ผู้ใช้:Jeabbabe/ทดลองเขียน
![]() | นี่คือหน้าทดลองเขียนของ Jeabbabe หน้าทดลองเขียนเป็นหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้มีไว้ทดลองเขียนหรือไว้พัฒนาหน้าต่าง ๆ แต่นี่ไม่ใช่หน้าบทความสารานุกรม ทดลองเขียนได้ที่นี่ หน้าทดลองเขียนอื่น ๆ: หน้าทดลองเขียนหลัก |
บทความ
[แก้]- ผู้ใช้:Jeabbabe/ทดลองเขียน/รัฐสมรภูมิ
- ผู้ใช้:Jeabbabe/ทดลองเขียน/อีเลฟเว่นสปอร์ตส
- ผู้ใช้:Jeabbabe/ทดลองเขียน/เกมกำแพงซ่า
ทดสอบระบบ
[แก้]ก่อตั้งในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2482
- 86 ปี 42 วัน
- 10 ปี 0 วัน
- ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days หากใช้ปีคริสต์ศักราช
- 482 ปี 0 วัน
- −472 ปี 0 วัน
ทีซีซี แอสเซ็ทส์
[แก้]ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (อังกฤษ: TCC Assets) เป็นชื่อบริษัทเอกชนในรูปแบบบริษัทผู้ถือหุ้นของกลุ่มทีซีซี ซึ่งเน้นการถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก ปัจจุบันมีทั้งหมด 2 บริษัท ซึ่งใช้ชื่อเดียวกัน และมีผู้ถือหุ้นใหญ่กลุ่มเดียวกันคือเจริญ สิริวัฒนภักดี และกองมรดกของคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ฝ่ายละ 50% ดังนี้
- บริษัทต่างประเทศ จดทะเบียนในชื่อ ทีซีซี แอสเซ็ทส์ ลิมิเต็ด (อังกฤษ: TCC Assets Limited) ในหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เพื่อประกอบธุรกิจถือหุ้นในบริษัทที่พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก[1] โดยตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 กลุ่มทีซีซีได้ให้ทีซีซี แอสเซ็ทส์ ลิมิเต็ด ร่วมกับอินเตอร์เนชั่นแนล เบฟเวอเรจ โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด (อินเตอร์เบฟ) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจ จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ (เอฟแอนด์เอ็น) บริษัทอาหารและเครื่องดื่มที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทดังกล่าว โดยอินเตอร์เบฟถือหุ้นในสัดส่วนมากกว่าทีซีซี แอสเซ็ทส์ ต่อมาในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557 เอฟแอนด์เอ็นได้แยกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ออกมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ในชื่อ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (เฟรเซอร์ส) โดยจ่ายปันผลเป็นหุ้นเฟรเซอร์สให้ผู้ถือหุ้นของเอฟแอนด์เอ็นมาถือโดยตรง
- บริษัทสัญชาติไทย จดทะเบียนในชื่อ บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด (อังกฤษ: TCC Assets (Thailand) Co., Ltd)
- ↑ "CIRCULAR TO SHAREHOLDERS in relation to the MANDATORY CONDITIONAL CASH OFFER" [หนังสือเวียนถึงผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับข้อเสนอเงินสดแบบมีเงื่อนไขบังคับ] (PDF). เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ (ภาษาอังกฤษ). 11 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2025.
สวนจากภูผาสู่มหานที
[แก้]สวนจากภูผาสู่มหานที | |
---|---|
ประเภท | สวนชุมชน |
เปิดตัว | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 |
เจ้าของ | มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ |
ผู้ดำเนินการ | ![]() |
สวนจากภูผาสู่มหานที เป็นสวนชุมชนขนาด 26 ไร่ ที่เป็นสวนต่อขยายจากสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ตั้งอยู่ถนนกำแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 โดยนำพระราชดำรัสของพระองค์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่า มาเป็นแนวคิดในการออกแบบ และจัดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้การดำรงชีวิตของผู้คนที่พึ่งพาป่าเป็นหลัก โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จมาทรงเปิดสวนแห่งนี้พร้อมกับสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ระยะที่ 2 ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
ประวัติ
[แก้]การจัดสรรพื้นที่
[แก้]ภายในสวนแห่งนี้ได้รวบรวมพรรณไม้ต่าง ๆ จากทั่วประเทศ พรรณไม้ทรงปลูกในสถานที่ต่าง ๆ ตั้งแต่พรรณไม้บนที่สูง จนถึงพรรณไม้ในที่ลุ่ม ตามแนวคิด “จากภูผาสู่มหานที” เป็นการสร้างให้เกิดระบบนิเวศป่าที่สมบูรณ์ในพื้นที่โครงการ รวมทั้งมีพื้นที่สำหรับฝึกอบรมเยาวชนเกี่ยวกับการปลูกป่า เป็นพื้นที่พักผ่อน และเป็นสถานที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ ทางเดินศึกษาพรรณไม้ทรงปลูก หอดูนก สวนป่ารักน้ำ อาคารฝึกอบรม ลานกิจกรรมกลางแจ้ง สนามเด็กเล่น และหอชมวิว เป็นต้น
โดย “สวนจากภูผาสู่มหานที” มีแนวคิดโครงการ Idea of Economic Forest
“พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า” พระราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ บ้านถ้ำติ้ว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร วันที่ 20 ธันวาคม 2525
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมุ่งมั่นพัฒนา แหล่งน้ำและพัฒนาดิน เพื่อช่วยเหลือราษฎรในการดำรงชีวิตและเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงสนองพระราชสารด้วยการอนุรักษ์ และพัฒนาผืนป่า ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแหล่งต้นน้าสาธาร ตามพระราชปณิธานที่มีพระราชดำรัส ณ อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525
สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จึงจัดสร้างขึ้นเพื่อแสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทาน โครงการพระราชดำริทั่วประเทศ เพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชาติ และเพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565
การจัดสร้างสวนบนที่ 26 ไร่ ในสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ แห่งนี้ จึงมีรูปแบบสื่อความสัมพันธ์ ระหว่าง ป่า นํ้า และผู้คน ที่สำคัญได้นำกล้าจากพรรณไม้ที่ทรงปลูกเมื่อเสด็จฯ ไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อราษฎรจากภาคเหนือ ภาคใต้มาปลูกไว้
ภายในสวนมีพื้นที่พักผ่อน และเป็นสถานที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ
พื้นที่เล่น เรียนรู้
ลานเล่นที่เน้นให้เกิดการเล่นกับองค์ประกอบธรรมชาติ เช่น เนินหญ้า ลําธาร บ่อทรายที่ช่วยส่งเสริม พัฒนาการทางกายของเด็กทุกวัย ผ่านการใช้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ใช้ประสาทสัมผัสได้สังเกตสิ่งแวดล้อม และได้เรียนรู้ทักษะการเข้าสังคมผ่านการเล่นทั้งแบบกลุ่มและแบบเดี่ยว
เส้นทางศึกษาพรรณไม้ทรงปลูก
เส้นทางจัดแสดงพรรณไม้ที่เพาะพันธุ์ จากต้นที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร สมเด็จพระ บรมราชชนนีพันปีหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินไปปฏิบัติ พระราชกรณียกิจ ยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตามลำดับจากภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ อันเป็นที่มาของชื่อสวนแห่งนี้ว่า "สวนจากภูผา สู่มหานที"
พื้นที่ชุ่มน้ำ
นิเวศจำลองของพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีพืชพรรณไม้หลายชนิดทำหน้าที่กรองสารปนเปื้อนออกจากน้ำ ให้น้ำมี ความปลอดภัยสําหรับการสัมผัสก่อนที่จะไหลลงสู่ลำธาร
ป่าเศรษฐกิจ
ป่าปลูกที่จําลองธรรมชาติของสังคมพืชหลายชั้นเรือนยอด สัตว์ จุลินทรีย์ และรา ไมคอร์ไรซา (mycorrhiza) ที่พึ่งพาอาศัยกินตามธรรมชาติ เพื่อการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายตลอดอายุไขของ การปลูก ในระยะสั้นคือการผลิตอาหารและสมุนไพร ระยะกลางคือเนื้อไม้ และระยะยาว คือ การเกื้อกูล ต่อระบบนิเวศ
เนินทุ่งดอกหญ้า
จุดชมวิวที่ชั้นล่างเกิดจากการถมเศษวัสดุก่อสร้างที่ถูกรื้อจากลานจอดรถเดิมก่อนที่จะเป็นสวนแห่งนี้ ชั้นบนถมทับด้วยหน้าดินและปล่อยให้หญ้าขึ้นตามธรรมชาติ
บ่อเป็ด
บ่อน้ำตื้นที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล เป็นแหล่งขยายพันธุ์และหาอาหารของแมลง สัตว์ครึ่งบก ครึ่งน้ำ สัตว์ขนาดเล็ก และสัตว์ปีกชนิดต่าง ๆ
ชลประทานจำลอง
พื้นที่เล่นและทดลอง ด้วยการ ปิดเปิด กั้น และเปลี่ยนทิศทาง เพื่อควบคุมการไหลของน้ำ
พื้นที่ลุยน้ำ
พื้นที่น้าตื้นสำหรับการเล่น โดยน้ำในลำธารได้รับการบำบัดจากพื้นที่ชุ่มน้ำจนมีคุณภาพที่ปลอดภัย สำหรับการสัมผัส
ปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์
[แก้]ปาร์คเวนเชอร์ - ดิ อีโคเพล็กซ์ ออน วิทยุ | |
---|---|
Park Ventures - The Ecoplex on Witthayu | |
![]() | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ที่อยู่ | 57 ถนนวิทยุ |
ที่ตั้ง | แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน |
เมือง | กรุงเทพมหานคร |
ประเทศ | ประเทศไทย |
พิกัด | 13°44′33″N 100°32′53″E / 13.742616630300692°N 100.54804721372732°E |
ปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์ (อังกฤษ: Park Ventures Ecoplex) หรือชื่อเต็มคือ ปาร์คเวนเชอร์ - ดิ อีโคเพล็กซ์ ออน วิทยุ (อังกฤษ: Park Ventures - The Ecoplex on Witthayu) เป็นตึกระฟ้าแบบประสมระหว่างอาคารสำนักงานและโรงแรมใจกลางกรุงเทพมหานคร บริเวณหัวมุมด้านตะวันออกเฉียงใต้ของแยกเพลินจิต จุดตัดระหว่างถนนเพลินจิตและถนนวิทยุ ในพื้นที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน
อาคาร 150 ปี กระทรวงการคลัง
[แก้]อาคาร 150 ปี กระทรวงการคลัง | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เปิดใช้งาน |
ที่อยู่ | กระทรวงการคลัง ถนนพระรามที่ 6 |
ที่ตั้ง | แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน |
เมือง | กรุงเทพมหานคร |
ประเทศ | ประเทศไทย |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
วัสดุ | กระจก, แผ่นวัสดุผสมอะลูมิเนียมไส้กลางกันไฟ |
อาคาร 150 ปี กระทรวงการคลัง เป็นอาคารสำนักงาน
หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2560
เอ็มบีเค ฮอลล์
[แก้]เอ็มบีเค ฮอลล์ | |
---|---|
ที่อยู่ | 444 มาบุญครองเซ็นเตอร์ ชั้น 7 ถนนพญาไท |
ที่ตั้ง | แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
เริ่มสร้าง | พ.ศ. 2526 |
เปิดใช้งาน | พ.ศ. 2528 |
ปิด | พ.ศ. 2542 |
ที่นั่งแบบโรงละคร | 3,000 คน |
พื้นที่ปิดล้อม |
เอ็มบีเค ฮอลล์ (อังกฤษ: MBK Hall) เป็นอดีตศูนย์ประชุม โถงคอนเสิร์ต และโรงมหรสพอเนกประสงค์ภายในศูนย์การค้ามาบุญครองเซ็นเตอร์ (ปัจจุบันคือเอ็มบีเคเซ็นเตอร์) ตั้งอยู่บนชั้น 7 ของอาคาร มีความจุทั้งหมด 3,000 คน เปิดให้บริการพร้อมกับตัวศูนย์การค้าในปี พ.ศ. 2528 โดยเคยเป็นโถงคอนเสิร์ตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยในยุค 90 เนื่องจากเป็นโถงคอนเสิร์ตขนาดใหญ่แห่งเดียวในกรุงเทพมหานครในขณะนั้น และมีศิลปินที่มีชื่อเสียงมาแสดงคอนเสิร์ตในเอ็มบีเค ฮอลล์ เป็นจำนวนมาก
มหกรรมคอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย
[แก้]มหกรรมคอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย (อังกฤษ: Thailand Intellectual Property Festival 2002) เป็นมหกรรมคอนเสิร์ตที่จัดขึ้นเพื่อรณรงค์และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนสนับสนุนสินค้าที่ผลิตขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายลิขสิทธิ์ พร้อมทั้งต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะการทำสำเนาแผ่นซีดีคัดลอกผลงานของศิลปินมาวางจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมดนตรีในขณะนั้น[1] จัดโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์[2] ร่วมกับบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท อาร์.เอส. โปรโมชั่น จำกัด เมื่อวันที่ 17 และ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ณ ท้องสนามหลวง รวมถึงมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยทั้ง 6 ช่องในสมัยนั้นด้วย โดยมีทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานทำพิธีเปิดมหกรรมเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม เวลา 16:30 น. และมีศิลปินจากทั้ง 2 ค่ายเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งศิลปินสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จัดแสดงที่เวทีฝั่งทิศใต้ (ติดพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ส่วนศิลปินสังกัด อาร์.เอส. โปรโมชั่น จัดแสดงที่เวทีฝั่งทิศเหนือ (ติดกับสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า)[3]
โดยในมหกรรมคอนเสิร์ตนี้มีการเผยแพร่เพลงใหม่ที่มีเนื้อหาเพื่อรณรงค์การต่อต้านละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งหมด 3 เพลง เผยแพร่โดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ 1 เพลง คือ "คนขายฝัน" และเผยแพร่โดย อาร์.เอส. โปรโมชั่น อีก 2 เพลง คือ "คนปลูกต้นไม้" และ "อยู่ที่เธอแล้ว"
วันที่ | เวลา | เวที จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ | เวที อาร์.เอส. โปรโมชั่น | ||
---|---|---|---|---|---|
ศิลปิน | สถานีโทรทัศน์ | ศิลปิน | |||
17 สิงหาคม พ.ศ. 2545 | 17:00 น. |
2002 ราตรี (แคทรียา อิงลิช, ญาญ่าญิ๋ง, เจนนิเฟอร์, ไชน่า ดอลส์ (เบลล์, หว่าหวา)), มอส ปฏิภาณ, นิโคล เทริโอ, นัท มีเรีย, ตุ้ย ธีรภัทร์, โบ สุนิตา, ดาจิม, ทรีจี, น้องพลับ, นาตาลี |
สทท.11 | ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. | |
18:00 น. | ไม่มี | ||||
18:30 น. | |||||
19:00 น. | ททบ.5 | ||||
19:15 น. | |||||
19:30 น. | ไม่มี | ||||
20:00 น. | ไม่มี | ||||
20:30 น. | สทท.11 | ||||
21:00 น. | |||||
22:30 น. | ช่องไอทีวี | ||||
22:40 น. | |||||
18 สิงหาคม พ.ศ. 2545 | |||||
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (พฤษภาคม 2025) |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "RS ระดมศิลปินยกค่าย เปิดฟรีคอนเสิร์ตท้องสนามหลวง" (Press release). newswit. 23 กรกฎาคม 2002. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2025.
- ↑ แย้มเนียม, กมลวรรณ (ตุลาคม 2005). "บทนำ". ความตระหนักต่อการประชาสัมพันธ์สินค้าลิขสิทธิ์ ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่: กรณีศึกษาแผ่นคอมแพ็กดิสก์ (PDF). มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.). เชียงใหม่: เผยแพร่เอง. pp. 1–3. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2025.
- ↑ 3.0 3.1 "กำหนดการมหกรรมคอนเสิร์ตครั้งประวัติศาสตร์ทั้ง 2 เวที". สยามโซน.คอม. 16 สิงหาคม 2002. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2025.
หมวดหมู่:ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2545 หมวดหมู่:คอนเสิร์ตในประเทศไทย
ปิโตรเอเซีย
[แก้]ปิโตรเอเซีย (อังกฤษ: PetroAsia) หรือ พีเอ (PA) หรือประชาชนนิยมเรียกว่า ปั๊มช้างแดง เป็นอดีตปั๊มน้ำมันในประเทศไทย เกิดจากการร่วมทุนระหว่างเครือเจริญโภคภัณฑ์, การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)) และไซโนเปคจากประเทศจีน ก่อตั้งเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2537 ซึ่งภายในปิโตรเอเซียทุก ๆ แห่งจะมีเซเว่น อีเลฟเว่น ให้บริการทุกแห่ง
อย่างไรก็ตาม ปิโตรเอเซียประสบปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่องตลอดมา จนกระทั่งหลังจากเปิดให้บริการเพียง 3 ปี ก็เกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 เครือเจริญโภคภัณฑ์และไซโนเปคจึงถอนการลงทุน และยุติการดำเนินงานของปั๊มปิโตรเอเซียลงในปี พ.ศ. 2541 โดยให้ ปตท. เข้าซื้อปั๊มน้ำมันปิโตรเอเซียบางแห่งที่มีทำเลเหมาะสม ทำให้ปั๊มน้ำมันของ ปตท. ที่ปรับโฉมมาจากปิโตรเอเซียเดิม มีเซเว่น อีเลฟเว่น ให้บริการทุกแห่ง ก่อนจะขยายความร่วมมือจนถึงปัจจุบัน
ประวัติ
[แก้]เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 เครือเจริญโภคภัณฑ์มีความต้องการขยายธุรกิจสู่ปั๊มน้ำมัน เพื่อแก้ปัญหาการตัดส่วนแบ่งร้านสะดวกซื้อของเซเว่น อีเลฟเว่น จากการเปิดร้านสะดวกซื้อตามปั๊มน้ำมัน (Gasoline Store) ของคู่แข่งต่าง ๆ เช่น ไทเกอร์มาร์ทในเอสโซ่ สตาร์มาร์ทในคาลเท็กซ์ และร้านซีเล็คในเชลล์ จึงเชิญหน่วยงานที่ประกอบธุรกิจปิโตรเลียม 2 แห่ง คือ ไซโนเปค บริษัทเคมีภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) รัฐวิสาหกิจด้านปิโตรเลียมของประเทศไทย เข้ามาร่วมทุนกัน จัดตั้งบริษัทปิโตรเลียมชื่อ บริษัท ปิโตรเอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด (อังกฤษ: PetroAsia (Thailand) Company Limited) โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ ปตท. และไซโนเปค อยู่ที่ 35% : 35% : 30% ตามลำดับ
ปิโตรเอเซียมีสัญลักษณ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ PA เรียงติดกันคล้ายกับรูปช้างสีแดง ประชาชนจึงนิยมเรียกว่า "ปั๊มช้างแดง" โดยเริ่มเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2537 แบ่งเป็นสถานีบริการน้ำมันจำนวน 37 แห่ง และจุดจ่ายน้ำมันขนาดเล็กอีกจำนวน 450 แห่ง ซึ่งภายในปิโตรเอเซียจะมีร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ของเครือเจริญโภคภัณฑ์เปิดให้บริการในทุกแห่ง เพื่อให้เซเว่น อีเลฟเว่น สามารถรองรับประชาชนที่เน้นการเดินทางเป็นหลักได้ โดยที่ ปตท. ในขณะนั้น ยังคงบริหารร้านสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมันของตนเอง เช่น จอย, พีพีทีที, สไมล์ หรือ ปตท.มาร์ท เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ปิโตรเอเซียประสบภาวะขาดทุนเฉลี่ยเดือนละ 5,000,000 – 7,000,000 บาท แม้ปรับแผนการตลาดก็ไม่ประสบความสำเร็จ โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ส่วนใหญ่ยึดติดกับปั๊มน้ำมันเดิม เช่น ปั๊มน้ำมันของ ปตท. เป็นต้น และหลังจากเปิดให้บริการได้ 3 ปี ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ค้าน้ำมันทุกรายที่ปิดกิจการเป็นจำนวนมาก เครือเจริญโภคภัณฑ์และไซโนเปคจึงเตรียมถอนการลงทุน โดยเสนอขายหุ้นของปิโตรเอเซียทั้งหมดให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้นมีปัญหาการขาดสภาพคล่องจำนวนประมาณ 2,000 ล้านบาท และยังถูกภาครัฐตัดลดงบประมาณในการลงทุนโครงการ จึงพยายามขายหุ้นของปิโตรเอเซียทั้งหมดต่อให้กับกลุ่มทุนจากต่างประเทศเพื่อแบ่งเบาภาระ โดยมี อาร์โค บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของสหรัฐ ที่เป็นเจ้าของร้านสะดวกซื้อเอเอ็มพีเอ็ม หนึ่งในร้านที่ ปตท. เคยซื้อแฟรนไชส์มาทำในประเทศไทย ให้ความสนใจซื้อหุ้น ก่อนถอนตัวในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ. 2541 เครือเจริญโภคภัณฑ์เสนอขายปั๊มน้ำมันปิโตรเอเซียทั้ง 37 แห่งทั่วประเทศให้กับ ปตท. ทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องจากการขาดทุนสะสมสูงกว่า 300,000,000 บาท และยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แต่ ปตท. ไม่รับซื้อ เนื่องจากต้องการประคับประคองปั๊ม ปตท. ของตนที่เหลือเพียงแค่ 1,500 แห่งในขณะนั้นให้อยู่รอด และเพื่อไม่ให้เกิดการแข่งขันกันเองระหว่างปั๊มน้ำมัน ปตท. กับปิโตรเอเซีย ซึ่งมีหลายทำเลที่อยู่ติดกัน แต่ในที่สุด เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2541 คณะกรรมการของ ปตท. ก็อนุมัติให้เข้าซื้อปั๊มน้ำมันปิโตรเอเซียที่มีทำเลเหมาะสมจำนวน 17 แห่งด้วยงบประมาณ 200,000,000 บาท สองวันต่อมา (21 สิงหาคม) ผู้ถือหุ้นทั้ง 3 รายของปิโตรเอเซียก็เห็นชอบให้ยุติธุรกิจขายปลีกน้ำมัน แต่ยังคงดำเนินธุรกิจค้าส่งน้ำมันเพื่ออุตสาหกรรม และดำเนินธุรกิจร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในปั๊มน้ำมันของ ปตท. ต่อไป ส่วนปั๊มน้ำมันปิโตรเอเซียที่ดูแลโดยตัวแทนจำหน่ายจำนวน 11 แห่ง หากต้องการดำเนินกิจการต่อให้เปลี่ยนเป็นปั๊มน้ำมัน ปตท. แต่ถ้าไม่ต้องการดำเนินกิจการต่อให้ปิดกิจการ เพื่อยุติความเสียหาย ทำให้ปั๊มน้ำมัน ปตท. ทุกแห่งที่ปรับโฉมมาจากปิโตรเอเซีย มีเซเว่น อีเลฟเว่น เปิดให้บริการ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปั๊มน้ำมัน ปตท. สาขาที่มีเซเว่น อีเลฟเว่น มีผู้เข้าใช้บริการมากกว่าสาขาที่มีร้านสะดวกซื้อร้านอื่น ๆ รวมถึงเอเอ็มพีเอ็ม ที่ ปตท. ได้รับแฟรนไชส์มาบริหารจากอาร์โคในปี พ.ศ. 2540 โดยมีบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) มาร่วมลงทุน ?๊๋ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน เพราะ ปตท. ได้รับเพียงโลโก้ของเอเอ็มพีเอ็มมาติดไว้หน้าร้าน แต่ไม่ได้รับบริการต่าง ๆ มาด้วย ปตท. จึงตัดสินใจยกเลิกสิทธิ์แฟรนไชส์ร้านเอเอ็มพีเอ็มและร้านอื่น ๆ ทั้งหมด และทำสัญญาให้ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เข้ามาเปิดร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในปั๊มน้ำมัน ปตท. อย่างเต็มรูปแบบแทนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2545[1] โดยเริ่มมีผลเมื่อปี พ.ศ. 2546
- ↑ "รู้หรือไม่? "ซีพี" เคยร่วมทุนกับ ปตท.-จีน ทำธุรกิจปั๊มน้ำมันมาก่อน". 23 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2025.