ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Kohlogan/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การบริหารการพัฒนา

แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา[แก้]

ความหมายของการบริหารการพัฒนา[แก้]

การบริหารการพัฒนา(Development Administration)หรือใช้ต่อย่อว่า “DA” เป็นสาขาหนึ่งในวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ได้มีวิวัฒนาการนับตั้งแต่ทศวรรษ1950 มาจนถึงปี1970 ก็นำไปสู่การสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ของการพัฒนา และนำไปสู่ทฤษฎีสำคัญทฤษฎีหนึ่งของรัฐประศาสนศาสตร์ ได้มองว่าการบริหารได้นำไปสู่การพัฒนาในด้านต่างๆหลายมิติไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างการพัฒนา  เศรษฐกิจ  สังคม ชนบท  การเมือง  เป็นต้น โดยใช้แนวทางสหวิทยาการ โดยมีทฤษฎี ตัวแบบและกรอบการวิเคราะห์โดยอาศัยการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศและเปรียบเทียบภายในประเทศนำไปสู่การสรุปเป็นทฤษฎีที่ใช่อธิบายปรากฎการณ์ในการพัฒนา  ซึ่งเป็นกระบวนการบริหารโดยมีจุดมุ่งให้เกิดการพัฒนาซึ่งแตกต่างจากงานประจำ เป็นผลมาจากความก้าวหน้าของการบริหารโดยทั่วๆไปนำไปสู่การบริหารเปรียบเทียบ  จุดเด่นคือมีการพัฒนาจุดมุ่งหมายในการสร้างนโยบายที่จะสร้างความเป็นธรรมและการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอย่างสำคัญในการบริหารเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของการพัฒนา มีจุดมุ่งหมายของการพัฒนาได้เร็วกว่าปกติ อาจมีการใช้ความคิดสร้างสรรค์จนเกิดนวัตกรรมต่างๆร่วมด้วย ในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง และมีสภาพที่ทรัพยากรไม่แน่นอน ซึ่งมีผู้ให้ความหมายของการบริหารการพัฒนาไว้หลายประการด้วยกัน  ดังนี้
  • ไวด์เนอร์(Edward w.Weidner,1962:97-166)ได้ให้ความหมายของการบริหารการพัฒนา คือ กระบวนการที่พาองค์การไปสู่ความสำเร็จตรงตามเป้าหมาย ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจ
  • สโตน(Stone,1996:41;cited in Nef and Dwivedi,1981:49-50)อธิบายการบริหารการพัฒนาว่า เป็นการผสมผสานองค์ประกอบและทรัพยากรทุกอย่าง ทั้งคนและสิ่งของ เพื่อนำมาใช้บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ตกลงกัน
  • ริกส์(Riggs,1971:73)ได้อธิบายการบริหารการพัฒนาคือความพยายามที่มีการจัดการเพื่อนำความคิดตามแผนงานหรือโครงการโดยผู้ที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของการพัฒนา
  • เฮดี(Heady,1991:40)ได้มองว่าการบริหารการพัฒนา เน้นความสนใจไปที่การบรรลุจุดมุ่งหมายของนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับการถ่านทอดการบริหารจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
  • สวัสด์ สุคนธรังสี(2511:268-269)มีมุมมองการบริหารการพัฒนาเป็นวิชาที่กล่าวถึงการบริหารในสาขาต่างๆนำไปประยุกต์เพื่อการบริหารและดำเนินธุรกิจรวมถึงการศึกษาด้านการบริหารรัฐกิจในประเทศที่เร่งพัฒนา
  • อุทัย เหลาหวิเชียร(2528:89)ได้ให้คำจำกัดความของการบริหารการพัฒนาหมายถึง กระบวนการของรัฐหรือหน่วยงานราชการ เพื่อใช้ในการบริหารงานต่างๆให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนา
  • อนันต์ เกตุวงศ์(2523:28-29)มองว่า การบริหารการพัฒนาหมายถึง การดำเนินงานตามแผนงานนโยบาย ที่ถูกกำหนดโดยรัฐบาล ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหาร ซึ่งเป็นผลมาจากความก้าวหน้า ของการบริหารโดยนำไปสู่การบริหารเปรียบเทียบเข้าด้วยกัน ซึ่งการพัฒนาประเทศชาตินั้นต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงการบริหารอย่างขนานใหญ่ มีการปรับปรุงปฏิรูปให้มีศักยภาพที่สูงขึ้นอย่างเร่งด่วน เพื่อจะได้ทันเวลาและเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของประชาชนและประเทศได้ ซึ่งการพัฒนานั้นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากทางด้านต่างๆจำนวนมากเข้ามาร่วมมือกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบราชการที่ถือเป็นเครื่องจักรสำคัญที่จะผลิตการพัฒนาในด้านต่างๆขึ้นมา ตามแผนและโครงงานที่วางเอาไว้ล่วงหน้า

การบริหารการพัฒนามีลักษณะพิเศษหลายประการ ดังนี้

  1. มุ่งอนาคต โดยการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปต่างๆส่วนใหญ่เป็นเรื่องในอนาคตทั้งสิ้น ว่าจะพัฒนาให้มีศักยภาพที่สูงๆขึ้นต่อไปเรื่อยๆได้อย่างไร.
  2. ใช้ความรู้หลายสาขาวิชาร่วมกันเป็นสหวิทยาการ โดยนำความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ร่วมกันเพื่อให้เกิดการบริหารการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ
  3. เกี่ยวข้องกับการบริหารตามแผนพัฒนาชาติ โดยการนำนโยบายสาธารณะต่างๆมาปฏิบัติในด้านต่างๆ เช่น การเกษตร การศึกษา สาธารณสุข และอุตสาหกรรม เป็นต้น
  4. ให้ความสนใจต่อปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยในด้านทรัพยากรมีความไม่แน่นอนและมีความเสี่ยง จึงต้องคำนึงถึงจุดนี้อย่างรอบคอบ

[1] [2] [3] [4] [5]

ประวัติของการบริหารการพัฒนา[แก้]

คำว่าการบริการพัฒนา เริ่มนิยมใช้กันในปี ค.ศ.1964 จากคำเดิมที่พบแต่คำว่า บริหารรัฐกิจ หลักจากที่ประเทศกำลังพัฒนาได้รับการช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาอย่างจริงจัง โดยจัดเป็นส่วนหนึ่งของวิชาการบริหารเปรียบเทียบโดยมักจะใช้คำว่า การบริหารในประเทศกำลังพัฒนา ในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศทางตะวันตกอื่นๆ มีความรู้ประสบการณ์ ในด้านการบริหารการพัฒนาหลังสงครามโลกครั้งที่2 โดยสหรัฐอเมริกาได้ตั้งสำนักงบประมาณ(U.S.Bureau of the Budget)และองค์การเทนเนสซีวัลเลย์(Tennessee Valley Authority)เรียกย่อว่า TVA โดยสำนักงบประมาณได้ขึ้นตรงต่อประธานาธิบดีซึ่งเป็นประมุขฝ่ายบริหาร มีหน้าที่ในการบริหารจัดทำงบประมาณของสหรัฐโดยเน้นเป้าหมายและความสำเร็จของโครงการ ซึ่งต่อมาก็มีประเทศต่างๆได้เริ่มทำตามเพราะช่วยให้การบริหารการพัฒนาทำได้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก่อนสงครามโลกครั้งที่2จะสิ้นสุด ในช่วงเวลา ค.ศ.1944 ได้มีการประชุมร่วมกัน44ประเทศ ตกลงให้จัดตั้งธนาคารโลก(Word Bank) หรือธนาคารเพื่อการฟื้นฟูและการพัฒนา(Internation Bank Reconstruction and Development) เรียกย่อว่า IBRD และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(International Monetary Fund)เรียกย่อว่า IMF โดยธนาคารโลกจะให้เงินกู้แก่สมาชิก เพื่อเยียวยาความเสียหายและการพัฒนาประเทศที่เสียหายหนักจากสงครามโลกครั้งที่2เท่านั้น ในปี ค.ศ.1949 โดยสหรัฐได้จัดตั้งแผนมาร์แชล(Marshall Plan)หรือแผนฟื้นฟูยุโรป(European Recovery Program) โดยจอร์จ มาร์แชลรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกาสมัยนั้น เพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆตั้งแต่เริ่มสงครามโลกครั้งที่2 เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นผลมาจากสงครามและป้องกันการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ในยุโรปจากรัสเซียอีกด้วย ซึ่งในปี ค.ศ.1949 คอมมิวนิสต์ได้ยึดครองจีน และในปีค.ศ.1950เกิดสงครามเกาหลี สหรัฐอเมริกาจึงได้เข้ามาช่วยเหลือประเทศในเอเชียรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยอยู่ในอำนาจหน้าที่ความดูแลของหน่วยงาน เอไอดี(Agency for International Development)ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสำหรับในไทยก็มีสำนักงานยูซ่อม(United Status Operations Mission)คอยประสานงานกับรัฐบาลไทย เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างเต็มที่รวดเร็ว และช่วยให้ไทยได้ปรับปรุงองค์การและบริหารต่างๆ ในช่วง ค.ศ.1950-1951ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี โดยให้เงินสนับสนุนเพื่อใช้ในการปราบคอมมิวนิสต์อย่างจริงจัง และส่งเสริมการค้าแบบเสรี แต่ด้วยความที่ท่านไม่เต็มใจทำตามนักเพราะอยากรักษาระบบชาตินิยมทางเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกาจึงไม่พอใจ จึงต้องการให้รัฐบาลไทยเปลี่ยนผู้นำ โดยให้ความช่วยเหลือด้านการทหารแก่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสมัยนั้นจนสามารถยึดอำนาจจอมพล ป.พิบูลสงครามได้สำเร็จ เป้าหมายแรก จอมพลสฤษดิ์ได้ดำเนินการนโยบายปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างเต็มที่ตามหลักการสร้างชาติให้มั่นคง ส่วนเป้าหมายการพัฒนาที่สอง คือการสร้างความเติบโตพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคม(Economic and social progress) และประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกในปี พ.ศ.2504ซึ่งใช้จนถึงพ.ศ.2509 และพระราชบัญญัติส่งเสริมอุตสาหกรรมในปี พ.ศ.2505 ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศตามหลักทุนนิยมจากคำแนะนำจากสหรัฐอเมริกา [6] [7]

องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนา[แก้]

องค์ประกอบหลักการพัฒนาการบริหาร คือการพัฒนาโครงสร้างให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของระบบการบริหารโดยอาศัยพฤติกรรมและกระบวนการเทคโนโลยี มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพของนโยบายการบริหารเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและส่วนรวมในระบบราชการ [8]

ขอบข่ายของการบริหารการพัฒนา[แก้]

เพื่อความเข้าใจตรงกันในการศึกษาเนื้อหาวิชาการบริหารการพัฒนา จึงต้องมีทฤษฎีการบริหารการพัฒนาขึ้น เพื่อให้เกิดระเบียบและจิตสำนึกที่ตรงกัน โดยนักวิชาการได้ทำการศึกษาและรวบรวมเป็นองค์ความรู้ต่างๆดังนี้

  • ไรอัน(Ryan,cited in Siffin,1997:7-12)จากการวิเคราะห์หลักสูตรมหาวิทยาลัยอเมริกัน27แห่งส่วนใหญ่ เมื่อปี1980 พบว่าหลักสูตรเพียงแต่กำหนดให้การบริหารการพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเปรียบเทียบเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะอ้างอิงมาจากตำราชื่อ”Public Administration.A Comparative Perspective “ของเฮดี ในปี1984 ซึ่งตำราเล่มนี้มุ่งศึกษาระบบราชการในประเทศกำลังพัฒนาที่เกี่ยวกับการบริหารภาครัฐ รวมทั้งการเมืองกับระบบราชการ ซึ่งจากที่เห็นตำรานี่จะเน้นโครงสร้างแบบรวมๆเป็นหลัก ทำให้มีขอบข่ายที่กว้าง เป็นการรวบรวมความรู้2ส่วนเข้าด้วยกัน คือระบบราชการของเวเบอร์(Weber)กับ การเปรียบเทียบเชิงสถาบันตามแนวทางของไฟเนอร์(Finer) ส่วนอีกตำราอีกเล่มหนึ่งคือตำราของไบรอันท์และไวท์(Bryant and White)ชื่อ”Managing Development in the Third World”ในปี1982โดยไรอันวิเคราะห์หลักสูตรการบริหารการพัฒนาของมหาวิทยาลัยต่างๆพบว่าน้อยมากที่มุ่งศึกษาการวางแผนและจัดการงบประมาณ โดยส่วนใหญ่จะศึกษาเนื้อหาที่ซ้ำๆกันเช่น อิทธิพลของระบบราชการและวิชาชีพ การเมือง และการกำหนดความคิดและตัวแบบการพัฒนา
  • ซิฟฟิน(Siffin,1991:11-12)เห็นว่าการส่งเสริมให้ศึกษาวัตถุประสงค์ของการบริหารพัฒนาที่จะประสบความสำเร็จก่อนอื่นต้องศึกษาก่อนว่ามีการทำงานของระบบบริหาร และภายใต้เงื่อนไขอย่างไรภายใต้ความซับซ้อนของปัญหาต่างๆและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยใช้องค์ความรู้ของรัฐประศาสนศาสตร์ และได้มองว่าเนื้อหาของการบริหารการพัฒนาดังกล่าวเป็นแบบประเพณีนิยมยังแตกต่างจากรัฐประศาสนศาสตร์อยู่ เช่น ความเฉพาะเจาะจงของการวางแผนการพัฒนาชนบท รวมถึงข้อมูลทางสภาพแวดล้อมทางด้านสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่มีการใช้วิธีประยุกต์ความรู้กับความรู้การบริหาร รวมถึงความรู้อื่นๆเช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประชากรและการบำรุงรักษา การบริการสุขภาพ การวางแผนครอบครัวและการควบคุมประชากร การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การติดต่อสื่อสาร การขนส่ง ร่วมกับความรู้การบริหารทางด้านงบประมาณ บุคลากรและการจัดการ ซึ่งซัฟฟินมาองว่าควรจะศึกษานโยบายสาธารณะและเน้นการปฏิบัติให้เหมาะสมยืดหยุ่นควบคู่กับการบริหารการพัฒนาจากตัวแบบทีสร้างขึ้นหรืออาจทำโดยกำหนดระเบียบวิธีในการวิเคราะห์ที่สนใจปัญหาเชิงประจักษ์บางด้าน
  • ปฐม มณีโรจน์(2531:595) มองว่านิยามความหมายของการพัฒนาสามารถนำไปกำหนดเนื้อหาของการบริหารการพัฒนา โดยมองการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลงที่มีแนวทาง มีแผน มีการกับควบคุม เนื้อหาจึงได้ครอบคลุมทั้ง แผนพัฒนา การวางแผน การปฏิบัติตามแผน สถาบันการวางแผน การพัฒนารายสาขา การวิเคราะห์โครงการ การบริหารโครงการรวมทั้งการประเมินผล โดยอาจต้องพึ่งพาความช่วยเหลือซึงกันและกันกับต่างชาติ ระบบราชการและภาคอื่นๆ การปฎิรูปการบริหาร รวมถึงการนำนโยบายไปปฏิบัติ
  • ราธอด(Rathod,2010:28-30)มองการบริหารการพัฒนาในงาการศึกษาและการปฏิบัติว่าอย่างๆน้อยต้องประกอบด้วย4ด้านดังต่อไปนี้รวมอยู่ด้วย
  1. การขยายบริการและการบริการชุมชน(Extension and community services) มองว่ารูปแบบการบริการที่ดีที่สุด คือ หน่วยงานระหว่างรัฐบาลควรจะเป็นหุ้นส่วนกันในการให้บริการทางเทคนิคสถาบันและการเงินให้ประชากรในรัฐ โดยมองว่าชุมชนในท้องถิ่นมีความกระตือรือล้นในการตอบสนองความรับผิดชอบยิ่งกว่าเดิม จึงอาจมองได้ว่าเป็นฐานในการบริการ โดยปัญหาที่พบคือ ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด กระจายผลประโยชน์ให้ประชากรไม่ทั่วถึงโดยเฉพาะในส่วนที่อยู่ไกลหรือชุมชนยากจน
  2. ปัญหาการจัดการแผนงาน(Problems of program management)มองว่าปัญหานั้นเกิดจากแผนงานและโครงสร้างการพัฒนา การบริหารงานบุคคล การจัดการองค์การ การมอบอำนาจ รวมทั้งทัศนคติการบริหาร โดยใช้การเพิ่มวัตถุดิบและปัจจัยในการแก้ไขปัญหาแผนงานนั้นๆ
  3. การจัดการโครงการ(Project management)มองว่าการศึกษาโครงการของรัฐบาลเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ เพราะโครงการขนาดใหญ่ของรัฐต้องใช้งบประมาณที่มาก ต้องอาศัยการตัดสินใจ การกำหนดขั้นตอน คน วัสดุและองค์การ ไว้ในนโยบาย โดยมีองค์การที่มีหน้าที่รับผิดชอบอย่างจริงจังเพื่อประสิทธิภาพในการบริหาร
  4. การพัฒนาพื้นที่(Area development) มองสาขานี้ว่ายากที่สุดเพราะประเทศที่กำลังพัฒนายังไร้ประสบการณ์ มีความไม่แน่นอนในการให้สถาบันหรือคนในพื้นที่นั้นๆว่าใครเหมาะสมที่จะเข้าไปจัดการ จึงต้องการกรอบอำนาจหน้าที่และขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน ทั้งรัฐบาลกลาง ส่วนภูมิภาค รวมถึงท้องถิ่น โดยอาจจะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหรือร่วมกันแก้ปัญหากับภาคส่วนอื่นและอาสาสมัคร จึงจะประสบความสำเร็จในการพัฒนา

[9]

แนวทางการศึกษาและปัญหาของการศึกษาการบริหารการพัฒนา[แก้]

แนวทางการศึกษาการบริหารการพัฒนา[แก้]

  1. แนวทางการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ เน้นการวิเคราะห์แนวความคิดของนักวิชาการว่าเกิดขึ้นเมื่อใด และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ดีมากเพียงใด โดยคำนึงปัจจัย หรืออุปสรรคต่างๆของการพัฒนา
  2. แนวทางการศึกษาเชิงสภาพแวดล้อม มองว่าสภาพแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลวของการบริหารการพัฒนา ซึ่งแนวคิดของสำนักนิเวศวิทยานั้นอิงโลกความเป็นจริงมากกว่า โดยเน้นการบริหารการพัฒนาที่ระบบราชการ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ และกำหนดทิศทางควบคุมสภาพแวดล้อมด้วยตนเองได้
  3. แนวการศึกษาเชิงระบบ มองว่าสังคมแบ่งออกเป็นระบบย่อยและระบบใหญ่โดยมีปฏิกิริยาโต้ตอบซึ่งกันและกัน และมีปฏิกิริยาตอบสนองกับสิ่งแวดล้อม การศึกษาเชิงระบบนั้นจะมีเป้าหมายด้วยเสมอ การจะบรรลุเป้าหมายในการบริหารจึงต้องประกอบด้วย การตัดสินใจ การแบ่งงานกันทำ การติดต่อสื่อสาร และการควบคุม โดยต้องมี กำลังคน งบประมาณ อาหาร ข่าวสาร สนับสนุนร่วมด้วย และที่สำคัญต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชน
  4. แนวการศึกษาเชิงกรณีศึกษา เน้นศึกษาโครงการต่างๆ โดยอาจใช้การสอบถามโดยตรง หรือจากเอกสาร หรือเข้าถึงเป็นส่วนหนึ่งกับสังคมนั้นๆที่ต้องการศึกษา
  5. แนวทางการศึกษาเชิงวิเคราะห์ประวัติ ของระบบหรือประเทศ โดยมองจุดเน้นสำคัญที่ควรจะพัฒนา วิเคราะห์ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสม จึงต้องมีการสำรวจทรัพยากร รวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่างๆ
  6. แนวทางการศึกษาเชิงเฉพาะภาคหรือเฉพาะด้าน จะเน้นการพัฒนาเป็นภาคส่วนไป เช่น ภาคพัฒนาเศรษฐกิจ ภาคพัฒนาเมือง ภาคพัฒนาสังคม เป็นต้น

ปัญหาของการศึกษาการบริหารการพัฒนา[แก้]

  1. ปัญหาความหมายของการบริหารการพัฒนา คือปัญหาที่ต้องการหาความหมายของการบริหารที่แท้จริง ซึ่งยังเป็นนี่ถกเถียงหาข้อสรุปไม่ได้จนในปัจจุบัน โดยมีนักวิชาการให้นิยามไว้เป็นจำนวนมาก
  2. ปัญหาขอบเขตหรือองค์ประกอบของการบริหารการพัฒนา เกี่ยวกับข้อที่กล่าวมาคือ เมื่อความหมายของการบริหารการพัฒนายังไม่ได้ จึงจะหาขอบเขตที่แท้จริงได้ยากเช่นกัน
  3. ปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อม คือการบริหารการพัฒนานั้นต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเพราะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จึงต้องมีการวางแผนที่รัดกุมมีประสิทธิภาพ
  4. ปัญหาด้านพาราดายม์ คือความสำเร็จทางด้านวิทยาศาสตร์นั่นคือการค้นพบสิ่งที่ยังไม่มีใครพบมาก่อน ซึ่งการบริหารการพัฒนานั้นจนถึงทุกวันนี้ ก็ยังไม่สามารถตกลงกันว่านิยามที่แท้จริงคืออะไร ต่างจากการการบริหารแบบอื่นอย่างไร
  5. ปัญหาทางด้านการวิจัย โดยนำเอาแนวคิดต่างๆมาเป็นสิ่งในการวิจัย โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมาย และมีการวัดผลการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ
  6. ปัญหาด้านการศึกษาผลกระทบการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพราะเทคโนโลยีจากประเทศตะวันตกมักจะใช้ไม่ได้ผลในประเทศโลกที่สาม จึงต้องทำการวิจัยกันเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น

[10]

พัฒนาการขององค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา[แก้]

องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาของไวด์เนอร์และเสวิดโลว[แก้]

ไวด์เนอร์ได้ให้เขียนบทความ”Development Administration:A New Focus for Research” ส่งผลไปกระตุ้นให้การบริหารการพัฒนาได้รับความสนใจเป็นวงกว้างจากเหล่านักวิชาการ โดยได้ให้นิยามและลักษณะของการบริหารการพัฒนา และชี้ถึงจุดเน้นในการวิจัย รวมทั้งให้แบบจำลองความคิด ข้อดีข้อเสียอีกด้วย สเวิดโลวได้รวบรวมหลายบทความจนเป็นบทความที่มีชื่อว่า “Development Administration Concept and Problems”ซึ่งมีเนื้อหาในเรื่องของเศรษฐศาสตร์ที่เป็นสาขาวิชาเกี่ยวข้องกับการบริหารการพัฒนา เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาของการบริหารงานในประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา

องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาของริกกซ์[แก้]

ริกซ์ได้รวมบทความจนเป็นหนังสือที่ชื่อว่า “Frontiers of Development Administration”ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา ซึ่งมีบทความที่เกี่ยวข้องกับ บริบทของการบริหารการพัฒนา และ การเมืองระบบราชการเชิงเปรียบเทียบ

องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาของวอลโดและเฮฟฟรีย์และแกนท์[แก้]

องค์ความรู้ที่วอลโดได้เขียนขึ้นนั้น เน้นที่สภาพแวดล้อมในส่วนของเวลาของการบริหารการพัฒนาในวัฒนธรรมในที่ต่างๆทั่วโลก ส่วนในผลงานของเฮฟฟีย์นั้น จะเน้นที่สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนาเหมือนกับวอลโด แต่ต่างกันที่เฮฟฟีย์จะเน้นที่ด้านสถานที่มากกว่า ส่วนแกนท์นั้นมีประสบการณ์มากที่สุดทั้งในด้านวิชาการและการปฏิบัติ โดยให้ความหมายของการบริหารงานภายนอก และเน้นการบริหารการพัฒนาที่แบ่งออกเป็นหลายๆภาคส่วน เช่น การศึกษา เกษตรกรรม รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาของเดอกูซแมนและคาร์บอนแนลพาแนนดิเกอร์และเซอร์ซาร์การ์[แก้]

องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาโดยเดอกูซแมนและคาร์บอแนล ได้ศึกษาและตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์โดยศึกษาจากผู้บริหารจากหลายๆภาคส่วน โดยแบ่งการศึกษาเป็นหลายๆมิติด้วยกันส่วนพาแนนดิเกอร์และเชอร์ชาร์การ์ ได้ศึกษาและตั้งสมติฐานในการวิจัยเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างและพฤติกรรมของระบบราชการซึ่งมีความสัมพันธ์กับบทบาทการพัฒนาของอินเดีย [11]

ขอบเขตของการศึกษาการบริหารพัฒนา[แก้]

การบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาการบริหาร[แก้]

คือเน้นหน่วยงานราชการให้มีการบริหารจัดการที่มีกระบวนการที่พร้อมในด้านโครงสร้างพฤติกรรม  รวมถึงสภาพแวดล้อม เพื่อเพิ่มสมรรถนะให้เพียงพอต่อกิจกรรม นโยบายต่างๆในการพัฒนาประเทศ 

การบริหารการพัฒนาที่เน้นการบริหารโครงการพัฒนา[แก้]

มุ่งที่จะแปลงนโยบายการพัฒนาออกเป็นแผนงานและโครงการทั้งกิจกรรมการพัฒนาที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในทางปฏิบัติตามสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอย่างน้อยจะคลอบคลุมสิ่งต่างๆต่อไปนี้คือ
  1. การวางแผนและกำหนดแผนงาน โครงการ รวมทั้งกิจกรรมการพัฒนา
  2. การนำเอาแผน แผนงาน โครงการ และกิจกรรมการพัฒนาไปปฏิบัติ
  3. การประเมินแผน แผนงาน โครงการและกิจกรรมการพัฒนา และข้อมูลย้อนกลับ

การบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ[แก้]

เน้นการเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชาชน ให้ประชาชนกินดีอยู่ดีมีอำนาจในการซื้อมากขึ้น โดยการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและมีการดำเนินการตามแผน รวมทั้งมีการประเมินผลการพัฒนา

การบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาชนบท[แก้]

 เน้นการพัฒนาชุมชนที่อยู่ตามชนบทโดยมีแผนให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ไม่ยากจน มีความรู้ ไม่เจ็บป่วย ขจัดความอดอยาก กระจายรายได้ไปสู่ประชากรในชนบท รวมทั้งส่งเสริมการพึ่งพาตนเองได้

การบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาสังคม[แก้]

เน้นการพัฒนาร่างกายรวมทั้งจิตใจของประชากร เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของคนในสังคม การปกครอง วัฒนธรรม เอกลักษณ์ประจำชาติ

การบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาการเมือง[แก้]

เน้นการให้ประชาชนรักความเป็นชาติ โดยใช้การเมืองในการกำหนดนโยบายในการบริหารการพัฒนา และความเป็นไปของรัฐบาลในประเทศของตน

การบริหารการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาเมือง[แก้]

เน้นการพัฒนาเมืองคือศูนย์กลางหลักของการขับเคลื่อนกิจกรรมทางการเมือง  เศรษฐกิจ การบริหาร รวมทั้งสังคม ควบคู่กับปัญหาเมืองจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาที่ดิน จราจร ความแออัด รวมทั้งขาดงบประมาณในการพัฒนาเมือง

[12] [13]

  1. ศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,การบริหารการพัฒนา,บพิธการพิมพ์,2558,978-616-08-2284-3
  2. ติน ปรัชญพฤทธิ์,การบริหารการพัฒนา ความหมาย เนื้อหา แนวทาง และปัญหา,สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2549,974-13-3547-4
  3. ณัฐปคัลภ์ ญาณมโนวิศิษฏ์,การบริหารพัฒนา,สยามมาพร,2555,978-974-365-469-5
  4. รศ.ดร.วัชรี ทรงประทุม,การบริหารการพัฒนากับประชาธิปไตย,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2552,978-616-513-079-0
  5. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,การบริหารการพัฒนาและการพัฒนาการบริหาร,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2548,974-9757-29-7
  6. รศ.ดร.วัชรี ทรงประทุม,การบริหารการพัฒนากับประชาธิปไตย,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2552,978-616-513-079-0
  7. ศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,การบริหารการพัฒนา,บพิธการพิมพ์,2558,978-616-08-2284-3
  8. ณัฐปคัลภ์ ญาณมโนวิศิษฏ์,การบริหารพัฒนา,สยามมาพร,2555,978-974-365-469-5
  9. ศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,การบริหารการพัฒนา,บพิธการพิมพ์,2558,978-616-08-2284-3
  10. ติน ปรัชญพฤทธิ์,การบริหารการพัฒนา ความหมาย เนื้อหา แนวทาง และปัญหา,สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2549,974-13-3547-4
  11. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,การบริหารการพัฒนาและการพัฒนาการบริหาร,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2548,974-9757-29-7
  12. ติน ปรัชญพฤทธิ์,การบริหารการพัฒนา ความหมาย เนื้อหา แนวทาง และปัญหา,สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2549,974-13-3547-4
  13. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,การบริหารการพัฒนาและการพัฒนาการบริหาร,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2548,974-9757-29-7