ผู้ใช้:Franknakkinpak/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

องค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

     โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามพระราชบัญญัติองค์การบริส่วนจังหวัด(ฉบับที่3)พ.ศ.2546 ประกอบด้วยสภาบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด[1]  กล่าวคือโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นโครงสร้างการบริหารแบบสภา-นายกเทศมนตรีโดยมีสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร

2.1 โครงสร้างสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

                   สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นพ.ศ.2545 โดยในมาตรา 13 (2) ของกฎหมายฉบับดังกล่าวกำหนดให้ถือเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง ในกรณีที่อำเภอใดมีสมาชิกได้เกินกว่าหนึ่งคน ให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้งเท่ากับจำนวนที่จะพึงมีในอำเภอนั้น[2]  กล่าวโดยสรุปก็คือระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นแบบเขตละคนหรือเขตเดียวเบอร์เดียว โดยจำนวนของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในจังหวัดนั้น ๆ

อำนาจหน้าที่ของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

1) อำนาจในการเลือกประธานสภาและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) อำนาจในการตั้งกระทู้ถามนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือรองนายกองค์การบริหารส่วนในเรื่องเกี่วกับหน้าที่ 3) อำนาจในการเสนอข้อสอบถามต่อประธานสภาเพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมาชี้แจงข้อเท็จจริงใด ๆ อันเกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนภูมิภาคได้ 4) อำนาจในการเลือกสมาชิกสภาเป็นกรรมการสามัญ แล้วรายงานต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด 5) อำนาจในการตั้งคณะกรรมการสามัญประจำสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด 6) อำนาจในการเสนอร่างข้อบัญญัติ 7) อำนาจในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติ

2.2 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

ในมาตรา 13 ของพรบ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่3 ) พ.ศ.2546 กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดคนหนึ่งซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยในมาตรา 16 แห่งพรบ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545[3] กำหนดให้เขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นให้ใช้เขตขององค์กรปกครองท้องถิ่นนั้นเป็นเขตเลือกตั้ง ดังนั้นในกรณีของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงเป็นผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นที่มากจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งจังหวัด

      นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่วันเลือกตั้งและมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปีนับตั้งแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเมื่อถึงคราวออกตามวาระ ตาย ลาออก ขาดคุณสมบัติ รัฐมนตรีสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง ถูกจำคุกโดยพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และราษฎรลงคะแนนให้ออก

2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

                 ความสัมพันธ์ของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามกฎหมายองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 เป็นความสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบรัฐสภาเป็นระบบอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารไม่ได้แยกจากกันอย่างเด็ดขาด ฝ่ายบริหารมีที่มาจากมติของของสภาต้องอาศัยเสียงข้างมากในสภาในการผลักดันเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะการผ่านร่างข้อบัญญัติรายจ่ายงบประมาณประจำปี ถ้าหากฝ่ายบริหารไม่มีเสียงสนับสนุนข้างมากจากสภา จะทำให้ร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีตกไปหรือที่นิยมเรียกกันว่า “สภาคว่ำร่างงบประมาณ” จะส่งผลให้หัวหน้าฝ่ายบริหารต้องพ้นจากตำแหน่ง

2.4 การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

                   ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ต้องการให้มีการปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคคลของท้องถิ่นซึ่งแต่เดิมแยกจากกันเด็ดขาดอยู่ภาใต้การดูแลของ ก.ท. ก.ก. ก.จ. ก.สภ. แล้วแต่กรณี ก.ถ. เป็นจุดศูนย์กลางที่จะมากำกับดูแลการบริหารงานบุคคลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบโดย ก.ถ.นี้ จะเป็นระบบกรรมการ "ไตรภาคี" ที่ประกอบด้วยคนของรัฐบาลคนของท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกลางจำนวนฝ่ายละเท่ากัน[4]
                   สำหรับการบริหารงานบุคคลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น ก็ได้มีการปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคคลใหม่ให้เป็นระบบกรรมการไตรภาคีเช่นเดียวกับ ก.ถ. โดยพรบ. ระเบียบงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้ในระดับจังหวัดนั้น องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีคณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นของตนเองร่วมกัน เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงานส่วนท้องถิ่นของตนเองโดยตรง สำหรับรายบะเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นในองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามพรบ. ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มีดังนี้ 

2.4.1 คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.)[แก้]

ประกอบด้วยกรรมการที่มาจากบุคคล 3 ฝ่าย คือ[5]

 1) กรรมการโดยตำแหน่งจำนวน 6 คน
 2) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน
 3) กรรมการจากผู้แทนคณะกรรมการกลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 5 รูปแบบ[6]   จำนวน 5 คน

2.4.2 คณะกรรมการกลางองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ก.จ.)[แก้]

มีกรรมการรวมทั้งสิ้น 18 คน ประกอบด้วย 1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง เป็นประธาน 2) ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลางและอธิบดีกรมการปกครอง 3) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 6 คน โดยคัดเลือกจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวน 3 คน และปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวน 3 คน 4) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน

2.4.3 คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ก.จ.จ.)[แก้]

มีจำนวนกรรมการรวมทั้งสิ้น 12 คน ประกอบด้วย 1) ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน 2) หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด จำนวน 3 คน 3) ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวน 4 คน ได้แก่ - นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด - สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดคัดเลือกจำนวน 1 คน - ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด - ผู้แทนข้าราชการอง๕การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งคัดเลือกกันเอง จำนวน 1 คน 4) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 คน

    คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ก.จ.จ.) มีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้[7] 

1) กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่มีความจำเป็นเฉพาะสำหรับข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้น 2) กำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่ง อัตราเงินเดือน และวิธีจ่ายเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น สำหรับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น 3) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง 4) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารและการปฎิบัติงานของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น 5) กำกับดูแล ตรวจสอบ แนะนำและชี้แจงส่งเสริมและพัฒนาความรู้แก่ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

อำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. องค์การบริหาารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2542 และ (ฉบับที่3) พ.ศ.2546[แก้]

            ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดไว้ในหมวด 4 มาตรา 45 ให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดดังต่อไปนี้ 

1) ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย 2) จัดทำตามแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด 3) สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น 4) ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น 5) แบ่งสรรเงิน ซึ่งตามกฎหมายซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น 6) อำนาจหน้าที่ของจังหวัด ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 เฉพาะภายในเขตสภาตำบล 7) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทวิ 7) และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น[8] 8) จัดทำกิจการใดๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการ หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 9) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติได้ บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่นกลาง หรือส่วนภูมิภาคอาจมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติได้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนด

    มาตรา 45/1 การปฏิบัติงานตามหน้าที่ใดซึ่งเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์วิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด[9]

อำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น[แก้]

           พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดไว้ในมาตรา 17 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้

1) จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด 2) การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น 3) การประสานให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น 4) การแบ่งสรรเงินซึ่งกฎหมายจะต้องแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น 5) การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาป่าไม้และสิ่งแวดล้อม 6) การจัดารศึกษา 7) การส่งการส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 8) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 9) การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม 10) การจัดตั้งและดูแลบำบัดน้ำเสีย 11) การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม 12) การกำจัดสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ 13) การจัดการดูแลสถานีขนส่งทางบกและทางน้ำ 14) การส่งเสริมการท่องเที่ยว 15) การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุนและการทำกิจการไม่ว่าดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ 16) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำ ที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองอื่น 17) การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง 18) การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒธรรมอันดีงามของท้องถิ่น 19) การจัดตั้งให้มีโรงพยาบาลประจำจังหวัด การรักษาพยาบาล 20) การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมาย 21) การขนส่งมวลชนและวิศวกรรมจราจร 22) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 23) การจัดให้มีการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในจังหวัด 24) จัดทำกิจการอันใดอันเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขต และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมดำเนินการ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด 25) สนับสนุนหรือช่วยเหลือหน่วยงานราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น 26) การให้บริการแกเอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ หรือองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น 27) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 28) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 29) กิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามคณะกรรมการประกาศกำหนด[10]

การกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

           การกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนจังหวัดมี 2 ลักษณะ คือ การกำกับดูแลการกระทำขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และการกำกับดูแลองค์กรและบุคคล[11]

การกำกับดูแลการกระทำขององค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

            องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีองค์กรและอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะแยกจากส่วนการ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในฐานะผู้บริหารส่วนจังหวัดในฐานะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด จึงเป็นผู้กระทำการในฐานะองค์กรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งการกระทำในฐานะดังกล่าวย่อมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรส่วนกลางตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การกำกับดูแลการกระทำขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจะกระทำใน 2 ลักษณะ คือ การกำกับดูแลภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดและการกำกับดูแลโดยองค์กรภายนอกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

การกำกับดูแลภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

             เป็นการกำกับดูแลผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยสภาองค์การบริส่วนจังหวัด ซึ่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 กำหนดมาตราต่างๆไว้ดังนี้ 

1) การตั้งกระทู้คำถาม[แก้]

              สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสิทธิตั้งกระทู้คำถามนายกองค์การองค์การบริหารส่วนจังหวัด

2) การให้ความเห็นชอบ[แก้]

(1) ร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (2) การออกข้อบัญญัติชั่วคราว (3) การยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากร (4) ให้เอกชนกระทำกิจการแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด (5) ให้ขยายเวลาประชุมสมัยวิสามัญ

การกำกับดูแลโดยองค์กรภายนอกองค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

             องค์กรส่วนกลางที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 กำหนดให้ใช้มาตรการกำกับดูแล 2 ลักษณะด้วยกัน คือ มาตรการทั่วไป และมาตรการด้านกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และประกาศ

1) มาตรการทั่วไป[แก้]

=== ก. การให้ความเห็นชอบ === เรื่องที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องได้รับความเห็นชอบจากส่วนกลางก่อนกระทำการ === ข. การอนุมัติ === คือ การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของเรื่องที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดตัดสินใจกระทำการ เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัเต้องรับการอนุมัติจากส่วนกลางก่อน ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดมี 2 ลักษณะ คือ ข้อบัญญัติทั่วไปและข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีและข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม === ค. การยับยั้งการกระทำ === ใช้ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระทำการที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือกระทำฝ่าฝืนกฎหมาย ทั้งนี้ ถือว่าคำสั่งของรัฐมนตรีเป็นที่สุด === ง. การสั่งเพิกถอนมติ === ใช้ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีมติซึ่งไม่ใช่ข้อบัญญัติจังหวัด แต่มตินั้นฝ่าฝืนกฎหมาย กฎ หรือระเบียบข้อบังคับทางราชการ หรือนอกกรอบอำนาจหน้าที่ขององคการบริหารส่วนจังหวัด === 2) มาตรการด้านกฎหมาย === ระเบียบข้อบังคับ และประกาศ === ก. มาตรการด้านฎีกา === เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ส่วนกลาง (คณะรัฐมนตรี) ตราพระราชฎีกา === ข. มาตรการด้านกฎกระทรวง === เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวง === 3) มาตรการด้านระเบียบ === เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ส่วนกลาง (กระทรวงมหาดไทย) ออกระเบียบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติ

การกำกับดูแลองค์กรและบุคคล[แก้]

             การกำกับดูแลองค์กรและบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นการกำกับดูแลความประพฤติและคุณสมบัติของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การกำกับดูแลภายในองค์กรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และการกำกับดูแลโดยองค์กรภายนอกองค์การบริหารส่วนจัหวัด

การกำกับดูแลภายในองค์กรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

              เป็นการกำกับดูแลกันเองภายในสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด 

การกำกับดูแลภายนอกองค์กรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

สำหรับมาตรการในการกำกับดูแลภายนอกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ === 1) การให้ออกหรือพ้นจากตำแหน่ง === สำหรับมาตรการนี้ มีวัตถุประสงค์และลักษณะของการกำกับดูแล === 2) การยุบสภาและการสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่ง === เป็นมาตรการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอคำแนะนำให้นายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยใช้อำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด === 3) การลงคะแนนเสียงถอดถอน === เป็นมาตรการกำกับดูแลโดยประชาชนภายในท้องถิ่น ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวได้ให้อำนาจแก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตอบจ.นั้นตามวิธีที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้กฎหมายยังให้อำนาจแก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตท้องถิ่นอื่นอีกด้วย

  1. มาตรา 9 ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2546
  2. มาตรา 13 (2) ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545
  3. มาตรา 16 ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545
  4. มาตรา 288 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540
  5. มาตรา 30 พระราชบัญญัติระเบียบงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ 2542
  6. ได้แก่ ผู้แทนจากคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบล ข้าราชการกรุงเทพมหานคร และพนักงานเมืองพัทยา
  7. มาตรา 13 14 และ 15 เรื่องเดียวกัน
  8. มาตรา 45 (ทวิ 7) เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546
  9. มาตรา 45/1 เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546
  10. มาตรา 17 ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
  11. สนิท จรอนันต์, ความเข้าใจเรื่องการปกครองท้องถิ่น, กรุงเทพ : สถาบันนโยบายศึกษา , 2543. น16-28.