ผู้ใช้:Jadsadang 4 Tanarak/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

                                             พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดสงขลา[แก้]

            พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์  จังหวัดสงขลา เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงทรัพย์สินมีค่า เช่น เหรียญกษาปณ์ไทย เงินตราท้องถิ่น และเงินตราต่างประเทศ เป็นหน่วยงานในสังกัดส่วนจัดแสดง ๔ กองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง

          พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่บริเวณศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เปิดให้ประชาชนเข้าชมในเวลาราชการ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์


เนื้อหา[1]                                          

        ๑.  ประวัติ                                                                  

        ๒.  การจัดแสดง

            ๒.๑ จัดแสดงเงินตราสมัยต่างๆ ได้แก่ เงินทวารวดี เงินดอกจัน เงินนโม พดด้วงสุโขทัย เงินคุบสุโขทัย พดด้วงอยุธยา และเงินคุบอยุธยา โดยมีเงินดอกจันและเงินนโมเป็นเอกลักษณ์แห่งเงินตราภาคใต้

             ๒.๒ จัดแสดงเงินตรานานาชาติ บนแผ่นดินคาบสมุทรภาคใต้ ได้แก่ เหรียญเม็กซิกัน เหรียญสเปน เหรียญเนเธอแลนด์ เหรียญการค้าในเมืองอาณานิคมอังกฤษ เหรียญเปรู เหรียญอินโดจีนฝรั่งเศส เหรียญบอร์เนียว เหรียญซาราวัก เหรียญมาลายู เหรียญฮ่องกง และเหรียญญี่ปุ่น

             ๒.๓ จัดแสดงเหรียญอีแปะ เหรียญกงสี ซึ่งเป็นเงินตราท้องถิ่นภาคใต้ และพดด้วงรัชกาลที่ ๑ พดด้วงรัชกาลที่ ๒ และพดด้วงรัชกาลที่ ๓

             ๒.๔ จัดแสดงเหรียญกษาปณ์สมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงปัจจุบัน

         ๓.  ของที่ระลึกเกี่ยวกับเหรียญกษาปณ์

         ๔. คลังภาพ

         ๕. อ้างอิง

          ๖. แหล่งข้อมูลอื่น

ประวัติ[2][3]

        จากการที่กระทรวงการคลังได้ให้กรมธนารักษ์จัดตั้งศูนย์จัดแสดงนิทรรศการประจำภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต และขอนแก่น ตามลำดับ โดยเลือกจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางคมนาคม การศึกษา วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว  เพื่อเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของชาติไทยให้แก่ประชาชนทั่วไปได้ร่วมชื่นชมทรัพย์สินมีค่าอันเป็นมรดกของชาติ แต่จากการศึกษาพื้นที่ ความเหมาะสมแล้ว จึงได้เปลี่ยนศูนย์จัดแสดงนิทรรศการประจำภาคใต้ จากจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดสงขลา

       ศาลาธนารักษ์ ๒ จังหวัดสงขลา เป็นศูนย์จัดแสดงนิทรรศการเหรียญประจำภาคใต้ สังกัด สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน กรมธนารักษ์ ในขณะนั้น มีภารกิจในการจัดแสดงและเผยแพร่ทรัพย์สินมีค่า จำหน่ายเหรียญและผลิตภัณฑ์ และรับ-จ่ายแลกเหรียญกษาปณ์

 ปี พ.ศ ๒๕๔๕- ๒๕๕๐ ได้ขอใช้พื้นที่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลาเป็นสถานที่สำหรับจัดแสดง เนื่องจากอาคารสำนักงานของศาลาธนารักษ์ ๒ มีพื้นที่จำกัด ต่อมาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลาได้ขอคืนพื้นที่ จึงได้ย้ายการจัดแสดงออกจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา มาจัดแสดง ณ อาคารศาลากลางจังหวัดสงขลา

       ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ กรมธนารักษ์มีนโยบายขยายงานการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ โดยการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ จังหวัดสงขลา และโอนภารกิจด้านการรับ-จ่ายแลกเหรียญกษาปณ์ สังกัด สำนักบริหารเงินตรา ไปสังกัดสำนักงานธนารักษ์พื้นที่สงขลา ณ ที่ทำการแห่งใหม่ สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินจึงมีโครงการที่จะปรับปรุงพื้นที่บริเวณศาลาธนารักษ์ ๒ และสำนักงานธนารักษ์พื้นที่สงขลาเดิม เพื่อจัดแสดงทรัพย์สินมีค่าเพิ่มเติมให้มีรูปแบบการจัดแสดงที่มีความสวยงามทันสมัย โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้มาตรฐาน และนำทรัพย์สินประเภทเงินตรา เช่น เหรียญกษาปณ์ไทย เงินตราท้องถิ่น และเงินตราต่างประเทศมาจัดแสดง ตลอดจนขยายพื้นที่การจำหน่ายเหรียญและผลิตภัณฑ์เหรียญให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนในส่วนภูมิภาคได้ร่วมชื่นชม เกิดความรักและหวงแหนในมรดกที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย โดยใช้ชื่อว่า พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดสงขลา

       ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาลาธนารักษ์ ๒ จัดตั้งขึ้นเป็น ส่วนจัดแสดง ๔ สังกัด กองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สิน  มีค่าของรัฐ กรมธนารักษ์ ตามกฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง พ.ศ. ๒๕๖๓โดยพิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดสงขลา อยู่ในการกำกับดูแลของส่วนจัดแสดง ๔

การจัดแสดง[4]

         จัดแสดงเงินตราสมัยต่าง ๆ ได้แก่ เงินทวารวดี เงินดอกจัน เงินนโม พดด้วงสุโขทัย เงินคุบสุโขทัย พดด้วงอยุธยา และเงินคุบอยุธยา โดยมีเงินดอกจันและเงินนโมเป็นเอกลักษณ์แห่งเงินตราภาคใต้

          บริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของไทย เป็นจุดแบ่งของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก จึงมีความสำคัญทางการค้า ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมากว่า ๒,๐๐๐ ปี เป็นจุดเชื่อมโยงยุโรป ตะวันออกกลาง อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน ปรากฏหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการค้าขายแลกเปลี่ยนกัน เช่น ลูกปัดเหรียญอาหรับ เหรียญจีน และภาชนะเครื่องเคลือบของจีน ดินแดนคาบสมุทรนี้เจริญเติบโตปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน เงินตราภาคใต้ จึงเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความมั่งคั่งทางการค้า สะท้อนให้เห็นภาพสังคมและเศรษฐกิจในทุกยุคทุกสมัย

         เงินดอกจัน เงินนโม เอกลักษณ์เงินตราภาคใต้

          การค้าขายทางทะเลทำให้เกิดเมืองท่าขึ้น ชื่อว่า เมืองศรีวิชัย ซึ่งควบคุมเส้นทางการค้าและน่านน้ำทางตอนใต้ของประเทศไทยจนถึงเกาะชวาและเกาะสุมาตราของอินโดนีเซียในปัจจุบัน ทำให้อาณาจักรแห่งนี้มีความมั่งคั่ง โดยได้ผลิตเงินดอกจันขึ้นเพื่อใช้เป็นเงินตราแลกเปลี่ยน มีลักษณะกลม ด้านหน้าประทับตรารูปดอกไม้   ๔ กลีบ หรือตราประจำยาม อีกด้านหนึ่งมีอักษรสันสกฤต  คำว่า วร แปลว่า ประเสริฐ

         ในกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เกิดอาณาจักรตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญสำหรับขนส่งสินค้าระหว่างมหาสมุทรอินเดียตะวันตกกับอ่าวไทยตะวันออก มีเรือสินค้าจากชาติต่างๆ เข้ามาค้าขาย เช่น จีน และอินเดีย จึงได้มีการผลิตเงินตราเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยน เรียกว่า เงินนโม ด้านหนึ่งมีอักษรสันสกฤตโบราณคล้ายอักษรฯ อีกด้านหนึ่งตรงกลางมีรอยบากเป็นร่อง เชื่อว่าเงินนโมสามารถป้องกันโรคอหิวาตกโรคได้ เงินนโมที่เป็นเงินตรา แบ่งได้เป็น ๓ ชนิด ตามสัณฐานของเงิน ได้แก่ เงินนโมเมล็ดข้าวสาร เงินนโมขี้หนู และเงินนโมตาไก่ เมืองท่าที่มีความสำคัญของภาคใต้ ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ปัตตานี สงขลา และ ตรัง เป็นต้น และได้มีความเจริญรุ่งเรืองมาถึงสมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์  

จัดแสดงเงินตรานานาชาติ บนแผ่นดินคาบสมุทรภาคใต้ ได้แก่ เหรียญเม็กซิกัน เหรียญสเปน เหรียญเนเธอแลนด์ เหรียญการค้าในเมืองอาณานิคมอังกฤษ เหรียญเปรู เหรียญอินโดจีนฝรั่งเศส เหรียญบอร์เนียว เหรียญซาราวัก เหรียญมาลายู เหรียญฮ่องกง และเหรียญญี่ปุ่น

ดินแดนทางภาคใต้ของไทยเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญ มีพ่อค้าจากนานาชาติเดินทางเข้ามาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า จึงมีการใช้เหรียญเงินนานาชาติบนดินแดนภาคใต้ เช่น เหรียญอาหรับ เหรียญเปอร์เซีย เหรียญอินเดีย และเหรียญเม็กซิกัน เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการใช้เงินตราต่างประเทศ ได้แก่ เงินเม็กซีกัน และเงินรูเปียซึ่งมีการแลกเปลี่ยนเงินตราแตกต่างกันไปตามความบริสุทธิ์และน้ำหนักของเนื้อเงิน

 จัดแสดงเหรียญอีแปะ เหรียญกงสี ซึ่งเป็นเงินตราท้องถิ่นภาคใต้ และพดด้วงรัชกาลที่ ๑ พดด้วงรัชกาลที่ ๒ และพดด้วงรัชกาลที่ ๓

          เหรียญอีแปะ เป็นเหรียญกลม มีรูตรงกลาง ด้านหนึ่งมีอักษรจีนระบุปีที่ผลิตหรือระบุราชวงศ์ ชื่อจักรพรรดิจีน หัวเมืองทางภาคใต้มีการติดต่อค้าขายกับจีนมากขึ้นในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ และในสมัยรัชกาลที่ ๕ ชาวจีนซึ่งทำเหมืองแร่ทางภาคใต้ได้ผลิตเหรียญอีแปะแบบจีน เรียกว่า เหรียญกงสี เพื่อใช้เป็นเงินตราแลกเปลี่ยนในเท้องถิ่นหรือในเหมืองแร่ และได้มีการยกเลิกใช้เหรียญกงสีในสมัยรัชกาลที่ ๕ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระบบเงินตราเข้าสู่ระบบสากล และสามารถผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนได้เพียงพอต่อความต้องการ

   จัดแสดงเหรียญกษาปณ์สมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงปัจจุบัน

        ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการเปิดเสรีทางการค้ากับนานาชาติมีการซื้อขายสินค้าเพิ่มมากขึ้น เงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินตราหลักผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เหรียญเงินต่างประเทศได้เช่นเดียวกับเงินบาทไทย โดยสั่งเครื่องจักรเพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์แบบกลมแบนขึ้นใช้แทนเงินพดด้วง เงินตราของไทยจึงเริ่มเข้าสู่ระบบ

ต่อมาในสมัยรัชาลที่ ๕ ได้ยกเลิกเงินตราในระบบเก่าทั้งหมด ทั้งการใช้เงินพดด้วงและหน่วยเงินตรา และเปลี่ยนสู่ระบบสากล ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ มีการตราพระราชบัญญัติเงินตรา กำหนดการรใช้เงินตรา ในบ้านเมืองเพื่อเตรียมเข้าสู่การตั้งมาตราทองคำ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ตราพระราชบัญญัติมาตราทองคำ ทำให้ไทยเข้าสู่ระบบการใช้ทองคำเป็นทุนสำรอง และกำหนดอัตราเงินบาท เทียบเท่าทองคำ 

ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เหรียญกษาปณ์มีการพัฒนาการทั้งด้านโลหะที่ใช้ ชนิดราคา ภาพที่ปรากฏ  บนหน้าเหรียญ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ อีกด้านหนี่งเป็นวัดที่สำคัญ นอกจากนั้น เหรียญกษาปณ์ยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละยุคสมัยอีกด้วย

 ของที่ระลึกเกี่ยวกับเหรียญกษาปณ์  
                    นอกจากการจัดแสดงเกี่ยวกับเงินตราและเหรียญกษาปณ์ไทยแล้ว ยังมีของที่ระลึกประเภทผลิตภัณฑ์เหรียญจำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจ
  1. คลังภาพ อ้างอิง   หนังสือวิวัฒนาการเงินตราไทย กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง แหล่งข้อมูลอื่น e – Museum www.treasury.go.th
  2. www.treasury.go.th
  3. แหล่งข้อมูลอื่น e – Museum
  4. แหล่งข้อมูลอื่น e – Museum