ผู้ใช้:Gu4953/เอี๊ยมเหล็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกราะหุ้มหน้าอก ในพิพิธภัณฑ์ ปราสาท Kamianets-Podilskyi

เกราะหุ้มหน้าอกเหล็ก (รัสเซีย: Стальной нагрудник) เป็นชนิดของเสื้อเกราะที่ถูกพัฒณาโดยกองทัพแดงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประกอบไปด้วยแผ่นเหล็กที่ถูกกดเข้ากันสองแผ่น ซึ่งจะป้องกันส่วนลำตัวด้านหน้าและขาหนีบ แผ่นเหล็กที่ใช้มีความหนา 2 มิลลิเมตร และหนัก 3.5 กิโลกรัม ชุดเกราะนี้ถูกใช้โดยทหารช่างจู่โจม (assault engineer)

รุ่น[แก้]

มีหลายรุ่นที่ถูกพัฒนาขึ้นมา; ตัวเลขถ้ายระบุปีที่ถูกพัฒณาขึ้น

  • SN-38
  • SN-39
  • SN-40, SN-40A
  • SN-42, ทำด้วยเหล็กชนิด 36SGN ขนาด 2 มม. ความคลาดเคลื่อน 1.8 - 2.2 มม. นํ้าหนัก 3.3 - 3.5 กก. บริเวณที่ป้องกันวัดได้ 0.2 ตารางเมตร
  • SN-46

เกราะหุ้มหน้าอกเหล็กพวกนี้รวมกับหมวกเหล็ก SSh-40 ถูกใช้เป็นอุปกรณ์ประจำทหารช่างจู่โจมและกองพลกู้ทุ่นระเบิดของกองบัญชาการ STAVKA. เกราะหุ้มหน้าอก SN-42 ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการโจมตีจากดาบปลายปืน,ชิ้นส่วนเหล็กจากระเบิด และลูกกระสุนขนาด 9 มม. ที่ทำจากตะกั่ว จึงสามารถป้องกันการยิงจากปืนกลมือ MP-38/40 ได้ในระยะ 100-150 เมตร และการยิงจากปืนไรเฟิลกระสุนขนาด 7.92×57 มม. เมาเซอร์ ได้นัดเดียว ถ้าลูกกระสุนไปโดนส่วนโค้งของเกราะ. ภายหลังมีการนำกระสุน 9 มม. รหัส R.08 mE ที่มีเหล็กกล้าอ่อนเป็นตัวลูกกระสุน มาใช้ในกองทัพแวร์มัคท์ จึงทำให้มีการเพึ่มความหนาของเกราะขึ้นเป็น 2.6 มม. การออกแบบใหม่นี้ได้ชื่อว่า SN-46

ตามมาตรฐานปัจจุบัน เกราะพวกนี้จะป้องกันกระสุนได้เท่ากับเสื้อเกราะระดับ Class II

  • สหภาพโซเวียต - เกราะหุ้มหน้าอกเหล็ก SN-42 ถูกนำมาใช้ในกองทัพในปี 1942 จนถึงท้ายสงครามโลกครั้งที่ 2
  • โปแลนด์ - เสื้อเกราะเหล็กโซเวียตถูกนำมาใช้โดย กองทัพโปแลนด์ที่ 1 (มีอยู่ 1000 ชิ้น ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 1944)
  • นาซีเยอรมนี - จากคำบอกเล่า มีการนำเสื้อเกราะเหล็กของโซเวียตที่ยึดมาได้มาใช้ในกองทัพเยอรมนี; มีการผลิตเสื้อเกราะที่คล้ายกันในเยอรมนีจำนวนน้อย (ให้สำหรับหน่วย SS บางหน่วยเท่านั้น, ส่วนใหญ่ใช้กับหมู่ทหารจู่โจม)

ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเกราะที่ได้จากทหารแนวหน้านั้นมีทั้งดีและแย่ โดยที่ชุดเกราะนั้นทำงานได้ดีในการต่อสู้แนวถนนและการปะทะระยะประชิด แต่เมื่ออยู่ในสถานการที่ต้องคลานบ่อยๆ ชุดเกราะนั้นก็กลายเป็นภาระไป

แบบที่คล้ายกัน[แก้]

  • ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการผลิตเสื้อเกราะเหล็กจำนวนมาก ถูกใช้โดยกองทัพเยอรมณี (ซาปเปนแพนเซอร์ [1]) ,อังกฤษ ,ฝรั่งเศษ และอิตาลีซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนั้นว่า โคลาสเซ ฟารีนา มาจากชื่อของผู้ที่ออกแบบชุดเกราะ
  • ในช่วงปี ค.ศ. 1920-1930 มีการใช้ชุดเกราะเหล็กกับตำรวจโปแลนด์
  • ในช่วงปี ค.ศ. 1920-1930 ได้มีการพัฒนาชุดเกราะเหล็กหลายประเภทสำหรับทหารของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น และถูกนำมาใช้ในระหว่างการสู้รบในประเทศจีน

วรรณกรรม[แก้]

  • Bashford Dean: Helmets and Body Armor in Modern Warfare, Verlag READ BOOKS, 2008, S. 162–163, ISBN 978-1-4437-7524-3

ดูสิ่งนี้ด้วย[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Bull, Stephen (2002). World War I trench warfare (2), 1916-18. Adam Hook. Oxford: Osprey. ISBN 1-84176-198-2. OCLC 809755868.