ผู้ใช้:Kawpunland/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถาปัตยกรรมเครือข่าย[แก้]

Layer Name Data Unit Device Group
7 Application Data Gateway User Support
6 Presentation Data - User Support
5 Session Data - User Support
4 Transport Segment - Transport Support
3 Network Packet Router Network Support
2 Data Link Frame Switch Network Support
1 Physical Bit HUB Network Support

ส่วนประกอบของเครือข่าย[แก้]

คอมพิวเตอร์

Desktop computer clipart - Yellow theme
คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อประโยชน์ต่อการแสวงหาสารสนเทศ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูล ประมวลผล สื่อสารเคลื่อนย้ายข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ได้ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติโดดเด่นในเรื่อง ของ ความเร็ว ความเชื่อถือ ความถูกต้องแม่นยำ การเก็บข้อมูลจำนวนมาก ตลอดจนสามารถย้ายข้อมูลไปได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น คอมพิวเตอร์จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อสังคมของมนุษย์ แทบทุกวงการล้วนนำคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำงานจน กล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน

การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (NIC: Network Interface Card)


การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย หรือเรียกว่าการ์ด LAN เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่องพีซี เข้ากับสายเคเบิล ดังนั้นจึงต้องมีพอร์ตสำหรับเสียบสายแบบใดแบบหนึ่งที่จะใช้ หรืออาจมีพอร์ตสำหรับสายหลายแบบก็ได้ เช่น มีพอร์ตสำหรับสายโคแอกเชียล และสำหรับสายคู่ตีเกลียว แต่สำหรับการ์ดรุ่นใหม่ๆ มักจะเหลือแต่พอร์ตสำหรับสายคู่ตีเกลียวเพราะปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยม นอกจากนี้ยังมีการ์ดที่ทำมาสำหรับใช้ต่อกับสายใยแก้วนำแสงซึงมักจะมีราคาแพงและใช้เฉพาะบางงาน

ระบบปฏิบัติการ OS (Operating System)


ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ (Hardware) กับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้อีกที โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผล การทำงานของฮาร์ดแวร์ ให้บริการกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปในการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ และจัดสรรการใช้ทรัพยากรระบบ (Resources) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยทั่วไประบบปฏิบัติการนั้น ไม่ได้มีแต่เฉพาะในคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่มีอยู่ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายชนิด เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา พีดีเอ แท็บเล็ตต่างๆ โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ และติดต่อกับผู้ใช้ผ่านโปรแกรมประยุกต์ (Application) ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Windows, Linux, Mac OS, Solaris, Ubuntu ส่วนตัวอย่างของระบบปฏิบัติการใช้มือถือได้แก่ Windows Mobile, iOS, Android เป็นต้น

Network Device

HUB
Hub (ฮับ) คือ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ Hub มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Hub จะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Hub มากเท่าใด ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง ในท้องตลาดปัจจุบันมี Hub หลายชนิดจากหลายบริษัท ข้อแตกต่างระหว่าง Hub เหล่านี้ก็เป็นจำพวกพอร์ต สายสัญญาณที่ใช้ ประเภทของเครือข่าย และอัตราข้อมูลที่ Hub รองรับได้
Switch
ฟังก์ชั่นส์ Switch คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการเพิ่มหรือขยายพอร์ทให้เพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่ Modem Router ที่ได้มาจากผู้ให้บริการจะมีพอร์ท Switch ตั้งแต่ 1-4 พอร์ท แล้วแต่รุ่น แต่เราสามารถเพิ่มพอร์ทให้มีมากขื้นโดยใช้งาน Switch ดังกล่าว แต่เดิมหลาย ๆ คนเรียกว่า Hub ซึ่งแท้จริงแล้วในปัจจุบันหาซื้อ Hub แทบไม่มีแล้วเนื่องจาก Hub เป็นเทคโนโลยีที่เก่าแล้ว เป็นฟังก์ชั่นส์หรืออุปกรณ์ซึ่งอยู่ใน Layer 1 ของ OSI Layer Reference Model แต่ Switch ทำงานอยู่ใน Layer 2 มีความฉลาดกว่า เร็วกว่า มีการแชร์ความเร็วที่ดีกว่า Hub เรียนรู้การใช้งาน MAC Address ได้

Router

Linksys-Wireless-G-Router
เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่หาเส้นทางและส่งแพ็กเกตข้อมูลระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังเครือข่ายปลายทางที่ต้องการ โดยหาเส้นทางส่งผ่านขอมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่องต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ๆ


Gateway

เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกัน และใช้สื่อส่งข้อมูลต่างชนิดกันได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ตัวอย่างเช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้สายส่งแบบ UTP เข้ากับ Token Ring LAN ได้ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์อาจจะรวมเอาฟังก์ชันการทำงานที่เรียกว่า Firewall ไว้ในตัวด้วย ซึ่ง Firewall เป็นเหมือนกำแพงที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่นอกเครือข่ายของบริษัท เข้ามาเชื่อมต่อลักลอบนำข้อมูลภายในออกไปได้

Firewall

Firewall นั้นหากจะแปลตรงตัวจะแปลว่ากำแพงไฟ แต่ที่จริงแล้ว firewall นั้นเป็นกำแพงที่มีไว้เพื่อป้องกันไฟโดยที่ตัวมันเองนั้นไม่ใช่ไฟตามดังคำแปล firewall ในสิ่งปลูกสร้างต่างๆนั้นจะทำด้วยอิฐเพื่อแยกส่วนต่างๆของสิ่งปลูกสร้างออกจากกันเพื่อที่ว่าในเวลาไฟไหม้ไฟจะได้ไม่ลามไปทั่วสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ หรือ Firewall ในรถยนต์ก็จะเป็นแผ่นโลหะใช้แยกส่วนของเครื่องยนต์และส่วนของที่นั่งของผู้โดยสารออกจากกัน ในเครือข่าย Internet นั้น firewall อาจถูกใช้สำหรับป้องกันไม่ให้ "ไฟ" จากเครือข่าย Internet ภายนอกลามเข้ามาภายในเครือข่าย LAN ส่วนตัวของท่านได้ หรืออาจถูกใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ใน LAN ของท่านออกไปโดน "ไฟ" ในเครือข่าย Internet ภายนอกได้ ตามคำจำกัดความแล้ว firewall หมายความถึง ระบบหนึ่งหรือกลุ่มของระบบที่บังคับใช้นโยบายการควบคุมการเข้าถึงของระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย โดยที่วิธีการกระทำนั้นก็จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ระบบ แต่โดยหลักการแล้วเราสามารถมอง firewall ได้ว่าประกอบด้วยกลไกสองส่วนโดยส่วนแรกมีหน้าที่ในการกั้น traffic และส่วนที่สองมีหน้าที่ในการปล่อย traffic ให้ผ่านไปได้

สายสัญญาณ[แก้]

สายโคแอ็กซ์

      สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ และเป็นที่นิยมมากในเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัย แรก ๆ แต่ในปัจจุบันสายโคแอ็กซ์ถือได้ว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบเครือข่ายบางประเภทที่ยังใช้สายประเภทนี้อยู่
     สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) ส่วนใหญ่จะเรียกสั้น ๆ ว่าสายโคแอ็กซ์ (Coax) จะมีตัวนำไฟฟ้าอยู่ 2 ส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ มีความหมายว่า "มีแกนร่วมกัน" ซึ่งชื่อก็บอกความหมายว่าต้นนำทั้งสองตัวมีแกนร่วมกันนั่นเอง
 สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) 

ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว ทั้งนี้เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวจะขึ้นอยู่กับความหนาของสายด้วย กล่าวคือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึงร้อยเมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินร้อยเมตร เนื่องจากสายคู่บิดเกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี จึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง

การเข้าหัวสายคู่บิดเกลียว การเข้าหัวแบบสายตรง 1.ขาว-ส้ม 2.ส้ม 3.ขาว-เขียว 4.น้ำเงิน 5.ขาว-น้ำเงิน 6.เขียว 7.ขาว-น้ำตาล 8.น้ำตาล การเข้าหัวแบบสาายไขว้ 1.ขาว-เขียว 2.เขียว 3.ขาว-ส้ม 4.น้ำเงิน 5.ขาว-น้ำเงิน 6.ส้ม 7.ขาว-น้ำตาล 8.น้ำตาล

สายใยแก้วแสง

 สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก สายใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา สายใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมาก 

สายใยแก้วนำแสงสามารถแบ่งตามความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด คือ สายใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Single-mode Optical Fibers, SM) และชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM)

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย[แก้]

Peer-to-Peer

เครือข่ายแบบนี้จะเก็บไฟล์และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละคน โดยไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางที่ทำหน้าที่นี้ เรียกได้ว่าต่างคนต่างเก็บ ต่างคนต่างใช้ แต่ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถเรียกใช้ไฟล์จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำการแชร์ไฟล์เหล่านั้นไว้ เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer นี้เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันไม่เกิน 10 เครื่อง เนื่องจากติดตั้งง่าย ราคาไม่แพง และการดูแลไม่ยุ่งยากนัก แต่ถ้าคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีมากกว่า 10 เครื่องขึ้นไปควรจะใช้เครือข่ายแบบอื่นดีกว่า

Client/Server

คือ การที่มีเครื่องผู้ให้บริการ (server) และเครื่องผู้ใช้บริการ (client) เชื่อมต่อกันอยู่ และเครื่องผู้ใช้บริการได้มีการติดต่อร้องขอบริการจากเครื่องผู้ให้บริการ เครื่องผู้ให้บริการก็จะจัดการตามที่เครื่องผู้ขอใช้บริการร้องขอ แล้วส่งข้อมูลกลับไปให้ เครือข่ายแบบ Client / server เหมาะกับระบบเครือข่ายที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก โดยการรองรับจำนวนเครื่องลูกข่าย (Client )อาจเป็นหลักสิบ หลักร้อย หรือหลักพัน เพราะฉะนั้นเครื่องที่จะนำมาทำหน้าที่ให้บริการจะต้องเป็นเครื่องที่มี ประสิทธิภาพสูง เนื่องจากถูกต้องออกแบบมาเพื่อทนทานต่อความผิดพลาด ( Fault Tolerance )และต้องคอยให้บริการทรัพยาการให้กับเครื่องลูกข่ายตลอดเวลา โดยเครื่องที่จะนำมาทำเป็นเซิร์ฟเวอร์อาจเป็นคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้

LAN Technology[แก้]

BUS TOPOLOGY

เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้อุปกรณ์สลับสาย การเชื่อมต่อมีลักษณะเป็นแบบหลายจุด สถานีทุกสถานีรวมทั้งอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียว เรียกว่า แบ็กโบน (Backbone) การจัดส่งข้อมูลลงบนบัสจึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ผ่านสายแบ็กโบนนี้ การจัดส่งวิธีนี้ต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน

          ข้อเสียของการเชื่อมต่อชนิดนี้คือ หากสายมีการขาด ณ ตำแหน่งใดๆ ก็จะส่งผลให้ระบบต้องชะงักทันที และไม่สามารถใช้งานได้ นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่อยู่ปลายทางทั้งสองด้านจะต้องปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminal เพื่อใช้เป็นตัวดูดซับสัญญาณที่วิ่งมาจนปลายสุดไม่ให้สะท้อนกลับ (Reflection)

STAR TOPOLOGY

เป็น การเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารโดยมีสถานีกลาง หรือฮับ (Hub) เป็นจุดผ่าน การติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด นอกจากนี้สถานี กลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบดาว จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่ เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูล เข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบดาว เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่ นิยมใช้กันในปัจจุบัน

RING TOPOLOGY

โครงสร้างแบบวงแหวน (ring topology) เป็นการเชื่อมต่อคล้ายกับชื่อโครงสร้าง โครงสร้างวงแหวนอุปกรณ์ทั้งหมดบนเครือข่ายมีการเชื่อมต่อในรูปแบบของแหวนหรือวงกลมซึ่งไม่เหมือนกับโครงสร้างแบบบัสโครงสร้างแบบวงแหวน (ring topology) ไม่มีจุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุดที่จะต้องการเทอร์มิเนเตอร์ (terminated)ข้อมูลจะถูกส่งไปในทางที่แตกต่างจากโครงสร้างแบบบัส อย่างไรก็ตามสัญญาณจะเดินทางทั่ววงแหวนโดยจะแวะหยุดที่อุปกรณ์แต่ละตัวที่เป็นทางผ่านถ้าอุปกรณ์ต้องการการส่งผ่านข้อมูล มันจะใส่ที่อยู่ปลายทางและจะทำเช่นนี้รอบวงแหวนจนกว่าจะพบเครื่องปลายทางข้อดีของโครงสร้างนี้คือจะไม่มีการชนกันของข้อมูล

MESH TOPOLOGY

         โทโปโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่ายรูปแบบเครือข่ายแบบนี้ ปกติใช้ในระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) ลักษณะการสื่อสารจะมีการต่อสายหรือการเดินของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโหนดไปยังโหนดอื่น ๆ ทุก ๆ ตัว ทำให้มีทางเดินข้อมูลหลายเส้นและปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่จะเกิดจากการล้มเหลวของระบบ แต่ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบอื่น ๆ เพราะต้องใช้สายสื่อสารเป็นจำนวนมาก

WAN Technology[แก้]

Circuit switching


เทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะติดต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้อื่นจะแทรกเข้ามาไม่ได้เลย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก ตัวอย่างง่าย ๆ เช่นการติดต่อทางสายโทรศัพท์ เมื่อเริ่มพูดกันได้แล้ว คนอื่นจะต่อสายแทรกเข้ามาไม่ได้ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะวางหูลง (ปลดวงจร)

Packet switching

    เทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (Packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต)ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับ ไปรวมกันเอง

IP Address[แก้]

การแบ่ง Class ของเครือข่าย IP Address

        การติดต่อสื่อสารภายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะต้องมี IP Address สำหรับการส่งข้อมูลเพื่อติดต่อถึงกัน โดยตามปกติแล้ว IP Address จะมีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่บ่งบอกว่าเป็นหมายเลขเครือข่าย และหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งค่าของ IP Address จะมีการกำหนดค่าของ IP Address เป็นไบต์ (Byte) และกำหนดค่าด้วยเลขฐานสิบ ตัวอย่างเช่น IP Address 202.28.8.1 เป็นต้น โดยการทำงานภายใน IP Address ยังมีการแบ่งออกเป็นระดับชั้น (Class) ต่าง ๆ 5 Class คือ Class A, B, C, D และ E ซึ่งในแต่ละ Class จะมี หมายเลข IP จะมีทั้งหมด 32 บิต แบ่งออกเป็น 4 ฟิลด์ โดยแต่ละฟิลด์จะมี 8 บิต ซึ่งการแบ่งเป็น 4ฟิลด์นั้น ความจริงเป็นการกำหนดหมายเลขของเครื่องเครือข่าย และหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ รายละเอียดของแต่ละ Class มีดังนี้
        Class A: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.0-127.255.255.255 ซึ่งเหมาะสมสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถรองรับจะมีเครือข่ายได้ 126 เน็ตเวิร์ค และในแต่ละเครือข่ายสามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ประมาณ 16 ล้านเครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class A เป็น 120.25.2.3 หมายถึง เครือข่าย 120 หมายเลขเครื่อง 25.2.3
        Class B: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.0-191.255.255.255 จะมีเครือข่ายขนาด 16384 เน็ตเวิร์ค และจำนวนเครื่องลูกข่ายในเครือข่ายได้ 64,516 เครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class B เป็น 145.147.45.2 หมายถึง เครือข่าย 145.147 หมายเลขเครื่อง 45.2
        Class C: หมายเลขของ IP Address เริ่มตั้งแต่ 192.0.0.0-223.255.255.255 จะมีจำนวนเครือข่ายขนาด 2M+ เน็ตเวิร์ค และเครื่องลูกข่ายในแต่ละเครือข่ายได้ประมาณ 254 เครื่อง ตัวอย่างเช่น ค่า IP Address ของ Class C เป็น 202.28.10.5 หมายถึง หมายเลขเครือข่าย 202.28.10 หมายเลขเครื่อง 5
        Class D: เป็นการสำรองหมายเลข IP Address ช่วง 224.0.0.0-239.255.255.255 สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ซึ่งจะไม่มีการแจกจ่ายใช้งานทั่วไปสำหรับบุคคลทั่วไป
        Class E: เป็นการสำรองหมายเลข IP Address ช่วง 240.0.0.0-255.255.255.255 สำหรับการทดสอบ และพัฒนา

Subnet

          Subnet mask เป็น Parameter อีกตัวหนึ่งที่ต้องระบุควบคู่กับหมายเลข IP Address หน้าทีของ Subnet mask ก้คืิอ การช่วยในการแยกแยะว่าส่วนใดภายในหมายเลข IP Address เป็น Network Address และส่วนใดเป็นหมายเลข Host Address ดังนั้น ท่านจะสังเกตได้ว่า เมื่อเราระบุ IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์์ เราจำเป็นต้องระบุ Subnet mask ลงไปด้วยทุกครั้ง

Private IP

          หมายเลข IP Address"Private IP" คือหมายเลขไอพีเครื่อง แต่ละเครื่อง ในองค์กร หน่วยงาน โดยกำหนด ขึ้นมาเองเพื่อใช้ในองค์กรนั้นๆ เพื่อการสื่อสารภายใน ระบบเครือข่ายแลน หรือ อินทราเน็ต ภายในเท่านั้นโดยสามารถกำหนดได้ 2 รูปแบบคือ
          1. กำหนดแบบ Dynamic วิธีนี้คอมพิวเตอร์ หรือ DHCP Server จะทำหน้าทีกำหนดหมายเลข IP และจ่ายเลขIPให้กับระบบคอมพิวเตอร์ในกรุ๊ปนั้นหรือเรียกการจ่ายไอพีแบบนี้ว่า (Automatic Private IP Address)
          2. กำหนดแบบ Static เป็นวิธีการกำหนดไอพีแอดแดรสแบบคงที่ โดยผู้ติดตั้งระบบ ทำหน้าที่กำหนด หมายเลข IP Address ให้แต่ละเครื่อง โดยห้ามกำหนด IP ซ้ำกัน หรือนอกเหนือจาก Work Group

Public and Private IP Address

          ความหมายของ Public IP คือ ทุกครั้งที่เราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เครื่องของเราจะถูกกำหนดหมายเลข IP Address จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่เราใช้งานอยู่ โดยแต่ละครั้งที่เชื่อมต่อจะได้หมายเลข IP ไม่ซ้ำกัน เช่นเมื่อเชื่อมต่อครั้งแรกอาจได้หมายเลข IP เป็น 203.113.40.130 แต่เมื่อสายหลุด แล้วทำการเชื่อมต่อใหม่จะได้รับหมายเลข IP เป็น 203.113.50.159 ซึ่งหมายเลข IP ที่ได้รับจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต จะถุกเรียกว่าเป็น Public IP หรือเรียกง่ายๆ ว่า IP จริง
          ความหมายของ Private IP คือคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย LAN เพื่อใช้งานตามบ้านหรือบริษัท ต่างๆ จะถูกกำหนดหมายเลข IP โดย ผู้ดูแลระบบนั้นๆ(ADMIN)เช่นหากต้องการนคอมพิวเตอร์ 5 เครื่องมาเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเล็กๆ เราก้ต้องกำหนดหมายเลข IP ให้คอมพิวเตอร์ทั้ง5เครื่อง โดยแต่ละเครื่องต้องได้รับหมายเลขไอพีไม่ซ้ำกัน ซึ่งการกำหนดหมายเลข IP ในแต่ละเครื่องในเครือข่ายเราหมายเลข IP นี้จะถูกเรียกว่า Private IP หรืออย่างง่ายๆว่า IP ปลอม

Routing Protocol[แก้]

หลักการทำงานของเราท์เตอร์

เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่าบริดจ์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันคล้ายกับสวิตช์แต่จะมีส่วนเพิ่มเติมขึ้นมาคือ เราเตอร์สามารเชื่อมต่อ LAN ที่ใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน แต่ใช้สื่อส่งข้อมูลหรือสายส่งต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้รับส่งข้อมูลแบบ UTP เข้ากับ Ethernet อีกเครือข่ายหนึ่งที่ใช้สายข้อมูลแบบ coaxial cable ได้

Routing Table

เป็นตารางข้อมูลของเส้นทางการส่งผ่านข้อมูลเพื่อใช้พิจารณาการส่งผ่านข้อมูลซึ่งในการได้มาของ Routing table มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ

Static Route

คือ การเพิ่มเส้นทางใน Routing Table ด้วยผู้ดูแลเนตเวิร์คเพื่อบอกให้เราเตอร์ทราบว่าถ้าต้องการจะส่งข้อมูล ไปที่ Subnet Address ใดจะต้องส่งผ่าน Router ตัวไหน ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้ดูแลเนตเวิร์ค เข้ามาจัดการทั้งหมดซึ่งเหมาะสาหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก รักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่าข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้นและช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก

Dynamic Route

เป็นการใช้ ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งมากับ Router เพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการเลือกเส้นทางระหว่างRouter หลักการทำงานคือ router จะส่ง routing table ที่สมบูรณ์ของตัวเอง ให้กับ Router เพื่อนบ้าน เรียกว่ามี Routing Protocol ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ใน router เลย เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่เพราะRouter สามารถจัดการหาเส้นทางเองหากมีการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายเกิดขึ้น โดย Routing Protocol จะมี Distance Vector และ Link State ซึ่ง routing protocol ทั้งสองประเภทจะมีจุดประสงค์ที่เหมือนกันก็คือ การทำให้เราเตอร์ปัจจุบันมีตาราง routing table ที่ประกอบด้วยเส้นทางที่ดีที่สุดที่สามารถส่งข้อมูลไปถึงซับเนตแอดเดรสปลายทางทั้งหมดได้ แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือวิธีการที่จะทำให้จุดประสงค์ข้างต้นลุล่วงไปได้

แหล่งอ้างอิง[แก้]

[1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19]

  1. http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/201/computer/meaning.html
  2. http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_hardware5.html
  3. http://www.itcomtech.net/article-all/73-operating-system.html
  4. http://www.dstd.mi.th/board/index.php?topic=33.0
  5. http://www.greennetstore.com/index.php?route=forum/forum_category&forum_path=7
  6. http://itnews4u.com/what-is-Router.html
  7. http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_wan9.html
  8. http://www.tnetsecurity.com/content_attack/firewall_basicknowledge.php
  9. http://www.krumontree.com/ebook4/files/pg7_9.htm
  10. http://www.ncsnetwork.com/tips_details.php?xid=12
  11. http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_nettype10.htm
  12. http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2052-client-server-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
  13. http://www.thaigoodview.com/node/118157
  14. https://oonuma55.wordpress.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3/3-%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7/%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7-star-topology/
  15. http://www.datacom2u.com/RingTopology.php
  16. http://chummy-online.blogspot.com/2012/12/mesh-topology.html
  17. http://nooplemonic.exteen.com/20090706/circuit-switching-packet-switching
  18. http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_wan8.htm
  19. http://riverplusblog.com/tag/routing-table/