ผู้ใช้:Doctorkitcha/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายแพทย์ กิจจา จำปาศรี อาจารย์แพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และเจ้าของช่องยูทูป DRK Channel

กิจจา จำปาศรี (เกิด 16 มิถุนายน พ.ศ. 2521) หรือรู้จักในสื่อสังคมออนไลน์ในชื่อ หมอเต้ กิจจา (อังกฤษ: doctorkitcha) เป็นแพทย์โรคหัวใจ วิทยากร พิธีกร อินฟลูเอนเซอร์ และเจ้าของช่องยูทูป DRK Channel ปัจจุบันเป็นอาจารย์แพทย์โรคหัวใจ กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

หมอเต้ กิจจา เริ่มเข้าสู่วงการ ด้วยการเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ประชาชน หน่วยงานราชการและเอกชน จนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง หลังจากนั้นได้รับโอกาสเข้าร่วมงานกับสถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุหลายแห่ง ได้แก่รายการคนสู้โรค ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (ThaiPBS) และรายการ Talk on Time ทางสถานีวิทยุรัฐสภา เป็นต้น

ประวัติ[แก้]

หมอเต้ กิจจา เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2521 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายของ พันตรีเกษมสันต์ จำปาศรี และ ร้อยเอกหญิงจุฑาทิพย์ จำปาศรี (นามสกุลเดิม: ทองศรี) มีน้องสาว 1 คน คือแพทย์หญิง นิดา จำปาศรี

การศึกษา[แก้]

หมอเต้ กิจจา เริ่มเรียนชั้นอนุบาลที่ โรงเรียนโรจนาวิทย์ มาลาเบี่ยง จังหวัดพิษณุโลก (ในปีการศึกษา 2525-2526) จบชั้นประถมศึกษาจาก โรงเรียนจ่าการบุญ จังหวัดพิษณุโลก (ปีการศึกษา 2527-2532) จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจาก โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม (ปีการศึกษา 2533-2535) และมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม (โครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในการเรียนมัธยมศึกษา หลักสูตร สพพ. 2 ปี, ปีการศึกษา 2536-2537)

หมอเต้ กิจจา สอบเอ็นทรานซ์ได้ที่ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2538 โดยในปีแรก เรียนที่คณะวิทยาศาสตร์เตรียมแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU55, SC30) จากนั้นได้รับบรรจุเข้ารับราชการทหารเป็นนักเรียนนายร้อยเหล่าแพทย์ (นักเรียนแพทย์ทหาร วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า รุ่นที่ 21, เทียบนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 36) โดยระหว่างเรียนแพทย์ หมอเต้ กิจจา ได้รับรางวัลดีเด่นหลายรางวัล ได้แก่

  • รางวัลผลการเรียนอันดับหนึ่ง นักเรียนแพทย์ทหาร ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ประจำปีการศึกษา 2540 (คะแนนเฉลี่ยทุกวิชา 4.00)
  • รางวัลคะแนนรวมสูงสุด วิชาเภสัชวิทยา นักเรียนแพทย์ทหาร ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ประจำปีการศึกษา 2540
  • รางวัลคะแนนรวมสูงสุด วิชาพยาธิวิทยา นักเรียนแพทย์ทหาร ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ประจำปีการศึกษา 2540
  • รางวัลคะแนนรวมสูงสุด วิชาจุลชีววิทยา นักเรียนแพทย์ทหาร ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ประจำปีการศึกษา 2540
  • รางวัลคะแนนรวมสูงสุด วิชาปาราสิตวิทยา นักเรียนแพทย์ทหาร ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ประจำปีการศึกษา 2540
  • รางวัลคะแนนรวมสูงสุด วิชาสูติศาสตร์ - นารีเวชวิทยา นักเรียนแพทย์ทหาร ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ประจำปีการศึกษา 2541

หมอเต้ กิจจา จบการศึกษาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2544 เป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะปี 1 ที่โรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี แพทย์เพิ่มพูนทักษะปี 2 ที่โรงพยาบาลค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี จากนั้นได้ศึกษาต่อที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในสาขาอายุรศาสตร์ (Diploma of Internal Medicine ปี 2549) สาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ (Diploma of Cardiology ปี 2556) และอนุสาขาหัตถการปฎิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด (Certification of Interventional Cardiology ปี 2560) โดยระหว่างการศึกษาด้านการแพทย์ต่อเนื่อง หมอเต้ กิจจา ได้เป็นหัวหน้าแพทย์ประจำบ้าน สาขาอายุรศาตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และได้รับรางวัลดีเด่นหลายรางวัล ได้แก่

  • แพทย์ประจำบ้านดีเด่น กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ประจำปีการศึกษา 2549
  • รางวัล งานวิจัยแพทย์ประจำบ้านดีเด่น เรื่องการศึกษาผลแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยการฉีดสีและขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ เปรียบเทียบกับผ่านทางหลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือ (A comparison study between transfemoral angiography / intervention and transradial angiography / intervention in Phramongkutklao hospital.) รหัสงานวิจัย R038h/47 (FARA Study)

ประวัติการทำงาน[แก้]

หมอเต้ กิจจา ได้เริ่มทำงานครั้งแรกในตำแหน่งแพทย์เพิ่มพูนทักษะปี 1 ที่โรงพยาบาลอานันทมหิดล ่จังหวัดลพบรี และแพทย์เพิ่มพูนทักษะปี 2 ที่โรงพยาบาลค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี โดยในขณะที่เริ่มทำงานปีที่ 2 ได้มีสถานการณ์ความไม่สงบบริเวณแนวชายแดนภาคเหนือ - ประเทศพม่า หมอเต้ กิจจา จึงได้รับภารกิจให้ปฎิบัติราชการสนาม ในตำแหน่ง นายแพทย์ กรม (เฉพาะกิจ) กรมทหารม้าที่ 5 (รักษาพระองค์) ในปี 2545 และยังได้ช่วยราชการที่โรงพยาบาลค่ายเม็งรายมหาราชในช่วงดังกล่าวอีกด้วย

หลังจบการศึกษาด้านอายุรศาสตร์ อายุรศาสตร์โรคหัวใจ และ Interventional Cardiology หมอเต้ กิจจา ได้ทำงานเป็นอาจารย์แพทย์ ที่โรงพยาบาลอานันทมหิดล (สถาบันสมทบ ของวิทยาลัยแพทย์ศาตร์พระมงกุฎเกล้า) โดยระหว่างนั้น หมอเต้กิจจา ได้ทำงานในหลายคณะอนุกรรมและหลายโครงการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ได้แก่ คณะอนุกรรมการส่งเสริมการวิจัย คณะอนุกรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ คณะกรรมการดำเนินการ ศูนย์โรคหัวใจ 80 ปี โรงพยาบาลอานันทมหิดล เลขาธิการองค์กรแพทย์ และ รองประธาน สำนักงานวิชาการ โรงพยาบาลอานันทมหิดล

ในฐานะแพทย์โรคหัวใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจและใส่โครงขดลวดค้ำยัน (Percutaneous Coronary Angiography with Balloon and Stenting) หมอเต้ กิจจา เป็นหนึ่งในแพทย์ผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลอานันทมหิดล (Anandamahidol Cardiac Center) และห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization Laboratory) ตั้งแต่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจในจังหวัดลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียง และดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด (พ.ศ. 2558-2563)

ปัจจุบัน หมอเต้ กิจจา ได้เข้ารับตำแหน่งอาจารย์แพทย์โรคหัวใจ กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

งานวิทยากรสำหรับประชาชน[แก้]

หมอเต้ กิจจา ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายในเรื่องสุขภาพ ทั้งสำหรับบุคคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไป ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในหลากหลายหัวข้อ โดยตัวอย่างงานวิทยากรสำหรับประชาชนทั่วไป ได้แก่

  • โรคหัวใจกำเริบเฉียบพลัน (Heart Attack) วันที่ มกราคม 2565 เวลา 15.05-15.30น.  รายการคนสู้โรค ช่วงรู้สู้โรค ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (ThaiPBS)
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ กับใจสั่น วันที่ 29 ธันวาคม 2564 เวลา 15.05-15.30น.  รายการคนสู้โรค ช่วงรู้สู้โรค ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (ThaiPBS)
  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จากการวัคซีนโควิด-19 วันที่ 22 ธันวาคม 2564 เวลา 15.05-15.30น.  รายการคนสู้โรค ช่วงรู้สู้โรค ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (ThaiPBS)
  • รู้จัก "โอไมครอน" ฉบับเข้าใจง่าย วันที่ 4 ธันวาคม 2564 เวลา 10.00-11.00น. รายการ Talk on Time "แชร์ความคิด" ออกอากาศทางสถานีวิทยุรัฐสภา FM 87.5 และ Facebook Live @TPchannelFan
  • เมื่อฉันเจ็บหน้าอก : งานประชุมวิชาการประจำปีโรงพยาบาลอานันทมหิดล วันที่ 8 มิถุนายน 2560 เวลา 12.00-13.00น. ณ ห้องประชุมกัลยาณิวัฒนา โรงพยาบาลอานันทมหิดล
  • ทหารไทย หัวใจดี วันที่ 30 มี.ค.2560 เวลา 13.00-16.00น. ณ สโมสรกองบัญชาการกองทัพไทย กรุงเทพฯ
  • การอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (BLS) และการใช้เครื่อง กระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED) วันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 ณ ณ อาคารภาสน์ยงภิญโญ ค่ายจิรวิชิตสงคราม ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

งานวิทยากรในต่างประเทศ[แก้]

สำหรับผลงานวิทยากรในต่างประเทศ หมอเต้ กิจจา ได้รับเชิญให้ไปบรรยายในหลายประเทศ อาทิเช่น ประเทศเกาหลี ประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศไต้หวัน เป็นต้น โดยตัวอย่างผลงานวิทยากรในต่างประเทศ ได้แก่

  • Atrial Fibrillation with Coronary Artery Disease and The First Reversal Agent. Date: Monday 12th August 2019, Time 18.30-19.10. Venue: Shinjuku NS Building, Tokyo, Japan.
  • The 2019 Thai Guideline on the Treatment of Hypertension & Hypertension with CAD patient: 1st Fimesartan Hypertensive Academy. Date: 27 July, 2019. Venue: Novotel Seoul Ambassador Gangnam, Seoul, Korea.
  • Atrial Fibrillation in Acute Coronary Syndrome Patients: MasterClass - Excellence in Non-Valvular Atrial Fibrillation Stroke Prevention. Date: 16 June 2019. Time: 3.00-4.00 PM. Venue: Courtyard by Marriott Taipei Downtown. Taipei, Taiwan.
  • Cardiovascular Disease in Hyperuricemia : American-Taiwan Biopharm Expert Meeting 2019. Date: 20 May 2019. Time: 9.00-11.00 AM. Venue: TKP Hiroshima Garden City Premium Conference, Hiroshima Kta Guchi Hotel, Hiroshima, Japan.

ช่องยูทูป DRK Channel[แก้]

หมอเต้ กิจจา ได้เริ่มทำช่องยูทูป DRK Channel (https://www.youtube.com/drkchannel) ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2563 โดยมีแรงบรรดาลใจจากการที่อยากให้ความรู้ทางการแพทย์ที่ถูกต้องกับประชาชนในวงกว้าง ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับข้อมูลและสาระดีๆ เข้าใจง่าย นำไปใช้ได้จริง และส่งผลให้มีสุขภาพที่ดีในที่สุด โดย DRK Channel เป็นตัวย่อมาจาก DoctoR Kitcha ซึ่งเป็นชื่อหมอหมอเต้ กิจจา โดยนำตัวอักษร DR ที่แปลว่าหมอ และ K จาก Kitcha (กิจจา) มาใช้เพียง 3 ตัว เพื่อให้จำง่ายนั่นเอง

เนื้อหาในช่องยูทูป DRK Channel มีความหลากหลาย ทั้งเรื่องโรคหัวใจ โรคทางอายุรกรรม เช่นเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ โรคโควิด-19 และเนื่องจากหมอเต้ กิจจา เป็นนักกีฬาเทนนิส และฟุตบอล จึงมีเนื้อหาด้านการออกกำลังกาย อยู่ในช่องยูทูปนี้ด้วย สำหรับเนื้อหาด้านเทคโนโลยีสุขภาพ เช่นการใช้วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจจาก Apple Watch หรือการวัดระดับออกซิเจนในเลือดจาก Smart Watch ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน

นอกจากสื่อออนไลน์ทางยูทูปแล้ว หมอเต้ กิจจา ยังเป็นผู้จัดตั้งกลุ่มเฟสบุ๊ค COVID-19 Vaccine 24 Hrs (แจ้งข่าวจองวัคซีน) (https://www.facebook.com/groups/2976727872545225) โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลด้านการจัดหาวัคซีนให้กับประชาชนทั่วไปที่ยังเข้าไม่ถึงการบริการด้านวัคซีนโควิด-19 และเป็นอีกช่องทางในการให้ความรู้เรื่องโควิด-19 ที่ถูกต้องให้แก่ประชนชนทั่วไปอีกด้วย