ผู้ใช้:Kaoavi/ห้องทำงาน1

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในบัลดิเบีย
    Valdivia after earthquake, 1960.jpg
    บัลดิเบียหลังแผ่นดินไหว
    Kaoavi/ห้องทำงาน1ตั้งอยู่ในชิลี
    อิกิเก
    อิกิเก
    เตมูโก
    เตมูโก
    Kaoavi/ห้องทำงาน1
    ปุนตาอาเรนัส
    ปุนตาอาเรนัส
    เวลาสากลเชิงพิกัด1960-05-22 19:11:14
    รหัสเหตุการณ์ ISC879136
    USGS-ANSSComCat
    วันที่ท้องถิ่น22 พฤษภาคม ค.ศ. 1960 (1960-05-22)
    เวลาท้องถิ่น15:11:14
    ระยะเวลาประมาณ 10-11 นาที
    ขนาด9.4–9.6 Mw[1]
    ความลึก33 กิโลเมตร
    ศูนย์กลาง38°14′S 73°03′W / 38.24°S 73.05°W / -38.24; -73.05พิกัดภูมิศาสตร์: 38°14′S 73°03′W / 38.24°S 73.05°W / -38.24; -73.05
    ประเภทเมกะทรัสต์
    ประเทศที่ได้รับผลกระทบประเทศชิลี, ขอบแปซิฟิก
    ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้XII (ภัยพิบัติ) [2]
    ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน1.81 g[3]
    ความเร็วสูงสุด240.44 cm/s[3]
    สึนามิ25 เมตร
    แผ่นดินถล่มมี
    ผู้ประสบภัย1,000–6,000[4]

    แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในบัลดิเบีย ค.ศ. 1960 (อังกฤษ: 1960 Valdivia earthquake and tsunami) หรือแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในชิลี (Gran terremoto de Chile) เป็นแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นับแต่มีการบันทึก[5] เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) เวลา 15:11 ตามเวลาท้องถิ่น มีขนาดตั้งแต่ 9.4–9.6 ในมาตราขนาดโมเมนต์ สั่นสะเทือนเป็นเวลา 11 นาที ส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิตามมาส่งผลกระทบต่อชิลีตอนใต้ ฮาวาย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และหมู่เกาะอะลูเชียน [1]

    ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวระดับเมกะทรัสต์อยู่ใกล้เมืองลูมาโก ห่างจากกรุงซันติอาโก ไปทางใต้ประมาณ 570 กิโลเมตร (350 ไมล์) ถึงศูนย์กลางจะอยู่ใกล้กับเมืองลูมาโก แต่เมืองบัลดิเบียได้รับความเสียหายมากที่สุด แรงสั่นสะเทือนส่งผลให้เกิดสึนามิพัดถล่มชายฝั่งชิลีอย่างรุนแรงโดยมีคลื่นสูงถึง 25 เมตร (82 ฟุต) และคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ได้เดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าทำลายเมืองฮิโลในฮาวาย ซึ่งมีการบันทึกคลื่นสูงถึง 10.7 เมตร (35 ฟุต) ในพื้นที่ไกลจากศูนย์กลางกว่า 10,000 กิโลเมตร (6,200 ไมล์)

    จํานวนผู้เสียชีวิตและความเสียหายทางเศรษฐกิจของแผ่นดินไหวในวงกว้างยังไม่เป็นที่แน่ชัด [6] มีการเผยแพร่การประมาณการจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากแผ่นดินไหวและสึนามิราว 1,000 ถึง 6,000 คน [4] แหล่งข้อมูลต่าง ๆ มีการประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจตั้งแต่ 400 ล้าน ดอลลาร์ถึง 800 ล้านดอลลาร์ (หรือ 4.01 พันล้านดอลลาร์ถึง 8.021 พันล้านดอลลาร์ในปี 2565 ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ) [7]

    ลำดับการเกิดแผ่นดินไหว[แก้]

    แผ่นดินไหวนำ[แก้]

    ก่อนเกิดแผ่นดินไหวที่บัลดิเบีย ได้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อชิลีระหว่างวันที่ 21 พฤษภาคม ถึง 6 มิถุนายน ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ภูมิภาค อาเรากานิอา ไอเซน และไบโอไบโอ ในค.ศ. 1960 แผ่นดินไหวทั้งสามถูกจัดอยู่ใน 10 อันดับแผ่นดินไหวตามขนาด

    ในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1960 มีแผ่นดินไหวครั้งแรกเกิดที่กอนเซปซิออน ขนาด 8.1 ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ใกล้เมืองคูรานิลาฮิว ส่งผลให้การสื่อสารโทรคมนาคมทางตอนใต้ของชิลีถูกตัดขาด จอร์จ อเลสซันดรี โรดริเกซ ประธานาธิบดีของชิลิในสมัยนั้นได้ประกาศยกเลิกงานรำลึกถึงยุทธการที่อิกิเก เป็นงานรำลึกถึงการสู้รบทางเรือระหว่างชิลีและเปรู ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ประธานาธิบดีของชิลิได้ประกาศยกเลิกงานนี้เพื่อพยายามช่วยเหลือฉุกเฉินจากแผ่นดินไหว ต่อมาเกิดแผ่นดินไหวครั้งที่สองและสามในวันที่ 22 พฤษภาคม เวลา 06:32 UTC-4 ขนาด 7.1 และเวลา 14:55 UTC-4 ขนาด 7.8 แผ่นดินไหวเหล่านี้เป็นแผ่นดินไหวนำ เกิดก่อนแผ่นดินไหวในบัลดิเวียขนาด 9.5 ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวหลักเพียง 15 นาที .[8]

    แผ่นดินไหวได้ส่งผลกระทบต่อการเดินขบวนของคนงานเหมืองถ่านหินในเมืองกอนเซปซิออน ที่กำลังเดินขบวนเรียกร้องเงินเดือนให้มากขึ้น [9]

    แผ่นดินไหวหลัก[แก้]

    แผ่นดินไหวหลัก

    แผ่นดินไหวหลักเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1960 เวลา 15:11 UTC-4 แรงสั่นสะเทือนได้ส่งผลกระทบต่อชิลีทั้งหมด มากกว่า 400,000 ตารางกิโลเมตร (150,000 ตารางไมล์) ในหมู่บ้านโทลเทน และท่าเรือคอร์รัลซึ่งเป็นท่าเรือหลักของเมืองบัลดิเบียระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 4 เมตร (13 ฟุต) ก่อนที่จะเริ่มลดลงในเวลาต่อมา แต่กระนั้นเมื่อเวลา 16:20 UTC-4 เกิดคลื่นสึนามิสูง 8 ม. (26 ฟุต) ซัดเข้าชายฝั่งชิลีระหว่างเมืองกอนเซปซิออนและกลุ่มเกาะชีโลเอ มีรายงานคลื่นลูกที่สองมีขนาด 10 ม. (33 ฟุต) ในอีกสิบนาทีต่อมา

    มีรายงานผู้เสียชีวิตลายร้อยคนเมื่อเกิดสึนามิ มีเรือลำหนึ่งลอยอยู่บริเวณปากแม่น้ำบัลดิเวียแต่ไม่นานก็จมลงหลังจากเคลื่อนที่ไปข้างหน้าตามกระแสน้ำ 1.5 กม. (0.93 ไมล์) [10]


    อ้างอิง[แก้]

    1. 1.0 1.1 Satake, K.; Atwater, B. (2007), "Long-Term Perspectives on Giant Earthquakes and Tsunamis at Subduction Zones" (PDF), Annual Review of Earth and Planetary Sciences, 35 (1): 355, Bibcode:2007AREPS..35..349S, doi:10.1146/annurev.earth.35.031306.140302, เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2016, สืบค้นเมื่อ 21 March 2016
    2. "Significant Earthquake Database". U.S. Geological Survey. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2017. สืบค้นเมื่อ 19 September 2016.
    3. 3.0 3.1 "M 9.5 - 1960 Great Chilean Earthquake (Valdivia Earthquake)". USGS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2021. สืบค้นเมื่อ 22 October 2021.
    4. 4.0 4.1 USGS (4 September 2009), PAGER-CAT Earthquake Catalog, Version 2008_06.1, United States Geological Survey, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2020
    5. "แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ เกิดขึ้นเมื่อสี่พันปีก่อน". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 23 March 2023.
    6. Video: Cataclysm. Volcano, Tidal Waves, Devastate Pacific Area, 1960/05/27 (1960). Universal Newsreel. 1960. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2013. สืบค้นเมื่อ 22 February 2012.
    7. "The Largest Earthquake in the World – Articles". U.S. Geological Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2007. สืบค้นเมื่อ 11 January 2007.
    8. Barrientos S.E.; Ward S.N. (1990). "The 1960 Chile earthquake: inversion for slip distribution from surface deformation". Geophysical Journal International. 103 (3): 589–598. Bibcode:1990GeoJI.103..589B. doi:10.1111/j.1365-246X.1990.tb05673.x.
    9. Reyes Herrera, Sonia E.; Rodríguez Torrent, Juan Carlos; Medina Hernández, Patricio (2014). "El sufrimiento colectivo de una ciudad minera en declinación. El caso de Lota, Chile". Horizontes Antropológicos (ภาษาสเปน). 20 (42). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2019. สืบค้นเมื่อ 9 February 2017.
    10. Barría, Sandra (1 February 2005). "El domingo en que Valdivia sufrió el terremoto más violento del mundo". La Tercera. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2008. สืบค้นเมื่อ 18 July 2012.