ผู้ใช้:Gae Sudarat/กระบะทราย
นี่คือหน้าทดลองเขียนของ Gae Sudarat หน้าทดลองเขียนเป็นหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้มีไว้ทดลองเขียนหรือไว้พัฒนาหน้าต่าง ๆ แต่นี่ไม่ใช่หน้าบทความสารานุกรม ทดลองเขียนได้ที่นี่ หน้าทดลองเขียนอื่น ๆ: หน้าทดลองเขียนหลัก |
PROFILE
[แก้]
ชื่อ :นางสาวสุดารัตน์ พิมพ์ศร
ชื่อเล่น : เก๋
ที่อยู่ : 226/1ข. ถ.เมืองเก่า ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ 36000
ประวัติการศึกษา – ปัจจุบัน
ระดับชั้น | สถานศึกษา |
---|---|
อนุบาลและประถมศึกษา | รร.เทศบาล 2 (เมืองเก่าวิทยา) |
มัธยมศึกษาตอนต้น | โรงเรียนสตรีชัยภูมิ |
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ | วิทยาลัยเทคโนโลยีชัยภูมิบริหารธุรกิจ (C-BAC) |
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์กลางนครราชสีมา
คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ |
ปริญญาตรี | กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์กลางนครราชสีมา
คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชา ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ |
ตำแหน่งงานด้านไอทีที่สนใจ
[แก้]
ออกแบบระบบ (System Analyst)
เหตุผลเพราะ มีความสนใจในการออกแบบระบบให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน
บทความด้านไอที
[แก้]อันตรายจากการใช้ Copy+Paste
[แก้]บางท่านที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านเว็บบราวเซอร์ของ IE อาจไม่รุ้ถึงอันตรายจากการใช้ Copy+Paste ดังนั้นเรามาระวังไว้ไม่เสียหลายนะครับ
ท่านทั้งหลายส่วนมากคงเคยชิดกับการใช้คีย์ลัดบนแป้นคีย์บอร์ดของเราเป็นส่วนหนึ่งที่ ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการทำงานต่างๆของเราได้มาก แต่ในบางกรณี ความสะดวกสบายเหล่านี้กลับต้องแลกมาด้วยความไม่ปลอดภัยมาด้วยนะครับ
ขอแนะนำว่า อย่าใช้การ Copy & Paste กับข้อมูลที่มีความสำคัญ เช่น หมายเลขบัตรเครดิต รหัสผ่านต่าง ๆ etc. เพราะการใช้ Ctrl+C หรือ Copy จะมีการเก็บค่าไว้ใน Clipboard ของ Windows ซึ่งสามารถถูกอ่านผ่าน Web site ได้ด้วย Javascript + ASP ซึ่งโค๊ดพวกนี้มีแจกกันให้เกลือนพูดง่าย ๆ คือ ไม่ต้องมีความรู้ด้านโปรแกรม ก็เอาข้อมูลเราไปได้แล้วแค่รู้ขั้นตอนการใช้งานก็พอ
ซึ่งนี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่โดนแฮ็คข้อมูลต่าง กัน ไปนะครับ
ลอง copy text อะไรก็ได้บนเครื่องแล้วเปิด URL ต่อไปนี้ดู http://www.friendlycanadian.com/applications/clipboard.htm
หากเว็บนี้แสดงข้อความบนคลิปบอร์ดที่เราก๊อปปี้ไว้ แสดงว่าคุณยังไม่ได้ป้องกันครับ มันเป็นสคริปทดสอบนะครับ
มาทดสอบแิิอนตี้ไวรัสของเรากันว่ามันยังใช้ได้เป็นปกติหรือไม่
[แก้]เป็นปกติอยู่ที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ จะมีโปรแกรม Anti-Virus ติดตั้งประจำเครื่องอยู่ แต่ละเครื่องก็่จะมีโปรแกรม Anti-Virus ของตน แต่เราจะแน่ใจหรือไม่ว่า Anti-Virus ที่ใช้อยู่ทำงานอย่างเป็นปกติ หรือยังใช้ได้อยู่หรือไม่ วันนี้จะมาแนะนำ วิธีการทดสอบ Anti-Virus ที่ท่านทั้งหลายใช้อยู่ว่าจะตรวจจับไวรัสได้ดีหรือไม่ วิธีการง่ายๆ ดังนี้ วิธีการตรวจสอบ Anti virus ในเครื่องของคุณว่าดีแค่ไหน ? 1. เปิดโปรแกรม notpad ขี้นมาเพื่อพิมพ์โค๊ดตรวจสอบลงไป 2. Copy โค้ดด้านล่างไปใส่ใน Notepad 3. Save เป็นชื่อ virus.com 4. แล้วลองรันดู (เปิดไฟล์ที่เราได้บันทึกไว้ขึ้นมา) ถ้าเกิดว่า anti virus ตัวนั้นดีจริงก็จะมีการส่งสัญญานเตือนเราหรือลบทิ้งไปโดยอัตโนมัติแต่ถ้าตัวไหน ที่ขนาด scan แล้วก็ยังไม่เจออันนี้ก็ต้องพิจารณากันหน่อย ว่าควรจะหาแอนตี้ไวรัสตัวอื่น ๆ มาใช้แทนหรือทำหารซ่อมแซมให้มันกลับมาใช้ได้ดังเดิม ไฟล์ที่เราสร้างนั้นก็คือ virus แต่ว่าไวรัสตัวนี้เป็น virus test ไม่มีอันตรายต่อระบบ computer ใดๆทั้งสิ้นสบายใจในจุดนี้ได้ หวังว่าคงมีประโยชน์นะครับ แต่อย่าเอาไปแกล้งเพื่อนละกัน
LAN Technology
[แก้]เครือข่ายแบบบัส (bus topology)
[แก้]
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก
- ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มี
- ข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
ข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของสัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้
เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology)
[แก้]
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันก็จะส่งผ่านไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่
- ข้อดีของเครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
- ข้อเสียการตรวจหาข้อผิดพลาดของระบบทำได้ยาก ในกรณีที่สายส่งข้อมูลเกิดเสียหายจะทำให้ระบบ ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้
- ข้อจำกัด ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย อาจทำให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้
เครือข่ายคอมแบบดาว(Star Network)
[แก้]
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
- ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ
- ข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
- ข้อจำกัด ถ้าฮับเสียหายจะทำให้ทั้งระบบต้องหยุดซะงัก และมีความสิ้นเปลืองสายสัญญาณมากกว่าแบบอื่นๆ
เครือข่ายแบบเมซ (Mesh Topology)
[แก้]
โทโปโลยีเมซคือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบสมบูรณ์ กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะเชื่อมต่อถึงกันหมดโดยใช้สายสัญญาณทุกการเชื่อต่อ วิธีการนี้จะเป็นการสำรองเส้นทางเดินทางข้อมูลได้เป็นอย่างดี เช่น ถ้าสายสัญญาณเส้นใดเส้นหนึ่งขาด ก็ยังมีเส้นทางอื่นที่สามารถส่งข้อมูลได้ นอกจากนี้ยังเป็นระบบที่มีความเชื่อถือได้สูง แต่ข้อเสียก็คือ เครือข่ายแบบนี้จะใช้สัญญาณมาก ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบก็เพิ่มขึ้น ในการเชื่อมต่อจริงๆ นั้นการเชื่อมต่อแบบเมซนั้นมีการใช้งานน้อยมาก
- ข้อดี ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสมารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ
- ข้อเสีย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่น ๆ ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย
WAN Technology
[แก้]เครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit–Switching Network)
[แก้]
การทำงานของ Circuit Switch เป็นเทคนิคที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลแบบหนึ่งโดยที่เมื่อต้องการส่งข้อมูลจะต้องสร้างเส้นทางเสียก่อน และฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบกลับมาก่อนว่าพร้อมที่จะรับข้อมูลแล้วจึงจะเริ่มรับส่งข้อมูลได้ และเมื่อสร้างเส้นทางในการรับส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอดและคนอื่นไม่สามารถใช้เส้นทางนี้ได้ และจากรูปจะเห็นว่าในระหว่างเส้นทางของการสื่อสารแบบ Circuit Switch จะมีการเชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรแบบจุดต่อจุด และเมื่อรับส่งข้อมูลเสร็จจะต้องยกเลิกเส้นทางที่ใช้สื่อสาร เพื่อให้ผู้ใช้อื่นสามารถใช้เส้นทางในการสื่อสารได้ ค่าใช้จ่ายของการสื่อสารแบบ Circuit Switch จึงขึ้นอยู่กับระยะทาง และระยะเวลาที่ใช้เครือข่าย แต่จะไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูล ตัวอย่างเครือข่ายที่ทำงานแบบ Circuit Switch เช่นเครือข่ายของโทรศัพท์เป็นต้น
- ข้อดีของ Circuit Switch คือความเร็วในการส่งข้อมูลที่คงที่ มี Delay น้อย ซึ่ง Delay ที่เกิดขึ้นมีเพียง Propagation Delay คือเวลาที่ข้อมูลวิ่งอยู่ในสายสัญญาณ และ Delay ที่ Node ถึงถือว่าน้อยมาก เพราะที่ Node มีการเชื่อมต่อกันแบบ Point-to-Point และถึงแม้จะมีผู้ใช้งานในระบบมากความเร็วในการส่งข้อมูลก็ไม่ลดลง
- ข้อเสียของ Circuit Switch คือ ต้องมีการเชื่อมต่อกันทุกๆจุดที่มีการติดต่อกัน ทำให้เสียเวลาบางส่วนในการติดต่อแต่ละครั้ง ซึ่งถ้าระหว่างเส้นทางมีจุดใดจุดหนึ่งหยุดทำงาน จะไม่สามารถหาเส้นทางที่จะทำงานต่อได้ และถ้ามีผู้ใช้งานพร้อมๆกัน มักจะทำให้เครือข่ายไม่ว่างได้
เครือข่ายแบบแพ็กเกตสวิตชิง (packet switching technology)
[แก้]
เป็นวิทยาการใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง แพ็กเกตสวิตชิงเป็นเทคนิคในการหาเส้นทางให้กับแต่ละ แพ็กเกต (packet) ที่มีจุดหมายปลายทางต่างกัน ปลายทาง คือ DTE ( Data Terminal Equipment ) อุปกรณ์ที่ช่วยถ่ายทอดข่าวสารคือ DCE ( Data Communication Equipment )
แพ็กเกตสวิตชิงใช้หลักการ Store & Forword การรับส่งข้อมูลจะเรียกหน่วยย่อยว่า "แพ็กเกต(Packet)" โดยจะทำงานแบบไม่ต้องรอให้ ข้อมูล (message) ครบทั้งหมดก่อนค่อยส่งข้อมูลออกไป ทั่วไปแล้ว แต่ละ Packet จะมีความยาวประมาณ 64 Byte (512 bits) ต่อหนึ่ง Packet ซึ่งเป็นข้อดีเพราะว่าแต่ละ Packet มีขนาดเล็ก ทำให้ชุมสายใช้เวลาน้อยในการส่งแต่ละ Packet ส่งผลให้การ รับ-ส่ง Packet เป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากเหมาะกับการทำงาน On-Line ตลอดเวลาหรือ interactive ตลอดเวลาแต่ละ packet จะมีโครงสร้างง่ายๆ ประกอบไปด้วยส่วนที่ถูกเพิ่มเติม(Packer Overhead) และส่วนที่เป็นข้อมูลของผู้ใช้งาน (User Date) ส่วน Packer Overhead ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับ Address (ฝั่งปลายทาง)ซึ่งแต่ละ node หรือแต่ละชุมสายที่ใช้งานรับส่งข้อมูลจำเป็นจะต้องใช้ ข้อมูลนี้ตลอดการรับส่ง
Layer ของ การทำงานของ packet switching ทำหน้าที่จัดหาเส้นทาง จากเส้นทาง(ต้นทาง) ไปยังเส้นทาง(ปลายทาง) Packet Switching สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่อง ATM (Asynchronous Transfer Mode) และสามารถนำไปใช้กับ โทรศัพท์มือถือได้ด้วยบริการที่เรียกว่า GPRS สำหรับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย Packet Switching ข้อมูลจะถูกส่งออกไปทีละ packet เรียง ลำดับตามกันถ้ามีข้อผิดพลาดใน packet ขึ้นทำให้การส่งข้อมูลในเครือข่าย Packet Switching สามารถ ทำงาน ได้เร็วมากจนดูเหมือนกับไม่มีการเก็บกักข้อมูลเลยสวิตชิ่งนั้นก็จะทำการร้องขอให้สวิตชิ่ง ก่อนหน้านั้นส่งเฉพาะ packet ที่มีความผิดพลาดนั้นมาให้ใหม่ และไม่จำเป็นจะต้องรอให้ผู้ส่งทำ การส่งข้อมูลมาให้ครบทุก packet แล้วจึงค่อยส่งข้อมูลไป Packet Switching นั้นมีประสิทธิภาพมากในการสื่อสาร การสื่อสารแบบเป็น Packet Switching มีประสิทธิภาพสูงทั้งในด้านกระบวนการทำงาน และการติดต่อระหว่างเครื่อง Server ทั้งสองเครื่องPacket Switching technology นี้ข้อมูลทั้งหมดจะถูกแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ เรียกว่า packet แล้วทำการเพิ่มส่วนรายละเอียดที่จะบอกถึงลำดับของส่วนย่อยและ ผู้รับปลายทาง แล้วส่งไปยังทุกๆเส้นทางโดยกระจัดกระจายแยกกันไปโดย จะมีอุปกรณ์ที่แยกและตรวจสอบว่าสายที่จะส่งไปนั้นว่างถ้าว่างจึงส่งไป เมื่อส่วนย่อยของสารข้อมูลทั้งหมดมาถึงปลายทางฝั่งผู้รับก็จะนำมารวมกันเป็นข่าวสารชิ้นเดียวกันการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย Packet Switching ข้อมูลจะถูกส่งออกไปทีละส่วนย่อยเรียงตามลำดับ ภายในการส่งข้อมูลในเครือข่าย Packet Switching สามารถทำงานได้รวดเร็วมากจนเหมือนกับไม่มีการเก็บข้อมูลเลย ถ้าเกิดผิดพลาดจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ Layer ที่สูงกว่าจัดการให้ และจะไม่รอให้ผู้ส่งทำการส่งข้อมูลให้ครบทุกส่วนย่อยก่อนค่อยส่งข้อมูลไป
เทคโนโลยีของ Packet Switching Time Domain Multiplexing ระบบ TDM เป็นการมัลติเพล็กซ์ที่แต่ละช่องสัญญาณมีแบนด์วิดธ์แบบคงที่ (Fixed Bandwidth) ซึ่งจะใช้ งานได้ดีมากสำหรับการรับส่งที่ต้องการอัตราบิตที่ต่อเนื่อง (Continous Bit Rate : CBR) เช่น traditional voice and video แต่ถ้าจะใช้งานกับข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีการจราจร(traffic) เป็นแบบ bursts traffic (ทราฟฟิกที่มีขนาดไม่คงที่คืออาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขนาดอย่างฉับพลัน)
- ข้อดีของ Packet Switching
-รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง และใช้เวลาในการ ส่งข้อมูลน้อยเหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันเช่น WAN -มีความผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลน้อยมากๆ -สามารถลดประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กลง และสามารถกระจายศูนย์ กลาง ประมวลผลได้ -สามารถรองรับการเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่องค์กรใช้งาน เช่น ICP/IP -ควบคุมค่าใช้จ่ายได้คงที่แน่นอน -รับประกันความรวดเร็วในการส่งข้อมูล (Committed Information Rate ; CIR)
- ข้อเสียของ Packet Switching
-delay time ที่มากขึ้นเมื่อมีผู้ใช้งานมากขึ้น (กรณีที่ traffic ที่ผ่านเครือข่ายสูง) ซึ่ง -สามารถแก้ไข ได้โดยกการ เพิ่มจำนวนวงจรเชื่อมโยงระหว่างชุมสาย (หมายถึงวงจร -จริงที่จับต้องได้คือเป็น physical circuit )ให้ มากขึ้นใน -กรณีที่มี traffic ผ่านมากๆ หรือเพิ่ม capacity ของชุมสายให้สามารถรองรับปริมาณ traffic สูงๆ ได้ หรืออาจใช้การปรับเปลี่ยน parameter ต่างๆใน routing algorithm ในแต่ละชุมสายให้เหมาะสมกับปริมาณ traffic ซึ่งจะเป็นการกระจาย traffic ไปผ่านชุมสายต่างๆแทนที่จะไปผ่าน ชุมสาย ใดชุมสายหนึ่งโดยเฉพาะซึ่ง -อาจจะทำให้เกิดสภาวะคอขวด (bottle neck) หรือเกิดการ congestion ขึ้นภายในเครือข่ายได้
เครือข่ายแบบเมสเซจสวิตชิง (Message Switching)
[แก้]เป็นระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความชาญฉลาดมากขึ้น การทำงานในระบบผู้ส่งจะส่ง Message ไปยัง node แรก เมื่อ node แรกได้รับข้อมูลจะเก็บข้อมูล(ไว้ใน Buffer) และติดต่อไปยัง node ต่อไป เมื่อหาเส้นทางไปยัง node ต่อไปได้แล้ว ก็จะทำการส่งข้อมูลที่เก็บไว้ใน Buffer ออกไปยัง node นั้น และไปจนกว่าจะถึงปลายทางเรียกว่า Stort และ Forward
ข้อดี:ระบบ Message Switching การใช้สายมีประสิทธิภาพมากขึ้น การติดต่อระหว่างผู้เรียกกับผู้ถูกเรียกมีการรับประกันเรื่องความถูกต้อง
ข้อเสีย:มีการหน่วยเวลา (Delay) ระหว่างผู้เรียกกับผู้ถูกเรียกไม่เหมาะกับงานที่โต้ตอบทันทีเพราะมีการหน่วงเวลาสูงการส่งข้อมูลมีขนาดใหญ่ ทำให้มีการใช้ช่องสัญญาณเป็นเวลานาน
รูปที่ 3 เมสเสจสวิตชิงมีการจับจองหนึ่งเส้นทางเพื่อถือครองในช่วงเวลาหนึ่ง
ขั้นตอนแรก S ได้มีการส่งผ่านเส้นทางไปยัง a จากนั้น a ก็จะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเส้นทาง จาก S ไปยัง a นั้นจะถูกปลดออก ทำให้ผู้อื่นสามารใช้เส้นทางได้ จากนั้น a ก็จะส่งเมสเสจนั้นไปยัง c และทำเช่นนี้เรื่อยไปจนกระทั่งถึงปลายทาง T ซึ่งเป็นการถือครองเส้นทางในการส่งข่าวสารในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น
OSI model + TCP/IP model
[แก้]TCP/IP Model | OSI Model |
---|---|
Application | Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.) |
Presentation | Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.) |
Session | Application (FTP,SMTP,HTTP,etc.) |
Transport | TCP (host-to-host) |
Network | IP |
Data Link | Network acess (usually Ethernet) |
Physical | Network acess (usually Ethernet) |
OSI Model
[แก้]คือ องค์ประกอบ ที่สามารถพัฒนาขึ้นมาเพียงชั้นเดียวจากจำนวน 7 ชั้นแล้วนำไปใช้งานร่วมกับชั้นอื่นที่มีการพัฒนาไว้แล้วโดยหลักการแต่ละชั้นจะติดต่อกับชั้น
ในระดับเดียวกันที่อยู่บนเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง
Open Systems Interconnection (OSI)
จัดตั้งและกำหนดโดย องค์การกำหนดมาตรฐานสากล หรือ ISO ( International Standards Organization ) เริ่มนำมาใช้งานราว ๆ กลางปี ค.ศ. 1970 และใช้อ้างอิงมาจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมาย
เพื่อเปิดช่องทางให้ข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ รับส่งไปยังคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบเดียวกันหรือต่างระบบได้โดยอิสระ ไม่ขึ้นกับผู้ผลิตสร้างการทำงานที่เป็นระบบเปิด (Open System)
แนวคิดของการกำหนดมาตรฐานเป็นแบบชั้นสื่อสาร (layers) คือ
1.ชั้นสื่อสารแต่ละชั้นถูกกำหนดขึ้นมาตามบทบาที่แตกต่างกัน
2.แต่ละชั้นสื่อสารจะต้องทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างดียิ่ง
3.แต่ละฟังก์ชั่นในชั้นสื่อสารใดๆจะต้องกำหนดขึ้นมาโดยใช้แนวความคิดใน ระดับสากลเป็นวัตถุประสงค์หลัก
TCP/IP
[แก้]TCP/IP Model มีแนวคิดพื้นฐานแตกต่างจาก OSI Model คือไม่ได้มีพื้นฐานของการสื่อสารแบบการสนทนา TCP/IP Model เป็นภาพแสดงถึงโลกของระบบเครื่อข่ายสากล (Internetworking)
จะพบว่ามีบางเลเยอร์ที่มีการกำหนดคุณสมบัติที่เทียบได้ไกล้เคียงกัน แต่บางเลเยอร์ก็ไม่สามารถเทียบหาความสัมพันธ์กัน
1. Process Layer จะเป็น Application Protocal ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ
2. Host – to – Host Layer จะเป็น TCP ที่ทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 4 ของ OSI Model คือควบคุมการรับส่งข้อมูลจากปลายด้านส่งถึงปลายทางด้านรับข้อมูล
3. Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 3 ของ OSI Model คือเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป
4. Network Interface เป็นส่วนที่ควบคุมฮาร์ดแวร์การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย เปรียบได้กับชั้นที่ 1 และ2 ของ OSI Model
https://www.facebook.com/gae.BusCom18
อ้างอิง
[แก้]
1.http://www.superict.com/component/viewrecord.php?id=654§ion_id=1&catagory_id=1