ผู้ใช้:Keroponglom2/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชื่อ :นาย ณัฐพล วุฒิสาร
การศึกษา :กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาระบบสารสนเทศ ชั้นปีที่ 3
อาชีพด้านคอมพิวเตอร์ที่สนใจ :IT Network

สถาปัตยกรรมเครือข่าย[แก้]

สถาปัตยกรรมเครือข่าย OSI (OSI Architecture)
  • เพื่อให้การออกแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน องค์กรมาตรฐานสากลอย่าง ISO จึงได้กำหนดตัวแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า OSI (Open System Interconnection)ซึ่งมีเป้าหมาย เพื่อให้มีการติดต่อส่งข้อมูลในลักษณะระบบเปิด (Open Systems) ได้
  • เพื่อใช้เป็นรูปแบบมาตราฐานในการเชื่อมต่อระบบ คอมพิวเตอร อักษร์ "O" หรือ "Open" ก็ หมายถึง การที่คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งสามารถ "เปิด" กว้างให้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่ใช้มาตราฐาน OSI เหมือนกันสามารถติดต่อไปมาหา สู่ระหว่างกันได้

ตัวแบบเครือข่ายแบบ OSI ซึ่งแบ่งระดับชั้นออกเป็น 7 ระดับชั้นดังนี้คือ

Layer Name Data Unit Device Group
7 Application Data Gateway User Support
6 Presentation Data - User Support
5 Session Data - User Support
4 Transport Segment - Transport Support
3 Network Packet Router Network Support
2 Data Link Frame Switch Network Support
1 Physical Bit Hub Network Support

หน้าที่การทำงานของเลเยอร์แต่ละชั้นในสถาปัตยกรรม OSI

1.ระดับชั้นฟิสิคัล
สาระสำคัญของระดับชั้นฟิสิคัลจะเกี่ยวกับการส่งสัญญาณบิตข้อมูลผ่านช่องสัญญาณให้ได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพกล่าวคือเมื่อผู้ส่งส่งบิตที่มีค่าเป็น1ผู้รับต้องได้รับบิตมีค่าเป็น1เช่นเดียวกันและเพื่อให้การส่งบิต ข้อมูลเป็นไปอย่างถูกต้องระดับชั้นฟิสิคัลจึงมีการกำหนดค่าต่างๆ เช่น - กำหนดค่าแรงดันไฟฟ้าของบิต 1 , 0 และอัตราของการส่งข้อมูล (สัญญาณเวลาที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล) - กำหนดมาตรฐานการส่งสัญญาณแบบแอนาล็อกและแบบดิจิตอล มาตรฐานของตัวแปลงสัญญาณ มาตรฐานของการอินเตอร์เฟซและการส่งข้อมูลโต้ตอบระหว่างอุปกรณ์ผู้ใช้ (DTE) กับอุปกรณ์สื่อสาร (DCE) - กำหนดลักษณะช่องสัญญาณของสายสื่อสารในลักษณะของ ซิมเพล็กซ์ ฮาล์ฟดูเพล็กซ์หรือฟูลดูเพล็กซ์ตลอดจนการมัลติดเพล็กซ์สัญญาณข้อมูล

2.ระดับชั้นดาต้าลิงก์
หน้าที่ของระดับชั้นดาต้าลิงก์คือ การบริการส่งข้อมูล ระหว่างโหนดที่ติดกันของเครือข่ายให้ผ่านสายส่งได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ หน้าที่โดยสังเขปของระดับชั้นนี้เช่น - การตรวจสอบความถูกต้องของการส่งข้อมูล ซึ่งหากมีความผิดพลาดอันเนื่องมาจากสัญญาณรบกวนในสายส่ง (Noise) ระดับชั้นนี้ต้องทำการแก้ไข ซึ่งกระบวนการแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดสามารถทำได้โดยการนำเอาบิตข้อมูลมาทำเป็นเฟรม (บล็อกของบิตข้อมูล)และทำการตรวจสอบและแก้ไขทั้งเฟรม ดังนั้น จึงมีการกำหนดโครงสร้างและขอบเขตของเฟรม เพื่อเพียร์โปรเซสส์ของฝั่งรับจะสามารถนำเฟรมของข้อมูลไปประมวลผลได้อย่างถูกต้องแสดงถึงตัวอย่างของเฟรมจะเห็นว่ามีการเพิ่มแฟล็ก(Flag)ที่ต้นและท้ายของเฟรมข้อมูลเพื่อให้ฝั่งรับ สามารถรับรู้ขอบเขตของเฟรมได้ถูกต้อง - ควบคุมให้การส่งข้อมูลระหว่างโหนดที่ติดกันผ่านสายส่งเป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่มี ข้อมูลหายหรือข้อมูลซ้ำ อันเนื่องมาจากสัญญาณรบกวนในสายอาจจะทำให้เฟรมข้อมูลหายไปได้จึงอาจต้องมีการส่งเฟรมเดิมไปใหม่หลายครั้ง ซึ่งก็อาจทำให้ฝั่งรับได้รับเฟรมเดิม - ควบคุมการไหลของข้อมูล (flow control) โดยไม่ให้ฝั่งส่ง ๆ ข้อมูลเร็วเกินไปจนฝั่งรับนำข้อมูลที่รับเข้ามาส่งให้แก่ระดับชั้นเน็ตเวริร์กไม่ทันทำให้ข้อมูลที่เข้ามาใหม่ ทับข้อมูลเดิมที่อยู่ในบัฟเฟอร์ของระดับชั้นดาต้าลิงก์ฝั่งรับ ซึ่งทำให้ข้อมูลเสียหายได้ - กำหนดวิธีการในการส่งข้อมูลระหว่างโหนดที่ติดกันทั้งในกรณีของการส่งแบบ ซิมเพล็กซ์ ฮาล์ฟดูเพล็กซ์ และฟูลดูเพล็กซ์

3.ระดับชั้นเน็ตเวิร์ก
สาระสำคัญของระดับชั้นเน็ตเวิร์กคือกำหนดเส้นทางการส่งข้อมูลผ่านโหนดต่างๆของเครือข่ายจากต้นทางให้ถึงปลายทางได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งวิธีการกำหนดเส้นทางเดินของข้อมูลอาจจะเป็นลักษณะที่ทุก ๆ แพ็กเกตของข้อมูลชุดเดียวกันถูกส่งผ่านโหนดต่าง ตามเส้นทางเดียวกันเส้นทางใดเส้นทางหนึ่ง หรือเป็นลักษณะที่แต่ละแพ็กเกตถูกส่งผ่านโหนดของเส้นทางที่แตกต่างกันไปแล้วค่อยไปรวมกันใหม่ที่ปลายทาง ขึ้นอยู่กับว่าเส้นทางใดที่จะสามารพส่งแพ็กเกตให้ถึงปลายทางได้เร็วที่สุด นอกจากนั้นหากในเครือข่ายมีแพ็กเกตจำนวนมากอาจทำให้เกิดการ ติดขัดของการส่งข้อมูล (congestion) จึงเป็นหน้าที่ของระดับชั้นเน็ตเวิร์กที่ต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้

4.ระดับชั้นทรานสปอร์ต
สาระสำคัญของระดับชั้นทรานสปอร์ตคือ การควบคุมการส่งข้อมูลของผู้ใช้ต้นทางหรือกระบวนการประมวลผลของโฮสต์ต้นทาง ระดับชั้นทรานสปอร์ตมีการทำงานคล้ายกับบริษัท Shipping ซึ่งจะคอยดูแลการขนส่งสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทางได้ถูกต้องครบถ้วนตามเวลาที่กำหนดแต่จะไม่ได้เป็นผู้ที่ทำการขนส่งสินค้าเองหน้าที่การขนส่งสินค้าเป็นหน้าที่ของบริษัทขนส่งนอกจากนี้ในระดับชั้นทรานสปอร์ตยังมีหน้าที่ดูแลความสามารถในการส่งข้อมูลของผู้ใช้ในกรณีที่ชนิดรูปแบบและเทคโนโลยีของการส่งข้อมูลของเครือข่ายสื่อสารเปลี่ยนไปก็เป็นหน้าที่ของระดับชั้นทรานสปอร์ตในการกันผู้ใช้จากการเปลี่ยนแปลงไปนั้นทำให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อมูล ได้ดังเดิมในOSI ถือได้ว่าตั้งแต่ระดับชั้นทรานสปอร์ตลงมานั้นเป็นระดับชั้นต่ำ(LowerLayer)ทำหน้าที่หลักในการสื่อสารส่งข้อมูลจากต้นทางถึงปลายทางให้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ส่วนตั้งแต่ระดับชั้นเซสชันระดับชั้นพรีเซนเตชันและระดับชั้นแอปพลิเคชันถูกจัดว่าเป็นระดับชั้นที่สูง (upper layer) ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการความสะดวกสบายต่าง ๆ แก่ผู้ใช้ หรือแก่โปรแกรมประยุกต์ โดยผู้ใช้แต่ละราย

5.ระดับชั้นเซสชัน
มีหน้าที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ในการสร้างเซสชัน (session) ของการติดต่อระหว่างเครื่องและยกเลิกเซสชัน ของการติดต่อสื่อสาร ตัวอย่างของการสร้างเซสชันของการติดต่อ เช่น การสร้าง เซสชันเพื่อใช้ในการ Log in ของเครื่อง Client เข้าสู่เครื่อง Server หรือในการโอนย้ายไฟล์ข้อมูลระหว่างเครื่องเมือมีการสร้างเซสชันของการติดต่อแล้วระดับชั้นเซสชันจะใช้บริการของระดับชั้นทรานสปอร์ตในการติดต่อส่งข้อมูลจากต้นทางถึงปลายทาง และเมื่อเลิกเซสชันของการติดต่อแล้ว การติดต่อส่งข้อมูลในระดับชั้นทรานสปอร์ตก็จะถูกยกเลิกไปด้วย

6.ระดับชั้นพรีเซนเตชัน
ระดับชั้นพีเซนเตชันทำหน้าที่เกี่ยวกับการคงไว้ซึ่งความหมายของข้อมูลที่ส่งเมื่อผู้ส่งได้ส่งข้อมูลที่มีความหมายอย่างไร ผู้รับต้องได้รับข้อมูลซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกันนั้น ทั้งนี้เนื่อง จากคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันจะมีรูปแบบของการแทนค่าข้อมูลภายในเครื่องแตกต่างกัน เช่น เครื่องเมนเฟรมของไอบีเอ็มจะใช้รหัส EBCDIC แทนค่าตัวอักษร ในขณะที่คอมพิวเตอร์อื่นๆใช้ รหัสแอสกี นอกจากนั้นไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ใช้ 2's complement สำหรับนับจำนวนตัวเลข (integer) 16 บิต แต่เครื่อง CDC Cybers ใช้จำนวนบิต 60 บิต 1'scomplement สำหรับจำนวนตัวเลข จึงเป็นหน้าที่ของระดับชั้นพรีเซนเตชันในการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมในการส่ง ข้อมูล นอกจากนั้นระดับชั้นพรีเซนเตชันยังทำหน้าที่อื่นๆ อีกเช่น - ทำหน้าที่ในการอัดข้อมูล (data compression) ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการส่ง ข้อมูลลงไปได้มาก - ป้องกันข้อมูลไม่ให้ถูกอ่านหรือแก้ไขโดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต - ตรวจพิสูจน์ว่าผู้ที่ส่งข้อมูลนั้นเป็นผู้ส่งจริงหรือไม่ ซึ่งใช้หลักการของการเข้ารหัสลับข้อมูล (encryption)

7.ระดับชั้นแอปพลิเคชั่น
หน้าที่สำคัญของระดับชั้นนี้คือการให้บริการโปรแกรมประยุกติต่างๆที่ใช้ในระบบ เครือข่าย เช่น การส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างนอกจากนี้ระดับชั้นแอปพลิเคชันยังมีหน้าที่จัดการโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนโฮสต์ให้สามารถทำงานได้กับเทอร์มินัลชนิดต่าง ๆ ได้ เนื่องจากปกติแล้วเทอร์มินัลแต่ละชนิดจะมีการใช้ตัวอักษรในการควบคุมหน้าจอ (control characters) แตกต่างกันออกไป

ส่วนประกอบของเครือข่าย[แก้]

ส่วนประกอบของเครื่อข่ายจะประกอบด้วย 

1. Computer
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

ไฟล์:Content2-5 clip image001.jpg










2. Network Interface
เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งที่ขาดไม่ได้ ในการต่อกับระบบเครือข่ายปัจจุบัน LAN Card ที่นิยมจะเป็นแบบหัว RJ-45 โดยจะมีให้เลือกอยู่ 2 แบบ คือ แบบเป็นแผ่นการ์ด สำหรับเสียบเข้าช่องสลอต PCI บนเมนบอร์ด และ แบบที่ที่ฝั่งอยู่บนตัวเมนบอร์ด (Onboard LAN Card) อัตราข้อมูลที่สามารถส่งผ่านมีได้หลายระดับ เช่น 10 Mbps, 100 Mbps, 1000 Mbps

ไฟล์:Auiport.jpg









3. Operating System
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ทำงานสอดคล้องกับความต้องการ โดยไม่เกิดข้อผิดพลาด เช่นการควบคุมดิสก์ จอภาพ หรือซีดีรอม เป็นต้น ระบบปฏิบัติการจะรับคำสั่งจากผู้ใช้ และเรียกใช้ System call ขึ้นมาทำงาน ให้ได้ผลตามต้องการ ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ได้ง่ายและยังมีหน้าที่ควบคุม การนำโปรแกรมประยุกต์ ด้านการติดต่อสื่อสาร มาทำงานในระบบเครือข่ายอีกด้วย นับว่าซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มีความสำคัญต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows NT , Linux , Novell Netware , Windows XP ,Windows 2000 , Solaris , Unix เป็นต้น

ไฟล์:OS logos.png









4.Network Device
อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม เราจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมที่เรียกว่า Internetworking devices ที่เรียกกันว่า Router และ gateway อุปกรณ์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อให้เราสามารถเชื่อมต่อ LAN หลาย ๆ LAN เข้าด้วยกันและสามารถ กำหนดเส้นทางการส่งข้อมูลภายใน Network ได้

ไฟล์:Adding-Extra-Ports-A.png










4.1 Hub

ไฟล์:Network-hub-with-cable.jpg

Hub หรือบางทีก็เรียกว่า "รีพีตเตอร์ (Repeater)" คือ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ Hub มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Hub จะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Hub มากเท่าใด ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง ในท้องตลาดปัจจุบันมี Hub หลายชนิดจากหลายบริษัท ข้อแตกต่างระหว่าง Hub เหล่านี้ก็เป็นจำพวกพอร์ต สายสัญญาณที่ใช้ ประเภทของเครือข่าย และอัตราข้อมูลที่ Hub รองรับได้







4.2 switch

ไฟล์:DGS1024DG1Image LFront.png

Switch มีหน้าที่ในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยมีหลักการทำงานดังนี้ เมื่อคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกับ Switch ใน Port ที่ 1 ต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ใดๆ ในเครือข่ายแล้วนั้น คอมพิวเตอร์ตัวแรกก็จะสร้าง Frame ของข้อมูลขึ้นมาโดยจะประกอบด้วย MAC Address, IP Address ของตัวมันเอง ซึ่งเป็นผู้ส่งและ IP Address ของปลายทางคือคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อ แต่จะยังไม่มี MAC Address ของคอมพิวเตอร์ปลายทาง นำมาประกอบกันเป็น Frame ต่อจากนั้นจะใช้ Protocol ARP ที่มีอยู่ใน Protocol TCP/IP ในการค้นหา MAC Address ของ คอมพิวเตอร์ปลายทาง ที่มันต้องการจะติดต่อด้วย โดย Protocol ARP จะทำการ Broadcast Frame นี้ไปยังทุก Port ของ Switch เรียกว่า ARP Request เมื่อคอมพิวเตอร์ที่มี IP Address ตรงกับ IP Address ที่ต้องการติดต่อทราบ ก็จะตอบกลับว่านี่เป็น IP Address ของฉัน ก็คือคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต้องการติดต่อ มันจะตอบกลับพร้อมกับใส่ค่า MAC Address ของมันลง ใน ARP Reply ในแบบ Broadcast ด้วย ซึ่งจะทำให้ Switch รับทราบด้วย ต่อจากนั้น Switch ก็จะทำการ Forward ข้อมูลต่างๆ ไปยัง Port ที่เป็นที่อยู่ของคอมพิวเตอร์ทั้งสองได้อย่างถูกต้อง และ Switch จะยังเก็บเอาข้อมูลของ Mac Address ต้นทางของทั้งสองเอาไว้ในตาราง Source Address Table ( SAT ) เพื่อเก็บเอาข้อมูล MAC Address กับ Port ที่ติดต่อไว้ใช้ในการสื่อสารที่จะเกิดขึ้นต่อไป






4.3 Router

ไฟล์:Linksys WRT1900AC Router Front Final1-640x353.jpg

หน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI ทั้งๆที่ในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX หรือ AppleTalk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อ Router ได้รับข้อมูลมาก็จะตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น Packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้ง เพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง









4.4 Gateway

ไฟล์:IBSDAF.jpg

เป็นตัวที่เชื่อมต่อโครงข่ายของแต่ละประเทศเข้าด้วยกัน สมมุติว่าเราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับเซิฟเวอร์ ปัจจุบันจะต้องผ่าน International internet gateway (IIG) ในประเทศเล็กๆ หรือประเทศที่ต้องการควบคุมผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างเช่น จีน หรือลาว ผู้ให้บริการ IIG จะมีเพียงเจ้าเดียวเท่านั้น









4.5 Firewall

ไฟร์วอลล์คือซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่ตรวจสอบข้อมูลที่มาจากอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่าย แล้วบล็อกข้อมูลนั้นหรืออนุญาตให้ข้อมูลนั้นผ่านเข้ามายังคอมพิวเตอร์ของคุณ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าไฟร์วอลล์ของคุณ ไฟร์วอลล์จะช่วยป้องกันไม่ให้แฮกเกอร์หรือซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย (เช่น หนอนไวรัส) เข้าถึงคอมพิวเตอร์ของคุณผ่านทางเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ไฟร์วอลล์ยังช่วยหยุดไม่ให้คอมพิวเตอร์ของคุณส่งซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นอีกด้วย








สายสัญญาณ[แก้]

เป็นตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งลักษณะของตัวกลางต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

สายโคแอกเชียล ( Coaxial Cable)

ไฟล์:Coaxial cable100024.jpg

สายโคแอกเชียล (coaxial) เป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อจากเสาอากาศ สายโคแอกเชียลที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทัล และชนิด 75 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณแอนะล็อก สายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันกระแสไฟรั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปีย เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก ลวดทองแดงที่ถักเป็นเปียนี้เองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมาก และนิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณแอนะล็อกเชื่องโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน






สายคู่บิดเกลียว (twisted pair)

ไฟล์:P07-151.jpg

สายคู่บิดเกลียว (twisted pair)แต่ละคู่สายทองแดงจะถูกพันกันตามมาตรฐานเพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ถึง 10 Hz หรือ 10 Hz เช่น สายคู่บิดเกลี่ยว 1 คู่ จะสามารถส่งสัญญาณเสียงได้ถึง 12 ช่องทาง สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวจะขึ้นอยู่กับความหนาของสายด้วย กล่าวคือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่วนสูง โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจทัล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้หลายเมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางได้ไกลหลายกิโลเมตร เนื่องจากสายคู่บิดเกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี แล้วน้ำหนักเบาง่ายต่อการติดตั้ง จึงถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างคือ สายโทรศัพท์


วิธีการเข้าสายคู่บิดเกลียว
การเข้าหัวแบบสายตรง 1.ขาว-ส้ม 2.ส้ม 3.ขาว-เขียว 4.น้ำเงิน 5.ขาว-น้ำเงิน 6.เขียว 7.ขาว-น้ำตาล 8.น้ำตาล
การเข้าหัวแบบสาายไขว้ 1.ขาว-เขียว 2.เขียว 3.ขาว-ส้ม 4.น้ำเงิน 5.ขาว-น้ำเงิน 6.ส้ม 7.ขาว-น้ำตาล 8.น้ำตาล









เส้นใยนำแสง (fiber optic)

ไฟล์:เส้นใยนำแก้ว1000124.png

เส้นใยแก้วนำแสง(Fiber Optics) เป็นตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการส่งสัญญาณแสงผ่านเส้นใยแก้วนำแสงที่มัดรวมกัน การนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารก่อให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับ "ทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway)" นี้จะเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสงได้ส่งผลกระทบต่อวงการสื่อสารมวลชเส้นใยแก้วนำแสง ในอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย สำนักงาน อาคารอุตสาหกรรมต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้สายสัญญาณเพื่อเชื่อมโยงระบบสื่อสาร แต่เดิมสายสัญญาณที่นำมาใช้ได้แก่สายตัวนำทองแดงปัจจุบันสายสัญญาณระบบสื่อสารมีความจำเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และมีแนวโน้มที่จะรวมระบบสื่อสารอย่างอื่นประกอบเข้ามาในระบบด้วย เช่น ระบบเคเบิลทีวี ระบบโทรศัพท์ ระบบการบริการข้อมูลข่าวสารเฉพาะของบริษัทผู้ให้บริการต่าง ๆ ความจำเป็นในลักษณะนี้จึงมีผู้ตั้งคำถามว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะให้อาคารที่สร้างใหม่มีระบบเครือข่ายสายสัญญาณด้วยเส้นใยแก้วนำแสงหากพิจารณาให้ดีพบว่า เวลานั้นได้มาถึงแล้ว ปัจจุบันราคาของเส้นใยแก้วนำแสงที่เดินในอาคารมีราคาใกล้เคียงกับสายยูทีพีแบบเกรดที่ดี เช่น แคต 5 ขณะเดี่ยวกันสายเส้นใยแก้วนำแสงให้ประสิทธิภาพที่สูงกว่ามากและรองรับการใช้งานในอนาคตได้มากกว่าสายยูทีพีแบบแคต 5 รองรับความเร็วสัญญาณได้ 100 เมกะบิตต่อวินาที และมีข้อจำกัดในเรื่องความยาวเพียง 100 เมตร ขณะที่เส้นใยแก้วนำแสงรองรับความถี่สัญญาณได้หลายร้อยเมกะเฮิรตซ์ และยังใช้ได้กับความยาวถึง 2000 เมตร การพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ ของเส้นใยแก้วนำแสงได้ก้าวมาถึงจุดที่จะนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางแล้ว








รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย[แก้]

เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer

ไฟล์:Peer-to-Peer-Relationship.jpg

เครือข่ายแบบนี้จะเก็บไฟล์และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละคน โดยไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางที่ทำหน้าที่นี้ เรียกได้ว่าต่างคนต่างเก็บ ต่างคนต่างใช้ แต่ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถเรียกใช้ไฟล์จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำการแชร์ไฟล์เหล่านั้นไว้ เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer นี้เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันไม่เกิน 10 เครื่อง เนื่องจากติดตั้งง่าย ราคาไม่แพง และการดูแลไม่ยุ่งยากนัก แต่ถ้าคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีมากกว่า 10 เครื่องขึ้นไปควรจะใช้เครือข่ายแบบอื่นดีกว่า







เครือข่ายแบบ Client/Server

ไฟล์:Streaming server scheme.jpg

เป็นรูปแบบหนึ่งของเครือข่ายแบบ server-based โดยจะมีคอมพิวเตอร์หลักเครื่องหนึ่งเป็น เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะไม่ได้ทำหน้าที่ประมวลผลทั้งหมดให้เครื่องลูกข่าย หรือไคลเอนต์ (client) เซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่เสมือนเป็นที่เก็บข้อมูลระยะไกล (remote disk) และประมวลผลบางอย่างให้กับไคลเอนต์เท่านั้น เช่น ประมวลผลคำสั่งในการดึงข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล (database server) เป็นต้น







Lan Technology[แก้]



เครือข่ายแบบบัส (bus topology)

ไฟล์:Bustopology10002411.jpg
smallpx

เครือข่ายแบบบัส (bus topology) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลา หนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก






เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)

ไฟล์:Ringtopology1.jpg
smallpx

เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันก็จะส่งผ่านไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่











เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว(Star Network)

ไฟล์:Star-topology10002141.jpg
smallpx

เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว(Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็น ศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน









เครือข่ายแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)

ไฟล์:โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช.jpg

เครือข่ายแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology) รูปแบบเครือข่ายแบบนี้ ปกติใช้ในระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) ลักษณะการสื่อสารจะมีการต่อสายหรือการเดินของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโหนดไปยังโหนดอื่น ๆ ทุก ๆ ตัว ทำให้มีทางเดินข้อมูลหลายเส้นและปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่จะเกิดจากการล้มเหลวของระบบ แต่ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบอื่น ๆ เพราะต้องใช้สายสื่อสารเป็นจำนวนมาก







WAN Technology[แก้]


Circuit–Switching Network

ไฟล์:Circuit-setup.gif

การทำงานของ Circuit Switch การส่งข้อมูลจะต้องสร้างเส้นทางเสียก่อน และฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบกลับมาก่อนว่าพร้อมจะรับข้อมูลแล้วจึงรับส่งข้อมูลได้ และเมื่อสร้างเส้นทางในการรับส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอดและคนอื่นไม่สามารถใช้เส้นทางนี้ได้ มีความเร็วในการส่งข้อมูลที่คงที่ มี Delay น้อย ซึ่ง Delay ที่เกิดขึ้นมีเพียง Propagation Delay คือเวลาที่ข้อมูลวิ่งอยู่ในสายสัญญาณ และ Delay ที่ Node ถึงถือว่าน้อยมาก เพราะที่ Node มีการเชื่อมต่อกันแบบ Point-to-Point และถึงแม้จะมีผู้ใช้งานในระบบมาก ความเร็วในการส่งข้อมูลก็ไม่ลดลง







Packet switching

ไฟล์:TCPIPFig2.gif

การทำงานของ Packet switching จะแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ (Packet) ทุกกลุ่มจะมีความยาวเท่าๆกันโดยจะหาทิศทางการเดินเอง สายๆหนึ่งสามารถใช้ได้หลายคน เมื่อถึงปลายทางข้อมูลจะกลับมารวมกันเหมือนเดิม





หลักการทำงาน Circuit switching

1) เมื่อสถานีA ส่งข้อมูลให้กับ สถานีB จะต้องมีการสร้างเส้นทางโดยที่ฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบว่าพร้อมรับข่าวสาร (Establishment/ Connection)

2) เมื่อสร้างเส้นทางการส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอดและไม่ให้บุคคลอื่นมาใช้เส้นทาง

3) ความเร็วทั้งด้านรับและส่งเท่ากัน

4) มีการทำ Error Control และ Flow Control

5) ในขณะทำการส่งข้อมูล ข้อมูลจะถูกส่งด้วยความเร็วคงที่ และไม่มีการหน่วงเวลา(Delay)

6) เมื่อส่งข้อมูลเสร็จจะยกเลิกเส้นทางที่ได้เชื่อมต่อขึ้นมาเพื่อให้เครื่องอื่นได้ใช้เส้นทางได้
หลักการทำงาน Packet switching

1) เมื่อ สถานี A ต้องการส่งข้อมูลให้กับสถานีB จะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็น Packet ย่อยก่อนจะถูก ส่งออกไป

2) ส่งข้อมูลโดยใช้ชุมสาย PSE (Packet switching exchange) ควบคุมการรับส่ง

3) ทำ Error control หรือ Flow Control ที่ PSE

4) ด้านรับและด้านส่งมีอัตราความเร็วที่ไม่เท่ากันได้

5) ใช้เทคนิค Store - and - Forward ในการส่งข้อมูล ผ่าน PSE


IP ADDRESS[แก้]

การแบ่ง Class ของเครือข่าย IP Address การติดต่อสื่อสารกันในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีโพรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมอยู่ จะต้องมีหมายเลขเครื่องเอาไว้อ้างอิงให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทราบ เหมือนกับทุกคนที่ต้องมีชื่อและนามสกุลให้คนอื่นเรียก ซึ่งจะซ้ำกันไม่ได้ หมายเลขเครื่องอ้างอิงดังกล่าวเรียกว่า IP Address หรือ หมายเลข IP หรือบางที่เรียกว่า “แอดเดรส IP” (IP ในที่นี้คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง) ซึ่งถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้มีตัวเลขถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิต เท่า ๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐาน 10 ก่อนเพื่อเป็นการง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละตัวด้วยจุด ดังนั้นตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ตั้งแต่ 0 จนถึง 28 - 1 = 255 เท่านั้น เช่น 192.10.1.101 เป็นต้น

IP Address นี้จะแบ่งได้เป็น 5 ระดับ (Class) มี Class A,Class B,Class C,Class D,Class E ที่ใช้งานโดยทั่วไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ Class A, Class B, Class C ซึ่งจะแบ่งตามขนาดของเครือข่ายนั่นเอง ถ้าเครือข่ายนั้นมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่มากก็จะจัดอยู่ใน Class A ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์น้อยลงมาก็จะจัดอยู่ใน Class B, Class C ตามลำดับ ความจริงเป็นการกำหนดหมายเลขของเครื่องเครือข่าย และหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ รายละเอียดของแต่ละ Class มีดังนี้

Class A: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.0-127.255.255.255 ซึ่งเหมาะสมสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถรองรับจะมีเครือข่ายได้ 126 เน็ตเวิร์ค และในแต่ละเครือข่ายสามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ประมาณ 16 ล้านเครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class A เป็น 120.25.2.3 หมายถึง เครือข่าย 120 หมายเลขเครื่อง 25.2.3

Class B: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.0-191.255.255.255 จะมีเครือข่ายขนาด 16384 เน็ตเวิร์ค และจำนวนเครื่องลูกข่ายในเครือข่ายได้ 64,516 เครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class B เป็น 145.147.45.2 หมายถึง เครือข่าย 145.147 หมายเลขเครื่อง 45.2

Class C: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 192.0.0.0-223.255.255.255 จะมีจำนวนเครือข่ายขนาด 2M+ เน็ตเวิร์ค และเครื่องลูกข่ายในแต่ละเครือข่ายได้ประมาณ 254 เครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class C เป็น 202.28.10.5 หมายถึง หมายเลขเครือข่าย 202.28.10 หมายเลขเครื่อง 5

Class D:เป็นการสำรองหมายเลข IP Address ช่วง 224.0.0.0-239.255.255.255 สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ซึ่งจะไม่มีการแจกจ่ายใช้งานทั่วไปสำหรับบุคคลทั่วไป

Class E: เป็นการสำรองหมายเลข IP Address ช่วง 240.0.0.0-255.255.255.255 สำหรับการทดสอบ และพัฒนา


Subnet Mask

Subnet Mask คือตัวที่จะช่วยทำให้เราสามารถระบุได้ว่า IP address เบอร์นั้นๆ มี bit ไหนบ้างที่เป็น Network ID และมี bit ไหนบ้างที่เป็น Host ID Subnet Mask จะถูกสร้างขึ้นมา โดยการวาง binary 1 (bit ที่เป็น 1) ไว้ในแต่ละตำแหน่งของ bit ที่เป็นตัวแทนในส่วนของ Network และ วาง binary 0 (bit ที่เป็น 0) ไว้ในแต่ละตำแหน่งของ bit ที่เป็นตัวแทนในส่วนของ Host เช่น ต้องการจะบอกว่า IP address 10.1.2.3 มี 8 bit แรก (10) เป็น network และ 24 bit หลัง (.1.2.3) เป็น host เราสามารถบอกได้ด้วยการสร้าง หรือด้วยการระบุที่ Subnet Mask เป็น 11111111 . 00000000 . 00000000 . 00000000


Private IP

Private IP หมายถึง หมายเลข IP Address ที่ไม่สามารถนำมาใช้ติดต่อสื่อสารบนโลก Internet ได้ สามารถใช้ติดต่อสื่อสารได้เฉพาะภายในกลุ่มเครื่องข่าย หรือ Local Net เท่านั้น เปรียบเทียบกับโทรศัพท์ได้ว่าเป็นเหมือน เบอร์โทรศัพท์ภายใน ซึ่งสามารถใช้ติดต่อกับ เบอร์ภายในเท่านั้น ไม่สามารถโทรออกภายนอกได้ หากต้องการโทรออกจะต้องใช้เทคนิค ในการไป map เบอร์ภายนอก เพื่อที่จะให้โทรออกได้ หรือที่เรียกว่าการ NAT


Public IP

Public IP หมายถึง หมายเลข IP Address ที่สามารถนำมาใช้ติดต่อสื่อสารบนโลก Internet ได้ เปรียบเทียบกับโทรศัพท์ได้ว่า เบอร์โทรที่สามารถโทรหากันได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลกก็ตาม

Routing Protocol[แก้]

การทำงานของRouter

เราเตอร์ทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือโหนดหนึ่งใน LAN ซึ่งจะทำการรับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปแบบของ packet ที่ต่างออกไปจากเดิม เพื่อไปผ่านสายสัญญาณแบบอื่น ๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ดังนั้นเราจึงอาจใช้เราเตอร์เพื่อเชื่อมต่อ LAN หลาย ๆ แบบเข้าด้วยกันได้ด้วย และจากการที่มันทำตัวเสมือนเป็นโหนด ๆ หนึ่งใน LAN ทำให้เราเตอร์สามารถทำงานอื่น ๆ อีกมาก เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลต่อ หรือตรวจสอบว่าข้อมูลที่เข้ามานั้นมาจากไหน ควรจะให้ผ่านหรือไม่ เพื่อช่วยในเรื่องการรักษาความปลอดภัยด้วย


Routing Table

Routing Table เป็นตารางข้อมูลของเส้นทางการส่งผ่านข้อมูลเพื่อใช้พิจารณาการส่งผ่านข้อมูลซึ่งในการได้มาของ Routing table มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ 1.Static Route 2.Dynamics Route


Static Route

Static Route คือ การเพิ่มเส้นทางใน Routing Table ด้วยผู้ดูแลเนตเวิร์คเพื่อบอกให้เราเตอร์ทราบว่าถ้าต้องการจะส่งข้อมูล ไปที่ Subnet Address ใดจะต้องส่งผ่าน Router ตัวไหน ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้ดูแลเนตเวิร์ค เข้ามาจัดการทั้งหมดซึ่งเหมาะสาหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก รักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่าข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้นและช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก


Dynamics Route

Dynamic Route เป็นการใช้ ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งมากับ Router เพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการเลือกเส้นทางระหว่างRouter หลักการทำงานคือ router จะส่ง routing table ที่สมบูรณ์ของตัวเอง ให้กับ Router เพื่อนบ้าน เรียกว่ามี Routing Protocol ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ใน router เลย เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่เพราะRouter สามารถจัดการหาเส้นทางเองหากมีการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายเกิดขึ้น โดย Routing Protocol จะมี Distance Vector และ Link State ซึ่ง routing protocol ทั้งสองประเภทจะมีจุดประสงค์ที่เหมือนกันก็คือ การทำให้เราเตอร์ปัจจุบันมีตาราง routing table ที่ประกอบด้วยเส้นทางที่ดีที่สุดที่สามารถส่งข้อมูลไปถึงซับเนตแอดเดรสปลายทางทั้งหมดได้ แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือวิธีการที่จะทำให้จุดประสงค์ข้างต้นลุล่วงไปได้

อ้างอิง[แก้]



[1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] [28] [29] [30] [31] [32] [33]

  1. http://jariya123.blogspot.com/2012/01/osi-osi-architecture.html
  2. https://meeruang.wordpress.com
  3. http://chompu97.blogspot.com
  4. https://yyweb123.wordpress.com/2011/09/10/network-interface-card
  5. http://www.brr.ac.th/oldweb/knowledge/hardware/lan/lan.htm
  6. http://guru.sanook.com/2287
  7. https://preenb56teeradet.wordpress.com/author/preenb56teeradet/page/2/
  8. http://www.broadbandbuyer.co.uk/features/1620-how-to-add-more-ports-to-your-router/
  9. http://arstechnica.com/information-technology/2015/09/fcc-accused-of-locking-down-wi-fi-routers-but-the-truth-is-a-bit-murkier/
  10. http://getsix.eu/our-profile/our-it-technologies-applied/it-back-end-infrastructure/security/
  11. http://it.kbtc.ac.th/it54/5406/project54/network1/Chapter%205.htm
  12. http://palmylovely-p.blogspot.com/2011/04/blog-post.html
  13. http://it.benchama.ac.th/ebook/files/vocab7.htm
  14. http://023536333.blogspot.com/2012_11_01_archive.html
  15. http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:http://dit.dru.ac.th/task/network/cable.html&gws_rd=cr&ei=BafKVuToBsqzuASfkov4Cw
  16. http://ecomputernotes.com/computernetworkingnotes/computer-network/explain-peer-to-peer-networking-model
  17. https://oonuma55.wordpress.com/bus-topology/
  18. https://oonuma55.files.wordpress.com/2013/02/010.png
  19. http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/webnot/index611.htm
  20. https://charita53.files.wordpress.com/2013/02/1244602023.jpg
  21. https://charita53.wordpress.com/A7-star-network/
  22. http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=numpuang&month=10-06-2009&group=10&gblog=7
  23. http://nooplemonic.exteen.com/20090706/circuit-switching-packet-switching
  24. http://home.kku.ac.th/hslib/412141/412141_2548/c6s21IPaddress.htm
  25. http://www.hadyaiinternet.com/index.php?topic=1877.0;wap2
  26. http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=09-08-2011&group=1&gblog=8
  27. http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_wan8.htm
  28. http://riverplusblog.com/tag/routing-table/
  29. http://nisiree.blogspot.com/p/blog-page_8981.html
  30. https://supachai52.wordpress.com/network-topology/
  31. http://www.eetimes.com/document.asp?doc_id=1278072
  32. http://www.erg.abdn.ac.uk/users/gorry/course/intro-pages/cs.html
  33. http://www.dlink.com/uk/en/business-solutions/switching/unmanaged-switches/rackmount/dgs-1024d-24-port-copper-gigabit-switch