข่าวสารคือ DCE ( Data Communication Equipment )Layerของ การทำงานของ แพ็กเกจสวิตชิง จำทำหน้าที่จัดหาเส้นทาง จากเส้นทาง(ต้นทาง) ไปยังเส้นทาง(ปลายทาง) Packet Switching สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่อง ATM และสามารถนำไปใช้กับ โทรศัพท์มือถือได้ด้วยบริการที่เรียกว่า GPRS สำหรับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายแพ็กเกจสวิตชิ่ง ข้อมูลจะถูกส่งออกไปทีละแพ็กเกจเรียง ลำดับตามกันถ้ามีข้อผิดพลาดในแพ็กเกจขึ้นทำให้การส่งข้อมูลในเครือข่ายแพ็กเกจสวิตชิ่งสามารถ ทำงาน ได้เร็วมากจนดูเหมือนกับไม่มีการเก็บกักข้อมูลเลยสวิตชิ่งนั้นก็จะทำการร้องขอให้สวิตชิ่ง ก่อนหน้านั้นส่งเฉพาะแพ็กเกจที่มีความผิดพลาดนั้นมาให้ใหม่ และไม่จำเป็นจะต้องรอให้ผู้ส่งทำ การส่งข้อมูลมาให้ครบทุกแพ็กเกจแล้วจึงค่อยส่งข้อมูลไป Packet Switching นั้นมีประสิทธิภาพมากในการสื่อสาร การสื่อสารแบบเป็น Packet Switching มีประสิทธิภาพสูงทั้งในด้านกระบวนการทำงาน และการติดต่อระหว่างเครื่อง Server ทั้งสองเครื่องPacket Switching ข้อมูลทั้งหมดจะถูกแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ เรียกว่า Packet แล้วทำการเพิ่มส่วนรายละเอียดที่จะบอกถึงลำดับของส่วนย่อยและ ผู้รับปลายทาง แล้วส่งไปยังทุกๆเส้นทางโดยกระจัดกระจายแยกกันไปโดย จะมีอุปกรณ์ที่แยกและตรวจสอบว่าสายที่จะส่งไปนั้นว่างถ้าว่างจึงส่งไป เมื่อส่วนย่อยของสารข้อมูลทั้งหมดมาถึงปลายทางฝั่งผู้รับก็จะนำมารวมกันเป็นข่าวสารชิ้นเดียวกันการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายแพ็กเกจสวิตชิ่ง ข้อมูลจะถูกส่งออกไปทีละแพ็กเกจเรียงตามลำดับ ภายในการส่งข้อมูลในเครือข่ายแพ็กเกจสวิตชิ่ง สามารถทำงานได้รวดเร็วมากจนเหมือนกับไม่มีการเก็บข้อมูลเลย ถ้าเกิดผิดพลาดจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ Layer ที่สูงกว่าจัดการให้ และจะไม่รอให้ผู้ส่งทำการส่งข้อมูลให้ครบทุกแพ็กเกจก่อนค่อยส่งข้อมูลไปแพ็กเกจสวิตชิงใช้หลักการ Store&Forword การรับส่งข้อมูลจะเรียกหน่วยย่อยว่า "Packet" โดยจะทำงานแบบไม่ต้องรอให้ "message" ครบทั้งหมดก่อนค่อยส่งข้อมูลออกไป ทั่วไปแล้ว แต่ละ แพ็กเกจจะมีความยาวประมาณ 64Byte(512 bits) ต่อหนึ่ง Packet ซึ่งเป็นข้อดีเพราะว่าแต่ละ แพ็กเกจมีขนาดเล็ก ทำให้ชุมสายใช้เวลาน้อยในการส่งแต่ละแพ็กเกจส่งผลให้การ รับ-ส่ง แพ็กเกจเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากเหมาะกับการทำงาน On-Line ตลอดเวลาหรือ interactive ตลอดเวลาแต่ละ packet จะมีโครงสร้างง่ายๆ ประกอบไปด้วยส่วนที่ถูกเพิ่มเติม(Packer Overhead) และส่วนที่เป็นข้อมูลของผู้ใช้งาน (User Date) ส่วน Packer Overhead ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับ Address (ฝั่งปลายทาง)ซึ่งแต่ละ node หรือแต่ละชุมสายที่ใช้งานรับส่งข้อมูลจำเป็นจะต้องใช้ ข้อมูลนี้ตลอดการรับส่ง


ไฟล์:Pacswc.jpg


IP Address[แก้]

คลาสของหมายเลขไอพี[แก้]

          IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP 

ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1 เป็นต้น โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง computer ของเราอยู่ใน network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไรเหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126 สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ อย่างเช่น Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ

   ตัวอย่าง IP Address
   Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
   Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
   Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx 

จาก IP Address เราสามารถที่จะบอก ได้คร่าวๆ ว่า computer 2 เครื่องอยู่ใน network วงเดียวกันหรือเปล่าโดยการเปรียบเทียบ Network ID ของ IP Address ถ้ามี Network ID ตรงกันก็แสดงว่าอยู่ใน network วงเดียวกัน เช่น computer เครื่องหนึ่งมี IP Address 1.2.3.4 จะอยู่ใน network วงเดียวกับอีกเครื่องหนึ่งซึ่งมี IP Address 1.100.150.200 เนื่องจากมี Network ID ตรงกันคือ 1 (class A ใช้ Network ID 1 byte)

   วิธีตรวจสอบ IP Address
   1.คลิกปุ่ม Start เลือก Run
   2.พิมพ์คำว่า cmd กดปุ่ม OK
   3.จะได้หน้าต่างสีดำ
   4.พิมพ์คำว่า ipconfig กด enter
   5.จะเห็นกลุ่มหมายเลข IP Address 

Subnet[แก้]

          Subnet mask เป็น Parameter อีกตัวหนึ่งที่ต้องระบุควบคู่กับหมายเลข IP Address หน้าทีของ Subnet mask ก้คืิอ การช่วยในการแยกแยะว่าส่วนใดภายในหมายเลข IP Address เป็น Network Address และส่วนใดเป็นหมายเลข Host Address ดังนั้น ท่านจะสังเกตได้ว่า เมื่อเราระบุ IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์์ เราจำเป็นต้องระบุ Subnet mask ลงไปด้วยทุกครั้งใน 

Subnet Mask จะประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วนคือ Network ID ใช้สำหรับแยกส่วนที่เป็น Network ID ออกจาก IP Address มีค่าเป็น 1 ทุก bit Subnet ID ใช้สำหรับแยก subnet ของ network มีค่าเป็น 1 ทุก bit Host ID ใช้สำหรับแยกส่วนที่เป็น Host ID ออกจาก IP Address มีค่าเป็น 0 ทุก bit จำนวน bit ใน Subnet ID จะเป็นตัวบอกว่าใน Network Address ที่กำหนดจะมีกี่ subnet โดยที่จำนวน subnet จะมีค่าเท่ากับ 2จำนวน bit ของ subnet ID- 2 ดังในตารางข้างล่างนี้ สำหรับสาเหตุที่จำนวน subnet หายไป 2 subnet ก็เนื่องจากตามมาตรฐานแล้วจะไม่ใช้ Subnet ID ที่มีค่าเป็น 0 ทุก bit หรือ 1 ทุก bit



Private IP[แก้]

         คอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย LAN เพื่อใช้งานตามบ้านหรือบริษัท ต่างๆ จะถูกกำหนดหมายเลข IP โดย ผู้ดูแลระบบนั้นๆ(ADMIN)

เช่นหากต้องการนำคอมพิวเตอร์ 5 เครื่องมาเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเล็กๆ เราก้ต้องกำหนดหมายเลข IP ให้คอมพิวเตอร์ทั้ง5เครื่อง โดยแต่ละเครื่องต้องได้รับหมายเลขไอพีไม่ซ้ำกัน ซึ่งการกำหนดหมายเลข IP ในแต่ละเครื่องในเครือข่ายเรา หมายเลข IP นี้จะถูกเรียกว่า Private IP หรืออย่างง่ายๆว่า IP ปลอม


Public and Private IP Address[แก้]

        Public IP Address)หมายเลข IP Address"Public IP" ของแต่ละเครื่องบนเครือขายInternet จะไม่ซ้ำกันโดยในการเชื่อมต่อ Internet ไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะจ่ายหมายเลข IP Address(ไอพี แอดเดรส)มาใช้ชั่วคราว 1 IPซึ่งเป็น หมายเลขIP ที่ใช้้จริงบนอินเตอร์เน็ตโดยเรียก หมายเลข IP นี้ว่า "Public IP Address " หมายเลข IP นี้จะเปลี่ยนไปทุกครั้งทีมีการเชื่อมต่อใหม่ โดยหมายเลข IP Address นี้ เป็นหมายเลขที่จะบอกความเป็นตัวตนของเครื่องนั้นในการสื่อสารกันในระบบ Internetโดยหมายเลข IP Address"Public IP" นี้เครื่อง Serverผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะเป็นผู้กำหนด จ่ายหมายเลข IP นี้มา

Private IP Address)

          หมายเลข IP Address"Private IP" คือหมายเลขไอพีเครื่อง แต่ละเครื่อง ในองค์กร หน่วยงาน โดยกำหนด ขึ้นมาเองเพื่อใช้ในองค์กรนั้นๆ เพื่อการสื่อสารภายใน ระบบเครือข่ายแลน หรือ อินทราเน็ต ภายในเท่านั้นโดยสามารถกำหนดได้ 2 รูปแบบ คือ
      1. กำหนดแบบ Dynamic วิธีนี้คอมพิวเตอร์ หรือ DHCP Server จะทำหน้าทีกำหนดหมายเลข IP และจ่ายเลขIPให้กับระบบคอมพิวเตอร์ในกรุ๊ปนั้น

หรือเรียกการจ่ายไอพีแบบนี้ว่า (Automatic Private IP Address)

      2. กำหนดแบบ Static เป็นวิธีการกำหนดไอพีแอดแดรสแบบคงที่ โดยผู้ติดตั้งระบบ ทำหน้าที่กำหนด หมายเลข IP Address ให้แต่ละเครื่อง โดยห้ามกำหนด IP ซ้ำกัน หรือนอกเหนือจาก Work Group 

( แต่เมื่อมีการติดต่อในเครือข่าย Internet ก็จะได้รับหมายเลข ไอพี แอดเดรส "Public IP Address"จากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะจ่ายหมายเลข IP Address(ไอพี แอดเดรส)มาใช้ชั่วคราว 1 IP หมายเลขที่ใช้ได้จริงบนอินเตอร์เน็ตซึ่งก็คือหมายเลขไอพีทีแสดงการ เช็คไอพี Check IP นั้นเอง )

     และเราสามารถเช็คไอพี (Check IP) แบบ "Private IP" บนเครื่อง ได้โดยเข้าสู่ Start >> RUN>>พิมพ์ cmd >>OK.>>เ้ข้าสู่ Dos Command แล้วพิมพ์ คำสั่ง ipconfig หรือ ipconfig/all ก็สามารถ check ip แบบ Private IP Address ได้แล้วครับ 
   3. ทดสอบวัดความเร็วอินเตอร์เน็ต(Check IP,Test Speed ADSL Internet)

อีกหนึ่งบริการ ดีๆ Check IP จากเรา IP-TH.COM เพื่อการวัดตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตของท่าน check ip ,Test Speed Internet Check ADSL ทำให้ทราบ Bandwidth Speed ADSL internet ระบบของท่านโดยจะแสดงค่าการUpload Speed,Download Speed เมื่อทำการทดสอบความเร็ว Test Speed Internet ADSL เสร็จ 4. เครื่องมือตรวจสอบแหล่งที่มาของไอพีที่ทราบ(Look Up Ip Address)


Routing Protocol[แก้]

หลักการทำงานของเร้าท์เตอร์[แก้]

          หน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI ทั้งๆที่ในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX หรือ AppleTalk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อ Router ได้รับข้อมูลมาก็จะตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น Packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้ง เพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง

คุณสมบัติของ Router 1.ทำหน้าที่คล้าย Swich ทำให้เชื่อมต่อได้หลายเครื่องพร้อมกัน 2.บางรุ่นรองรับการทำงาน Wire หรือ Wireless 3.เป็น ADSL Modem ในตัว (เฉพาะบางรุ่นเท่านั้น) 4.Firewall /IPsec VPN (รองรับการเชื่อมต่อทางไกลแบบมี security) 5.Antivirus (รุ่นใหม่ๆ ของ Router บางรุ่น จะมี antivirus program ฝังอยู่ด้วย)

Routing Table[แก้]

         Routing Table  เป็นตารางข้อมูลของเส้นทางการส่งผ่านข้อมูลเพื่อใช้พิจารณาการส่งผ่านข้อมูลซึ่งในการได้มาของ Routing table มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ

Static Route[แก้]

           คือ การเพิ่มเส้นทางใน Routing Table ด้วยผู้ดูแลเนตเวิร์คเพื่อบอกให้เราเตอร์ทราบว่าถ้าต้องการจะส่งข้อมูล ไปที่ Subnet Address ใดจะต้องส่งผ่าน Router ตัวไหน ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้ดูแลเนตเวิร์ค เข้ามาจัดการทั้งหมดซึ่งเหมาะสาหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก รักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่าข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้นและช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก

Dynamic Route[แก้]

           เป็นการใช้ ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งมากับ Router เพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการเลือกเส้นทางระหว่างRouter หลักการทำงานคือ  router จะส่ง routing table ที่สมบูรณ์ของตัวเอง ให้กับ Router เพื่อนบ้าน เรียกว่ามี Routing Protocol ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ใน router เลย เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่เพราะRouter สามารถจัดการหาเส้นทางเองหากมีการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายเกิดขึ้น โดย Routing Protocol จะมี  Distance Vector และ Link State ซึ่ง routing protocol ทั้งสองประเภทจะมีจุดประสงค์ที่เหมือนกันก็คือ การทำให้เราเตอร์ปัจจุบันมีตาราง routing table ที่ประกอบด้วยเส้นทางที่ดีที่สุดที่สามารถส่งข้อมูลไปถึงซับเนตแอดเดรสปลายทางทั้งหมดได้ แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือวิธีการที่จะทำให้จุดประสงค์ข้างต้นลุล่วงไปได้

อ้างอิง[แก้]

[1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20]

  1. htt://gurusanookcom/4145/
  2. http://www.itcomtech.net/article-all/73-operating-system.html
  3. https://powornprat52.wordpress.com/เครือข่ายคอมพิวเตอรcomputer-net
  4. http://guru.sanook.com/2291/
  5. https://meendetphiphat.wordpress.com/
  6. https://songsitculp.wordpress.com/
  7. http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_nettype10.htm
  8. http://www.mindphp.com/
  9. https://sites.google.com/site/brrcngiphone/
  10. http://www.burapaprachin.ac.th/network/index.htm
  11. http://chummy-online.blogspot.com/2012/12/mesh-topology.html
  12. http://pongpat.janthai.com/circuit%E2%80%93switching-network/circuit-switch-netwirk/
  13. https://www.google.co.th/search?biw=
  14. http://www.mindphp.com/
  15. http://29052534.blogspot.com/2013/05/public-ip-private-ip.html
  16. http://www.ip-th.com/
  17. http://www.mindphp.com/
  18. https://computernps.wordpress.com/2012/04/09/public-ip-address-และ-private-ip-address-
  19. http://riverplusblog.com/tag/routing-table/
  20. http://tay1loveza.blogspot.com/2011/08/subnet-mark.html