ผู้ใช้:Kanyarat chairam/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปัญหาของระบบราชการไทย

ความหมาย[แก้]

ปัญหา[แก้]

ปัญหา หมายถึง ช่องว่าง(Gap)ระหว่างสิ่งเป็นอยู่กับสิ่งที่คาดหวังปัญหาแบ่งออกเป็น3ประเภท ดังนี้

  1. A well-structured problem ปัญหาที่มีวิธีการแก้ไขอย่างชัดเจน สามารถแก้ไขได้ไม่ยาก
  2. An ill-structured problem ปัญหาที่มีรูปแบบการแก้ไขที่ชัดเจน แต่จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์มาช่วย
  3. Semi - structured problem ปัญหาประเภทนี้จะต้องมีข้อมูลที่เพียงพอในการระบุถึงปัญหาและปัญหาประเภทนี้ยังขาดวิธีแก้ไขที่ชัดเจน[1]

ระบบ[แก้]

ระบบ(system) หมายถึง องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน หรือการที่ต้องการรวมตัวของหลายสิ่งเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำงานประสานกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ประเภทของระบบ[แก้]

  1. ระบบเปิด(open system) ระบบที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคล องค์กรต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
  2. ระบบปิด(close system) ระบบที่มีความสมบูรณ์ภายในตัวเอง ไม่พยายามผูกพันธ์[2]

ระบบราชการ[แก้]

ระบบราชการ หมายถึง ระบบราชการตามที่ยึดตามแนวความคิดของแมกซ์เวเบอร์ คือระบบราชการเป็นระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อความเป็นระเบียบสำหรับการบริหารองค์กรใหญ่เน้นบทบาทหน้าที่ของแต่ละตำแหน่งที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย[3]ตามแนวความคิดของแมกซ์เวเบอร์ โครงสร้างของระบบราชการ ประกอบด้วยสายบังคับบัญชา กล่าวคือมีผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายที่กล่าวข้างต้นนั้นหากปฏิบัติตามหน้าที่และมีความรับผิดชอบนโยบายจะเกิดประสิทธิผล[4] ปัญหาของระบบราชการไทยเมื่อกล่าวถึงคำนี้แล้วคงเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นสิ่งที่พบเจอมาโดยตลอดและไม่สามารถแก้ปัญหาให้หมดสิ้นไปได้ ปัญหาที่พบมีสาเหตุมาจากหลายประการทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่อนาจสูงสุดในการปกครองควรจตกเป็นของประชาชน แต่ในทางปฏิบัติซึ่งตกอยู่ในกำมือของกลุ่มคณะบุคคลซึ่งประกอบด้วยข้าราชการ ทหาร นักการเมือง และผู้มีอำนาจที่คอยจ้วงชิงอำนาจกันตลอดเวลา[5]

ปัญหาของระบบราชการไทย[แก้]

  1. ประชาธิปไตยถูกใช้เป็นข้ออ้าง ปัญหาที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งของระบบการเมืองไทยก็คือการขาดระบบการเมืองที่ยึดมั่นผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยการปกครองแบบระะบอบประชาธิปไตยที่ว่านั้นหากแต่แต่งตั้งกลุ่มบุคคลขึ้นมาปกครองประะเทศประเทศเพียงเพราะผลประโยชน์พวกพ้องเป็นส่วนมากโดยที่มีการบิดเบือนอุดมการณ์ของระบอบประชาธิปไตยและไม่มีสิ่งใดที่เอื้ออำนวยต่อการสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยจึงถูกใช้เป็นเพียงข้ออ้างสำหรับการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้นมากกว่าการที่จะนำมาพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาให้กับสังคมอย่างจริงจัง[6]
  2. ข้อบกพร่องทางด้านบุคคล ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ บุคคลหรือบุคลากรภายในหน่วยงานที่ได้รับคัดเลือกให้มาปฏิบัติงานภายในองค์กรเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนนั้นแม้ว่าจะได้มีการปรับปรุงหรือมีการพัฒนาอยู่เสมอ แต่หลักการบริหารบุคคลในราชการไทยยังคงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่มีสมรรถภาพของข้าราชการไทยอยู่เรื่อยมา พิจารณาได้จากข้อบกพร่องที่สำคัญดังต่อไปนี้
    1. การเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการ ตามหลักการโดยทั่วไปเป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วกันว่าการที่จะได้เข้ามาปฏิบัติการในหน่วยงานราชการนั้นต้องผ่านกระบวนการสอบแข่งขันโดยก.พ.เป็นฝ่ายดำเนินการ แต่ส่วนใหญ่แล้วหน่วยงานแต่ละหน่วยงานยังคงดำเนินการจัดสอบเอง เมื่อเป็นเช่นนี้จึงถือได้ว่าเป็นการสนับสนุนพรรคพวกของตนเอง ไม่มีความยุติธรรม และระดับของข้อสอบไม่มีมาตรฐานเดียวกันในเกณฑ์การรับเข้าบุคคล[7]
    2. การกำหนดอัตราเงินเดือน ปัญหานี้เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เป็นที่มาของการคอรัปชั่นในราชการไทย โดยตามอัตราเงินเดือนของระบบการปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการไทยได้ยึดถือเอาตามคุณวุฒิของบุคคลหรือตามระยะเวลาราชการ โดยที่ยึดถือตัวบุคคลมากกว่าหน้าที่ความรับผิดชอบ ซึ่งถ้าถือเอาตามหน้าที่ความรับผิดชอบจะทำให้การกำหนดอัตราเงินเดือนมีมาตรฐานแลมีความยุติธรรม
    3. การใช้บุคคลตามความเหมาะสม ปัญหานี้เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คควรได้รับการแก้ไขเป็นอย่างยิ่งโดยจะพบว่าข้าราชการในตำแหน่งสูงๆบางตำแหน่งนั้นดรงตำแหน่งหย่อนสมรรถภาพ ด้วยสาเหตุนี้ทำให้บุคลากรสมัยใหม่ที่มีความกะรตือรือร้น มีความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่เกิดความท้อใจเมื่อต้องขัดกับผู้บังคับบัญชาที่ยึดมั่นในหล้าโบราณและไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วประเทศชาติได้สูญเสียทรัพยากรมนุษย์ไปอย่างน่าเสียดาย[8]
    4. วินัยข้าราชการ วินัยหรือระเบียบของข้าราชการบางประการก่อให้เกิดการท้อถอยในการปฏิบัติงาน คือ ข้าราชการต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา เหล่านี้เป็นต้นทำให้การทำงานเกิดเป็นภาวะกดดันอยู่เสมอและการทำงานไม่เกิดการสร้างสรรค์[9]
  3. ข้อบกพร่องทางด้านบริหาร ประเทศไทยเป็นปรเทศที่มีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยในลักษณะนี้จะมีความเกี่ยวข้องด้วยกันทั้งหมดอยู่3ฝ่าย คือ ประชาชน นักการเมือง และข้าราชการโดยอำนาจทั้งสามที่กล่าวมานั้นจะต้องเท่ากันไม่มีอำนาจใดเหนืออำนาจอื่นๆ แต่ในความเป็นจริงจเห็นได้ว่าอำนาจทั้งสามอำนาจสำหรับประเทศไทยไม่เท่ากัน คือ ประชาชนไม่มีอำนาจเลย และสำหรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหานี้คือต้องทำให้ประชาชนได้เข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตัวแทนการบริหารอย่างแท้จริงเพื่อให้การทำงานของระบบราชการเกิดประสิทธิพลที่แสดงออกถึงความต้องการและความร่วมมือ[10]
  4. ระบบราชการเป็นพรรคการเมืองเสียเอง ปัญหานี้เกิดจากการที่มีการห้ามชุมนุมทางการเมืองจึงเป็นเหตุให้ระบบราชการเข้ามามีบทบาทในการทำหน้าที่ที่มิใช่ความรับผิดชอบ เช่น เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลกับปรชาชนและการกำหนดนโยบายในการแก้ปัญหาของสังคม การที่ระบบราชการไทยทำตัวเป็นพรรคการเมืองเสียเองทำให้เกิดปัญหาที่ตามมาคือ เมื่อระบบราชการไทยกำหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหาต่างๆของสังคมจมีลักษณะการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด เพราะมีปัญหาที่เกิดขึ้นจริงกับประชาชนและปัญหาที่ระบบราชการคิดเอาเอง ทำให้การเปลี่ยนแปลงในทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมเกิดขึ้นได้ยาก[11]
  5. การเปลียนแปลงในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว กระแสโลกาภิวัฒน์ทำให้เกิดการเปลี่ยนนแปลงทางสังคมทำให้เกิดภูมิความรู้ในด้านต่างๆเป็นขีดความสามารถในการพัฒนา[12] การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมในโลกยุคปัจจุบันที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วเทคโนโลยีที่จนไปสู่การเกิดขึ้นของระบบสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้ระบบราชการปรับตัวไม่ทันกับความเจริญและความเปลี่ยนแปลง ข้อดีของระบบสื่อสารไร้พรมแดนมีผลทำให้ประชาชนของประเทศเห็นถึงสิ่งที่ดีกว่าที่มีอยู่ในปรเทศอื่นๆจึงทำให้เกิดความหวังว่าประเทศของตนก็น่าจะมีสิ่งดีๆเหมือนกัน ดังนั้นภาระและความคาดหวังจึงมาตกหนักอยู่ที่รัฐบาลและระบบราชการ[13]
  1. พิสิษฐ์ จง. 2017. ปัญหา-คือ-อะไร?. กรุงเทพมหานคร:พิสิษฐ์ จง. www.pisitzhong.com ปัญหา-คือ-อะไร ,สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2260
  2. 2016. ระบบหมายถึง(System)?. www.im2market.com/2016/10/02/3603 ,สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560
  3. เกศินี หงสนันทน์. 2523. แนวความคิดเกี่ยวกับระบบราชการ. กรุงเทพมหานคร:มงคลการพิมพ์
  4. เกศินี หงสนันทน์. 2523. แนวความคิดเกี่ยวกับระบบราชการแมกซ์เวเบอร์. กรุงเทพมหานคร:มงคลการพิมพ์
  5. ทินพันธุ์ นาคะตะ. 2536. ปัญหาสำคัญของระบบการเมืองการบริหารไทย. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  6. ทินพันธุ์ นาคะตะ. 2537. การขาดระบบการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของสังคม. กรุงเทพฯ:โครงการเอกสารแลตราสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์นิด้า
  7. เกศินี หงสนันทน์. 2523. ข้อบกพร่องทางด้านบุคคล. กรุงเทพมหานคร:มงคลการพิมพ์
  8. เกศินี หงสนันทน์. 2523. การกำหนดอัตราเงินเดือน. กรุงเทพมหานคร:มงคลการพิมพ์
  9. เกศินี หงสนันทน์. 2523. วินัยข้าราชการ. กรุงเทพมหานคร:มงคลการพิมพ์
  10. เกศินี หงสนันทน์. 2523. ข้อบกพร่องทางด้านการบริหาร. กรุงเทพมหานคร:มงคลการพิมพ์
  11. ทินพันธุ์ นาคะตะ. 2536. ปัญหาสำคัญของระบบการเมืองการบริหารไทย. กรุงเทพฯ:โรงพิมพพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  12. ทศพร ศิริสัมพันธ์. 2459. การเปลี่ยนแปลงในบริบทของแต่ละประเทศ. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(สำนักงาน ก.พ.ร.)
  13. ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ. 2546. ปัญหาของระบบราชการและองค์กรภาครัฐ. กรุงเทพฯ:อีพีเอปริทัศน์