ผู้ใช้:Jaaeho/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลีโอเบียร์ เป็นเบียร์ประเภทลาเกอร์ที่บ่มโดยให้ยีสต์เกิดการหมักตัวที่ก้นของถังหมัก ที่อุณหภูมิไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส ผลิตตามมาตรฐานระดับสากลภายใต้การดูแลของบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านเครื่องดื่มมานานกว่า 85 ปี ถือเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตเบียร์และเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอลล์รายใหญ่ของไทยและเอเชีย ก่อตั้งโดยพระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ในปีพ.ศ. 2476

ลีโอเบียร์ถือกำเนิดขึ้นเพื่อขยายตลาดการบริโภคเบียร์ไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ โดยการเปิดตัวของลีโอเบียร์เน้นแนวคิดที่แปลกใหม่ ทั้งด้านคอนเซปท์ของรสชาติ การตลาด การวิจัย กลุ่มเป้าหมาย กลยุทธ์การนำเสนอ เน้นความสนุกสนานเพลิดเพลินในการดื่ม ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการดื่มเบียร์ของคนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ลีโอเบียร์เริ่มวางจำหน่ายภายในช่วงภาวะวิกฤตต้มยำกุ้งในปีพ.ศ.2541 ปัจจุบันเป็นเบียร์ที่ขายดีเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย

ความเป็นมาของลีโอเบียร์[แก้]

ลีโอเบียร์ถือกำเนิดขึ้นในยุคทศวรรษ 90 ในปี 1998 (พ.ศ.2541) ท่ามกลางกระแสวัฒนธรรมป๊อบในยุคไร้อินเตอร์เนท และความผูกพันที่เกิดจากการพบเจอ พูดคุยกันหน้าต่อหน้า จนกลายเป็นมิตรภาพที่หยั่งลึกยาวนาน ในยุคนั้นการดื่มเบียร์ของคนไทยถือเป็นกิจกรรมที่หรูหรามีระดับสำหรับผู้มีฐานะนิยมจิบกันอย่างละเมียดละไมในร้านระดับบน แต่เบียร์ลีโอได้เปิดตัวพร้อมแนะนำวัฒนธรรมการดื่มเบียร์ที่เน้นความสนุกสนานของการสังสรรค์ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ และวางตัวเองเป็นปัจจัยใหม่ของการส่งเสริมความผูกพันระหว่างเพื่อนฝูงขณะพบปะใช้เวลาร่วมกัน

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการสร้างผลิตภัณฑ์ลีโอเบียร์คือเพื่อแก้เกมทางการตลาดให้กับบุญรอดบริวเวอรี่ ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในช่วงปีพ.ศ.2539 และยังประสบปัญหาเบียร์คู่แข่งพากันเปิดตัวขึ้นมาแย่งพื้นที่ในตลาดของเบียร์สิงห์ ซึ่งเป็นสินค้าหลักของบริษัทที่ครองตำแหน่งเบียร์อันดับ 1 ของไทยด้วยส่วนแบ่งการตลาด 80-90% มาอย่างยาวนาน จุดขายของเบียร์สิงห์คือความเป็นเบียร์พรีเมียมที่รสชาติแรง เมื่อเศรษฐกิจฝืดเคืองทั่วประเทศจึงทำให้ยอดขายลดลงอย่างมาก บางเดือนเหลือเพียง 9% บวกกับคู่แข่งพากันนำเสนอตัวเลือกใหม่ๆ พร้อมใช้กลยุทธ์“ขายเหล้าพ่วงเบียร์” บุญรอดบริวเวอรี่จึงเลือกใช้กลยุทธิ์สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์เดิม และแตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อต้องการทวงส่วนแบ่งการตลาดกลับคืนมา

โดยในยุคนั้น ผู้ผลิตเบียร์รายอื่นๆ เน้นจำหน่ายเบียร์ราคาถูก ตามหลักจ่ายน้อยเมาเร็ว ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง แต่บุญรอดบริวเวอรี่ไม่ต้องการใช้กลยุทธิ์เดียวกันกับคู่แข่ง ตรงกันข้าม พวกเขาต้องการเปิดตลาดใหม่ โดยเข้าหากลุ่มเป้าหมายใหม่ คือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ แต่ยังคงต้องการภาพลักษณ์ทางสังคม และต้องการเพลิดเพลินกับรสชาติของเบียร์ มากกว่าแค่ดื่มเพื่อเมา ลีโอเบียร์จึงถูกวางตำแหน่งให้มีราคาที่จับต้องได้ มีภาพลักษณ์ที่แตกต่างจากเบียร์อื่นๆ ในตลาด มีรสชาติเบา ดื่มง่ายแต่รู้สึกได้ถึงแอลกอฮอลล์และเมาได้เช่นเดียวกัน ผลลัพธ์ที่ได้คือยอดขายของลีโอเบียร์เติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันยอดขายของเบียร์สิงห์รวมทั้งเบียร์คู่แข่งก็ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด จึงกล่าวได้ว่าลีโอเบียร์ได้ค้นพบตลาดใหม่ เป็นกลุ่มคนที่มองหาทางเลือกใหม่ๆ ในการดื่ม ชื่นชอบการสังสรรค์ และยังคงยอมจ่ายให้เครื่องดื่มที่ถูกคอ มากกว่ามองหาตัวเลือกที่ถูกที่สุด

อีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจในการพยายามส่งลีโอเบียร์ออกสู่ตลาด คือการที่บรรดาเอเยนต์หรือยี่ปั๊วทั่วประเทศของบุญรอดบริวเวอรี่ต่างพากันลงขันสนับสนุนบริษัทแม่ที่กำลังเผชิญวิกฤต พร้อมใจกันใช้งบประมาณส่วนตัวช่วยผลักดันให้ลีโอเบียร์ได้แจ้งเกิด โดยเฉพาะในภาคอีสาน นอกจากนั้นบรรดายี่ปั๊วยังพากันจ่ายเงินให้บริษัทฯ ก่อนจะครบกำหนดเครดิตเทอมอีกด้วย ถือเป็นเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุญรอดบริวเวอรี่และคู่ค้า ซึ่งต่อมาลีโอเบียร์ได้นำสโลแกน “รวมกันมันส์กว่า” มาใช้กับแบรนด์ นับเป็นความบังเอิญที่ลงตัวกับประวัติของแบรนด์นี้

การวางจำหน่ายลีโอเบียร์ส่งผลให้บุญรอดบริวเวอรี่สามารถกลับมาครองส่วนแบ่งการตลาดเบียร์ในประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งอีกครั้ง สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้บุญรอดบริวเวอรี่กอบกู้สถานะของบริษัทได้สำเร็จ นอกจากจะเกิดจากรสชาติของเบียร์และการวางตำแหน่งทางการตลาดที่แตกต่างจากคู่แข่งในสมัยนั้น ยังเกิดจากกลยุทธ์การขายที่แปลกใหม่ เน้นขายในเมืองใหญ่ต่างจากคู่แข่งที่เน้นขายในตำบลห่างไกล รวมทั้งจัดกิจกรรมที่ในขณะนั้นไม่เคยมีเบียร์เจ้าไหนจัดมาก่อน เช่นคอนเสิร์ต แต่งเพลงลีโอ จัดกิจกรรมซื้อเบียร์ลุ้นจับฉลากทอง ลุ้นรับจักรยาน หรือจัดเทศกาสอาหารมากกว่า 1,000ครั้งใน 1 ปี เพื่อสร้างโอกาสในการชิมลีโอเบียร์ พร้อมบริการถ่ายรูปหน้างานและอัดรูปลงกรอบของลีโอเบียร์เพื่อสร้างการจดจำแบรนด์ รวมทั้งการใช้พรีเซนเตอร์ระดับซุเปอร์โมเดล และถ่ายทำปฏิทินลีโอโดยนางแบบ SexyLeo Girls เป็นต้น บุญรอดบริวเวอรี่ได้ดำเนินตามกลยุทธ์เหล่านี้นานถึง 8 ปีเพื่อต่อสู้ให้บริษัทกลับมาครองตำแหน่งผู้ผลิตเบียร์อันดับหนึ่งของไทยได้อีกครั้ง

เอกลักษณ์และตัวตนของลีโอเบียร์[แก้]

ลีโอเบียร์มีส่วนผสมของข้าวสายพันธุ์ไทย ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่บุญรอด บริวเวอรี่พัฒนาและปลูกขึ้นเพื่อการผลิตลีโอเบียร์โดยเฉพาะ และจะนำข้าวนี้มาผสมกับข้าวมอลต์และฮอปส์ตามสัดส่วนของทางบริษัทฯ เพื่อหมักบ่ม จึงทำให้เบียร์มีรสชาติแตกต่างจากเบียร์อื่นๆ ในด้านภาพลักษณ์ ลีโอเบียร์เน้นการจัดกิจกรรมที่มุ่งให้ความสนุกกับคนกลุ่มใหญ่ ตามสโลแกน “รวมกันมันส์กว่า” โดยกิจกรรมเหล่านี้มีทั้งคอนเสิร์ตศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศงานรวมดีเจระดับแนวหน้า งานเต้นรำระดับประเทศ รวมทั้ง Full Moon Party เป็นต้น

ความสำเร็จของลีโอเบียร์[แก้]

ผลิตภัณฑ์ลีโอเบียร์[แก้]

ลีโอเบียร์วางจำหน่ายในรูปแบบขวดและกระป๋อง ขนาดบรรจุ 320 มล. และ490 มล. แบบขวด ขนาดบรรจุ 320 มล. และ 620 มล. รวมทั้งเบียร์สดขนาดบรรจุ 30 ลิตร นอกจากนั้นยังมีของที่ระลึกอีกหลายประเภท ทั้งหมวก ถังน้ำแข็ง แก้วเบียร์ พวงกุญแจ ทาวเวอร์เบียร์ ซองใส่โทรศัพท์มือถือ และอีกมากมาย

อ้างอิง[แก้]

https://www.wongnai.com/food-tips/drink-beer-like-a-pro http://www.geranun.com/2015/leo-beer-history/ http://singhamagazine.com/wp-content/uploads/2015/04/201403.pdf https://www.brandage.com/article/8753/Boonrawd