ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Kittiwiki/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติความเป็นมาของวัดป่าสามกษัตริย์

[แก้]
บัญชีรายชื่อวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา งวดที่ ๑ ปี ๒๕๖๓
โบสถ์หลังใหม่ของวัดป่าสามกษัตริย์ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง

ชื่อวัด

[แก้]

วัดป่าสามกษัตริย์ ชื่อชาวบ้านเรียก วัดโนนอีตู้

ตั้งอยู่บ้าน  บ่อน้ำ  หมู่ที่ ๑๑ ตำบล หมูม่น อำเภอ เมืองอุดรธานี จังหวัด อุดรธานี

ตำแหน่งในกูเกิ้ลแมพ     https://goo.gl/maps/BVicRoVvBa7Hi7Yw5


ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองหนองสำโรง สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย

วันที่ตั้งวัด  พ.ศ. ๒๔๗๕

ที่ตั้งวัด    หนังสือสำคัญที่ดิน อยู่ระหว่างขอรังวัดออกโฉนดที่ดินในนามวัดสามกษัตริย์

              จำนวนเนื้อที่ดิน ๑๘-๐-๐ ไร่

ศาลาบูรพาจารย์

อาณาเขต

[แก้]

มีแนวเขตที่ดิน            ทิศเหนือ           ยาว  ๑๖๓.๓๔ เมตร    ติดต่อกับ ทางหลวงท้องถิ่น

                                ทิศใต้              ยาว  ๒๕๘.๐๖ เมตร    ติดต่อกับ ทางหลวงท้องถิ่น

                                ทิศตะวันออก    ยาว  ๑๓๗.๖๐ เมตร    ติดต่อกับ ทางหลวงท้องถิ่น

                                ทิศตะวันตก      ยาว  ๑๔๗.๐๐ เมตร    ติดต่อกับ ทางหลวงท้องถิ่น

ประวัติความเป็นมาของวัดป่าสามกษัตริย์หรือวัดโนนอีตู้ พอสังเขป

[แก้]

จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนที่ได้รับบอกเล่าสืบต่อกันมาพอจะทราบได้ว่า ประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๐ หลวงปู่ดีเนาะ

เจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี ได้นำพาชาวบ้านและคณะศรัทธาเข้ามาสำรวจบริเวณ พื้นที่ตั้งวัดป่าสามกษัตริย์ (โนนอีตู้) พบซากโบราณสถาน และ

โบราณวัตถุ เป็นจำนวนมาก จึงได้บูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถเก่าซึ่งเหลือแต่ซากฐานอุโบสถซึ่งเป็นหินศิลาแลง และหลักเสมาหินทรายตั้งอยู่รอบ

ฐานศิลาแลง สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นอุโบสถ์ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าสิมเก่าไม่ทราบว่าสร้างในสมัยไหน และประสานไปทางกรมศิลปากร เพื่อให้

เจ้าหน้าที่เข้ามาสำรวจในพื้นที่บริเวณวัดป่าสามกษัตริย์ หรือชาวบ้านเรียกว่าวัดโนนอีตู้ และบริเวณใกล้เคียงโดยรอบตำแหน่งที่ตั้งวัด พบว่า

โบราณวัตถุ ตลอดจนกำไล เครื่องประดับและเครื่องใช้สอยที่ขุดพบในบริเวณวัดและในบริเวณโดยรอบมีอายุราวคราวเดียวกับอารยธรรมบ้าน

เชียง กระทรวงศึกษาธิการจึงได้นำวัดป่าสามกษัตริย์ขึ้นทะเบียนเป็นวัดในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา และคณะสงฆ์จังหวัด

อุดรธานีร่วมกับพุทธศาสนิกชนทางใกล้ทางไกลได้ร่วมบริจาคจตุปัจจัยตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ สิ่งของเครื่องใช้ ตลอดจนแรงกายเพื่อร่วมสร้าง

บูรณปฏิสังขรณ์กุฏิและศาลาการเปรียญ และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆหลายรายการ สำหรับเป็นที่พำนักของพระภิกษุ สามเณร ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๑๐ รูป

องค์ และ ใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจของพุทธศาสนิกชนชาวบ้านบ่อน้ำและบ้านใกล้เคียง

อาคารเสนาสนะวัดป่าสามกษัตริย์ มีดังนี้

[แก้]

๑.  กุฏิพระสงฆ์

๒. ศาลาการเปรีญ

๓. อุโบสถ

๔. หอพระไตรปิฎก

๕. ศาลาปฏิบัติธรรม

๖. ศาลาบูรพาจารย์ มี (หลวงปู่บัวไหล จิตฺตปาโร  องค์หญิงศิลาเนตร องค์หญิงประทุมมาวดี มหานิล พญาอบแก้ว พญาหงษ์ดำ พญาตาลำ)

๗. พระไตรรัตนบพิตร (พระประธาน)

พระอธิการพิทยา อตฺตทนฺโต (เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน)

๘.  พระใหญ่

๙. โรงอบสมุนไพร

๑๐. ห้องน้ำ

ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสและรักษาการเจ้าอาวาส มีดังนี้

[แก้]

๑. หลวงปู่บัวไหล  จิตฺตปาโร (ไม่ทราบ พ.ศ.)

๒.  หลวงปู่เหลือ (ไม่ทราบฉายา)

๓.  พระอำคา (ไม่ทราบฉายา)

๔. พระครูวิริยธรรมโชติ (พระวิไลย์ วิเลยฺโย)

๕.  พระมหาปรีชา จนทธมฺโน

๖.  พระอธิการสิงห์ กตปญฺโญ

๗.  พระอธิการพิทยา อตฺตทนฺโต

ประวัติวัดป่าสามกษัตริย์ หรือวัดโนนอีตู้ ฉบับนี้จัดทำเมื่อวันที่ ๑ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

พระอธิการพิทยา อตฺตทนฺโต

เจ้าอาวาสวัดป่าสามกษัตริย์