ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Kimberly.Becker/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไทโรซีน (Tyrosine)[แก้]

1. ไทโรซีน[แก้]

ไทโรซีน คือ กรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ซึ่งร่างกายจะสังเคราะห์ขึ้นจากฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) ที่ได้จากการบริโภค จากนั้นร่างกายจะนำไทโรซีนไปใช้เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทหลายชนิด อาทิ Catecholamine, Norepinephrine, Epinephrine, Dopamine ซึ่งมีบทบาทในการกระตุ้นและปรับเปลี่ยนการทำงานของสมอง

ขั้นตอนการสังเคราะห์

2. บทบาทของไทโรซีนที่มีต่อสมอง[แก้]

ไทโรซีนช่วยกระตุ้นให้สมองตื่นตัว[แก้]

ไทโรซีนเป็นสารตั้งต้นที่ร่างกายใช้สร้างฮอร์โมนโดพามีน (Dopamine) โดยฮอร์โมนนี้มีความสำคัญมาก เพราะช่วยให้สมองมีพลัง กระฉับกระเฉง และตื่นตัว เมื่อร่างกายหลั่งสารโดปามีนออกมา โดยจะส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลให้มีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น

ไทโรซีนกับการบรรเทาอาการเครียด[แก้]

ไทโรซีนคือสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทกลุ่มแคทีโคลามีน (Catecholamine) โดยสารกลุ่มนี้จะหลั่งออกมาเพื่อลดความเครียด หากเครียดเป็นเวลานานจะทำให้เกิดภาวะขาดสารดังกล่าว ซึ่งไทโรซีนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหลั่งสารทำให้ทนต่อความเครียดได้มากขึ้น

ไทโรซีนกับการแก้ไขอารมณ์ซึมเศร้า[แก้]

สมองคนเรามีการสร้างสารนอร์เอพิเนฟริน (Epinephrine) โดยใช้ไทโรซีนเป็นสารตั้งต้น ส่งผ่านความรู้สึกของระบบประสาทไปยังสมอง ช่วยแก้ไขและขจัดอารมณ์ซึมเศร้า

3. ประโยชน์ของไทโรซีน[แก้]

  • กระตุ้นให้สมองตื่นตัว
  • เพิ่มประสิทธิภาพความจำ
  • ลดความเครียด
  • แก้ไขอารมณ์ซึมเศร้า

4. แหล่งที่พบไทโรซีนในธรรมชาติ[แก้]

ไทโรซีนพบมากใน ผลมะเม่า, กล้วย, ผลิตภัณฑ์จากนม, ผลอะโวคาโด, อัลมอนด์, เมล็ดฟักทอง, ปลา, เนื้อไก่, สาหร่าย, โปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง และเมล็ดงา

5. 10 อันดับอาหารที่มี Tyrosine สูงได้แก่[แก้]

ชนิดอาหาร ปริมาณไทโรซีน (มิลลิกรัม / อาหาร 200 แคลอรี่)
สาหร่าย, สไปรูลิน่า สด 2,046
โปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง 1,907
ไข่ขาวดิบ 1,904
คอทเตจชีส 1,833
ปลาแซลมอนอลาสก้า 1,774
ไก่งวง (เนื้อไก่) 1,760
นกกระทา (เนื้อนกกระทา) 1,704
ใบฟักทอง 1,642
กุ้ง 1,620
ใบมัสตาร์ด 1,587