ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Csirsu10/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Holy Redeemer Northeastern Region School
ไฟล์:สัญลักษณ์.jpg
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นม.ถ.ภ.,H.R.S.
ประเภทโรงเรียนเอกชนประจำจังหวัด
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญ"ซื่อสัตย์ในคุณธรรม เข้มแข็งในหน้าที่"
สถาปนาพ.ศ. 2510 ก่อตั้งโรงเรียน
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1140100017
ผู้อำนวยการนางสวรรค์ใจ ไชยรา
สี   สีขาว สีแดง
เพลงมาร์ชมหาไถ่
เว็บไซต์http://www.hrn.ac.th
พระแม่มารี

โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

[แก้]

โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อักษรย่อ ม.ถ.ภ.) เป็นโรงเรียนเอกชนอันดับต้นๆ ของจังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2510 เดิมชื่อโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาชาย
ปัจจุบันเป็นโรงเรียนสหศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ส่วนในระดับประถมศึกษายังเป็นโรงเรียนชายล้วน มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2,325 คน และบุคลากรทางการศึกษารวม 60 คน

ประวัติโรงเรียน

[แก้]

โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาชาย ได้รับการก่อตั้งโดยคณะสงฆ์พระมหาไถ่ เป็นโรงเรียนในเครือสภาการศึกษาคาทอลิก มูลนิธิคณะสงฆ์พระมหาไถ่แห่งประเทศไทย ได้ก่อตั้งโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาชาย เมื่อปี พ.ศ. 2510 มีจุดประสงค์เพื่อแยกนักเรียนหญิง–ชาย โดยให้โรงเรียนมหาไถ่ศึกษา ขอนแก่น เปิดสอนเฉพาะนักเรียนหญิง และให้นักเรียนชายย้ายมาเรียนที่โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาชายที่ก่อตั้งใหม่ ในปีแรกได้ย้ายนักเรียนชายมาเฉพาะชั้น ม.ศ. 1 ซึ่งมีนักเรียนจำนวน 27 คน ครู 3 คน บาทหลวงวีระพงศ์ วัชราทิตย์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ นายนิภัย นวลอึ่ง ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ในช่วงแรกมีอาคารเรียนชั้นเดียวหนึ่งหลัง จำนวน 6 ห้องเรียน ต่อมาปี พ.ศ. 2511 และปี พ.ศ. 2512 ได้ย้ายนักเรียนชั้น ม.ศ. 2 และ ม.ศ. 3 จากโรงเรียนมหาไถ่ศึกษา ขอนแก่น มาเรียนที่โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาชาย ตามลำดับ

  • ในปี พ.ศ. 2513 โรงเรียนได้สร้างอาคารคอนกรีตเพิ่มอีก 1 หลังจำนวน 8 ห้องเรียน สร้างโรงประชุมโครงเหล็ก 1 หลัง และขออนุญาตเปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาโดยเริ่มจากชั้น ป. 1 และ ป. 5
  • ในปี พ.ศ. 2514 เปิดสอนชั้น ป. 2 และ ป. 6 เพิ่ม บาทหลวงยอด พิมพิสาร ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้จัดการแทนบาทหลวงวีระพงศ์ วัชราทิตย์ และแต่งตั้ง นายวินัย มูลศรี เป็นครูใหญ่ ปี พ.ศ. 2516 นี้ มีนักเรียนจากนั้น ป. 1 – ม.ศ. 3 ทั้งหมด 564 คน มีครูสอน 16 คน
  • ในปี พ.ศ. 2518 โรงเรียนได้สร้างอาคารคอนกรีตเพิ่มอีก 1 หลัง จำนวน 5 ห้องเรียนเพื่อรองรับนักเรียนเพิ่มทุกๆ ปี และได้สร้างโรงประชุมหลังใหญ่อีก 1 หลัง กิจการของโรงเรียนได้รับการพัฒนามาตลอด จนถึง
  • ปี พ.ศ. 2520 โรงเรียนได้รับรองวิทยาฐานะเทียบเท่ากับโรงเรียนของรัฐบาล
  • ปี พ.ศ. 2526 โรงเรียนได้สร้างอาคารคอนกรีตชั้นเดียวเพิ่มอีก 1 หลัง จำนวน 8 ห้องเรียน และสร้างห้องน้ำห้องส้วมสำหรับนักเรียน 10 ห้อง ห้องน้ำครู 2 ห้อง ก่อนสิ้นปีการศึกษา 2526 โรงเรียนได้รับเกียรติจากกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรดีเด่นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • ปี พ.ศ. 2530 บาทหลวงไวยากรณ์ สุขสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ นายครองสิทธิ์ นามเส ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียน ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงห้องต่างๆ รวมถึงระบบไฟฟ้าภายในโรงเรียน โต๊ะ เก้าอี้นักเรียนเวทีโรงประชุม ห้องวิทยาศาสตร์ ก่อสร้างเสาธงชาติใหม่ และก่อสร้างศาลแม่พระเพื่อเป็นที่เคารพสักการะภายในโรงเรียน ในปีนี้ โรงเรียนได้รับเกียรติจากกรมวิชาการ ให้เป็นโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรดีเด่นระดับประถมศึกษา
  • ปี พ.ศ. 2532 บาทหลวงไวยากรณ์ สุขสวัสดิ์ ได้รื้อถอนอาคารหลังเก่าที่ทรุดโทรมด้านทิศใต้ แล้วสร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้น จำนวน 18 ห้องเรียนแทน ด้านวิชาการโรงเรียนได้จัดซื้อเครื่องพิมพ์ดีดสำหรับนักเรียน เรียนในกลุ่มวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ
  • ปี พ.ศ. 2534 บาทหลวงวิชัย อ้วนเย็นดี เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ ได้จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรการ และการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในปีนี้โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนเอกชนดีเด่น ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตการศึกษา 9 จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนกระทรวงศึกษาธิการ
  • ปี พ.ศ. 2537 บาทหลวงเจริญ เวียนศิรินันทโชติ เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ ได้แต่งตั้งให้ว่าที่ ร.ต. อติชาต พิมพ์ศรี เป็นครูใหญ่ ได้รื้อห้องน้ำด้านหลังอาคาร 3 ชั้น แล้วไปสร้างใหม่ด้านทิศตะวันออกของโรงเรียน และสร้างทาวน์เฮ้าส์ จำนวน 8 คูหา ที่บริเวณข้างสนามฟุตบอลเพื่อเป็นหอพักนักเรียน และอีกส่วนหนึ่งเป็นสวัสดิการครู เช่าซื้อในราคาถูก
  • ปี พ.ศ. 2539 บาทหลวงสมนึก สุทธิ ย้ายเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียน ได้ก่อสร้างกำแพง และทำป้ายชื่อโรงเรียนบริเวณด้านหน้าใหม่ ภายในบริเวณโรงเรียนได้จัดทำสวนวรรณคดี (สวนสุนทรภู่) ในปีนี้ คณะผู้บริหารการศึกษาโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาเครือสังฆมณฑลอุดรธานี ได้พิจารณาปรับเปลี่ยนคำปรัชญาของโรงเรียน จากคำว่า “ก้าวหน้าเสมอ” เป็นคำว่า “ก้าวหน้าด้วยความรู้คู่คุณธรรม” กำหนดให้โรงเรียนทุกโรงในเครือสังฆมณฑลอุดรธานีใช้ร่วมกัน
  • ปี พ.ศ. 2541 ได้รื้อถอนอาคารเรียนชั้นเดียวด้านทิศเหนือและบ้านพักครู ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมและน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน โดยขอกู้ยืมเงินจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เพื่อสร้างอาคารเรียน 5 ชั้น จำนวน 24 ห้องเรียนแทน
  • ปี พ.ศ. 2542 ก่อสร้างห้องน้ำห้องส้วมใหม่ 28 ห้อง โถปัสสาวะ 9 โถ พร้อมที่ล้างมือ โดยสร้างชั้นบนเป็นบ้านพักรับรอง 4 ห้องนอน
  • ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนได้ก่อสร้างโรงเก็บวัสดุอุปกรณ์ และบ้านพักนักการภารโรง 1 หลัง 2 ห้องนอนแทนที่ห้องน้ำเก่าที่เลิกใช้
  • ปีการศึกษา 2544 โรงเรียนได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงห้องสมุด เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้บริการของนักเรียน และได้สร้างโรงอาหารที่ได้มาตรฐาน เพิ่มจำนวนโต๊ะเก้าอี้ให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน จัดสร้างสนามบาสเกตบอลเพิ่มอีกหนึ่งแห่ง ปรับปรุงสนามฟุตบอล จัดทำสระน้ำเพื่อให้เกิดความร่มรื่นสำหรับนักเรียน เปิดธนาคารโรงเรียนเพื่อให้บริการสำหรับนักเรียนและคณะครู โรงเรียนได้เข้ารับการประเมินภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จึงมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่นการปลูกต้นไม้เพื่อให้เกิดความร่มรื่นภายในโรงเรียน

ผู้รับใบอนุญาติ/ผู้จัดการ

[แก้]
ชื่อ ปีที่ดำรงตำแหน่ง
บาทกลวงวีระพงษ์ วัชราทิตย์ 2510 - 2512
บาทหลวงยอด พิมพิสาร 2513 - 2519
นายสุนัย กาญจนารัณย์ 2520 - 2521
บาทหลวงประสิทธิ์ ตรงสหพงษ์ 2522 - 2523
บาทหลวงสุริโย ยะงาม 2524 - 2525
นายภูวนารถ ภูดวงเดือน 2525 - 2526
บาทหลวงวัลลภ จำหน่ายผล 2527 - 2529
บาทหลวงไวยากรณ์ สุขสวัสดิ์ 2530 - 2533
บาทหลวงวิชัย อ้วนเย็นดี 2534 - 2535
บาทหลวงเจริญ เวียนสิรินันทโชติ 2536 - 2538
บาทหลวงสมนึก สุทธิ 2539 - 2544
บาทหลวงประสิทธิ์ ไกรโหล 2545 - 2546
บาทหลวงจรัล ทองปิยะภูมิ 2547 - 2553
บาทหลวงโกวิทย์ เจริญพงศ์ 2553 - 2556
บาทหลวงประสิทธิ์ ไกรโหล 2556 - ปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

[1] เว็บไซต์โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [2] Facebookโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [3] คณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [4] คณะผู้บริหารโรงเรียนนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  1. http://www.hrn.ac.th/mainpage
  2. https://www.facebook.com/mahathaikk
  3. http://www.hrn.ac.th/students-committee
  4. http://www.hrn.ac.th/person_1