ผู้ใช้:Jayy~thwiki/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  1. เนื้อหารายการลำดับเลข

Augmented Reality: Changing our daily life

การแสดงภาพเสมือนจริงผ่าน Tablet

เป็นเทคโนโลยีสมัยล้ําปี 2010 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) โดยผ่านทางอุปกรณ์ Webcam, กล้องมือถือ ,Computer รวมกับการใช้ software ต่างๆ ซึ่งจะทําให้ภาพที่เห็นในจอภาพจะเป็น object (คน,สัตว์,สิ่งของ,สัตว์ประหลาด,ยานอวกาศ) 3 มิติ ซึ่งมีมุมมองถึง 360 องศากันเลยทีเดียว ฉะนั้นเทคโนโลยี AR นี้จะสามารถทําให้ผู้ใช้เห็นภาพเสมือนจริงได้รอบด้าน 360 องศาโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเดินไปสถานที่จริงเลยแม้แต้น้อย

โดยเทคโนโลยี AR จะแตกต่างจากเทคโนโลยี VR เล็กน้อยที่ VR จะทำให้เราสามารถเห็นในสิ่งที่ไม่ได้อยู่ตรงหน้าได้ ส่วน AR จะทำให้เราเห็นข้อมูล/รายละเอียดของสิ่งที่ออยู่ตรงหน้าเราได้ ปัจจุบันได้เริ่มมีการนำมาใช้งานในภาคธุรกิจหลายๆด้านเช่น

  1. ด้านการบันเทิง - จะเห็นได้มากในสมาร์ทโฟนในลักษณะของแอปพลิเคชั่นต่างๆ (แอปฯโทรศัพท์ใสก็น่าจะจัดเข้าพวกได้)
  2. ด้านการให้ข้อมูล - ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายก็กูเกิ้ลกลาส (Google Glass) หรือพวกแอปฯนำเที่ยวต่างๆในสมาร์ทโฟน

หลักการของ Augmented Reality ประกอบด้วย

โดยปกติแล้ว AR มักพบบนสมาร์ทโฟน มากกว่าพีซี และสมาร์ทโฟนมักอยู่ที่มือและมีกล้องติดมาด้วยเสมอ ซึ่งกล้องนี้เปรียบเสมือนดวงตาที่ทำให้เรามองเห็นโลกทั้งใบ เราไม่สามารถถ่ายทอดข้อมูลผ่านจอประสาทตาได้ แต่เราสามารถใช้จอของสมาร์ทโฟนแทน webcam และส่วนที่ใช้ในการแสดงผลได้

  1. ตัว Marker (บางคนเรียกว่า Markup) ต่างๆ
  2. กล้อง webcam , มือถือ หรือตัวจับ sensor อื่นๆ
  3. ส่วนแสดงผล อาจเป็นจอภาพทางคอมพิวเตอร์หรือมือถือ หรืออื่นๆ
  4. ส่วนประมวลผลเพื่อสร้าง object 3D เช่น software

กระบวนการภายในของเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย 3 กระบวนการ คือ

  1. การวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็นขั้นตอนการค้นหา Marker จากภาพที่ได้จากกล้องแล้วสืบค้นจากฐานข้อมูล (marker datebase) ที่มีการเก็บข้อมูลขนาดและรูปแบบของ Marker เพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบของ Marker
  2. การคำนวณค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติ (Pose Estimation) ของ Marker เทียบกับกล้อง
  3. กระบวนการสร้างภาพสองมิติ จากโมเดลสามมิติ (3D Rendering) เป็นการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในภาพโดยใช้ค่าตำแหน่ง เชิง 3 มิติ ที่คำนวณได้จนได้ภาพเสมือนจริง

การนำ Augmented Reality ไปประยุกต์ใช้

การแสดงสถานที่ในโทรศัพท์

หลักการของ augmented reality นั้นเรียบง่าย แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่างๆ ได้มากมาย เพราะสิ่งที่เปลี่ยนไปมีแค่ "เลเยอร์" หรือชั้นของข้อมูลเท่านั้น ตัวอย่างที่เป็นไปได้มีดังนี้

  1. การทำงานของ augmented reality บนโทรศัพท์มือถือ จะใช้กล้องถ่ายภาพของมือถือเป็นตัวดึงภาพจากสถานที่จริงที่ผู้ใช้ยืนอยู่ในขณะนั้น จากนั้นจะค้นหาตำแหน่งและทิศทางของโทรศัพท์มือถือเครื่องนั้น ผ่าน GPS และเข็มทิศ เมื่อทราบพิกัดที่แน่นอน โทรศัพท์จะร้องขอข้อมูลภาพของโลกเสมือนผ่านอินเทอร์เน็ต (ผ่าน GPRS, EDGE, 3G หรือ Wi-Fi) แล้วค่อยแสดงภาพในโลกเสมือนบนภาพที่ได้จากกล้องจริงเป็นขั้นตอนสุดท้าย
  2. ระบบนำทางที่ซึ่งสามารถซ้อนภาพสถานที่ปลายทางหรือจุดที่สนใจลงในภาพจริง เพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถระบุพิกัดแล้วส่งข้อมูลนั้นลงมาแสดงผลทางหน้าจอโทรศัพท์
  3. การโฆษณาที่ตอนนี้ถือว่ามาแรงมากโดยเราสามารถใช้ AR ในการช่วยประชาสัมพันธ์การขายให้ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เช่นการแสดงภาพเสมือนผ่านบาร์โค้ค ที่สแกนผ่านทางโทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่
  4. การท่องเที่ยว ที่สามารถแสดงภาพเสมือนได้ผ่านทางการสแกนเช่นกันแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์ได้
  5. สถาปัตยกรรม - เมื่อนำ AR ไปชี้ที่อาคารที่กำลังก่อสร้างก็สามารถ จะเห็นภาพสมบูรณ์ของอาคารที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือจะลองคิดว่าเอา AR ไปซ้อนทับซากปราสาท จะเห็นโมเดล 3 มิติในสภาพที่สมบูรณ์ก็ได้เช่นกัน

ปัญหาที่จะตามมาของการใช้ AR
แม้ว่าเทคโนโลยี augmented reality จะมีประโยชน์ต่อมนุษย์มากเพียงใด ปัญหาที่จะตามมาอย่างแน่นอนคือปัญหาด้านความเป็นส่วนตัว (privacy) และการเปิดเผยพิกัดของผู้ใช้อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านอาชญากรรมด้วย เนื่องจากผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถเข้าถึงตัวผู้ใช้โปรแกรมลักษณะนี้ได้ โดยดูข้อมูลผ่าน AR browser


ตัวอย่าง Augmented Reality

แอพชื่อว่า Aurasma (http://www.aurasma.com/) พัฒนาโดยบริษัท Autonomy ผู้คิดค้นแพลตฟอร์ม AR ซึ่งเพิ่งถูกซื้อโดยบริษัท HP ด้วยมูลค่า 7 พันล้านเหรียญ โดยแอพนี้ประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น การแสดงคำแนะนำการติดตั้ง TV แบบติดผนัง แบบเรียลไทม์สดๆ กันเลย

Audi Vision Application นี่คือ อีกหนึ่งตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการโฆษณาและการทำการตลาดโดยบริษัท Audi ได้ทำการพัฒนาแอพริเคชั่นเพื่อช่วยขยายขอบเขตการรับรู้ข้อมูลของรถจากโบชัวที่บริษัทแจกให้กับลูกค้าในApp นี้ ผู้ซื้อสามารถที่จะสแกนดูภายในตัวรถได้อย่างชัดเจน รวมไปถึงการมีวีดีโอ คู่มือการใช้แบบสีดีโอ หรือแม้กระทั้งสามารุที่จะชอปปิ้งอุปกรณ์ หรือสินค้าเกี่ยวกับ Audi ได้ผ่านทางแอพนี้เลย

เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับระบบกายวิภาค (anatomy) โดยจะให้ภาพและข้อมูลเกี่ยวกับโครงกระดูกในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทับลงไปยังภาพอวัยวะจริงๆ ของคน พูดง่ายๆ คือมันช่วยให้คุณ “มองทะลุ” เข้าไปในร่างกายคนได้เลยทีเดียว

Head-Mounted

Head-Mounted Display(HMD) คือจอแสดงผลที่เชื่อมกับHeadsetต่างๆ เช่นหมวก หรือแว่น ซึ่ง HMD นี้ที่ตัวอุปกรณ์จะมีเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวของศีรษะ ผ่านทางกล้องที่อยู่ด้านหน้า ซึ่งมันจะเปลี่ยนมุมกล้องและองศามุมมองของผู้ใช้ ตามการขยับของศีรษะอย่างสมจริงได้ถึง 360 องศา ตัวอย่างอุปกรณ์ประเภท HMD เช่น Nintendo's Virtual Boy, Oculus Rift, SONY's Morpheus, Durovis Dive และ Google Cardboard

แนวโน้มในอนาคต

ในอนาคตอันไม่ไกลจากนี้ เทคโนโลยี “การค้นหาด้วยภาพ (visual search)” จะเป็นสิ่งที่จะมาพลิกโฉมของการที่มนุษย์จะติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาร์ทโฟน โดยการใช้ เทคโนโลยีการจดจำภาพ (image recognition) ก็จะทำให้โปรแกรมสามารถรู้ได้ว่าสิ่งที่มันมองเห็นอยู่เป็นวัตถุหรือรูปภาพอะไร ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจการซื้อของออนไลน์ให้ง่ายขึ้นมาก จนคุณแทบไม่ต้องออกแรงใดๆ เลย เรียกว่าขั้นตอน “POINT-KNOW-BUY” โดยคุณสามารถสแกนรูปภาพหรือวัตถุที่เป็นสินค้าเป้าหมาย ระบบก็จะแสดงข้อมูลเชิงลึกของสินค้านั้น เมื่อคุณพอใจก็สามารถสั่งซื้อของชิ้นนั้นได้ทันที ซึ่งตอนนี้แม้ผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Google ก็กำลังบุกเบิกเรื่องนี้อยู่อย่างขะมักเขม้น เรียกว่า เทคโนโลยี Google Goggle หรือ Layer Vision

พัฒนาการของ AR

เทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปีค.ศ.2004 เป็นแนวคิดการผสมผสานสิ่งที่คอมพิวเตอร์แสดงผลด้วยตัวละครเสมือนกับพื้นหลังซึ่งเป็นโลกแห่งความจริงบนพื้นฐานของหลักการแกน3มิติ (x-y-z) ซึ่งARจัดเป็นแขนงหนึ่งของงานวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ว่าด้วยการเพิ่มภาพเสมือนของโมเดลสามมิติที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ลงไปในภาพที่ถ่ายมาจากกล้องวิดีโอเว็บแคมหรือกล้องในโทรศัพท์มือถือ แบบเฟรมต่อเฟรมด้วยเทคนิคทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก แต่ด้วยข้อจำกัดทางเทคโนโลยีจึงมีการใช้ไม่แพร่หลายเท่าไหร่ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมือถือและการสื่อสารข้อมูลไร้สายรวมทั้งการประมวลต่างๆ มีความรวดเร็วขึ้นและมีราคาถูกจึงทำให้อุปกรณ์สมาร์ทโฟนและแทบเล็ตทำให้เทคโนโลยีที่อยู่แต่ในห้องทดลองกลับกลายมาเป็นแอพที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานกันง่ายๆไปแล้ว โดยในช่วง2-3ปีมานี้ AR เป็นเรื่องที่ถูกกล่าวถึงอยู่เป็นระยะ แม้จะไม่ฮอตฮิตเหมือนแอพตัวอื่นๆก็ตาม แต่อนาคตยังไปได้อีกไกล

ประเทศไทยกับการใช้ Augmented Reality

ดูเหมือนว่าการใช้งาน AR ในเมืองไทยยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายกันเท่าไหร่ อาจจะด้วยสาเหตุที่ว่ายังไม่มีใครทำแอพดีๆ มาให้ใช้งานกันก็เป็นได้ จึงน่าจะมีตัวอย่างที่ออกมาเช่น การให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยวแบบ AR ตามสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เช่น บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา และสุโขทัย ซึ่งเมื่อนักท่องเที่ยวมาถึงจุดสำคัญ แทนที่อ่านแค่ป้ายหรือฟังไกด์อธิบายธรรมดา แต่สามารถเปิดภาพและเสียงที่บอกเล่าและจำลองภาพสถานการณ์ในยุคอดีตได้ ซึ่งอาจจะเป็นผลดีให้กับประเทศไทยของเราได้เจริญก้าวหน้าด้านการท่องเที่ยวก็เป็นได้