ผู้ใช้:Gift.V/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระเทียมดำ[แก้]

           กระเทียม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allium sativum L. จัดอยู่ในวงศ์ Alliaceae เป็นหนึ่งในพืชสมุนไพรที่ใช้ป้องกันรักษาปัญหาสุขภาพได้หลากหลาย ทั้งจากการบริโภคซึ่งมีผลช่วยในด้านภูมิคุ้มกัน การไหลเวียนของเส้นเลือด

กระเทียมดำ (Black Garlic หรือ Aged garlic) เกิดจากการนำกระเทียมสด (Allium sativum L.) ไปผ่านกระบวนการให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 60-90 องศาเซลเซียส ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%  จนได้กระเทียมที่มีลักษณะเป็นสีดำ และทำการบ่มต่อเป็นระยะเวลานานถึง 30-90 วัน จนได้ผลิตภัณฑ์กระเทียมดำ ที่ไม่มีกลิ่นฉุน รสชาติไม่เผ็ดร้อน และปริมาณสาระสำคัญเพิ่มขึ้นจากกระเทียมสดหลายเท่า

สาระสำคัญ[แก้]

สารสำคัญในกระเทียมดำเมื่อเปรียบเทียบกับกระเทียมสด (Kimura et al., 2017)

สารองค์ประกอบ กระเทียมสด กระเทียมดำ
พลังงาน (Kcal/100g) 138 227.1
โปรตีน 8.4  % 9.1  %
ไขมัน 0.1  % 0.3  %
คาร์โบไฮเดรต 28.7  % 47.0  %
S-allylcysteine (SAC) 23.7 µg/g 193.3 µg/g
สารกลุ่มฟาโวนอยด์ 3.22 rutin equivalent/g เพิ่มขึ้น 4.77 เท่า
สารกลุ่มโพลีฟีนอล 13.91 mg gallic acid equivalent/g เพิ่มขึ้น 4.19 เท่า

สารสำคัญในตัวกระเทียมดำ (หลักๆ)[แก้]

- S-allylcysteine (SAC) มีคุณสมบัติในการลดคลอเรสเตอรอล ทำให้เลือดมีความหนืดน้อยลง ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว การเกิดโรคหัวใจ โดยงานวิจัยออกมาว่าการรับประทานกระเทียมดำ ช่วยลดคอเรสเตอรอลที่ไม่ดีต่อ ร่างกาย และช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

- โพลีฟีนอล (Polyphenol) มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยในการชะลอวัย

- ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) เป็นสารในกลุ่มสารประกอบโพลีฟีนอล (Polyphenols) ที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง เล็บ ผม รวมถึงช่วยเรื่องความเต่งตึงให้แก่ผิวพรรณ

ประโยชน์[แก้]

- มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ที่ร่างกายดูดซึมได้ง่ายและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดอุดตัน ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด

- ช่วยปรับสมดุลของครอเรสเตอรอล กระตุ้นการเผาผลาญอาหารต่างๆ

- ควบคุมระดับความดัน

- ช่วยลดความหนืดของเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน

- ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

- ฟื้นฟูความเมื่อยล้า ลดอาการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร

รสชาติของกระเทียมดำ[แก้]

ผลิตภัณฑ์กระเทียมดำ เนื้อสัมผัสนุ่มหนึบคล้ายลูกพรุน รสชาติรสหวาน ทานง่ายไม่มีรสชาติเผ็ด และกลิ่นฉุน ไม่ทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร

วิธีรับประทานกระเทียมดำ[แก้]

           - สามารถทานเป็นของทานเล่นหรือนำไปประกอบอาหารได้          

           - ทานช่วงเช้าหรือตอนท้องว่าง (1 ครั้งต่อวัน )

           - ทานครั้งละ 1 หัวต่อวัน

** คำเตือน ไม่แนะนำบริโภคในผู้ที่ทานยาละลายลิ่มเลือด เนื่องจากกระเทียมดำมีฤทธิ์เสริมยา และผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดให้หยุดรับประทานและปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด**

กระเทียมดำในประเทศไทย[แก้]

B-Garlic กระเทียมดำ ถือเป็นกระเทียมดำแบรนด์แรกในประเทศไทยเลยที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตและได้เครื่องหมาย อย. จาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เนื่องจากที่ทราบกันดีว่ากระเทียมดำถือเป็น Novel Food ( อาหารใหม่ ) ในประเทศไทย ยังไม่มีใครเคยผลิต และไม่มีในสารบบ ทำให้ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ต้องมั่นใจก่อนว่ากระบวนการผลิต และสารในตัวกระเทียมดำจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภค โดยทาง B-Garlic กระเทียมดำ ได้ทำงานวิจัยร่วมกับทาง สวทช. คณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะเกษตรศาสต์ เพื่อวิจัยเกี่ยวกับกระเทียมดำ ในเรื่องของ พิษเฉียบพลัน และพิษเรื้อรัง เพื่อให้มั่นใจว่ากระเทียมดำ ที่ผลิตจากกรรมวิธีการผลิตของโรงงาน B-Garlic ปลอดภัย ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคอย่างแน่นอน

ในระยะเวลาการทำงานวิจัยร่วม 2 ปี และทำการผลิตและจำหน่ายมายาวนานมากกว่า 4 ปี ทำให้ B-Garlic เรามั่นใจในทุก ๆ ขั้นตอนการผลิตของเราว่า สะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐาน เราควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบ (กระเทียมโทนสด) ให้ได้มาตรฐาน GAP ( Good Agricultural Practice ) ก่อนนำเข้ามาสู่โรงงานผลิตกระเทียมดำ มีการตรวจสารตกค้างตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ทำให้มั่นใจเลยว่า B-Garlic ปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน

มาตรฐานการผลิตของกระเทียมดำ B-Garlic

- HACCP - Halal

- GMP - USFDA

- ThaiFDA - GAP (ของวัตถุดิบ)

การนำกระเทียมดำไปใช้ในเมนูอาหาร[แก้]

นอกจากกระเทียมดำ จะนิยมบริโภคเป็นหัวแล้ว ยังมีการนำไปประกอบอาหารทั้ง อาหารเอเชีย อาหารตะวันตก และอาหารทานเล่น โดยนำไปเป็นโจทย์วัตถุดิบในรายการแข่งขันทำอาหารชั้นนำหลายรายการ มีเชฟที่มีชื่อเสียงนำไปประกอบอาหารในร้านอาหารมากมาย

สปาเก็ตตี้แอนโชวี่กระเทียมดำ[แก้]

ส่วนผสมและวัตถุดิบ

- สปาเกตี้ - กระเทียมดำ

- แอนโชวี่ - หัวหอมสับ

- กระเทียมสับ - มะเขือเทศหั่นเต๋า

- ใบโหระพาอิตาเลี่ยน - พริกไทย

วิธีทำ

- ลวกเส้นสปาเกตี้ให้สุกพอดี ตักขึ้นพักไว้

- ผัดกระเทียมดำ หอมใหญ่ และกระเทียม ด้วยไฟอ่อนจนนิ่ม จากนั้นใส่ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันแล้วผัดจนสุกเสิร์ฟพร้อมพาเมซานชีสและกระเทียมดำ

"Grill Salmon Served With Salad Feta Chese"[แก้]

ส่วนผสมและวัตถุดิบ

- เนื้อปลาแซลมอล  - กระเทียมดำ

- มะเขือเทศ            - เฟสต้าซีส

- ผักสลัด

ซอสเทอริยากิกระเทียมดำ

- กระเทียมดำ    - ซีอิ้ว

- น้ำซุปปลา       - มิริน

- สาเก              - น้ำตาล

วิธีทำ

ย่างแซลมอลบนกระทะจนสุก แล้วพักไว้

ทำซอส : สับกระเทียมดำให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำส่วนประกอบที่จะทำซอส ไปเคี่ยวจนซอสข้นเป็นอันเสร็จเรียบร้อย

น้ำผักและแซลมอลจัดใส่จาน นำซอสราดลงบนเนื้อแซลมอลเป็นอันเสร็จเรียบร้อย

โอยาโกะด้ง ตำรับ B-Garlic[แก้]

ส่วนผสมและวัตถุดิบ

- เนื้อน่องไก่ - กระเทียมดำ B-Garlic

- หอมหัวใหญ่ - ต้นหอมญี่ปุ่น

- ซุปเต้าเจี้ยว - ไข่ไก่

- น้ำซุปปลาโอ - มิริน

- ซอสถั่วเหลือง - ข้าวสวย

วิธีทำ

- นำเนื้อน่องไก่ที่แล่แล้วไปผัดด้วยไฟกลาง

- เตรียมใส่ข้าวสวยลงไปในถ้วย

- ผสมไข่ไก่ กระเทียมดำ B-Garlic หั่น น้ำซุปปลาโอ มิริน และซอสถั่วเหลืองเข้าด้วยกัน

- ผัดหัวหอมใหญ่กับต้อนหอมญี่ปุ่นเข้าด้วยกัน ปรับความร้อนให้เป็นไฟอ่อนแล้วใส่ส่วนผสมของไข่ที่เตรียมไว้ลงไป

- นำส่วนผสมวางลงบนข้าวเป็นชั้นๆ ด้านล่างสุดคือข้าวสวย ถัดมาคือเนื้อไก่ และส่วนผสมของไข่  นำไปเข้าเตาอบที่ 180°C เป็นเวลา 10 นาที

- พร้อมเสริฟ อิ่มอร่อยและได้สุขภาพดีไปกับกระเทียมดำ B-Garlic

งานวิจัย และบทความ[แก้]

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน " กระเทียมดำ (Black Garlic) " ของ ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มหัศจรรย์กระเทียมดำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Black garlic: A critical review of its production, bioactivity, and application ข้อมูลทั่วไปของกระเทียมดำ : วิธีการผลิต ข้อมูลทางชีวภาพ และการนำไปใช้

Composition analysis and antioxidant properties of black garlic extract องค์ประกอบและคุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระในกระเทียมดำ

Antioxidant effect of garlic and aged black garlic in animal model of type 2 diabetes mellitus ผลของสารต้านอนุมูลอิสระของกระเทียมดำในหนูที่มีภาวะเบาหวาน

อัลบั้ม[แก้]