ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Jirapon Buasuwan/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Chemist

นิยามของอาชีพ

    ผู้ปฏิบัติงานนักเคมี(Chemist)ได้แก่ผู้ที่ทำงานวิจัย พัฒนา ทดสอบ ทดลอง และวิเคราะห์ส่วนประกอบ คุณสมบัติ และการเปลี่ยนแปลงอันเกิดขึ้นได้ของสารเคมี

ลักษณะของงานที่ทำ

    ทำงานวิจัย พัฒนา ทดสอบ ทดลอง และวิเคราะห์เชิงปฏิบัติเกี่ยวกับส่วนประกอบ คุณสมบัติ และการเปลี่ยนแปลง อันอาจเกิดขึ้นได้ของสารเคมี 

ค้นคว้าคุณสมบัติขั้นมูลฐานและโครงสร้างเซลล์ โครงสร้างโมเลกุล โครงสร้างอะตอมของสาร และการแปรรูปของสารที่อาจเกิดขึ้นได้ นำกฎ หลัก และวิธีการซึ่งรู้จักกันดีแล้วมาใช้ในการค้นหา และพัฒนาผลิตภัณฑ์เคมีชนิดใหม่ หรือเพื่อค้นคว้าหาประโยชน์ใหม่ๆ ที่จะได้จากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม ตลอดจนการค้นหาวิธีการผลิตใหม่ๆ นำกฎ หลัก และวิธีการที่รู้จักกันดีแล้วมาใช้ แก้ปัญหาทางอุตสาหกรรม เช่น การควบคุมคุณภาพ และการวิเคราะห์วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป อาจควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำงาน เกี่ยวกับการค้นคว้าในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ หรือทำงานในกรรมวิธีทางอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสารเคมี ปฏิบัติงานทางเคมีในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของโรงงาน หรือหน่วยงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเคมี เช่น ในด้านการควบคุมผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐาน ปฏิบัติงานทางอุตสาหกรรมเคมี ในด้านการผลิตและวิเคราะห์วัตถุดิบ

สภาพการจ้างงาน

    ปฏิบัติงานอาขีพนี้ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา นักเคมีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการทำงานจะได้รับเงินเดือนในอัตราดังนี้ 
    ประเภทองค์กร          เงินเดือน 
    - ราชการ                  7,040 
    - รัฐวิสาหกิจ         8,500 
    - เอกชน              12,000 - 15,000 
    ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง แต่อาจจะต้องทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด หรือทำงานล่วงเวลา ในกรณีที่ต้องการให้งานที่ได้รับมอบหมายเสร็จให้ทันต่อการใช้งาน นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้ว 

ในภาครัฐจะได้รับสวัสดิการตามระเบียบของทางราชการ ส่วนในภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนอาจได้รับผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น

สภาพการทำงาน

    ผู้ประกอบอาชีพนักเคมีส่วนใหญ่ทำงานในห้องทดลอง เพื่อปฏิบัติงานด้านการทดสอบ และทดลองทางเคมีและสิ่งที่เกี่ยวข้องตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสูตรที่กำหนด เตรียมหรือควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ทางเคมีตามสูตรที่รับรองกันแล้วทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ทางเคมีต้องอยู่กับสารเคมีที่ต้องใช้ในการทดสอบ ซึ่งสารเคมีในห้องปฏิบัติการทดลองอาจจะทำปฏิกิริยาที่ทำให้เป็นอันตรายได้ ดังนั้นจึงต้องรู้จักวิธีใช้ และวิธีป้องกัน รวมทั้งปฏิบัติงานตามขั้นตอนตามระเบียบที่กำหนดไว้ ต้องทำงานในบริเวณที่กำหนด และเป็นบริเวณห้ามสูบบุหรี่หรือรับประทานอาหาร ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่น ถุงมือ หน้ากาก เป็นต้น

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

    1. สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 
    2. ต้องมีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ เคมี ชีววิทยา และสามารถสอบได้คะแนนดีในวิชาเหล่านี้ ชอบการค้นคว้าทดลอง การใช้สติปัญญาในการวิเคราะห์ 
    3. มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบค้นคว้า 
    4. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 
    5. มีความแม่นยำ ใจเย็นและละเอียดรอบคอบ 
    6. มีความสามารถเป็นพิเศษในการสังเกต คิดอะไรมีระบบระเบียบ และสามารถแสดงผลการ ค้นคว้าออกมาได้ง่าย และชัดเจนทั้งการพูดและการเขียน 
    7. มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าตัดสินใจ และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้รวดเร็ว 
    8. มีเหตุผล และสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างชัดเจน และได้ใจความ 
    9. มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี 
    10. มีร่างกายแข็งแรง อดทน สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้ดี 
    ผู้ที่จะประกอบนักเคมี(Chemist) ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการต้องผ่านการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่มีหลักสูตร สาขาวิชาเคมีปฏิบัติ เช่น คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยรามคำแหง หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้วุฒิปริญญาตรี หรือศึกษาในสถาบันราชภัฏ หลักสูตร 3 ปี ซึ่งจะได้วุฒิอนุปริญญา หรือเข้าศึกษาสาขาวิชาเคมีปฏิบัติการปิโตรเคมี ในสถาบันราชมงคล นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ได้รับอนุปริญญาเคมีปฏิบัติ สามารถเข้ารับราชการ หรือศึกษาต่อเพื่อทำปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต 

โอกาสในการมีงานทำ

    แนวโน้มในตลาดแรงงานปัจจุบันมีความต้องการนักเคมีมากทั้งในวงการแพทย์ การเกษตร และอุตสาหกรรม เนื่องจากผู้สำเร็จการศึกษาทางด้านนี้มีจำนวนจำกัด นักเคมียังมีโอกาสรับราชการเป็นนักวิทยาศาสตร์ทำงาน

ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของหน่วยงานราชการ หรือทำงานในภาคเอกชนในสถานประกอบการอุตสาหกรรมเคมี เช่น เครื่องสำอาง ปุ๋ยเคมี ผลิตภัณฑ์สี ผลิตเครื่องดื่ม เป็นต้น

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

    ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นข้าราชการในหน่วยงานปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป หรือในสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ได้รับตำแหน่งและเลื่อนขั้นยศตามขั้นตอนของระบบราชการ การศึกษาต่อเพิ่มเติมจะช่วยให้เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งได้รวดเร็วและสามารถเป็นถึงผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานได้ ส่วนในภาคเอกชนนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร ซึ่งสามารถเป็นผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการด้านคุณภาพ หรือผู้จัดการฝ่ายขาย นักเคมีสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัว 

คือ เป็นเจ้าของร้านขายผลิตภัณฑ์เคมี สำหรับผู้ที่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์เคมีหรือผลิตภัณฑ์อื่นโดยผ่านการทดสอบ และได้รับอนุญาตจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง สามารถจดลิขสิทธิ์การเป็นเจ้าของสูตรในผลิตภัณฑ์นั้น และผลิตเป็นสินค้าออกจำหน่ายในลักษณะ อุตสาหกรรมได้ เช่น เครื่องสำอาง ปุ๋ยเคมี เป็นต้น

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง

    นักเคมี (ชีววิทยา) หรือ นักชีวเคมี นักเคมี (อินทรีย์เคมี) นักเคมี(อนินทรีย์เคมี) นักเคมี (ฟิสิกส์) เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ

    สถาบันศึกษาในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)

[1]

″นักอนินทรีย์เคมี (Chemist, Inorganic)″

    คือ นักเคมีที่เชียวชาญงานเคมีแขนงอนินทรีย์ ทำงานในห้องปฏิบัติการเพื่อวิจัย พัฒนา ทดลอง ทดลอง และวิเคราะห์เกี่ยวกับสํวนประกอบ คุณสมบัติ และการเปลี่ยนแปลงอันอาจเกิดขึ้นได้ของสารประกอบอนินทรีย์ โดยใช้เครื่องมือ และเทคนิคตำงๆ เพื่อทดสอบ และทดลองเคมีอนินทรีย์ตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสูตรที่กำหนด  เตรียมหรือควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ทางเคมีอนินทรีย์ตามสูตรที่รับรอง
    การทำงานต้องอยูํกับสารเคมี ซึ่งอาจจะทำปฏิกิริยาทำให้เป็นอันตรายได้ ดังนั้นจึงต้องรู้จักวิธีใช้ และวิธีป้องกัน ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันสํวนบุคคล เชํน ถุงมือ หน้ากาก เป็นต้น รวมทั้งปฏิบัติงานตามขั้นตอนตามระเบียบที่กำหนดไว้ 
   

“นักเคมีโพลิเมอร์ (Chemist, Polymer)″

           คือ นักเคมีที่เชียวชาญงานเคมีแขนงโพลิเมอร์ ทำงานในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษา วิจัย ทดสอบ สังเคราะห์ และวิเคราะห์โพลิเมอร์ต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในประโยชน์ในงานอื่นๆ ต่อไป ภาพของงานเหมือนการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ต้องแยกสารประกอบ เพื่อวิเคราะห์สารและสิ่งเจือปน โดยใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ วัด ชั่ง ตวงปริมาณสาร วิเคราห์คุณสมบัติเชิงกล เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพ ไฟฟ้าทางเคมี และการเหนี่ยวนำความร้อยของโพลิเมอร์

นักวิทยาศาสตร์นาโนเทคโนโลยี (Nanoscientist)

    คือ นักวิทยาศาสตร์สารจิ๋วที่ศึกษาเรื่องวัสดุ อินทรีย์ อนินทรีย์ และรวมไปถึงสารชีวโมเลกุล ในการสร้าง ออกแบบหรือสังเคราะห์วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรหรือผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ในระดับนาโนเมตร เชํน เสื้อผ้าเครื่องนุ่งหํม เครื่องสำอาง ยารักษาโรค เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ  เชํน ลิ้นอิเล็กทรอนิกส์ (E-tongue) มีคุณสมบัติคล้ายกับลิ้นของมนุษย์ สามารถรับรู้รสชาติของอาหาร หรือส่วนผสมของอาหารได้อย่างแม่นยำ ด้วยการใช้ขั้นไฟฟ้าขนาดเล็กหลายขั้ว หรือมุ้งนาโนฆ่ายุง ลดการเกิดโรคมาลาเรียช่วงน้ำท่วม รวมถึงการออกแบบ หรือการประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้สร้างงานนาโนนั้นๆ
    ส่วนใหญํทำงานในสำนักงานทั่วไป อาจจะอยูํในรูปแบบของสถาบันวิจัย ศูนย์วิจัย ที่มีห้องสำหรับการทดลอง อาจมีการออกไปดูสถานที่ผลิตสินค้านาโน หรือติดต่อหน่วยงานอื่นๆ บ้างเป็นครั้งคราวตามความจำเป็น อาจต้องทำงานล่วงเวลาบ่อยๆ  

[2]

  1. http://www.งานวันนี้.com/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%87/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5-Chemist.html
  2. http://www.dek-d.com/admission/29090/